ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




องค์ประกอบของนิติกรรม article

องค์ประกอบของนิติกรรม   การถอนฟ้องเป็นนิติกรรม   การร้องทุกข์ไม่เป็นนิติกรรม

มาตรา 149 นิติกรรมหมายความว่าการใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
      องค์ประกอบของนิติกรรม ตาม มาตรา 149 คือ 1. การแสดงเจตนา 2. ชอบด้วยกฎหมาย 3. มุ่งจะผูกนิติสัมพันธ์ 4. มีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิ

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2477  

การขอถอนฟ้องในคดีอาญาถือว่าเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งในคดีความผิดต่อส่วนตัว ผู้เยาว์ไม่มีอำนาจขอถอนฟ้องคดีได้ก่อนได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานในเรื่องเกี่ยวแก่การกระทำทางอาญาไม่นับว่าเป็นนิติกรรมตามประมวลแพ่ง

       คดีนี้ศาลเดิมพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยตามกฎหมายอาชญา ม.243
       ระหว่างอุทธรณ์เจ้าทุกข์ยื่นคำร้องขอถอนคำกล่าวหาจำเลยและคำเบิกความเป็นพยานเสียทั้งหมด
       ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ช. เจ้าทุกข์มีอายุเพียง 15 ปี แลยังอยู่ในความปกครองของ จ. เจ้าทุกข์จะมาร้องขอถอนข้อหาโดยพละการตนเองหาได้ไม่ จึงพิพากษายืนตามศาลเดิม
       จำเลยฎีกาว่าเรื่องนี้เป็นคดีส่วนตัวตามกฎหมาย ช.ย่อมมีอำนาจถอนฟ้องได้ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง

       ศาลฎีกาเห็นว่าการถอนฟ้องเป็นนิติกรรมตามประมวลแพ่ง ม.112 เพราะเป็นการระงับซึ่งสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไป ไม่เหมือนการร้องทุกข์ซึ่งไม่ใช่นิติกรรมตามประมวลแพ่งฯ ตามประมวลแพ่งฯ ม.21 ช.ยังไม่บรรลุนิติภาวะหามีอำนาจขอถอนฟ้องโดยมิได้รับความยินยอมของผุ้ปกครองได้ไม่ และเห็นว่าการขอถอนคดีมิได้อยู่ในจำพวกข้อยกเว้นในมาตรา 22 ถึง 24 จึงให้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2548

 โจทก์จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นแชร์โดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ ตามข้อตกลงเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ จำเลยจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้ภายหลังที่จำเลยได้รับเงินแชร์จากโจทก์ ดังนั้น ข้อความในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกก็คือจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องชำระคืนแก่โจทก์ พฤติการณ์เท่ากับว่าจำเลยได้ยินยอมให้โจทก์กรอกจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระคืนตามความเป็นจริงนั่นเอง เมื่อได้ความว่า จำเลยจะต้องชำระคืนเงินค่าแชร์เป็นจำนวน 82,800 บาท และโจทก์กรอกจำนวนเงินกู้ลงในสัญญากู้ตรงกับมูลหนี้ที่แท้จริง สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้แก่โจทก์

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ 82,800 บาท คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย ชำระทุกเดือน ชำระต้นเงินคืนให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 ภายหลังจำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์บางส่วน โจทก์ทวงถามแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 109,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 82,800 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า โจทก์ จำเลยและพวกร่วมกันเล่นแชร์ 36 มือ โจทก์เป็นนายวงแชร์ แชร์มือละ 1,000 บาท ประมูลแชร์เดือนละ 1 ครั้ง จำเลยประมูลแชร์ได้ในเดือนที่ 5 เสียค่าดอก 1,671 บาท โจทก์ให้จำเลยลงชื่อช่องผู้กู้ในสัญญากู้โดยมิได้กรอกข้อความ ต่อมาจำเลยผ่อนค่าแชร์ทั้งหมด 31 งวด รวมเป็นเงิน 82,801 บาท ให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้คืนสัญญากู้ให้จำเลยกลับนำสัญญากู้มากรอกข้อความโดยที่จำเลยไม่ทราบและจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง
       ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
       โจทก์อุทธรณ์
        ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 79,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

        จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นแชร์ โดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ แชร์มือละ 1,000 บาท จำเลยประมูลแชร์ได้ยอมเสียดอกเบี้ย 1,671 บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระ 82,801 บาท ประเด็นแห่งคดีที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า สัญญากู้เป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยได้ความว่า เมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้จำเลยจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้ภายหลังที่จำเลยได้รับเงินค่าแชร์จากโจทก์ในฐานะนายวงแชร์ ดังนั้นข้อความในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกก็คือจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องชำระคืนแก่โจทก์ในฐานะนายวงแชร์ พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวก็เท่ากับว่าจำเลยได้ยินยอมให้โจทก์กรอกจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระคืนตามความเป็นจริงนั่นเอง ซึ่งตามพยานหลักฐานแห่งคดีได้ความว่า จำเลยจะต้องชำระคืนเงินค่าแชร์เป็นจำนวน 82,800 บาท เมื่อโจทก์กรอกจำนวนเงินกู้ลงในสัญญากู้ว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 82,800 บาท ซึ่งตรงกับมูลหนี้ที่แท้จริง สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวแก่โจทก์ คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในประการต่อมาว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จำเลยนำสืบลอย ๆ เพียงว่าจำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยไม่ปรากฏหลักฐานการรับชำระหนี้จากโจทก์ หรือโจทก์ได้เวนคืนสัญญากู้ให้แก่จำเลย ข้อนำสืบของจำเลยจึงรับฟังไม่ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

 พิพากษายืน

 การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์ไม่ทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1590/2530
 
 แม้การร้องทุกข์มิใช่การทำนิติกรรม แต่การมอบอำนาจให้ไปร้องทุกข์แทนโจทก์ โจทก์ก็ต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ บริษัทโจทก์จดทะเบียนไว้ว่าจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทได้ คือ กรรมการจำพวก ก. 1 นายกับกรรมการจำพวก ข. 1 นาย เมื่อกรรมการโจทก์เพียงผู้เดียวลงชื่อมอบอำนาจให้ ก. ไปร้องทุกข์ การมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันบริษัทโจทก์ การกระทำของ ก. ไม่ผูกพันโจทก์ ในทางกลับกันบริษัทโจทก์ไม่สามารถถือเอาการกระทำของ ก. เป็นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ก็ขาดอายุความ.
 




นิติกรรม

สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม article
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
สัญญเช่าตึกแถว ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกแถวที่ให้เช่า
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม