ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  คำพิพากษาศาลฎีกา 514/2567

•  หลักฐานการกู้ยืมเงิน

•  การพิสูจน์การชำระหนี้

•  ป.พ.พ. มาตรา 653

•  ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1

•  การฟ้องร้องหนี้เงินกู้

•  การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2567 สรุปได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเพียงพนักงาน ไม่มีอำนาจตัดสินใจ โดยลงลายมือชื่อตามคำสั่งนายปรีชา ซึ่งมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน การกู้เงินจึงเป็นการกระทำในนามบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์สามารถฟ้องได้แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้รับเงินแล้ว

จำเลยที่ 1 โต้ว่าได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว แต่มีเพียงคำเบิกความของจำเลยที่ 2 โดยไม่มีหลักฐานอื่นมาสนับสนุน ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จึงพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์

ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

*ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 กำหนดหลักเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน โดยระบุว่า การกู้ยืมเงินที่มีมูลค่ามากกว่า 2,000 บาทขึ้นไปจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ หลักนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันข้อพิพาทเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่หากมีพยานหลักฐานอื่นเพียงพอที่ศาลรับฟังได้ว่าเกิดการกู้ยืมจริง เช่น การรับเงินโดยเช็ค การลงนามอนุมัติเงินกู้ ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีลายมือชื่อผู้ยืมตามมาตรานี้เสมอไป

*ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 กำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีแพ่ง โดยหากฝ่ายใดเป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่เป็นคุณแก่ตน ฝ่ายนั้นต้องนำสืบข้อเท็จจริงนั้น การพิสูจน์นี้สำคัญในกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างว่าชำระหนี้แล้ว ซึ่งจำเลยต้องมีหลักฐานหรือพยานที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุน หากไม่มีหลักฐานเพียงพอ ศาลจะไม่สามารถฟังข้อกล่าวอ้างนั้นได้

การอธิบายกฎหมายเหล่านี้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าทำไมศาลจึงพิจารณาว่าการฟ้องร้องโดยโจทก์เป็นไปตามกฎหมาย และเหตุใดจำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้เมื่อไม่มีหลักฐานเพียงพอในการพิสูจน์การชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2567

การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การทำนองเดียวกันว่าหนี้เงินกู้เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันเพื่อใช้เป็นเงินทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ปัจจุบันมีการชำระหนี้แล้ว และชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตัดสินใจ ในการบริหารงานของจำเลยที่ 1 การตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ป. จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อตามที่ ป. สั่ง จึงมิได้กระทำการในนามตนเองและมิได้รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เงินที่กู้ยืมนำไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ามีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จริงยิ่งกว่านั้นการที่ ป. ลงลายมือชื่อทั้งในช่องผู้กู้และช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้ยืมเงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.6 ลงลายมือชื่อช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้เงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.7 และลงลายมือชื่ออนุมัติกรณีจำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงิน 25,500,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการโอนที่ดิน อีกทั้ง ป. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ จากบัญชีโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 แล้วมีการเบิกถอนเงินตามเช็คไปแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์จริง กรณีนี้ไม่จำต้องอาศัยหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

*เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงมีรายการหนี้เงินกู้ของโจทก์ค้างอยู่ในงบการเงินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว

****โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 23,429,376.71 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9 ต่อปี ของต้นเงิน 15,500,000 บาท นับแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

*จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

*จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ

*ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

*โจทก์อุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 15,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี ของต้นเงิน 15,500,000 บาท นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2557 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 มกราคม 2563) ต้องไม่เกิน 7,879,376.71 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

*จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 25 เมษายน 2556 มีนายปรีชาเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในนามของจำเลยที่ 1 ส่วนนายปรีชาลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในนามของจำเลยที่ 1 และในช่องผู้ให้กู้ในนามของโจทก์ ซึ่งมีข้อความระบุว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน 4,500,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้จากโจทก์เป็นเช็คธนาคาร น. สาขาย่อยสรงประภา จำนวนเงิน 4,500,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินและใบรับเงินกู้ เอกสารหมาย จ.6 แผ่นที่ 1 และที่ 2 และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในนามของจำเลยที่ 1 และนายปรีชาลงลายมือชื่อในช่องผู้ให้กู้ในนามของโจทก์ ซึ่งมีข้อความระบุว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน 25,500,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี และจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้จากโจทก์ เป็นเช็คธนาคาร น. สาขาย่อยสรงประภา จำนวนเงิน 25,500,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินและใบรับเงินกู้ เอกสารหมาย จ.7 ต่อมาวันที่ 9 ตุลาคม 2555 นายปรีชาถึงแก่ความตาย มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้เงินกู้ 15,500,000 บาท แต่จำเลยทั้งสามไม่ชำระ

*คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้หรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" ดังนั้น แม้ตามใบรับเงินฉบับลงวันที่ 21 มกราคม 2554 เอกสารหมาย จ.6 และใบรับเงินฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554 เอกสารหมาย จ.7 จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน แต่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปคือ ต้องมีการลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เมื่อพิจารณาจากเอกสารหมาย ล.6 (ที่ถูก จ.6) และ ล.7 (ที่ถูก จ.7) ว่าเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องพิจารณาถึงบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งได้กำหนดบุคคลผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัท ปรากฏตามหนังสือรับรอง ระบุว่า ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 กรรมการผู้มีอำนาจคือ นายปรีชาลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จึงจะผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 แต่ตามเอกสารหมาย ล.6 (ที่ถูก จ.6) และ ล.7 (ที่ถูก จ.7) มีการลงลายมือชื่อของนายปรีชาโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำการแทนนิติบุคคล เมื่อไม่มีการลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ เอกสารหมาย ล.6 (ที่ถูก จ.6) และ ล.7 (ที่ถูก จ.7) ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ นั้น เห็นว่า เมื่อพิเคราะห์ตามรูปเรื่องแห่งคดีนี้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในทำนองเดียวกันซึ่งสรุปใจความได้ว่า หนี้เงินกู้ตามฟ้องเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันเพื่อใช้เป็นเงินทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ปัจจุบันได้มีการชำระหนี้แล้ว และชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสืบทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของจำเลยที่ 1 การตัดสินใจขึ้นอยู่กับนายปรีชา จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อตามที่นายปรีชาสั่งให้ดำเนินการ จึงมิได้เป็นการกระทำในนามของตนเองและมิได้รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เงินที่กู้ยืมนำไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 นั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่า มีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามฟ้องจริง ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาตามเหตุผลของเรื่องแล้ว การที่นายปรีชาลงลายมือชื่อทั้งในช่องผู้กู้และช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้ยืมเงินและใบรับเงินกู้เอกสารหมาย จ.6 ลงลายมือชื่อช่องผู้ให้กู้ตามสัญญากู้เงินและใบรับเงินกู้ เอกสารหมาย จ.7 และลงลายมือชื่ออนุมัติกรณีจำเลยที่ 1 ขอกู้ยืมเงิน 25,500,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการโอนที่ดิน อีกทั้งนายปรีชาได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคาร น. สาขาย่อยสรงประภา จำนวนเงิน 4,500,000 บาท และ 25,500,000 บาท จากบัญชีของโจทก์มอบให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วมีการเบิกถอนเงินตามเช็คไปแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์จริง กรณีนี้ไม่จำต้องอาศัยหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดงต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง แต่ประการใด ดังนั้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

*ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการที่สองมีว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า เมื่อพิจารณาถึงรายการในงบแสดงฐานะการเงินของโจทก์ ว่าเป็นเรื่องตัวเลขที่สรุปฐานะการเงินประจำปีของนิติบุคคลที่ยื่นต่อหน่วยราชการ ซึ่งจะเชื่อถือได้ว่าเป็นความจริงจะต้องมีพยานเอกสารอื่นมาแสดงประกอบด้วย อีกทั้งเมื่อพิเคราะห์ตามคำเบิกความพยานโจทก์ปากนางสาวเบญญาภาก็ไม่ได้ยืนยันว่า รายการให้กู้ยืม 31,398,073.53 บาท เป็นรายการหนี้ให้กู้ยืมแก่จำเลยที่ 1 นอกจากนี้แล้วโจทก์ยังมีใบเสร็จรับเงินเป็นพยานหลักฐานอันแสดงให้เห็นว่า ในปี 2556 ถึงปี 2557 จำเลยที่ 1 ยังผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่นำสืบหักล้างในเรื่องนี้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่า ในปี 2562 และปี 2563 จำเลยที่ 1 ยังคงระบุรายการในแบบนำส่งงบการเงินของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เงินกู้ระยะยาวของโจทก์อยู่เป็นเงิน 15,550,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 มีภาระการพิสูจน์ในเรื่องนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 แต่ตามทางนำสืบของจำเลยที่ 1 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้เงินกู้ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงมีรายการหนี้เงินกู้ของโจทก์ค้างอยู่ในงบการเงินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง มาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วจริง ดังนั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดรับชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาในประเด็นข้อนี้ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

*พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

หมายเหตุ

ความแตกต่างระหว่างสัญญากู้ยืมเงินกับหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ และการติดอากรแสตมป์

1.ความแตกต่างระหว่างสัญญากู้ยืมเงินกับหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ

oสัญญากู้ยืมเงิน: เป็นเอกสารที่เกิดจากความตกลงระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายลงนามเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่ามีการกู้ยืมเกิดขึ้น โดยระบุจำนวนเงิน เงื่อนไขการชำระคืน และอัตราดอกเบี้ย (ถ้ามี) สัญญานี้มีลักษณะเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้

oหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือที่ลงลายมือชื่อผู้ยืม: หมายถึงเอกสารที่ระบุว่ามีการกู้ยืมเงินและลงลายมือชื่อผู้ยืมเพื่อยืนยันการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ซึ่งกำหนดว่า “การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไปต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่ลงลายมือชื่อผู้ยืม มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้” อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาเต็มรูปแบบ อาจเป็นใบยืนยันการกู้ยืมที่ลงนามโดยผู้ยืมเพื่อใช้เป็นหลักฐานก็ได้

2.การติดอากรแสตมป์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน

*ตาม พระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พ.ศ. 2481 กำหนดให้เอกสารบางประเภทต้องติดอากรแสตมป์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องหรือสืบพยานในศาล ได้แก่ สัญญากู้ยืมเงิน เอกสารเหล่านี้ต้องมีการติดอากรแสตมป์เพื่อให้มีผลทางกฎหมายและสามารถใช้สืบพยานได้

oจำนวนอากรแสตมป์: สำหรับสัญญากู้ยืมเงินจะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของจำนวนเงิน 2,000 บาทนั้น โดยอัตราสูงสุดของการติดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ยืมจะไม่เกิน 10,000 บาท

oผลทางกฎหมายหากไม่ติดอากรแสตมป์: หากไม่มีการติดอากรแสตมป์ เอกสารดังกล่าวไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องหรือสืบพยานในศาลได้ตาม พระราชบัญญัติอากรแสตมป์ มาตรา 118 เว้นแต่จะมีการชำระอากรแสตมป์ย้อนหลังพร้อมค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด

3.การติดอากรแสตมป์ในสัญญาทั้งสองประเภท

oสัญญากู้ยืมเงิน: ต้องติดอากรแสตมป์ตามอัตราที่กล่าวถึงข้างต้นเพื่อให้มีผลทางกฎหมาย

oหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ: หากเอกสารนี้มีการใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องในศาล ก็ต้องติดอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกับสัญญากู้ยืม

การติดอากรแสตมป์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เอกสารเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมีผลใช้บังคับได้ในทางกฎหมายและสามารถใช้เป็นหลักฐานในศาลได้ตามกฎหมาย

 




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?