ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์

บิดา มารดา และบุตร ทนาย อาสา ปรึกษา เรื่อง อำนาจปกครองบุตร ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์

•  คำพิพากษาศาลฎีกา กู้ยืมเงิน

•  ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หลักกฎหมาย

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 คดีแพ่ง

•  ข้อกำหนดการปิดอากรแสตมป์ สัญญากู้

•  การใช้เอกสารกู้ยืมเงินเป็นหลักฐาน

•  การฟ้องร้องสัญญากู้ยืมและอากรแสตมป์

สรุปคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2567

โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกคืนเงินกู้จำนวน 200,000 บาทตามสัญญากู้เงิน แต่จำเลยอ้างว่าได้กู้เงินเพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ย 10% ต่อเดือนและได้รับเงินสุทธิเพียง 45,000 บาท โดยอ้างว่าสัญญาที่โจทก์ใช้เป็นเอกสารปลอมและระบุจำนวนเงินเกินจริง ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กลับคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี โดยลดลงเหลือ 3% ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 จนกว่าจะชำระเสร็จ

เมื่อคดีถึงชั้นศาลฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาว่าสัญญากู้เงินที่โจทก์นำเสนอต่อศาลต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เนื่องจากสัญญามีลักษณะเป็นตราสารเงิน แต่เนื่องจากไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ จึงถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ลงลายมือชื่อของจำเลย การฟ้องร้องจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องตามที่จำเลยต่อสู้คดี โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมของทุกศาลเป็นพับ

อธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. ประมวลรัษฎากร มาตรา 118

มาตรานี้กำหนดให้เอกสารที่เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงิน เช่น หนังสือสัญญากู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรท้ายประมวลรัษฎากร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลทางกฎหมายและสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ หากสัญญากู้ยืมไม่มีการปิดอากรแสตมป์ เอกสารดังกล่าวจะไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ซึ่งในคดีนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าหนังสือสัญญากู้เงินของโจทก์ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงถือว่าไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

 

มาตรานี้กำหนดว่าการฟ้องร้องเพื่อเรียกคืนเงินกู้ยืม จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่ลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเป็นสำคัญ กล่าวคือ หากโจทก์ต้องการฟ้องร้องเพื่อเรียกคืนเงินกู้จากจำเลย โจทก์ต้องแสดงเอกสารสัญญากู้ที่ลงลายมือชื่อของจำเลยเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืม หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือเอกสารที่ลงลายมือชื่อ ผู้ฟ้องจะไม่สามารถฟ้องร้องเพื่อบังคับคดีกับผู้กู้ได้

  โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้ จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน  ศาลฎีกาเห็นว่าหนังสือสัญญากู้เงินระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ แต่หนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างส่งไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้  ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินจึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ 

 

•  คำพิพากษาศาลฎีกา กู้ยืมเงิน •  ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หลักกฎหมาย •  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 คดีแพ่ง •  ข้อกำหนดการปิดอากรแสตมป์ สัญญากู้ •  การใช้เอกสารกู้ยืมเงินเป็นหลักฐาน •  การฟ้องร้องสัญญากู้ยืมและอากรแสตมป์

 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

 

หลักฐานกู้ยืมเงิน, สัญญากู้ยืมเงิน, ปิดอากรแสตมป์, ฟ้องไม่ได้,

 

 

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 291,791 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันทำสัญญา (วันที่ 1 เมษายน 2558) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 จำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์ไว้ มีข้อความว่าจำเลยกู้เงินของโจทก์ 200,000 บาท ได้รับเงินไปครบถ้วนเสร็จแล้วตั้งแต่วันทำสัญญานี้ จำเลยจะนำเงินมาชำระให้เสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ตามหนังสือสัญญากู้เงิน เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยไม่ชำระ

 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงประการเดียวว่า หนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างส่งศาลเป็นเอกสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์และใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650-2567)




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?