ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา

ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา

ก่อนเกิดเหตุคดีนี้โจทก์ให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลในการทำประกันชีวิตและโจทก์ได้ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับ โจทก์กู้เงินจากกรมธรรม์ประกันชีวิตของโจทก์จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 432,700 บาท แล้วนำเงินที่กู้ยืมมาดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 3 กู้ยืม ต่อมาจำเลยที่ 3 นำเงินมาใช้คืนให้แก่โจทก์ แล้วจากนั้นโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คให้จำเลยที่ 1 โดยผ่านจำเลยที่ 2 และที่ 3 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล ขณะโจทก์ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล จำเลยที่ 3 ได้นำเอกสารซึ่งเป็นแบบฟอร์มต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 หลายฉบับมาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ จากนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันนำเอกสารที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ไปดำเนินการขอทำสัญญาประกันชีวิตซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงและออกกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ให้โจทก์ 4 ฉบับ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตเดิมของโจทก์ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ 500,000 บาท  แต่เนื่องจากโจทก์มีเงินกู้ค้างชำระ(จำเลยที่ 1) อยู่ 501,422.48 บาท จำเลยที่ 1 จึงหักหนี้ที่ค้างชำระแล้ว โจทก์คงเป็นหนี้ค้างชำระ 1,422.48 บาท โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้วแต่ตัวแทนจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่โจทก์ชำระหนี้ไปทำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ซึ่งโจทก์ได้เคยปฏิเสธไปก่อนแล้ว โจทก์จึงขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ออกให้ใหม่ แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธโดยอ้างว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่มีผลตามกฎหมายแล้ว 

เมื่อพิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ 4 ฉบับ รวมแล้วเป็นเงิน 501,090.40 บาท ใกล้เคียงกับจำนวนเงิน 500,000 บาท โดยเฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ทั้งสองฉบับ ระบุเบี้ยประกันภัยเป็นเงิน 301,079 บาท และ 14,596.40 บาท รวมเป็นเงิน 315,675.40 บาท มีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนเงินตามเช็คที่สั่งจ่ายเป็นเงิน 315,000 บาท เช่นเดียวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ทั้งสองฉบับ ระบุเบี้ยประกันภัยเป็นเงิน 89,115 บาท และ 96,300 บาท รวมเป็นเงิน 185,415 บาท มีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนเงินตามเช็คที่สั่งจ่ายเป็นเงิน 185,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเช็คแต่ละฉบับวันที่ที่สั่งจ่ายเช็คและจำนวนเงินที่สั่งจ่ายสอดคล้องกับวันที่ที่จำเลยที่ 1 ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตและจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ชำระด้วย จึงเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็ค เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม

การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 3 นำมามอบให้และโจทก์ยินยอมไปตรวจสุขภาพและได้สั่งจ่ายเช็คให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัย โจทก์ได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์จึงบ่งชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการจึงไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2559

ข้อที่โจทก์แก้ฎีกาอ้างมาเป็นเหตุผลบางประการที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาประกอบคำวินิจฉัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ฉ้อฉลหลอกลวงในประเด็นว่าจำเลยทั้งสามใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ แม้ฎีกาของจำเลยที่ 1 จะไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาวินิจฉัยดังกล่าวโดยตรงก็ตาม แต่เมื่ออ่านฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งฉบับแล้ว ก็เห็นได้ว่าเนื้อหาของฎีกาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องและมีรายละเอียดแสดงเหตุผลว่าที่ถูกควรเป็นเช่นไร ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง)

พฤติการณ์ของโจทก์บ่งชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการดังกล่าว และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 และร่วมกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการประกันชีวิตให้โจทก์มาก่อนลงลายมือชื่อเป็นตัวแทนในใบคำขอเอาประกันชีวิตของโจทก์และเอกสารที่เกี่ยวข้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิตทั้ง 4 ฉบับ และให้จำเลยทั้งสามชดใช้เงินจำนวน 521,875 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยทั้งสามขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 24,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ จำนวน 521,875 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 14 กันยายน 2550) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 35,000 บาท คำขออื่นให้ยก

จำเลยทั้งสามฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบธุรกิจประกันชีวิต จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามีภริยากันและเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการแนะนำ ชักชวน และให้คำปรึกษาในการประกันชีวิตเพื่อให้มาทำประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ก่อนเกิดเหตุคดีนี้โจทก์ให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลในการทำประกันชีวิตและโจทก์ได้ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับ ฉบับแรกแบบตลอดชีพมีเงินปันผล วงเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท ค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 17,004 บาท ครบกำหนดสัญญาวันที่ 12 กรกฎาคม 2605 ฉบับที่ 2 แบบสะสมทรัพย์สตรี 20 ปี ไม่มีเงินปันผล วงเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท ค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 36,245.50 บาท ครบกำหนดสัญญาวันที่ 24 พฤษภาคม 2558 ฉบับที่ 3 แบบสะสมทรัพย์ 20 ปี ตรีคูณ วงเงินเอาประกันภัย 2,500,000 บาท ค่าเบี้ยประกันภัยรายหกเดือน 145,510 บาท ครบกำหนดสัญญาวันที่ 26 ธันวาคม 2564 โจทก์กู้เงินจากกรมธรรม์ประกันชีวิตของโจทก์จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 432,700 บาท และตกลงเสียดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี หรือกว่านั้นเมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนประกันชีวิต แล้วนำเงินที่กู้ยืมมาดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 3 กู้ยืม ต่อมาจำเลยที่ 3 นำเงินมาใช้คืนให้แก่โจทก์ แล้วจากนั้นโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คให้จำเลยที่ 1 โดยผ่านจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช็คฉบับแรก จำนวนเงิน 315,000 บาท ฉบับที่ 2 จำนวนเงิน 185,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล ขณะโจทก์ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล จำเลยที่ 3 ได้นำเอกสารซึ่งเป็นแบบฟอร์มต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 หลายฉบับมาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ จากนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันนำเอกสารที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ไปดำเนินการขอทำสัญญาประกันชีวิต โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงและออกกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ให้โจทก์ 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับแรกแบบสะสมทรัพย์ 25 ปี วันเริ่มสัญญาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 วงเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท เบี้ยประกันภัยปีละ 89,115 บาท ฉบับที่ 2 แบบสะสมทรัพย์ 20 ปี วันเริ่มสัญญา วันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 วงเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท เบี้ยประกันภัยปีละ 96,300 บาท ฉบับที่ 3 แบบสะสมทรัพย์ 25 ปี วันเริ่มสัญญาวันที่ 31 ตุลาคม 2549 วงเงินเอาประกันภัย 4,000,000 บาท เบี้ยประกันภัยปีละ 301,079 บาท และฉบับที่ 4 แบบตลอดชีพไม่มีเงินปันผล วันเริ่มสัญญาวันที่ 31 ตุลาคม 2549 วงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เบี้ยประกันภัยปีละ 14,596.40 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตเดิมของโจทก์ ซึ่งครบกำหนดรอบปีในวันที่ 26 ธันวาคม 2549 และครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ 500,000 บาท หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ของวงเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ แต่เนื่องจากโจทก์มีเงินกู้ค้างชำระอยู่ 501,422.48 บาท จำเลยที่ 1 จึงหักหนี้ที่ค้างชำระแล้ว โจทก์คงเป็นหนี้ค้างชำระ 1,422.48 บาท โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้วและไม่มีหนี้กับจำเลยที่ 1 แต่ตัวแทนจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่โจทก์ชำระหนี้ไปทำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ซึ่งโจทก์ได้เคยปฏิเสธไปก่อนแล้ว โจทก์ต้องการทำประกันภัยเพิ่มเพียง 6,000 บาท เท่านั้น จึงไม่ได้อ่านเอกสารที่นำมาให้ลงลายมือชื่อเพราะไว้ใจ จึงขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ออกให้ใหม่ แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธโดยอ้างว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่มีผลตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงร้องเรียนและขอความเป็นธรรมต่อกรมการประกันภัย

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของโจทก์ก่อนว่า ฎีกาของจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อนี้โจทก์แก้ฎีกาว่า ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ถูกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฉ้อฉล โดยไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยทำนองว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเอกสารที่จำเลยที่ 3 ให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แต่ได้นำเอกสารไปกรอกข้อความและลงลายมือชื่อว่าเป็นตัวแทนในใบคำขอเอาประกันชีวิต ทำให้น่าระแวงสงสัยว่าไม่น่าจะเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ดังที่โจทก์นำสืบมา พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบพฤติการณ์แห่งคดีดังวินิจฉัยมามีน้ำหนักเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 ฉ้อฉลโจทก์ให้ลงลายมือชื่อในเอกสารแล้วให้จำเลยที่ 2 ไปกรอกข้อความตามลำพังโดยโจทก์ไม่ยินยอม ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกเป็นอย่างไรจึงไม่ชัดแจ้ง นั้น เห็นว่า ข้อที่โจทก์แก้ฎีกาอ้างมาดังกล่าวเป็นเหตุผลบางประการที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาประกอบคำวินิจฉัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ให้ลงลายมือชื่อในเอกสารที่ยังไม่ได้กรอกข้อความในประเด็นว่า จำเลยทั้งสามใช้กลฉ้อฉลให้โจทก์ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตตามฟ้องหรือไม่ แม้ฎีกาของจำเลยที่ 1 จะไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาวินิจฉัยโดยตรงก็ตาม แต่เมื่ออ่านฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งฉบับแล้ว ก็เห็นได้ว่าเนื้อหาของฎีกาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ซึ่งรวมถึงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิต 7 ฉบับ ต้องเสียเบี้ยประกันภัยปีละเกือบ 1,000,000 บาท น่าจะเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยของบุคคลทั่วไปว่าไม่ถูกต้องและมีรายละเอียดแสดงเหตุผลว่าที่ถูกควรจะเป็นเช่นไร ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงกล่าวไว้โดยแจ้งชัดแล้ว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง)

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำการฉ้อฉลให้โจทก์ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่รวม 4 ฉบับหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยทั้งสามฎีกาว่า โจทก์มีเจตนาทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการยื่นคำขอประกันชีวิตตามกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่รวม 4 ฉบับ เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์นั้น เห็นว่า แม้ขณะที่โจทก์สั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับ โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากกรมธรรม์ประกันชีวิตของโจทก์ เป็นเงิน 432,700 บาท ก็ตาม แต่เช็คที่โจทก์สั่งจ่าย 2 ฉบับ เป็นเงินรวม 500,000 บาท มากกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ฉบับแรกจำนวนเงิน 315,000 บาท ฉบับที่ 2 จำนวนเงิน 185,000 บาท ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าเหตุใดโจทก์จึงต้องสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวเป็น 2 ฉบับ และที่โจทก์อ้างว่าจำนวนเงินตามเช็ครวมดอกเบี้ยด้วยนั้น โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด แม้ตามสัญญากู้เงินกำหนดว่าโจทก์จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 8 ต่อปี เมื่อคิดดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 8 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 อันเป็นวันที่โจทก์ทำสัญญากู้ถึงวันที่โจทก์อ้างว่าสั่งจ่ายเช็ค เพื่อชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เป็นเวลาประมาณ 1 ปี 11 เดือน คิดดอกเบี้ยได้ประมาณ 66,348 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 432,700 บาท แล้วเป็นเงิน 499,048 บาท จะใกล้เคียงกับจำนวนเงิน 500,000 บาท แต่เมื่อพิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ 4 ฉบับ รวมแล้วเป็นเงิน 501,090.40 บาท ใกล้เคียงกับจำนวนเงิน 500,000 บาท โดยเฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ทั้งสองฉบับ ระบุเบี้ยประกันภัยเป็นเงิน 301,079 บาท และ 14,596.40 บาท รวมเป็นเงิน 315,675.40 บาท มีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนเงินตามเช็คที่สั่งจ่ายเป็นเงิน 315,000 บาท เช่นเดียวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ทั้งสองฉบับ ระบุเบี้ยประกันภัยเป็นเงิน 89,115 บาท และ 96,300 บาท รวมเป็นเงิน 185,415 บาท มีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนเงินตามเช็คที่สั่งจ่ายเป็นเงิน 185,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเช็คแต่ละฉบับวันที่ที่สั่งจ่ายเช็คและจำนวนเงินที่สั่งจ่ายสอดคล้องกับวันที่ที่จำเลยที่ 1 ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตและจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ชำระด้วย จึงเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็ค เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมดังที่โจทก์อ้างมาแต่อย่างใด ประกอบกับได้ความตามคำเบิกความของโจทก์อีกว่า จำเลยที่ 3 ได้นำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่มามอบให้โจทก์ด้วย แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านหรือทักท้วงปล่อยให้ล่วงเลยเวลามาหลายวันจึงได้ติดต่อจำเลยที่ 3 เพื่อขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ ที่โจทก์อ้างว่าเอกสารหรือกรมธรรม์ประกันชีวิตที่จำเลยที่ 3 มามอบให้และให้ลงลายมือชื่อรับเอกสารเป็นแฟ้ม เมื่อมาตรวจสอบในภายหลังจึงทราบว่าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่นั้น ทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏถึงเหตุผลที่โจทก์ไม่ได้ตรวจดูหรือสอบถามจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว ทั้งที่เอกสารมีสภาพเป็นแฟ้มและโจทก์ยังต้องลงลายมือชื่อรับเอกสารซึ่งแสดงถึงความสำคัญของเอกสารอีกด้วย จึงเป็นการผิดปกติวิสัยอย่างยิ่ง ข้ออ้างของโจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้นการที่โจทก์ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 3 นำมามอบให้โดยทราบอยู่แล้วว่า เอกสารดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการขอเอาประกันชีวิตของโจทก์ต่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ยินยอมไปตรวจสุขภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของจำเลยที่ 1 ตลอดจนได้สั่งจ่ายเช็คให้จำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยอีกด้วย ขณะโจทก์ได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่ที่จำเลยที่ 3 นำมามอบให้ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์จึงบ่งชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ที่จะทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอให้โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการจึงไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่กับจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 และร่วมกับจำเลยที่ 3 เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการประกันชีวิตให้โจทก์มาก่อน ได้ลงลายมือชื่อเป็นตัวแทนในคำขอเอาประกันชีวิตของโจทก์และเอกสารที่เกี่ยวข้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฉ้อฉลโจทก์ให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตใหม่กับจำเลยที่ 1 เช่นกัน จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ฉ้อฉลโจทก์และพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?