

ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน การพักชำระหนี้ตามมาตรการโควิด-19 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ เป็นเพียงการขอความร่วมมือ มิใช่คำสั่งบังคับ การขยายเวลาชำระหนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 มิฉะนั้น ผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิดในสัญญา *สรุปบทความ: มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในสถานการณ์โรคโควิด-19 และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน* มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งต่อสถาบันการเงินนั้น เป็นเพียงการขอความร่วมมือ มิใช่คำสั่งบังคับ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญา แต่หากเลือกดำเนินการ จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันและผู้ค้ำประกัน กรณีนี้ โจทก์ (เจ้าหนี้) ผ่อนปรนการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 (ลูกหนี้) โดยพักชำระหนี้ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน 2563 รวม 6 งวด และขยายระยะเวลาการชำระหนี้งวดสุดท้ายจากเดิมที่กำหนดในเดือนธันวาคม 2567 เป็นเดือนมิถุนายน 2568 แม้ว่าการพักชำระหนี้นี้ไม่ได้เปลี่ยนจำนวนงวด แต่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ ทำให้ในระหว่างนี้โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ถือว่าผิดนัด อย่างไรก็ตาม การพักชำระหนี้ดังกล่าวส่งผลให้ภาระของจำเลยที่ 2 (ผู้ค้ำประกัน) ยาวนานขึ้นตามเงื่อนไขใหม่ของสัญญา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเข้าข่ายการผ่อนเวลาชำระหนี้ตาม **ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง** ซึ่งกำหนดให้การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน หากไม่มีความยินยอม ผู้ค้ำประกันย่อมพ้นจากความรับผิด ในกรณีนี้ โจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ จึงทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ประเด็นสำคัญ** การพักชำระหนี้แม้ช่วยลูกหนี้ในระยะสั้น แต่มีผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันจะไม่ผูกพันตามกฎหมายอีกต่อไป ข้อกฎหมายอ้างอิง** ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง**: การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน มิฉะนั้นผู้ค้ำประกันจะพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2567 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งไปยังสถาบันการเงินตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งการที่บังคับให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติ หากแต่เป็นเพียงการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินเท่านั้น และตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563 ข้อ 2 (3) ระบุชัดเจนว่าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามมาตรการนี้ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญา แต่หากมีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญาออกไปก็ขอให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับหลักประกันและผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งผลการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ตามที่กำหนดในสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2563 ถึงงวดเดือนกันยายน 2563 รวม 6 งวด แล้วให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม 2563 ถึงงวดเดือนมิถุนายน 2568 แทนนั้น แม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนงวดที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ เพราะจำเลยที่ 1 ยังต้องชำระค่าเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นภายใน 72 งวด แต่ก็เป็นผลให้ในระหว่างนี้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ และการจะพักชำระหนี้ตามมาตรการดังกล่าวหรือไม่ยังต้องคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากข้อความตอนท้ายของหนังสือที่โจทก์มีไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 1 แสดงความไม่ประสงค์ให้โจทก์ทราบภายในกำหนดด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าการพักชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแต่ละงวดเป็นเพียงชะลอการผิดนัดของลูกหนี้ในระหว่างสัญญาเท่านั้น เมื่อค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายที่เดิมถึงกำหนดชำระเดือนธันวาคม 2567 ถูกขยายระยะเวลาไปอีก 6 เดือน เป็นเดือนมิถุนายน 2568 การพักชำระหนี้ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีลักษณะเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับภาระผูกพันตามสัญญายาวนานขึ้นจากที่ระบุในสัญญา หากโจทก์จะให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นอันเป็นการผ่อนเวลาออกไปในส่วนของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันนั้นก็ต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง คือ ต้องให้จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น การที่โจทก์เพียงมีหนังสือแจ้งผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ตกลงยินยอมในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ด้วย จึงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไปตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 553,645.47 บาท ดอกเบี้ยช่วงพักชำระหนี้ 17,030.22 บาท ค่าขาดประโยชน์นับแต่จำเลยที่ 1 ผิดนัดจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 เดือน เป็นเงิน 45,000 บาท และค่าขาดประโยชน์ต่อไปอีกเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทน พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 598,645.47 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 351,873 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 13 สิงหาคม 2564) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดประโยชน์ 36,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และชำระค่าขาดประโยชน์อีกเดือนละ 4,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทน แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 6 เดือน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทน เฉพาะค่าขาดประโยชน์ให้ชำระ 8,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 351,873 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (พิพากษาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่โจทก์อุทธรณ์ และให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ 36,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 13 สิงหาคม 2564) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่โจทก์อุทธรณ์ และให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายอีกเดือนละ 4,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนเสร็จแก่โจทก์ แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 6 เดือน กับให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยระหว่างพักชำระหนี้ 17,030.22 บาท ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันรับฟังได้เป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ในราคา 691,290.47 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตกลงชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือน รวม 72 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 1 มกราคม 2562 และงวดต่อไปทุกวันที่ 1ของทุกเดือน งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 12 งวดละ 7,275 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) งวดที่ 13 ถึงงวดที่ 71 งวดละ 10,069 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) งวดที่ 72 ชำระ 9,919.47 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาค้ำประกัน หลังทำสัญญาจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อ 17 งวด เป็นเงิน 137,645บาท โจทก์พักชำระหนี้ให้ 6 เดือน โดยคิดดอกเบี้ยระหว่างพักชำระหนี้อัตราร้อยละ 9.18 ต่อปี เป็นเงิน 17,030.22 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 18 ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2563 สามงวดติดต่อกันเป็นต้นมา โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญาภายใน 30 วัน แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ตามหนังสือ เรื่อง ให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาพร้อมใบไปรษณีย์ตอบรับในประเทศ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้อันมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งผลการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ตามที่กำหนดในสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2563 ถึงงวดเดือนกันยายน 2563 รวม 6 งวด แล้วให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม 2563 ถึงงวดเดือนมิถุนายน 2568 แทน นั้น แม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนงวดที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ เพราะจำเลยที่ 1 ยังต้องชำระค่าเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นภายใน 72 งวด แต่ก็เป็นผลให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้องวดเดือนเมษายน 2563 ถึงงวดเดือนกันยายน 2563 โดยไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัด ซึ่งในระหว่างนี้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อได้ ทั้งค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายที่เดิมถึงกำหนดชำระเดือนธันวาคม 2567 ยังถูกขยายระยะเวลาไปอีก 6 เดือน เป็นเดือนมิถุนายน 2568 การพักชำระหนี้ที่เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีลักษณะเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับภาระผูกพันตามสัญญายาวนานขึ้นจากที่ระบุในสัญญา ทั้งมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งไปยังสถาบันการเงิน ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งการที่บังคับให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติ หากแต่เป็นเพียงการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งโจทก์เองก็ยอมรับในข้อนี้ การจะพักชำระหนี้ตามมาตรการดังกล่าวหรือไม่จึงยังต้องคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากข้อความตอนท้ายของหนังสือที่โจทก์มีไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 1 แสดงความไม่ประสงค์ให้โจทก์ทราบภายในกำหนดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563 ข้อ 2 (3) ยังกล่าวชัดเจนว่าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามมาตรการนี้ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญา แต่หากมีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญาออกไปก็ขอให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับหลักประกันและผู้ค้ำประกัน อันเป็นการย้ำให้เห็นว่าการพักชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามมาตรการดังกล่าวเป็นเพียงให้ชะลอการผิดนัดของลูกหนี้ในระหว่างสัญญาเท่านั้น ดังนั้น หากโจทก์จะให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นอันเป็นการผ่อนเวลาออกไปในส่วนของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันนั้นก็ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ต้องให้จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น การที่โจทก์เพียงมีหนังสือแจ้งผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ตกลงยินยอมในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ด้วย จึงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้นชอบแล้วฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ 1. สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ 2. ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน 3. พักชำระหนี้ตามมาตรการธนาคารแห่งประเทศไทย 4. การขยายเวลาชำระหนี้ 5. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง 6. ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด 7. สิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้ในสัญญาเช่าซื้อ 8. คำพิพากษาศาลฎีกาคดีผู้บริโภค สรุปคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเช่าซื้อรถยนต์** โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และ 2 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน พร้อมดอกเบี้ยและค่าขาดประโยชน์ จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์คืนหรือชำระราคาแทน 351,873 บาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าขาดประโยชน์ และกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แทนในบางส่วน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้คำพิพากษาให้ดอกเบี้ยอัตราใหม่ตามประกาศกระทรวงการคลัง และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าการที่โจทก์พักชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เนื่องจากไม่มีการยินยอมจากจำเลยที่ 2 ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่า การพักชำระหนี้ดังกล่าวส่งผลให้จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะไม่มีการตกลงยินยอมจากจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น **พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ** **หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง** ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *มาตรา 700 วรรคหนึ่ง* ระบุว่า: "ถ้าลูกหนี้ได้ตกลงกับเจ้าหนี้ให้ขยายเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะพ้นจากความรับผิดสำหรับหนี้ที่ได้ค้ำประกันไว้" *คำอธิบายหลักกฎหมาย* 1. *การผ่อนเวลาชำระหนี้ (Extension of Time)* การผ่อนเวลาชำระหนี้หมายถึงการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันเพื่อขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาชำระหนี้ออกไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาเดิม เช่น การพักชำระหนี้ หรือการขยายกำหนดเวลาการชำระหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ 2. *ผลต่อผู้ค้ำประกัน* หากเจ้าหนี้ตกลงขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ *โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน* จะถือว่าผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในหนี้นั้น - เหตุผลคือการขยายเวลาชำระหนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงและภาระต่อผู้ค้ำประกันเกินกว่าที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาเดิม ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว มิฉะนั้นความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะสิ้นสุดลง 3. *การคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกัน* กฎหมายมุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกันที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในข้อตกลงใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา เช่น การผ่อนเวลาชำระหนี้ อาจส่งผลให้ภาระของผู้ค้ำประกันหนักขึ้นหรือยาวนานขึ้นจากที่ตกลงไว้เดิม *ตัวอย่างในบทความ* ในคดีนี้ โจทก์ (เจ้าหนี้) ได้ขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 (ลูกหนี้) ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 (ผู้ค้ำประกัน) แม้การช่วยเหลือดังกล่าวจะเป็นผลจากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้บังคับให้สถาบันการเงินต้องดำเนินการ และโจทก์ได้ดำเนินการขยายเวลาชำระหนี้โดยลำพัง การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ตกลงยินยอมในส่วนนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นจากความรับผิดตามหลักกฎหมายในมาตรา 700 วรรคหนึ่ง สรุปความสำคัญ หลักการในมาตรา 700 วรรคหนึ่ง ย้ำความสำคัญของการปกป้องสิทธิของผู้ค้ำประกันในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา ผู้ค้ำประกันต้องได้รับการยินยอมก่อนเพื่อคงความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายในสัญญา *ความหมายของการที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง ระบุว่า หากเจ้าหนี้ตกลงขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะพ้นจากความรับผิดในหนี้นั้น เนื่องจากการขยายเวลาชำระหนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงหรือภาระให้แก่ผู้ค้ำประกันเกินกว่าที่ตกลงไว้เดิม ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มิฉะนั้น ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะสิ้นสุดลง ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ค้ำประกันชนะคดี (หลุดพ้นจากความรับผิด) 1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2551 เจ้าหนี้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ โดยผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ศาลวินิจฉัยว่าผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 700 วรรคหนึ่ง 2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมในการผ่อนเวลา แต่ศาลเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะ และผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิด 3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2562 โจทก์มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบถึงการผิดนัดของลูกหนี้เมื่อพ้นกำหนด 60 วันตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน 4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2551 เจ้าหนี้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ โดยผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ศาลวินิจฉัยว่าผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 700 วรรคหนึ่ง กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้ค้ำประกันแพ้คดี (ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด) 1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2547 การที่โจทก์ไม่ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และปล่อยเวลาให้ล่วงเลย 8 เดือน จึงมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด 2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2561 โจทก์ยอมรับชำระหนี้บางส่วนจากผู้ค้ำประกัน ย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์เฉพาะเท่าที่ปลดหนี้ให้ เมื่อยังมีหนี้ส่วนที่เหลือ ลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้อีกจนครบจำนวน และไม่หลุดพ้นจากความรับผิด 3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2549 แม้จำเลยจะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกัน แต่หนี้ยังไม่ระงับสิ้นไป ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าว 4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมในการผ่อนเวลา แต่ศาลเห็นว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะ และผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิด สรุป การที่ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 700 วรรคหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน หากมีการผ่อนเวลาโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้ค้ำประกันย่อมพ้นจากความรับผิด แต่หากไม่มีการผ่อนเวลาหรือได้รับความยินยอม ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดตามสัญญา |