ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ

•  นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน

•  ทิ้งอุทธรณ์ จำหน่ายคดี

•  ฟ้องแย้งขอเพิกถอนสัญญาขายที่ดิน

•  ปัญหาการชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์,ฎีกา

•  คดีรื้อถอนอาคารตามคำสั่งศาล

สรุป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567

จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ เนื่องจากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน โดยศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินที่มีปัญหาและชำระค่าเสียหาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมดำเนินการตามสัญญา ศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์ชนะในคดีหลักและยกฟ้องแย้งของจำเลย

เมื่อขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ จำเลยเสียค่าขึ้นศาลไม่ครบ ศาลอุทธรณ์จึงสั่งให้ศาลชั้นต้นแจ้งจำเลยชำระเงินเพิ่มเติม แต่จำเลยไม่ดำเนินการตามที่กำหนด ศาลอุทธรณ์ถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้งและให้จำหน่ายคดีในคดีหลักด้วย อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องเนื่องจากอุทธรณ์ของจำเลยยังคงครอบคลุมคดีหลักได้ ศาลฎีกาจึงสั่งให้พิจารณาคดีใหม่โดยย้อนสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนเกินให้จำเลยเนื่องจากชั้นฎีกาในประเด็นที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปศาลอุทธรณ์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่จำนวนเสียค่าขึ้นศาลมี 200,000 บาท

หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) และมาตรา 246

1. มาตรา 174 (2): เป็นหลักที่ใช้กำหนดให้ถือว่าจำเลยหรือคู่ความที่ยื่นอุทธรณ์ "ทิ้งอุทธรณ์" ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด เช่น การชำระค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะมีผลให้ไม่พิจารณาอุทธรณ์นั้นต่อไป เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการพิจารณาคดี แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าขึ้นศาล ศาลจะถือว่าจำเลย "ทิ้งอุทธรณ์" และคดีในส่วนที่ไม่ปฏิบัติตามนั้นจะถูกจำหน่ายคดี

2. มาตรา 246: ระบุว่าการยื่นอุทธรณ์ต้องมีการชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หากผู้ยื่นอุทธรณ์เพิกเฉยหรือละเลย ศาลมีสิทธิ์ที่จะไม่รับอุทธรณ์และถือว่าผู้ยื่นอุทธรณ์ "ทิ้งอุทธรณ์" ในส่วนดังกล่าวเช่นเดียวกัน

*ในคดีนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับข้อพิพาทในการขายที่ดินและฟ้องแย้งเพื่อให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ แต่จำเลยไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลในส่วนของฟ้องแย้งให้ครบถ้วนในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้งตามมาตรา 174 (2) และ 246 ขณะที่ศาลฎีกาเห็นว่าคดีหลักยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก่อน จึงให้ย้อนคดีไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาต่อ

สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน, ทิ้งอุทธรณ์ จำหน่ายคดี, ฟ้องแย้งขอเพิกถอนสัญญาขายที่ดิน, ปัญหาการชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์,ฎีกา, คดีรื้อถอนอาคารตามคำสั่งศาล, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567,

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567

จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินตกเป็นโมฆะและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนอีก 215,500 บาท นั้น แม้ในอุทธรณ์ของจำเลยแผ่นสุดท้ายจะมีลายมือเขียนคำว่า "ฟ้องแย้ง" ไว้เหนือตราประทับเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นลายมือเขียนของพนักงานรับฟ้องอุทธรณ์ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ในส่วนฟ้องเดิมและในส่วนฟ้องแย้งมีจำนวน 28,000,000 บาทเท่ากัน และตามสำเนาใบรับเงินค่าธรรมเนียมท้ายอุทธรณ์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องเดิมหรือฟ้องแย้ง ทั้งการตรวจรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน มิใช่นิติกรรมที่สมบูรณ์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาคดีในส่วนฟ้องเดิมตามอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป ส่วนที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 110500 และ 110501 หากจำเลยและบริวารไม่ยอมรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินดังกล่าว ให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดิน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่าย กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายวันละ 20,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินและส่งมอบที่ดินในสภาพเรียบร้อยให้โจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์และพิพากษาว่าสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ห้ามโจทก์ยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 110500 และ 110501 และให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์วันละ 15,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 12 มิถุนายน 2560) เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปและส่งมอบที่ดินในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ กับให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท คำขออื่นให้ยก ยกฟ้องแย้งจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมฟ้องแย้งเป็นพับ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิม ให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องเดิมเสียจากสารบบความศาลอุทธรณ์ และให้ยกอุทธรณ์จำเลยในส่วนฟ้องแย้ง คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งให้แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ได้ความว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยเสียค่าขึ้นศาลขาดไป 200,000 บาท ศาลอุทธรณ์จึงให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เสร็จแล้วจึงให้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปได้ วันที่ 26 ธันวาคม 2562 วันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 15 วัน วันที่ 13 มกราคม 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินเกินระยะเวลาการวางเงิน ยกคำร้อง จึงฟังได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 อย่างไรก็ดี คดีนี้ จำเลยฎีกาว่าจำเลยอุทธรณ์ทั้งในส่วนของฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องเดิม 200,000 บาท และในส่วนของฟ้องแย้ง 200,000 บาท จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว 200,000 บาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว เห็นว่า คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากจำเลย ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ขอให้ยกฟ้องและให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทและยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ยกฟ้องของโจทก์และบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิม 200,000 บาท และในส่วนฟ้องแย้ง 200,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งมาเพียง 200,000 บาท ศาลอุทธรณ์จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิม 200,000 บาท ภายใน 15 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และยกอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้ง เมื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมแล้ว จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินตกเป็นโมฆะและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนอีก 215,500 บาท นั้น แม้ในอุทธรณ์ของจำเลยแผ่นสุดท้ายจะมีลายมือเขียนคำว่า "ฟ้องแย้ง" ไว้เหนือตราประทับเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเป็นลายมือเขียนของพนักงานรับฟ้องอุทธรณ์ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ในส่วนฟ้องเดิมและในส่วนฟ้องแย้งมีจำนวน 28,000,000 บาท เท่ากัน และตามสำเนาใบรับเงินค่าธรรมเนียมท้ายอุทธรณ์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องเดิมหรือฟ้องแย้ง ทั้งการตรวจรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน มิใช่นิติกรรมที่สมบูรณ์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาคดีในส่วนฟ้องเดิมตามอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป ส่วนที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำหน่ายคดีจำเลยในส่วนฟ้องเดิมเสียจากสารบบความศาลอุทธรณ์ และยกอุทธรณ์จำเลยในส่วนฟ้องแย้งนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

อนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา 199,800 บาท ให้จำเลย

พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องเดิมแล้วพิพากษาใหม่ กับพิจารณามีคำสั่งเกี่ยวกับอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งเสียใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 199,800 บาท ให้จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?