ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ

ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ

ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตโดยผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการดังนั้นวัตถุประสงค์ของสัญญาจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมไม่เป็นโมฆะ เมื่อผู้จะซื้อรู้ถึงข้อเท็จจริงภายหลังแต่ในขณะที่ผู้จะขายอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผู้จะซื้อไม่ต้องรับผิดชอบ ผู้จะซื้อไม่ยอมชำระเงินงวดต่อๆมาจึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดไม่ ผู้จะขายจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ต่อมาคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  218/2539

 ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืน หรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ10 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการดังนี้วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อๆมาจึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปกลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยเมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
 
   โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2533 โจทก์ทั้งสี่ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินที่จำเลยโฆษณาว่าเป็นผู้จัดสรรรวม 4 แปลง ราคา 10,767,500 บาทในการโฆษณาขายจำเลยอ้างว่าได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินและสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2534 หลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้พัฒนาที่ดินตามสัญญา โจทก์ทั้งสี่ได้ตรวจสอบที่กรมที่ดินจึงทราบว่า จำเลยยังมิได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน โจทก์ทั้งสี่จึงหยุดชำระเงินตามสัญญา โดยขอให้จำเลยแสดงหลักฐานการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน แต่จำเลยไม่อาจแสดงใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินให้ตรวจสอบได้รวมเงินที่โจทก์ทั้งสี่ชำระให้จำเลยแล้ว 1,722,800 บาท การที่จำเลยนำที่ดินออกขายโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงเป็นโมฆะ ต้องคืนสู่ฐานะเดิม แต่จำเลยกลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และริบเงินของโจทก์ทั้งสี่ที่ได้ชำระให้จำเลยไว้แล้วจำเลยจึงต้องคืนเงิน 1,722,800 บาท แก่โจทก์ทั้งสี่พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไปโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้ชำระแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้พิพากษาว่า
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามสำเนาท้ายฟ้องเป็นโมฆะ ให้จำเลยคืนเงิน 1,722,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่

          จำเลยให้การว่า จำเลยประกอบการค้าที่ดินตามฟ้องโดยได้รับอนุญาตจากทางราชการถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ โจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจเรียกเงินที่ได้ชำระแล้วคืนเพราะโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระราคาค่าที่ดินตามสัญญา ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง
          โจทก์ ทั้ง สี่ อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยคืนเงิน 1,722,800 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่
          จำเลย ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่าเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2533 โจทก์ทั้งสี่ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยคนละ 1 แปลง รวม 4 แปลง คือที่ดินพิพาทรวมเป็นเงิน 10,767,500 บาท โดยชำระเงินเป็นงวด ๆ และจะชำระเงินส่วนที่เหลือภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2534 แล้วจำเลยจะนัดโจทก์ทั้งสี่ไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 โจทก์ทั้งสี่ได้ชำระเงินค่าที่ดิน 4 งวด เป็นเงิน 1,722,800 บาท แล้วไม่ชำระเงินอีกเพราะเพิ่งทราบว่าจำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยได้ยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินที่พิพาทเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2533 ตามคำขออนุญาตเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินได้อนุญาตให้ทำการจัดสรรโดยมีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2533 ตามหนังสือแจ้งการอนุญาตเอกสารหมาย ล.2 และต่อมาวันที่ 9 ตุลาคม 2534 ก็ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินพิพาทแล้ว ตามใบอนุญาตเอกสารหมาย ล.3 เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทตามเวลาที่กำหนดในสัญญาจะซื้อจะขาย 3 งวด ติดกันจำเลยจึงแจ้งให้ชำระเงินและบอกเลิกสัญญา ตามเอกสารหมาย ล.6 ถึง ล.8 หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสี่ก็ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยและทวงเงินที่ได้ชำระไปแล้วคืนตามเอกสารหมาย จ.5

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นโมฆะหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว จำเลยแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดิน ข้อ 10 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ โดยอีกฝ่ายหนึ่งคือโจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 ย่อมไม่เป็นโมฆะ

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่าเมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมชำระเงินงวดต่อ ๆ มาอีกโจทก์ทั้งสี่หาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 ไม่ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาโจทก์ทั้งสี่ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ทั้งสี่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปกลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ทั้งสี่แล้วพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์ทั้งสี่และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงิน 1,722,800 บาท ที่ได้ชำระไปแล้ว ส่วนปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้นเมื่อเป็นเงินที่จำเลยจะต้องใช้คืน ให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยและเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง และมาตรา 7 โจทก์ทั้งสี่จะเรียกอัตราร้อยละ15 ต่อปีหาได้ไม่ เพราะโจทก์ทั้งสี่มิได้นำสืบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายว่าเสียหายอย่างไรเท่าใด

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่ด้วยนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
 
 
 ป.พ.พ.

มาตรา 7  ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

มาตรา 150  การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 205  ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่

มาตรา 391  เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น
การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286

ข้อ 10 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการการขอและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและให้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?