ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน

 ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน

 ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาขายไม้เคี่ยมในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์ มิใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อน สัญญาซื้อขายไม้เคี่ยมมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
 
 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1394/2545
 
      จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาขายไม้เคี่ยมในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์กับโจทก์ มิใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574(11) หากแต่เป็นการทำสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ขัดต่อมาตรา 1574 เพราะไม่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1574 สัญญาซื้อขายไม้เคี่ยมมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
 
   โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2538 จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายปิยะวุฒิ  และเด็กหญิงปวันรัตน์  ได้ทำสัญญาจะขายไม้เคี่ยม 500 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนายทวี สามีจำเลย ในราคาลูกบาศก์เมตรละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ โดยในวันทำสัญญาจำเลยได้รับเงินมัดจำจากโจทก์ 50,000 บาท และตกลงให้จำเลยส่งมอบไม้เคี่ยมให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาหากผิดนัดจำเลยยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 1 เท่า ของราคาค่าไม้ทั้งหมด แต่ถ้าหากโจทก์ผิดนัดยอมให้ยึดเงินมัดจำ แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยไม่ได้ส่งมอบไม้เคี่ยมให้แก่โจทก์ตามสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขาดผลกำไรจากการขายไม้เคี่ยมไม่ต่ำกว่า 2,500,000 บาท แต่โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเท่าเบี้ยปรับ ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและชำระเบี้ยปรับรวมเป็นเงิน 2,050,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
          จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายไม้เคี่ยมตามฟ้องโจทก์จริง แต่โจทก์และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาเป็นการทำสัญญาขึ้นโดยมีเจตนาลวงที่จะใช้สัญญาดังกล่าวนั้นนำไม้เคี่ยมออกมาจากกองมรดก สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะขอให้ยกฟ้อง
 
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายปิยะวุฒิ  และเด็กหญิงปวันรัตน์  ชำระเงินแก่โจทก์ 1,050,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2540 ซึ่งเป็นวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
 
   จำเลยอุทธรณ์
      ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน
   จำเลยฎีกา
 
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2538 จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายปิยะวุฒิ  และเด็กหญิงปวันรัตน์  กับโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายไม้เคี่ยม ตามเอกสารหมาย จ.1 โดยจำเลยตกลงจะขายไม้เคี่ยมจำนวน 500 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนายบุญทวี  ให้แก่โจทก์ ในราคาลูกบาศก์เมตรละ 2,000 บาทรวมเป็นเงิน 1,000,000 บาท จำเลยจะส่งมอบไม้เคี่ยมให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาแต่จำเลยไม่ส่งมอบไม้เคี่ยมดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามสัญญา...
 
  ปัญหาตามฎีกาของจำเลยประการต่อมามีว่า การที่จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายปิยะวุฒิและเด็กหญิงปวันรัตน์ นำไม้เคี่ยมซึ่งเป็นมรดกของนายบุญทวีในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์ทั้งสองไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปหาประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาตต่อศาลเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 หรือไม่ เห็นว่าการที่จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสองดังกล่าวทำสัญญาจะซื้อจะขายไม้เคี่ยมในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์ทั้งสองกับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 ไม่ใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(11) หากแต่เป็นการทำสัญญาขายสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะไม่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1574 แต่อย่างใด สัญญาจะซื้อขายไม้เคี่ยมตามเอกสารหมาย จ.1 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสองดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายไม้เคี่ยมเอกสารหมาย จ.1 ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
 
 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายปิยะวุฒิ  และเด็กหญิงปวันรัตน์ ชำระเงินจำนวน 550,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2540 ซึ่งเป็นวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 มาตรา 1574  นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
 
 มาตรา 1598/4  เงินได้ของผู้อยู่ในปกครองนั้น ผู้ปกครองย่อมใช้ได้ตามสมควรเพื่อการอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของผู้อยู่ในปกครอง ถ้ามีเหลือให้ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เฉพาะในเรื่องต่อไปนี้
(1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน
(2) รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝากหรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(3) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
(4) ลงทุนอย่างอื่นซึ่งศาลอนุญาตเป็นพิเศษ
 



นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?