ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 •  คำพิพากษาศาลฎีกา 822/2567

•  กฎหมายลาภมิควรได้

•  สัญญานายหน้าและค่านายหน้า

•  ข้อพิพาทสัญญานายหน้าขายที่ดิน

•  ค่าถมดินในสัญญานายหน้า

•  ป.พ.พ. มาตรา 406 และ 845

•  การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2567 สรุปได้ดังนี้:

จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินและกำหนดค่านายหน้า 3% หากจำเลยขายที่ดินได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดิน โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 20,784,998.78 บาท พร้อมดอกเบี้ย

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 206,360 บาท พร้อมดอกเบี้ย

ศาลฎีกาพิจารณาแล้วว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยชำระค่านายหน้า 81,360 บาทเกินกว่าคำขอของโจทก์นั้นขัดต่อกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายจากการปรับถมที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 แต่เนื่องจากการปรับถมดินเป็นประโยชน์ต่อจำเลย ถือว่าจำเลยได้รับลาภมิควรได้ จำเลยต้องชดใช้เงิน 125,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไป

ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ยกส่วนที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระค่านายหน้า เหลือเพียงให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการถมดินจำนวน 125,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

*หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีดังนี้:

1.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406: มาตรานี้ว่าด้วยหลักลาภมิควรได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินหรือผลประโยชน์โดยไม่มีมูลเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้นต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ที่เสียเปรียบ กรณีนี้จำเลยได้รับประโยชน์จากการถมดินที่โจทก์ดำเนินการ โดยไม่มีเหตุอันควร จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้นคืนแก่โจทก์

2.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845: มาตรานี้ว่าด้วยการไม่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายของนายหน้า นอกจากจะมีการตกลงไว้ล่วงหน้า หากนายหน้าดำเนินการใด ๆ ที่เกินจากหน้าที่ตามสัญญา โดยไม่มีการตกลงชัดเจน นายหน้าจะไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายนั้น กรณีนี้ โจทก์ทำการถมดินเพื่อจูงใจผู้ซื้อโดยไม่มีการระบุไว้ในสัญญา จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการถมดิน

3.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142: มาตรานี้ห้ามศาลพิพากษาเกินไปกว่าคำขอของคู่ความ ศาลจะต้องพิจารณาตามคำขอที่ยื่นต่อศาลเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่านายหน้าที่เกินไปกว่าคำขอของโจทก์จึงถือว่าขัดต่อมาตรานี้

4.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225: มาตรานี้กำหนดว่าฎีกาของคู่ความต้องยกประเด็นที่ได้กล่าวถึงในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มาก่อน การฎีกาที่ไม่ได้มีการยกขึ้นในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์มาก่อน ถือเป็นการต้องห้าม

5.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246: มาตรานี้ว่าด้วยข้อห้ามไม่ให้ศาลพิจารณาเกินไปจากข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดี ศาลต้องพิจารณาเฉพาะข้อที่คู่ความได้โต้แย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ การพิจารณาที่เกินไปจากนี้ถือเป็นการต้องห้าม

6.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252: มาตรานี้ระบุว่าฎีกาจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาไว้ การฎีกาในข้อที่ไม่เคยยกขึ้นมาก่อนในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ถือว่าผิดเงื่อนไขตามมาตรานี้และศาลจะไม่รับวินิจฉัย

การอธิบายเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมศาลฎีกาจึงพิจารณาคดีตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2567

จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินตกลงค่านายหน้าในอัตราร้อยละ 3 จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยไม่สุจริตปราศจากมูลที่จะอ้างตามสัญญาหรือกฎหมายได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดิน 125,000 บาท ค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากการปรับถมที่ดิน 14,355,099 บาท และค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ 5,000,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อถือได้ว่าเป็นผลจากการที่โจทก์ได้ติดต่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อ พิพากษาให้จำเลยใช้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายจำนวน 2,712,000 บาท เป็นเงิน 81,360 บาท เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือที่โจทก์มีคำขอบังคับ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์จากราคาที่ผู้ซื้อกับจำเลยทำการซื้อขายกันจริงจำนวน 6,000,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่าการซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อกับจำเลยไม่ได้เป็นผลมาจากการชี้ช่องหรือจัดการให้ของโจทก์ จำเลยไม่ต้องใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์ เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

*การที่โจทก์ปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยที่มีโจทก์เป็นนายหน้าเพื่อจูงใจให้มีผู้สนใจมาซื้อที่ดิน โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงเรื่องนี้แล้วจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงถือได้ว่าโจทก์ทำการปรับถมดินในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต แม้ค่าใช้จ่ายนี้โจทก์รับว่า ตามสัญญานายหน้าไม่มีการระบุเรื่องของการถมดินและค่าใช้จ่ายในการถมดิน ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 แต่ดินที่ถมดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกัน อันเป็นประโยชน์ในการขายต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์คือดินที่ถมนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นกันได้ จำเลยจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์นั้นแก่โจทก์ มิใช่ชดใช้ราคาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ดินในการถมประมาณ 97 ลูกบาศก์เมตร ถมดินสูงขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินจำนวน 125,000 บาท จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์โจทก์หรือฎีกาโต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินไป จำนวน 125,000 บาท อันถือเป็นราคาทรัพย์ที่จำเลยต้องชดใช้คืนแก่โจทก์


***โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 20,784,998.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 19,480,099 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

*จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

*ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ (ที่ถูก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ)

*โจทก์อุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 206,360 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 24 มกราคม 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 วรรคสอง บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 8,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

*โจทก์และจำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561 จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยตามโฉนดเลขที่ 2945, 25637, 25638, 25639 และ 25640 ซึ่งที่ดินทั้งห้าแปลงอยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่จำเลยสามารถขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเนื่องมาจากผลแห่งการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 10,271,250 บาท จำเลยตกลงยินยอมจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 3 สัญญานายหน้าให้ใช้บังคับได้เพียงวันที่ 9 มีนาคม 2562 และในกรณีที่โจทก์ยังไม่สามารถชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้ซื้อมาทำการซื้อที่ดิน จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ ตามหนังสือสัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญานายหน้าไปยังโจทก์ ต่อมาวันที่ 24 กันยายน 2562 ที่ดินทั้งห้าแปลงของจำเลยได้รวมโฉนดเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25637 เลขที่ 407 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 44.8 ตารางวา ตามหนังสือสำนักงานที่ดิน 2 กับสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 2945 ที่แสดงรูปจำลองของที่ดินทั้งห้าแปลง แล้วแบ่งแยกใหม่เป็นที่ดิน 4 แปลง ตามที่ปรากฏรูปจำลองในสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 25637 ดังกล่าว หลังจากนั้นวันที่ 27 กันยายน 2562 มีนายนิคม จดทะเบียนซื้อที่ดินจากจำเลยตามโฉนดเลขที่ 200414 ซึ่งเป็นแปลงหนึ่งที่จำเลยได้ทำการแบ่งแยกใหม่

*พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยให้จำเลยใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์เป็นผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้นายนิคมซื้อที่ดินจากจำเลยจนสำเร็จนั้น เป็นการวินิจฉัยและพิพากษาเกินไปกว่าคำขอของโจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยไม่สุจริตปราศจากมูลที่จะอ้างตามสัญญาหรือกฎหมายได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงมีคำขอให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดิน 125,000 บาท ค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากการปรับถมที่ดิน 14,355,099 บาท และค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ 5,000,000 บาท ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยขายที่ดินให้แก่นายนิคมถือได้ว่าเป็นผลจากการที่โจทก์ได้ติดต่อนายนิคมจนนายนิคมตัดสินใจซื้อ แล้วพิพากษาให้จำเลยใช้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาซื้อขาย จำนวน 2,712,000 บาท เป็นเงิน 81,360 บาทนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือที่โจทก์มีคำขอบังคับ อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์จากราคาที่นายนิคมกับจำเลยทำการซื้อขายกันจริงจำนวน 6,000,000 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท และที่จำเลยฎีกาด้วยว่า การซื้อขายที่ดินระหว่างนายนิคมกับจำเลยไม่ได้เป็นผลมาจากการชี้ช่องหรือจัดการให้ของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยไม่ต้องใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์ นั้น จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

*คดีมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า โจทก์มีสิทธิได้รับการชดใช้จากจำเลยในค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินและค่าที่ดินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ข้อนำสืบของโจทก์ในการปรับปรุงถมดินในที่ดินของจำเลยที่มีโจทก์เป็นนายหน้าเพื่อจูงใจให้มีผู้สนใจมาซื้อที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงเรื่องนี้แล้วจำเลยไม่ได้คัดค้าน จำเลยไม่ได้กล่าวในฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยนี้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทำการปรับถมดินในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต แม้ค่าใช้จ่ายนี้โจทก์จะเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยรับว่า ตามสัญญานายหน้าไม่มีการระบุเรื่องของการถมดินและค่าใช้จ่ายในการถมดิน ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 วรรคสอง ดังฎีกาของจำเลยก็ตาม แต่ดินที่ถมดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดินที่จะซื้อจะขายกัน อันเป็นประโยชน์ในการขายต่อไป กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งทรัพย์คือดินที่ถมนั้น โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ลักษณะลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ ที่จำเลยฎีกาว่า ทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นลาภมิควรได้ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยนั้น ไม่อาจรับฟังได้ แต่เมื่อสภาพทรัพย์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร โดยสภาพย่อมไม่อาจคืนทรัพย์นั้นกันได้ จำเลยจึงต้องคืนโดยใช้ราคาทรัพย์นั้นแก่โจทก์ มิใช่ชดใช้ราคาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นดั่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยซึ่งศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นราคาค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป คงพิจารณาเฉพาะราคาทรัพย์ที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ ในข้อนี้ตามคำเบิกความของผู้รับจ้างโจทก์ทำการถมดินในที่ดินของจำเลย ปรากฏว่าใช้ดินในการถมประมาณ 97 ลูกบาศก์เมตร ถมดินสูงขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินจำนวน 125,000 บาท ซึ่งจำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์โจทก์หรือฎีกาโต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินไปจำนวน 125,000 บาท อันถือเป็นราคาทรัพย์ที่จำเลยต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งก็ตรงกับราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากการถมดินที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดให้เป็นเงิน 125,000 บาท กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยมาในเรื่องลาภมิควรได้แล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์และจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

*พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในส่วนที่ให้จำเลยใช้ค่านายหน้าแก่โจทก์ 81,360 บาท พร้อมดอกเบี้ย คงให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 125,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ


ตัวอย่างคำฟ้องคดีแพ่ง (ข้อพิพาทสัญญานายหน้า)

ศาลที่ยื่นฟ้อง: ศาลจังหวัด...

หมายเลขคดี: (หมายเลขคดี)

โจทก์: (ชื่อ-นามสกุล โจทก์)

จำเลย: (ชื่อ-นามสกุล จำเลย)

คำฟ้อง

ด้วยเมื่อวันที่ (ระบุวันที่ทำสัญญา) จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดิน เลขโฉนดที่ (ระบุเลขโฉนด) โดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยขายที่ดินได้สำเร็จโดยเป็นผลมาจากการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการให้ จำเลยจะต้องชำระค่านายหน้าในอัตราร้อยละ (ระบุเปอร์เซ็นต์) ของราคาซื้อขายให้แก่โจทก์ แต่เมื่อวันที่ (ระบุวันที่บอกเลิกสัญญา) จำเลยได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยไม่สุจริตและไม่มีมูลอันจะอ้างตามสัญญาหรือกฎหมายได้

ภายหลัง จำเลยได้ขายที่ดินดังกล่าวแก่ (ชื่อผู้ซื้อ) โดยการชี้ช่องและการดำเนินการที่โจทก์จัดให้ แต่จำเลยมิได้ชำระค่านายหน้าตามที่ตกลงไว้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406, มาตรา 845 ว่าด้วยลาภมิควรได้และสิทธิของนายหน้าในการเรียกค่านายหน้า


*คำขอท้ายคำฟ้อง

1.ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่านายหน้าจากราคาที่ขายที่ดินดังกล่าว เป็นเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ (ระบุอัตราดอกเบี้ย) ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

2.ขอให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการปรับถมที่ดินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) บาท ซึ่งโจทก์ได้เสียไปเพื่อการขายที่ดิน พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ (ระบุอัตราดอกเบี้ย) ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

3.ขอให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความแทนโจทก์

ลงชื่อ (ชื่อ-ตำแหน่ง ทนายความ/ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์)

*หมายเหตุ: คำฟ้องนี้เป็นตัวอย่างที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษากฎหมายและทนายความจบใหม่ในการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย ควรปรับปรุงรายละเอียดตามแต่ละกรณี.




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?