ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม

สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม - ชำระเงินค่าว่าจ้างงวดงาน

ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าว่าจ้างงวดงาน ศาลฎีกาวินิจฉัย เรื่องสัญญาเลิกกันแล้วให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนการงานที่ได้ทำให้แก่กันนั้นก็ให้ใช้ตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ และค่าของงานดังกล่าวเป็นการทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ค่าของงานต้องคิดให้ตามความเป็นจริงจะยึดเอาค่าจ้างตามสัญญาไม่ได้   นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาว่าคู่สัญญาฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อนมีการบอกเลิกสัญญาและมีการกำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับกันไว้อย่างไรด้วย และเบี้ยปรับนั้นหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้    คดีนี้มีการตกลงกันว่า หากโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าให้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับจากโจทก์ได้  เมื่อค่าปรับในสัญญาไม่ปรากฏว่ามีการคิดคำนวณโดยมีหลักเกณฑ์ใด และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนที่แท้จริงเท่าใด แต่ได้ความว่าหลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว จำเลยได้ว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นให้ทำงานส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จได้เป็นราคาที่น้อยลงเมื่อเทียบกับราคาที่ว่าจ้างโจทก์ อันแสดงว่าโจทก์คิดราคาค่าก่อสร้างที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิคิดค่าปรับจากโจทก์ได้ตามสัญญา ค่าปรับดังกล่าวก็ยังถือว่าสูงเกินสมควร เห็นควรกำหนดให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าปรับเสียใหม่ให้เหมาะสม

   มาตรา 383    ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อได้ใช้เงินตามเบี้ยปรับแล้วสิทธิเรียกร้องขอลดก็เป็นอันขาดไป

เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็น อยู่เดิมแต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นการที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการ นั้นๆหรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทนก็ให้ใช้ตามนั้น

การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ 
  
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7618/2552 

          เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย

          ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

          ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 10,832,909.77 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

            จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,921,714.77 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 6 พฤษภาคม 2542) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 60,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าที่โจทก์ชนะคดี

 จำเลยอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 10,000 บาท แทนโจทก์
  จำเลยฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์มีสิทธิจะได้รับค่าของงานที่โจทก์ได้กระทำให้แก่จำเลยไปแล้วหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 บัญญัติว่า “คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม...ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้... การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ...” ดังนั้น เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่างานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระแก่กันตามสัญญานั้น อาจจะมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ในการขอให้จำเลยชดใช้ค่าของงานงวดที่ 5 นั้น โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่า โจทก์ลงทุนก่อสร้างงานงวดที่ 5 เป็นเงิน 1,510,000 บาท เท่านั้น การที่ศาลล่างกำหนดว่า งานในงวดที่ 5 มีมูลค่า 2,576,000 บาท อันเป็นค่างวดที่จะต้องชำระตามสัญญามาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ จึงเป็นการกำหนดค่าของงานมากกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องย่อมไม่ชอบ และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งค่าของงานในงวดที่ 5 คงนำสืบต่อสู้เพียงประการเดียวว่าโจทก์ทำงานงวดที่ 5 ไม่เสร็จเพียงรายการเดียว คือ ยังไม่ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า คิดเป็นค่าของงานเป็นเงิน 273,295 บาท ดังนั้น ค่าของงานในงวดที่ 5 จึงมีมูลค่าเป็นเงินเท่าที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องหักออกด้วยค่าติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า คิดเป็นเงิน 1,236,705 บาท

สำหรับงานที่โจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ต่อไปคือ ค่าของงานในงวดที่ 6 และที่ 7 โจทก์นำสืบว่า โจทก์ลงทุนติดตั้งเพดานอลูมิเนียม 286,670 บาท ค่าจ้างทาสีเพดาน ทำรั้ว ท่อน้ำทิ้ง เป็นเงิน 100,000 บาท และค่ามัดจำค่าทาสี 150,000 บาท โดยชำระค่าสีไปแล้ว จำเลยไม่ได้โต้แย้ง จึงกำหนดให้ตามที่โจทก์นำสืบ ส่วนค่าทำเฟอร์นิเจอร์ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ชำระค่ามัดจำไปแล้ว แต่ผู้รับทำเฟอร์นิเจอร์มาเบิกความเป็นพยานว่า ยังไม่ได้ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ให้ จึงกำหนดค่าของงานในส่วนที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ให้ไม่ได้ คงกำหนดให้เฉพาะที่โจทก์ลงทุนไปแล้วเท่านั้น สำหรับงานในงวดที่ 7 ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบว่าได้ทำงานใดไปแล้วบ้าง จึงไม่กำหนดให้ ค่าของงานในงวดที่ 6 จึงคิดเป็นเงิน 536,670 บาท รวมค่าของงานที่โจทก์ทำไปทั้งสิ้น 1,773,375 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยส่งมอบงานล่าช้าเป็นเวลา 53 วัน ก่อนจำเลยบอกเลิกสัญญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ และในสัญญาจ้าง ข้อ 20 กำหนดให้จำเลยสามารถเรียกค่าปรับในกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้าในอัตราวันละ 31,880 บาท แม้จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าแก่จำเลย และต้องนำมาหักจากค่าของงานที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์

การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรก็ดีถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 คดีนี้โจทก์จำเลยตกลงกันว่า หากโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าให้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับจากโจทก์ได้ในอัตราวันละ 31,880 บาท โดยไม่ปรากฏว่า ค่าปรับดังกล่าวมีการคิดคำนวณโดยมีหลักเกณฑ์ใด และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนที่แท้จริงเท่าใด แต่ได้ความว่าหลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว จำเลยได้ว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นให้ทำงานส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จได้ในราคา 4,900,000 บาท เป็นราคาที่น้อยลงเมื่อเทียบกับราคาที่ว่าจ้างโจทก์ อันแสดงว่าโจทก์คิดราคาค่าก่อสร้างที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิคิดค่าปรับจากโจทก์ได้ตามสัญญา ค่าปรับดังกล่าวก็ยังถือว่าสูงเกินสมควร เห็นควรกำหนดให้จำเลยมีสิทธิได้รับค่าปรับวันละ 20,000 บาท รวม 53 วัน คิดเป็นค่าปรับ 1,060,000 บาท ต้องนำค่าปรับหักออกจากค่าของงานของโจทก์ ส่วนที่ศาลล่างนำเงิน 900,000 บาท ตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาคิดคำนวณในการกำหนดค่าของงานโดยวินิจฉัยว่าจำเลยริบเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วนั้น เห็นว่า หนังสือค้ำประกันในวงเงินจำนวน 900,000 บาท ดังกล่าว เป็นเงินที่ระบุไว้ในหนังสือค้ำประกันที่โจทก์นำมอบให้แก่จำเลย เพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญารวมถึงการประกันความชำรุดเสียหายของงานจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบงาน หากไม่มีความเสียหายหรือโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงจะคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 และ ข้อ 6 ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินแก่จำเลยตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยริบเงิน 900,000 บาท มาเป็นการชำระค่าเสียหายแก่จำเลยแล้วไม่ได้ ดังนั้น เมื่อนำค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยเป็นเงิน 1,773,375 บาท หักออกด้วยเงินค่าปรับ 1,060,000 บาท และเงินค่าก่อสร้างในงวดที่ 5 เป็นเงิน 588,990.23 บาท ที่จำเลยชำระแก่โจทก์แล้ว จำเลยยังคงต้องใช้ค่าของงานแก่โจทก์เป็นเงิน 124,384.77 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลก็ไม่ควรจะกำหนดให้จำเลยใช่ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติว่า ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามกฎหมาย แต่ในชั้นนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยชนะคดีตามฟ้องฎีกาเป็นส่วนใหญ่ จึงเห็นสมควรกำหนดการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเสียใหม่

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 124,384.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์เฉพาะส่วนที่เป็นค่าขึ้นศาลให้ใช้เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นฎีกา โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามศาลรวม 10,000 บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2561

ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารกำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญาไว้ในข้อ 13 มีสาระสำคัญว่า จำเลยมีสิทธิริบค่าจ้างที่โจทก์ดำเนินการไปแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระ รวมทั้งหลักประกันใดๆ ที่โจทก์มอบไว้แก่จำเลยตามสัญญา เพื่อนำมาหักชำระเป็นค่าปรับ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของโจทก์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำงานต่อไป หรือค่าเสียหายในการแก้ไขงานในระยะเวลารับประกันผลงาน ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์การก่อสร้างที่โจทก์นำมาในสถานที่ก่อสร้าง โจทก์ยินยอมให้จำเลยยึดทรัพย์สินเหล่านั้นมาขายเพื่อหักใช้หนี้ใด ๆ ที่โจทก์มีต่อจำเลยได้ทันทีซึ่งเป็นข้อตกลงที่แตกต่างไปจากผลของการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ข้อตกลงที่แตกต่างดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างโจทก์ จำเลย ผลก็คือโจทก์จะบังคับให้จำเลยยอมรับเอางานที่เสร็จบางส่วนงวดที่ 19 และ 20 อันเป็นการงานที่โจทก์ทำให้แล้วใช้เงินค่าจ้างให้ตามส่วนของงานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 391 วรรคสาม ไม่ได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 5,632,301.07 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 3,724,726.46 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 8 สิงหาคม 2557) เป็นต้นไป จนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร 7 ชั้น 1 หลัง เป็นเงินค่าจ้างรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 45,761,010 บาท กำหนดเวลาสร้างเสร็จ 10 เดือน ครบกำหนดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 แบ่งงานออกเป็น 25 งวด ชำระค่าจ้างตามงวดงานภายใน 15 วัน ถัดจากวันที่จำเลยได้รับใบแจ้งเบิกจ่ายพร้อมรายละเอียดของงาน เอกสารประกอบต่าง ๆ ในการจ้างเบิกแต่ละงวดที่ผ่านการตรวจสอบจากจำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ตกลงให้จำเลยหักเงินค่าจ้างแต่ละงวดในอัตราร้อยละ 5 เพื่อเป็นประกันผลงาน จำเลยตกลงคืนให้โจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 365 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับค่าจ้างงวดสุดท้าย โจทก์ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ 18 งวด จำเลยชำระค่าจ้างโดยหักเงินประกันผลงานไว้ 1,459,116.69 บาท ต่อมาครบกำหนดแล้ว โจทก์ก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จ โจทก์จำเลยตกลงขยายระยะเวลาก่อสร้างถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 และต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2557 โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 19 และขอเบิกค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,496,855.47 บาท จำเลยยังไม่ชำระให้และโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 20 เสร็จบางส่วน และจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้เช่นกัน วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างโดยยึดวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างของโจทก์ที่อยู่ในสถานที่ก่อสร้างไว้

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดงานที่ 19 และ 20 และค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างที่จำเลยยึดไว้หรือไม่ เห็นว่า ตามทางนำสืบของจำเลย ซึ่งโจทก์ไม่นำสืบโต้แย้งหรือคัดค้านฟังได้ว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยก่อสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จตามกำหนด จำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยชอบ ซึ่งตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารกำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญาไว้ในข้อ 13 มีสาระสำคัญว่า จำเลยมีสิทธิริบค่าจ้างที่โจทก์ดำเนินการไปแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระ รวมทั้งหลักประกันใด ๆ ที่โจทก์มอบไว้แก่จำเลยตามสัญญา เพื่อนำมาหักชำระเป็นค่าปรับ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของโจทก์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำงานต่อไป หรือค่าเสียหายในการแก้ไขงานในระยะเวลารับประกันผลงาน ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์การก่อสร้างที่โจทก์นำมาในสถานที่ก่อสร้าง โจทก์ยินยอมให้จำเลยยึดทรัพย์สินเหล่านั้นมาขายเพื่อหักใช้หนี้ใด ๆ ที่โจทก์มีต่อจำเลยได้ทันทีซึ่งเป็นข้อตกลงที่แตกต่างไปจากผลของการเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ข้อตกลงที่แตกต่างดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่างโจทก์ จำเลย ผลก็คือโจทก์จะบังคับให้จำเลยยอมรับเอางานที่เสร็จบางส่วนงวดที่ 19 และ 20 อันเป็นการงานที่โจทก์ทำให้แล้วใช้เงินค่าจ้างให้ตามส่วนของงานนั้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 391 วรรคสาม ไม่ได้ ดังนี้ โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระค่าจ้างสำหรับงวดงานดังกล่าวหรือแม้กระทั่งค่าวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างได้ต่อเมื่อจำเลยสละหรือละซึ่งประโยชน์จากข้อตกลงเลิกสัญญาดังกล่าวมาแล้วโดยยอมรับเอาการงานที่โจทก์ทำให้แม้จะไม่แล้วเสร็จแต่ละงวดงานก็ตาม หรือยอมรับเอาวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างและจะชำระราคาให้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 19 แก่จำเลยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 และขอเบิกจ่ายค่าก่อสร้างจำนวน 1,496,855.47 บาท ตามหนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายค่าก่อสร้าง ซึ่งนายวงศ์ศักดิ์ ผู้จัดการโจทก์เขียนข้อความว่า ทาง หจก.วชิระรุ่งเรืองกิจ ขอความอนุเคราะห์งานงวดที่ 19 ตอนนี้งานเสร็จไป 80% เพราะงานบางตัวติดงานส่วนอื่น ทาง หจก. วชิระรุ่งเรืองกิจขอเอางานปูกระเบื้องห้องน้ำชั้น 2 ถึง 6 มาชดเชย เพื่อนำเงินมาซื้อของทำงานส่วนอื่น ๆ เพื่อให้โครงการจบตามกำหนด นายคมศักดิ์ ที่ปรึกษาควบคุมฝ่ายก่อสร้างจำเลยก็ระบุในหนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายค่าก่อสร้างว่า งานติดตั้งฝ้า เพดาน ยังไม่แล้วเสร็จ ผรม. ขอความอนุเคราะห์รอผลการพิจารณาความตั้งใจและท่าทีของ ผรม.ในการทำงานลงวันที่ 26 เมษายน 2557 ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องกับบันทึกของผู้จัดการโจทก์ข้างต้นแล้ว นายชยพล กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย และนายคมศักดิ์ ยังเบิกความทำนองเดียวกันว่า นายคมศักดิ์ไปตรวจสอบสถานที่ก่อสร้าง เพื่อตรวจสอบว่า งานงวดที่ 19 โจทก์ก่อสร้างไปแล้วเสร็จประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า งานงวดดังกล่าวโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์ นายคมศักดิ์เห็นดังนั้นจึงไม่ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบ และระบุความเห็นด้วยว่างานฝ้าเพดาน ยังไม่แล้วเสร็จดังกล่าวมาแล้ว ที่ฝ่ายโจทก์โดยนายวงศ์ศักดิ์ เบิกความทำนองว่า จำเลยไม่จ่ายค่าก่อสร้างงวดที่ 19 ให้เพราะจำเลยขาดสภาพคล่องทางการเงิน เมื่อโจทก์ทวงหลายครั้ง นายคมศักดิ์แจ้งว่าจะชำระให้ก่อน 1,000,000 บาท แต่ก็ไม่ชำระให้นั้น เป็นคำเบิกความที่เลื่อนลอย และขัดกับบันทึกข้อความที่นายวงศ์ศักดิ์ และนายคมศักดิ์บันทึกตอบโต้กันดังกล่าวมาแล้ว ส่วนงานงวดที่ 20 โจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบงานเลย พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักรับฟังมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้สละหรือละประโยชน์ตามข้อตกลงเลิกสัญญารับเหมาโดยยอมรับงานก่อสร้างแล้วจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์แต่อย่างใด ส่วนวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่อยู่ในสถานที่ก่อสร้างก็เช่นกัน นายวงศ์ศักดิ์เบิกความเพียงว่า ได้ร่วมกับนายคมศักดิ์ตัวแทนของจำเลยตรวจสอบวัสดุก่อสร้างที่ยังคงเหลือ 72 รายการ เช่น กระเบื้องแกรนิต นั่งร้านเหล็ก ฯลฯ คิดเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 1,336,001.76 บาท และไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมรับไว้และจะชำระราคาให้แต่อย่างใด ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 19 และ 20 กับค่าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7618/2552  สัญญาเลิกกันแล้วคู่สัญญาต้องกลับสู่ฐานะเดิม ให้ชดใช้เงินตามที่ได้ทำงานไปแล้ว และตามความเป็นจริง จะถือเอาค่าจ้างในสัญญามาเรียกกันหาได้ไม่ ใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา สิทธิบอกเลิกสัญญา เบี้ยปรับ ค่าเสียหาย ตกลงไว้อย่างไร? สูงเกินไปศาลลดให้ได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2543 

 เรื่อง จ้างทำของ ค้ำประกัน 

++ จำเลยทั้งสามฎีกา

++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน 30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน

++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3

++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6

++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว

++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่ 9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน

++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว

++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น

++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3

++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3

++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง

++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท

++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา

++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ

++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒ มีนายวิศิษฐ์หล่อธีระพงศ์ เป็นผู้ว่าการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยที่ ๑เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ ๓เป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๑ ให้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค (ระยะที่ ๒) จังหวัดสระบุรี จำนวนเงินค่าจ้าง ๖๓,๙๐๐,๐๐๐บาท โดยแบ่งงานและกำหนดจ่ายเงินเป็นงวดรวม ๑๐ งวด กำหนดแล้วเสร็จในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗ มีข้อตกลงว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญาผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ ๖๓,๙๐๐ บาท จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จ โดยมีจำเลยที่ ๓เป็นผู้ค้ำประกันในวงเงิน ๓,๑๙๕,๐๐๐ บาท ปรากฎว่าจำเลยที่ ๑ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง โดยไม่สามารถทำงานงวดที่ ๓ งวดที่ ๕ งวดที่ ๖และงวดที่ ๙ ให้แล้วเสร็จและส่งมอบงานดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ครั้นครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างวันที่ ๓ธันวาคม ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ก็ยังทำงานงวดดังกล่าวไม่แล้วเสร็จ โดยจำเลยที่ ๑ ทำงานงวดที่ ๓ เสร็จวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ งวดที่ ๙เสร็จวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๘ งวดที่ ๕ และงวดที่ ๖ เสร็จวันที่ ๑๔พฤษภาคม ๒๕๓๘ โจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ต้องรับผิดชำระค่าปรับให้โจทก์ตามสัญญาเป็นเงินวันละ ๖๓,๙๐๐ บาทรวมเวลา ๑๖๒ วัน เป็นเงิน ๑๐,๓๕๑,๘๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ ๑ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๓ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์ในวงเงิน ๓,๑๙๕,๐๐๐ บาท ด้วยโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับแล้ว แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันชำระเงิน ๑๐,๓๙๙,๒๔๕.๗๕บาท และให้จำเลยที่ ๓ ชำระเงิน ๓,๒๑๐,๙๗๕ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ตามลำดับ

จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า สัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค (ระยะที่ ๒)จังหวัดสระบุรี เป็นสัญญาจ้างเหมาซึ่งถือเอาผลสำเร็จของงานก่อสร้างทั้งหมด กับระยะเวลาเสร็จงานงวดสุดท้ายตามกำหนดในสัญญาเป็นวันสิ้นสุดแห่งสัญญา โดยที่การแบ่งงวดงานออกเป็น ๑๐ งวดนั้น เป็นการแบ่งเพื่อการชำระค่างานแต่ละงวด ซึ่งการทำงานแต่ละงวดไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ คงมีผลเพียงทำให้จำเลยที่ ๑ยังไม่มีสิทธิที่จะรับเงินค่างวดนั้น ๆ เท่านั้น มิได้เป็นผลทำให้จำเลยที่ ๑ ตกเป็นผู้ผิดสัญญาแต่อย่างใด แม้สัญญาจะได้กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗ แต่ปรากฎว่าระหว่างระยะเวลาตามสัญญาโจทก์ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่การทำงานให้แก่จำเลยที่ ๑ เข้าไปดำเนินการได้ตามปกติ ทำให้จำเลยที่ ๑ ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเงื่อนไขและข้อกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ จำเลยที่ ๑ จึงขอให้โจทก์ต่ออายุสัญญาวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ โจทก์และจำเลยที่ ๑ได้มีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ โดยโจทก์ตกลงต่ออายุสัญญาให้จำเลยที่ ๑ อีก ๕๐วันนับแต่วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ทำให้สัญญาไปสิ้นสุดลงในวันที่ ๒กันยายน ๒๕๓๘ และให้ถือว่าช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ ๓ ธันวาคม๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ นั้น จำเลยที่ ๑ ไม่เป็นผู้ผิดสัญญาเมื่อแก้ไขสัญญาแล้วมีผลให้งานทุกงวดรวมทั้งงานงวดที่ ๓ งวดที่ ๕งวดที่ ๖ และงวดที่ ๙ ขยายออกไปจนถึงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๘จำเลยที่ ๑ ได้ส่งงานงวดที่ ๓ งวดที่ ๕ งวดที่ ๖ และงวดที่ ๙ ภายในระยะเวลาที่โจทก์ได้ต่ออายุสัญญาให้แก่จำเลยที่ ๑ และโจทก์ได้ชำระค่างวดงานทั้ง ๔ งวด ให้แก่จำเลยที่ ๑ แล้ว จำเลยที่ ๑ จึงไม่ผิดสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ ๒๐,๐๐๐ บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑๐,๓๙๙,๒๔๕.๗๕ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ ๓ ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ในยอดเงินจำนวน ๓,๒๑๐,๙๗๕บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม ๓๐,๐๐๐ บาท ให้จำเลยที่ ๓ร่วมรับผิดสำหรับค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ ๓ ต้องร่วมรับผิดและร่วมรับผิดในค่าทนายความ ๑๐,๐๐๐ บาท

จำเลยทั้งสามฎีกา

ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ ๒เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๑ ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ ๒) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน ๖๓,๙๐๐,๐๐๐ บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น ๑๐ งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม ๑๐ งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน๓๐ วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ ๑ กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันและในงวดที่ ๑๐ งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน ๓๖๐ วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน ในสัญญาข้อ ๖ เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ ๓ ธันวาคม๒๕๓๗ มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และสัญญาข้อ ๑๖ เรื่องค่าปรับกำหนดว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ ๖๓,๙๐๐ บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ ๒) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.๓ มีจำเลยที่ ๓ ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ ๑ ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน ๓,๑๙๕,๐๐๐ บาท โดยมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ ๑ หรือยินยอมให้จำเลยที่ ๑ ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ ๓ ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.๖ ต่อมาวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ ๑ มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.๓โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ ๔ งวดที่ ๘ และงวดที่ ๑๐และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ ๓ ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ ๑เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา ๕๐ วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ ๔ กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ ๑ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ ๒) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ ๒๓๘/๒๕๓๖ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๑) เอกสารหมาย จ.๑๘ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.๑๘ และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ ๑ ครบถ้วนแล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ส่งมอบงานในงวดที่๙ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๘ งวดที่ ๓ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘และงานในงวดที่ ๕ และที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗ อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป ๑๖๒ วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ ๙ งวดที่๓ งวดที่ ๕ และงวดที่ ๖ โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ ๑ เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ ๖๓,๙๐๐ บาท จำนวน๑๖๒ วัน เป็นเงิน ๑๐,๓๕๑,๘๐๐ บาท และเรียกให้จำเลยที่ ๓ ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.๑๘ ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ ๔ งวดที่ ๘ และงวดที่ ๑๐ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๑๘ ข้อ ๔ จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ ๔ งวดที่ ๘ และงวดที่ ๑๐ ได้เท่านั้นแต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๑๘ เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ดังนั้นการตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ข้อ ๑ ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ ๔ ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน ๖๓,๙๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน ๔,๑๘๐,๓๗๓.๘๓ บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ ๖ เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ ๓ธันวาคม ๒๕๓๗ ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ ๑๖ เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ ๖๓,๙๐๐ บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.๓เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน ๖๓,๙๐๐,๐๐๐ บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗ แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง ๑๐ งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ ๑ ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ ๑๐ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ ๖๓,๙๐๐ บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .๑ ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗ หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗ ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ ๖๓,๙๐๐ บาท แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.๓ ว่าเป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น ๑๐งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ ๖ ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.๑๘ ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ ๔ งวดที่ ๘ และงวดที่ ๑๐ โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ ๓ ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา ๕๐ วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิมต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ ๖ ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.๓ โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา แม้ตามความในข้อ ๔ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.๑๘ จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ ๔ งวดที่ ๘ และงวดที่ ๑๐ ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ ๔ ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.๑๘ จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ไม่มีผลบังคับ เมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๑๘ แล้วจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ ๑ เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความสำหรับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒เป็นเงินรวม ๓๐,๐๐๐ บาท และจำเลยที่ ๓ เป็นเงินรวม ๑๒,๐๐๐ บาท.




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?