ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน

•  ละเมิดและชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

•  การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจ

•  สิทธิของบุคคลภายนอกในนิติกรรม

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

•  คำขอในคดีความแพ่ง มาตรา 142

•  การพิพากษาค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432-433/2567 สรุปดังนี้:

โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ โดยไม่ร้องขอให้ใช้ราคาที่ดินแทน แต่ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารหนังสือมอบอำนาจและนำไปจดทะเบียนการขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียที่ดิน ขณะที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ถือเป็นบุคคลภายนอกที่ทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน การเพิกถอนนิติกรรมจึงไม่สามารถกระทบถึงสิทธิเหล่านี้ได้

ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จึงสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาที่ดินที่แถลงรับกัน โดยไม่ถือว่าเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สรุปว่าศาลสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้เงินจำนวน 3,600,000 บาทแก่โจทก์ที่ 1 ส่วนคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 2 ขนย้ายออกจากที่ดิน ศาลฎีกาเห็นพ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3.

*หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้:

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420: บัญญัติว่า "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการโดยผิดกฎหมายให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น" หมายความว่า หากบุคคลหนึ่งกระทำการโดยเจตนาหรือด้วยความประมาทและทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย บุคคลนั้นมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ในกรณีคำพิพากษาศาลฎีกานี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกพิจารณาว่ากระทำละเมิดโดยปลอมแปลงเอกสารและดำเนินการขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.

2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง: กำหนดว่า "ศาลจะพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เกินไปกว่าคำขอไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ" นั่นหมายถึง ศาลมีอำนาจในการพิพากษาหรือสั่งคดีได้เท่าที่คำขอของคู่ความยื่นไว้ หากจะเกินกว่านั้นต้องมีกฎหมายรองรับโดยเฉพาะ ในคดีนี้ ศาลฎีกาพิจารณาว่า แม้โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ขอให้ชดใช้ราคาที่ดินโดยตรง แต่เนื่องจากการเพิกถอนนิติกรรมไม่สามารถกระทำได้ ศาลจึงสามารถสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาที่ดินได้ โดยไม่ถือว่าเกินคำขอ.

คำอธิบายเหล่านี้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าศาลใช้หลักกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายและกำหนดบทลงโทษผู้ละเมิดอย่างเหมาะสมในกรณีนี้.

 

เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, ละเมิดและชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจ, สิทธิของบุคคลภายนอกในนิติกรรม, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, คำขอในคดีความแพ่ง มาตรา 142, การพิพากษาค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด,

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432 - 433/2567

แม้โจทก์ที่ 1 มีเพียงคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมต่าง ๆ ระหว่างจำเลยทั้งสี่โดยมิได้มีคำขอให้ใช้ราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาที่ดินทั้งสองแปลงตามราคาที่ดินที่คู่ความแถลงรับกันแก่โจทก์ที่ 1 ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

*สำนวนแรกโจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7397 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2557 นิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 นิติกรรมการซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 นิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 นิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 และนิติกรรมการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา

*จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ

*จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การขอให้ยกฟ้อง

*สำนวนที่สองโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารรื้อย้ายอาคารร้านซ่อมรถจักรยานยนต์บนที่ดินโฉนดเลขที่ 61908 ห้ามจำเลยและบริวารเข้ามายุ่งเกี่ยวอีกต่อไป กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ 4,000 บาท และค่าเสียหายต่อไปอีกเดือนละ 2,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะรื้อย้ายอาคารร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ออกจากที่ดินของโจทก์

*จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

*คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์สำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกจำเลยในสำนวนที่สองว่า โจทก์ที่ 2 เรียกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 สำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 และเรียกจำเลยที่ 3 สำนวนแรกและโจทก์สำนวนที่สองว่า จำเลยที่ 3

*ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7397 ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2557 การขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 การขายฝากระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 การขายฝากระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 และการแบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ กับให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ที่ 1 โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ให้ยกฟ้องของจำเลยที่ 3 ในสำนวนคดีหลัง ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างจำเลยที่ 3 และโจทก์ที่ 2 ให้เป็นพับ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

*จำเลยที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 ให้ขับไล่โจทก์ที่ 2 ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่จำเลยที่ 3 ในอัตราเดือนละ 200 บาท นับแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2562 จนกว่าโจทก์ที่ 2 จะขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

*โจทก์ทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า โจทก์ที่ 1 อายุ 67 ปี มีอาชีพทำนา เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เดิมโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7397 และ 7415 ตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 และ จ.3 เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2557 โจทก์ที่ 1 กู้เงินจำเลยที่ 1 จำนวน 230,000 บาท โดยนำโฉนดที่ดินตามเอกสารหมาย จ.1 มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในเอกสารหลายฉบับรวมทั้งแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 ด้วย ต่อมาเดือนธันวาคม 2558 โจทก์ที่ 1 ขอกู้เงินจากจำเลยที่ 1 เพิ่มอีก 400,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1 นำโฉนดที่ดินตามเอกสารหมาย จ.3 มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ หลังจากนั้นโจทก์ที่ 1 ตรวจสอบโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 กรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 และ จ.3 ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 วันที่ 6 สิงหาคม 2557 จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนขายที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 ให้แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 8 สิงหาคม 2557 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงนี้ให้แก่จำเลยที่ 4 วันที่ 18 ธันวาคม 2558 จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนขายที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.3 ให้แก่จำเลยที่ 2 วันที่ 22 ธันวาคม 2558 จำเลยที่ 2 จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 วันที่ 29 มกราคม 2559 จำเลยที่ 2 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงนี้แล้วจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม 2562 จำเลยที่ 3 ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 ออกเป็นแปลงย่อย 7 แปลง ที่ดินโฉนดเลขที่ 61908 เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 มีร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ของบุตรสาวและบุตรเขยของโจทก์ที่ 1 อยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 61908 โดยบุตรสาวและบุตรเขยของโจทก์ที่ 1 มอบหมายให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดูแลร้าน โจทก์ที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม กับข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ

*คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 สำนวนแรก และยกฟ้องของจำเลยที่ 3 ในสำนวนหลังหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์ที่ 1 ทักท้วงที่จำเลยที่ 1 นำเอกสารมาให้ลงชื่อหลายฉบับ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 รู้สึกถึงความผิดปกติแล้ว แต่โจทก์ที่ 1 ยังยอมลงชื่อในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจโดยไม่ตรวจสอบให้ดี ทั้งที่หนังสือมอบอำนาจด้านบนมีตราครุฑและคำว่า หนังสือมอบอำนาจเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ มองเห็นได้ง่าย เมื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงที่ได้ความจากโจทก์ที่ 1 เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ที่ 1 อ่านหนังสือได้บ้าง เมื่อทนายจำเลยที่ 3 เอาหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ดู โจทก์ที่ 1 อ่านข้อความได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจ และโจทก์ที่ 1 ยังเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 4 ถามค้านว่า ก่อนกู้เงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 เคยมีหนี้อยู่แก่เจ้าหนี้รายอื่นและเคยทำนิติกรรมขายที่ดินมาหลายครั้งแล้ว แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำนิติกรรมกู้ยืมเงินมาพอสมควร การละเลยไม่ตรวจสอบเอกสารก่อนลงชื่อ อีกทั้งยังมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารสำคัญของตนพร้อมลงชื่อรับรองความถูกต้องให้แก่จำเลยที่ 1 เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ดังนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจอ้างเหตุการถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงมาขอเพิกถอนนิติกรรมให้กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนได้ ส่วนข้อที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบเพราะไม่ได้แสดงเหตุผลสนับสนุนข้อวินิจฉัยที่ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน นั้น เห็นว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไปยังจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกว่าเกิดจากการปลอมเอกสารการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำนิติกรรมโดยไม่สุจริตและไม่ได้เสียค่าตอบแทน ยิ่งไปกว่านั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 วางหลักให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต การที่โจทก์ที่ 1 ไม่บรรยายฟ้องไว้ให้เป็นประเด็นเพื่อนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำการโดยไม่สุจริต คดีนี้จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำการโดยไม่สุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ กรณีต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต แม้ไม่ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยก็ไม่ทำให้เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบเพราะในชั้นอุทธรณ์ไม่มีประเด็นดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะต้องวินิจฉัยให้ ด้วยเหตุผลดังวินิจฉัยมา จึงไม่มีเหตุต้องเพิกถอนการทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 สำนวนแรก และไม่มีเหตุยกฟ้องของจำเลยที่ 3 ตามฟ้องสำนวนหลัง

*อย่างไรก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจโดยกรอกข้อความอันเป็นเท็จว่า โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7397 ให้แก่จำเลยที่ 1 และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปจดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7397 ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปจดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียที่ดินไปเนื่องจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ได้ สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แม้โจทก์ที่ 1 มีเพียงคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมต่าง ๆ ระหว่างจำเลยทั้งสี่โดยมิได้มีคำขอให้ใช้ราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นราคาที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งปรากฏตามที่คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลร่วมกันว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 7397 มีราคา 600,000 บาท และที่ดินโฉนดเลขที่ 7415 มีราคา 3,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,600,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ฟังขึ้นบางส่วน ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาขับไล่โจทก์ที่ 2 ออกจากที่ดินนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น

*พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 3,600,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ


*บทความที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาฎีกาข้างต้น 

1. การเพิกถอนนิติกรรมคืออะไร การเพิกถอนนิติกรรมหมายถึง การทำให้การกระทำทางกฎหมายที่ได้กระทำไปแล้วเป็นโมฆะหรือไม่มีผลทางกฎหมาย เหตุผลที่สามารถเพิกถอนนิติกรรมได้ตามกฎหมายมักเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย การฉ้อฉล หรือการละเมิดหลักความสุจริต เช่น การปลอมแปลงเอกสารหรือการทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิด ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม

เหตุผลที่ศาลใช้ในการพิจารณาการเพิกถอนนิติกรรม

•ความสุจริต: ศาลพิจารณาว่าผู้ที่เกี่ยวข้องทำนิติกรรมโดยสุจริตหรือไม่ หากพบว่าฝ่ายใดมีการกระทำที่ไม่สุจริต ศาลสามารถพิจารณาให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้

•การฉ้อฉล: หากมีการฉ้อฉลหรือการหลอกลวงที่ทำให้นิติกรรมเกิดขึ้นโดยไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจในการเพิกถอน

•การปลอมแปลงเอกสาร: การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการปลอมแปลงเอกสารเพื่อประโยชน์ส่วนตนจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้

*บทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

•ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420: บัญญัติถึงการทำละเมิด ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดกฎหมายต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดความเสียหาย

•มาตรา 6: วางหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าการกระทำใด ๆ เป็นไปโดยสุจริต ซึ่งฝ่ายที่อ้างการไม่สุจริตต้องพิสูจน์

2. การพิพากษาเกินคำขอหมายความว่าอย่างไร การพิพากษาเกินคำขอ หมายถึง การที่ศาลพิพากษาหรือสั่งการใด ๆ เกินกว่าที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอในคำฟ้องหรือคำขอร้อง สิ่งนี้ไม่สามารถทำได้เว้นแต่กฎหมายจะให้อำนาจศาลโดยเฉพาะ

*หลักเกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องนี้นั้น ศาลพิจารณาว่าการตัดสินนั้นอยู่ในขอบเขตที่ฝ่ายหนึ่งขอหรือไม่ ถ้าการตัดสินไปไกลเกินคำขอ โดยไม่มีเหตุผลรองรับจากกฎหมาย จะถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอและอาจถูกเพิกถอน

*บทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

•ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง: กำหนดว่าศาลไม่อาจพิพากษาเกินคำขอ เว้นแต่กฎหมายจะให้อำนาจโดยเฉพาะ

3. ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาหมายความว่าอย่างไร การให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาหมายถึง การที่ศาลใช้คำพิพากษาแทนการกระทำการใด ๆ ที่คู่ความฝ่ายหนึ่งไม่ทำ เช่น การจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม โดยคำพิพากษานั้นมีผลเป็นเหมือนการแสดงเจตนาแทนฝ่ายที่ไม่ดำเนินการ

*ผลดีของการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา

•ช่วยป้องกันการล่าช้าจากการที่ฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา

•ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี โดยไม่ต้องรอการแสดงเจตนาจากฝ่ายที่แพ้คดี

*บทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

•ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง: ย้ำอำนาจศาลในการสั่งให้การพิพากษามีผลเทียบเท่าการแสดงเจตนาในกรณีที่คู่ความไม่ปฏิบัติตาม

การอธิบายบทกฎหมายเหล่านี้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในบทความดังกล่าวและเห็นภาพรวมของกระบวนการพิจารณาและพิพากษาคดีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น.




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?