ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค

ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  กฎหมายกู้ยืมเงิน

•  หลักฐานการกู้ยืมเงิน

•  ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

•  คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการกู้ยืม

•  ข้อตกลงการกู้ยืมเงินในไลน์

•  พ.ร.บ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

•  กฎหมายแพ่ง มาตรา 653

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2567 สรุปได้ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยโดยอ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงิน จำเลยโต้แย้งว่าการโอนเงินดังกล่าวเป็นการร่วมลงทุนธุรกิจ ศาลพิจารณาแล้วว่า การกู้ยืมเงินตั้งแต่ครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 18 มีหลักฐานการสนทนาในโปรแกรมไลน์ (LINE) ที่จำเลยพิมพ์ "ตกลง" ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9 ส่วนการกู้ยืมครั้งที่ 1, 19 และ 20 โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลย จึงฟ้องเรียกคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนด และยกฟ้องสำหรับเงินครั้งที่ 1, 19 และ 20

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2567 ได้แก่:

1.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง: กฎหมายมาตรานี้กำหนดว่า การกู้ยืมเงินที่มีจำนวนเกินกว่า 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของผู้กู้ยืม หากไม่มีหลักฐานดังกล่าว จะไม่สามารถฟ้องร้องให้บังคับชำระหนี้ได้ กล่าวคือ หลักฐานเป็นหนังสือเป็นข้อกำหนดที่มีผลบังคับทางกฎหมายในการพิสูจน์ว่ามีการกู้ยืมเงินจริง

2.พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544:

oมาตรา 7: ระบุว่า การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารให้ถือว่ามีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับเอกสารที่ทำเป็นหนังสือ ซึ่งหมายความว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเป็นการสื่อสารหรือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายเหมือนเอกสารที่เป็นกระดาษ

oมาตรา 8: กล่าวถึงการที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แทนเอกสารนั้น ต้องสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้เมื่อจำเป็น ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ในธุรกรรม

oมาตรา 9: กำหนดว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะถือว่าใช้แทนลายมือชื่อบนเอกสาร ถ้าลายมือชื่อดังกล่าวสามารถแสดงความตั้งใจของบุคคลที่ลงลายมือชื่อในการยืนยันหรือยอมรับข้อมูลนั้น

การประยุกต์ใช้ในกรณีคำพิพากษา: ในคดีนี้ ศาลยอมรับหลักฐานการสนทนาผ่านโปรแกรมไลน์ (LINE) เป็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 7, 8, และ 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากข้อความที่จำเลยตอบ “ตกลง” แสดงถึงความยินยอมและถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อบนกระดาษ แต่ก็เป็นหลักฐานที่มีผลตามกฎหมายการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2567

แม้จำเลยให้การรับว่าได้รับเงินโอนจากโจทก์แล้วทั้งยี่สิบครั้งและพิมพ์คำว่า "ตกลง" ในโปรแกรมไลน์ (LINE) ตามที่โจทก์ให้พิมพ์ แต่การรับของจำเลยเป็นการรับตามที่ปรากฏในฟ้องเท่านั้น จำเลยยังมีข้อต่อสู้ว่าการโอนเงินดังกล่าวไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงินแต่เป็นการร่วมลงทุนประกอบธุรกิจออกแบบ ค้าขายเสื้อผ้า และส่งออกหน่อไม้ในลักษณะของการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งยังไม่มีการชำระบัญชี โจทก์จึงยังไม่สามารถฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อการกู้ยืมเงินครั้งที่ 1 โจทก์อ้างเพียงสำเนาเอกสารที่ธนาคารออกให้เป็นหลักฐานว่า ธนาคารได้ทำการโอนเงิน 50,000 บาท เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เท่านั้น ไม่มีข้อความในเรื่องการกู้ยืมเงิน ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 1 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมมาแสดง ส่วนการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ปรากฏข้อความที่จำเลยพิมพ์ตอบ "ตกลง" เพื่อตกลงการกู้ยืมเงินตามที่โจทก์อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินครั้งดังกล่าวแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยสำหรับการกู้ยืมครั้งที่ 1 ครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง

*สำหรับการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 18 ซึ่งโจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยในทำนองเดียวกันว่า "ช. จะจัดทำธุรกรรมให้ยืมเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) ให้แก่ ฐ. เพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจ การกู้ยืมเงินนี้ไม่คิดดอกเบี้ยและยังไม่บังคับวันกำหนดชำระเงินคืน ลงวันที่... (พิมพ์ตกลงเพื่อยืนยัน)" ซึ่งจำเลยได้พิมพ์ข้อความว่า "ตกลง" ตอบกลับมาในโปรแกรมไลน์ (LINE) ซึ่งจำเลยรับว่ามีการส่งข้อความโต้ตอบเช่นนี้จริง การสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) เป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่ออ่านข้อความสนทนาของโจทก์และจำเลยประกอบกันแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยตกลงกู้ยืมเงินแต่ละครั้งตามจำนวนที่ระบุในโปรแกรมไลน์ (LINE) แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อจำเลยไว้แต่เมื่อจำเลยยอมรับว่าส่งข้อความตอบตกลงการที่โจทก์จะให้กู้ยืมเงินจริง ข้อความสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยผู้กู้ยืมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

 

•  กฎหมายกู้ยืมเงิน  •  หลักฐานการกู้ยืมเงิน  •  ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  •  คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการกู้ยืม  •  ข้อตกลงการกู้ยืมเงินในไลน์  •  พ.ร.บ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์  •  กฎหมายแพ่ง มาตรา 653


****โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 2,366,630.14 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,100,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

*จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

*ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

*โจทก์อุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับว่า ให้จำเลยชำระเงิน 2,100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2564 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามฟ้อง ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 8,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งสองศาลให้เป็นพับ

*จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์ ขณะเกิดเหตุพิพาทอายุ 29 ปีเศษ ประกอบอาชีพการงานอยู่ที่สมาพันธรัฐสวิส จำเลยเกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2541 ขณะเกิดเหตุพิพาทอายุ 20 ปีเศษ ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำเลยมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร ก. สาขาบิ๊กซี นครสวรรค์ (วี - สแควร์) บัญชีเลขที่ 006 – 1 – 82xxx – x ชื่อบัญชี "น.ส. ฐิตามินทร์" จำเลยมีโปรแกรมไลน์ (LINE) บัญชีชื่อ SHIRLEYT โจทก์กับจำเลยพบและรู้จักกันบนเครื่องบินโดยสารระหว่างเดินทางไปสมาพันธรัฐสวิส และเป็นการพบกันเพียงครั้งเดียว จากนั้นโจทก์และจำเลยใช้โปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าวส่งข้อความสนทนากัน โจทก์โอนเงินให้จำเลย 20 ครั้ง ต่อมาจำเลยแจ้งโจทก์ว่าธุรกิจที่นำเงินจากโจทก์ไปลงทุนไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ โจทก์จึงไม่ประสงค์จะสนับสนุนทางการเงินแก่จำเลยอีกต่อไป และทวงถามให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว แต่จำเลยไม่ชำระคืน โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามส่งไปยังจำเลยทางไปรษณีย์ว่าให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 แต่จำเลยยังคงเพิกเฉย โจทก์จึงมอบอำนาจให้นายเกรียงศักดิ์บิดาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ สำหรับจำนวนเงินที่จำเลยรับว่าได้รับโอนจากโจทก์เป็นเงินรวม 2,100,000 บาท นั้น ศาลตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำนวนเงินตามฟ้องที่ถูกต้องรวมเป็นเงิน 2,150,000 บาท อย่างไรก็ตามเมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร ก. บัญชีเลขที่ 006 – 1 – 82xxx – x ของจำเลย 20 ครั้ง รวมเป็นเงิน 2,100,000 บาท และจำเลยได้รับเงินดังกล่าวครบถ้วนแล้ว จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง

*ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ จำเลยฎีกาโดยสรุปว่า ข้อความที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยทางโปรแกรมไลน์ (LINE) ว่า "การกู้ยืมเงินนี้ไม่คิดดอกเบี้ยและยังไม่บังคับวันกำหนดชำระคืน" ย่อมแสดงให้เห็นว่าการโอนเงินดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาให้ผูกพันเป็นการกู้ยืมเงินที่แท้จริง ข้อความที่โจทก์สนทนากับจำเลยทางโปรแกรมไลน์ (LINE) เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาร่วมลงทุนประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าและหน่อไม้กับจำเลย และภาพถ่ายที่จำเลยอ้างส่งก็แสดงถึงสินค้าที่จำเลยนำเงินที่โจทก์โอนให้ไปใช้ดำเนินกิจการบางส่วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักรับฟังได้ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงิน 20 ครั้ง แต่ในการบรรยายฟ้องปรากฏว่า ในการกู้ยืมเงินครั้งที่ 1 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2562 จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 50,000 บาท โดยโจทก์โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร ก. บัญชีเลขที่ 006 – 1 – 82xxx – x ชื่อบัญชี "น.ส. ฐิตามินทร์" ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากของจำเลย ส่วนการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ถึง 20 โจทก์บรรยายฟ้องทำนองเดียวกันว่า เมื่อวันที่ (ระบุวันเดือนปี) โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยทางโปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าวว่า "นายชิษณุจะจัดทำธุรกรรมให้ยืมเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) ให้แก่นางสาวฐิตามินทร์ เพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจ" โดยให้จำเลยพิมพ์คำว่า "ตกลง" เพื่อตกลงการกู้ยืม จำเลยได้ตกลงกู้ยืมเงิน โจทก์จึงโอนเงินให้แก่จำเลยเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร ก. บัญชีเลขที่ 006 – 1 – 82xxx – x ของจำเลย แม้จำเลยให้การรับว่า ได้รับเงินที่โอนจากโจทก์แล้วทั้งยี่สิบครั้ง และพิมพ์คำว่า "ตกลง" โปรแกรมไลน์ (LINE) ตามที่โจทก์ให้พิมพ์ แต่การรับของจำเลยก็เป็นการรับตามที่ปรากฏตามฟ้องเท่านั้น จำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ว่าการโอนเงินดังกล่าวไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงิน แต่เป็นการร่วมกันลงทุนประกอบธุรกิจออกแบบ ค้าขายเสื้อผ้า และส่งออกหน่อไม้ในลักษณะของการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งยังไม่มีการชำระบัญชี โจทก์จึงยังไม่สามารถฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อสืบพยานโจทก์ก็อ้างเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ถึง 24 เป็นพยานหลักฐาน ซึ่งเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 ถึง 21 ศาลชั้นต้นได้หมายเป็นเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.22 ตามลำดับ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 (ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2562) กลายเป็นเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งเป็นเอกสารท้ายคำฟ้องเดิม โดยไม่มีเอกสารเพิ่มเติมอีก โดยเอกสารหมาย จ.3 เป็นเพียงสำเนาเอกสารที่ธนาคารออกให้เป็นหลักฐานว่า ธนาคารได้ทำการโอนเงิน 50,000 บาท เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เท่านั้น ไม่มีข้อความในเรื่องการกู้ยืมเงิน ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 1 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมมาแสดง ส่วนเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 20 และหมายเลข 21 (ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการกู้ยืมตามฟ้องครั้งที่ 19 และ 20 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 และวันที่ 3 กันยายน 2562) กลายเป็นเอกสารหมาย จ.21 และ จ.22 ซึ่งไม่ปรากฏข้อความที่จำเลยพิมพ์ตอบ"ตกลง" เพื่อตกลงการกู้ยืมเงินตามที่โจทก์อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 และวันที่ 3 กันยายน 2562 จำนวนเงิน 50,000 บาท และ 100,000 บาท แต่อย่างใด ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยสำหรับการกู้ยืมครั้งที่ 1 ครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง สำหรับการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 18 โจทก์มีสำเนาโปรแกรมไลน์ (LINE) เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 ถึง 19 ตรงกับเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.20 ซึ่งโจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยในทำนองเดียวกันว่า "นายชิษณุจะจัดทำธุรกรรมให้ยืมเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) ให้แก่นางสาวฐิตามินทร์ เพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจ การกู้ยืมเงินนี้ไม่คิดดอกเบี้ยและยังไม่บังคับวันกำหนดชำระเงินคืน ลงวันที่... (พิมพ์ตกลงเพื่อยืนยัน)" ซึ่งจำเลยได้พิมพ์ข้อความว่า "ตกลง" ตอบกลับมาปรากฏในสำเนาโปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าวมาแสดง ซึ่งจำเลยก็ยอมรับว่ามีการส่งข้อความโต้ตอบกันเช่นนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยจริง การสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าวเป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่ออ่านข้อความสนทนาของโจทก์และจำเลยประกอบกันแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยตกลงกู้ยืมเงินแต่ละครั้งตามจำนวนที่ระบุไว้ในสำเนาโปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าว แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อจำเลยลงไว้ก็ตาม เมื่อจำเลยยอมรับว่าส่งข้อความตอบตกลงการที่โจทก์จะให้กู้ยืมเงินจริง ข้อความสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยผู้กู้ยืมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นเรื่องที่โจทก์นำเงินมาร่วมลงทุนประกอบธุรกิจออกแบบ ค้าขายเสื้อผ้า รวมถึงธุรกิจส่งออกหน่อไม้กับจำเลย ปัจจุบันยังไม่มีการชำระบัญชี โจทก์จึงยังไม่สามารถฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ แตกต่างไปจากหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้จึงตกแก่จำเลย จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความ ซึ่งคำเบิกความดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างขึ้นเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีรายละเอียดว่า จำเลยซื้อผ้าอันเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าจากผู้จำหน่ายผ้ารายใดในย่านพาหุรัด จำนวนเท่าใด และเมื่อใด จำเลยนำผ้าไปให้ช่างรายใดที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลิตตัดเย็บ เป็นชุดอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด และเมื่อใด ทั้งจำเลยไม่มีพยานปากอื่นมาเบิกความสนับสนุนข้ออ้างของจำเลย แม้แต่เพื่อนของจำเลย 2 คน ที่จำเลยอ้างว่าได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้นำเงินที่โจทก์ส่งให้มาว่าจ้างเป็นผู้ช่วยในการประกอบธุรกิจเสื้อผ้า ชุดแฟชั่น ผู้จำหน่ายผ้าให้แก่จำเลยย่านพาหุรัด ช่างที่รับผลิตตัดเย็บเสื้อผ้าให้แก่จำเลย และนางแบบสองคน ที่จำเลยอ้างว่าสวมเสื้อผ้าและชุดแฟชั่นที่จำเลยผลิตมาเบิกความ ส่วนภาพถ่ายหมาย ล.1 และ ล.4 เป็นเพียงภาพผ้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นผ้าสำเร็จรูปมีลวดลายอยู่แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นผ้าที่โจทก์ออกแบบลวดลาย อีกทั้งผ้าตามภาพถ่ายดังกล่าวมีจำนวนน้อย ไม่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่โจทก์โอนมาให้ เอกสารหมาย ล.3 แผ่นที่ 2 ซึ่งเป็นข้อความสนทนาผ่านโปรแกรมไลน์ (LINE) ที่จำเลยอ้างว่าใช้ติดต่อกับนางแบบชื่อแพม ก็เป็นการติดต่อเพื่อขอหมายเลขโทรศัพท์จากนางแบบคนดังกล่าวเท่านั้น ภาพถ่ายหมาย ล.3 แผ่นที่ 3 และแผ่นที่ 4 เป็นภาพถ่ายนางแบบสวมชุดแฟชั่นโดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นชุดแฟชั่นที่จำเลยผลิตขึ้นและการถ่ายภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการว่าจ้างของจำเลย ส่วนธุรกิจส่งออกหน่อไม้และผักกาด (ดอง) ปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยว่า จำเลยได้รับอนุญาตจากบิดาให้ใช้โรงงานหน่อไม้ดองของบิดาซึ่งหยุดกิจการไปแล้วเป็นสถานที่ในการผลิต และจำเลยเป็นฝ่ายซื้อหาหน่อไม้ ผักกาด และวัตถุดิบในการผลิต แต่จำเลยไม่นำสืบรายละเอียดว่า ซื้อวัตถุดิบในการผลิตจากผู้จำหน่ายรายใด จากที่ไหนบ้าง เมื่อใด และจำนวนเท่าใด และจำเลยไม่นำบิดาจำเลยและผู้ที่จำหน่ายวัตถุดิบในการผลิตหน่อไม้มาเบิกความเป็นพยานให้แก่จำเลย และไม่มีหลักฐานภาพถ่ายการประกอบธุรกิจดังกล่าวมาแสดง การลงทุนประกอบธุรกิจเสื้อผ้า ชุดแฟชั่น และธุรกิจส่งออกหน่อไม้และผักกาด (ดอง) เป็นการประกอบธุรกิจที่มีปริมาณการผลิต รายละเอียดและความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย แต่กลับไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายแยกประเภทเพื่อให้เห็นว่าซื้อวัตถุดิบในการผลิตมาเมื่อใด จำนวนเท่าใดและเป็นเงินเท่าใด เสียค่าใช้จ่ายในการผลิตเท่าใด จำหน่ายได้เมื่อใดเป็นจำนวนและเป็นเงินเท่าใด ได้กำไรหรือขาดทุนอย่างไรเท่าใด และจะต้องแบ่งกันกับโจทก์จำนวนเท่าใดและอย่างไร ซึ่งเป็นการผิดปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจที่มีปริมาณการผลิต รายละเอียด และความซับซ้อนเช่นนี้ การที่โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยทางโปรแกรมไลน์ (LINE) ว่าเป็นเรื่องให้กู้ยืมเงิน และให้จำเลยพิมพ์ "ตกลง" เพื่อยืนยันก่อนที่โจทก์จะโอนเงินทุกครั้ง ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยย่อมรู้ว่าเป็นเรื่องการกู้ยืมเงิน ประกอบกับโจทก์และจำเลยพบกันเพียงครั้งเดียวบนเครื่องบินโดยสาร แม้ข้อความสนทนาที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางโปรแกรมไลน์ (LINE) จะมีข้อความเกี้ยวพาราสีจำเลยอยู่บ้าง และยังมีข้อความเป็นบันทึกช่วยจำว่า Funding (เงินลงทุน) Investment (การลงทุน) หรือ business (ธุรกิจ) ในตอนท้ายของสำเนาแบบโอนเงินสำเร็จก็ตาม แต่การที่โจทก์ให้จำเลยตอบตกลงในข้อความที่ให้กู้ยืมเงินทางโปรแกรมไลน์ (LINE) ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจำเลยก็ตอบตกลงแสดงว่าโจทก์และจำเลยประสงค์จะผูกพันกันในลักษณะการกู้ยืมเงิน จึงไม่พอฟังว่าเป็นเรื่องร่วมลงทุน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า การที่โจทก์โอนเงินให้แก่จำเลย จึงมิใช่เป็นการร่วมลงทุนอันเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงิน และพิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์โอนให้ครั้งที่ 2 ถึงที่ 18 พร้อมดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์นั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์โอนให้ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 พร้อมดอกเบี้ยด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฏีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน

*พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 1,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราและระยะเวลาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนด ยกฟ้องสำหรับเงินที่โจทก์โอนให้ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6

*ความรู้เกี่ยวกับ การกู้ยืมเงินผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น LINE หรือ Facebook เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสื่อสารและทำธุรกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในชีวิตประจำวัน รวมถึงการกู้ยืมเงินที่เกิดขึ้นในระบบออนไลน์ ปัญหาที่ตามมาคือเจ้าหนี้มีโอกาสได้เงินคืนหรือไม่ และการสนทนาผ่านแชทสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีตามกฎหมายได้หรือไม่

*ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก กำหนดว่า การกู้ยืมเงินตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมที่ลงลายมือชื่อผู้ยืม มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้

*กฎหมายกำหนดว่า หากการกู้ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาท แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานดังกล่าว แต่ในความเป็นจริง การฟ้องร้องอาจไม่คุ้มค่าเพราะค่าทนายความสูงกว่าจำนวนเงินที่กู้

*หากเป็นการกู้เงินเกิน 2,000 บาท เจ้าหนี้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ ไม่เช่นนั้นจะฟ้องร้องไม่ได้ โดยหลักฐานนี้ต้องระบุการกู้ยืมและมีลายมือชื่อผู้กู้ แม้ผู้ให้กู้ไม่ลงลายมือชื่อก็ตาม ก็ถือว่าเพียงพอในการใช้ฟ้องบังคับหนี้ได้

*พยานหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบกระดาษ แต่สามารถทำบนสื่ออื่น ๆ ที่มีข้อความระบุชัดเจนและลงลายมือชื่อผู้กู้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคแรก

*หากพิจารณาการกู้ยืมเงินผ่าน LINE หรือ Facebook ที่มีข้อความระบุชัดเจนแต่ไม่มีลายมือชื่อผู้กู้ จะไม่ถือเป็นหลักฐานที่ใช้ฟ้องร้องได้ตามมาตรา 653 วรรคแรก

*พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กำหนดว่า ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ยืนยันตัวบุคคลและแสดงการยอมรับข้อความนั้น การกู้ยืมผ่าน LINE หรือ Facebook จึงถือเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แต่ต้องมีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง

*มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ระบุว่า ข้อความอิเล็กทรอนิกส์มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับหลักฐานเป็นหนังสือ และมาตรา 8 ระบุว่า ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยไม่เปลี่ยนความหมาย ถือเป็นหลักฐานที่ใช้ได้ตามกฎหมาย

*ดังนั้น การสื่อสารผ่าน LINE หรือ Facebook ที่ระบุขอกู้ยืมเงิน และมีการยืนยันตัวบุคคลด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถถือเป็นหลักฐานตามกฎหมายได้ หากเป็นไปตามมาตรา 9 ที่กำหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องสามารถระบุตัวผู้ใช้และแสดงการยอมรับข้อความนั้น

*มาตรา 9 ยังระบุถึงวิธีการเชื่อถือได้ที่ควรใช้พิจารณา เช่น ความมั่นคงของระบบ ความสม่ำเสมอในการทำธุรกรรม และความปลอดภัยของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

*กฎหมายรับรองว่าการสื่อสารผ่าน LINE หรือ Facebook ระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้ ถือเป็นหลักฐานเป็นหนังสือหากมีลายมือชื่อผู้กู้ ตามมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องร้องโดยอิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 จึงมีโอกาสสำเร็จ แม้ยังไม่มีคำพิพากษาฎีกาโดยตรง แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง เช่น คำพิพากษาที่ 8089/2556 และ 6757/2560 ซึ่งยืนยันการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานในคดีการกู้ยืมและการปลดหนี้

*การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการรองรับทางกฎหมายเทียบเท่ากับการทำเป็นหนังสือ เพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อถือและผลทางกฎหมาย

 

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บัญญัติว่า *การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่* วรรคสอง  *ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว “




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?