ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

การซื้อขายที่ดินกำหนดว่าค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะให้ผู้เสนอซื้อเป็นผู้ชำระได้ระบุไว้ในเอกสารการประมูลทรัพย์สินพร้อมขายซึ่งเป็นเอกสารที่ผู้ขายทรัพย์ทำขึ้นและเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบก่อนกำหนดวันทำการแข่งขันราคา ผู้ซื้อได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้เข้าแข่งขันราคาได้รับทราบเงื่อนไขว่าค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้ชนะการแข่งขันราคาเป็นผู้ชำระ เมื่อมีการทราบเงื่อนไขแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องพิจารณาตัดสินใจเองว่าสมควรที่จะเข้าแข่งขันราคาเพื่อซื้อทรัพย์สินหรือไม่ ดังนั้นการเข้าแข่งขันราคาเพื่อซื้อทรัพย์สินจึงต้องถือว่าเป็นความสมัครใจของผู้ซื้อเอง จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นข้อตกลงในสัญญาที่ทำให้ผู้ขายได้เปรียบผู้ซื้อทรัพย์เกินสมควร อันจะเข้าลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เมื่อไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแล้วผู้ซื้อจึงต้องผูกพันตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ทำไว้ ผู้ซื้อจึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับผู้ขายคืนค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2565

เงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้ชนะการแข่งขันราคาเป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งในเอกสารการประมูลทรัพย์สินพร้อมขาย โจทก์ที่ 5 ย่อมต้องทราบดีว่าหากตนชนะการแข่งขันและได้ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย โจทก์ที่ 5 จะต้องมีภาระภาษีจำนวนเท่าใด การที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ที่ 5 เป็นผู้รับภาระในการชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นข้อตกลงในสัญญาที่ทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์ที่ 5 เกินสมควร อันจะเข้าลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ดังนั้น โจทก์ที่ 5 รวมทั้งโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ได้รับอนุมัติจากจำเลยให้ร่วมรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวม 21 โฉนด จากจำเลย ต้องผูกพันตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่โจทก์ที่ 5 ทำไว้

โจทก์ทั้งหกฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1,417,000 บาท ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 4,251,000 บาท ดอกเบี้ย 122,580.21 บาท รวม 5,790,580.21 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 5,668,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งหก

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 2,834,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 5 มกราคม 2560) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งหก กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหกโดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยใช้แทนเท่าจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งหกชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์ทั้งหกและจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นน้องของนายชาญชัย เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 2, 14650, 19211 ถึง 19229 รวม 21 โฉนด เป็นของนายชาญชัย เมื่อนายชาญชัยถึงแก่ความตาย นางผจงจิตต์ ซึ่งเป็นภริยาของนายชาญชัยและในฐานะผู้จัดการมรดกของนายชาญชัยนำที่ดินดังกล่าวโอนชำระหนี้จำนองให้แก่จำเลย วันที่ 14 มีนาคม 2558 โจทก์ที่ 5 ประมูลทรัพย์สินพร้อมขายครั้งที่ 1/2558 ของจำเลย โดยเสนอราคาซื้อทรัพย์สินรายการที่ 6 คือ ที่ดินรวม 21 โฉนด ดังกล่าวในราคา 141,700,000 บาท จำเลยอนุมัติขายทรัพย์สินดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 5 วันที่ 23 มีนาคม 2558 โจทก์ที่ 5 ชำระเงินประกันการซื้อ 14,170,000 บาท พร้อมทำบันทึกข้อตกลงการวางเงินประกันการซื้อทรัพย์ โดยข้อตกลงข้อ 3.2 และ 3.3 มีข้อความว่า ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้เสนอซื้อเป็นผู้รับภาระ โจทก์ที่ 5 ขอขยายระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายครั้ง ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 โจทก์ที่ 5 มีหนังสือถึงจำเลยขอเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากโจทก์ที่ 5 เป็นโจทก์ทั้งหก วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 จำเลยโดยคณะกรรมการซื้อขายทรัพย์สินพร้อมขาย มีมติอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์ที่ 5 เป็นโจทก์ทั้งหก โดยโจทก์ทั้งหกต้องผูกพันตามเงื่อนไขการซื้อทรัพย์เช่นเดียวกับโจทก์ที่ 5 และมีการแบ่งที่ดินเป็น 10 ส่วน โจทก์ที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ 3 ส่วน โจทก์ที่ 2 และที่ 6 ถือกรรมสิทธิ์คนละ 2 ส่วน โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 ถือกรรมสิทธิ์คนละ 1 ส่วนและวันที่ 22 กันยายน 2559 จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 21 โฉนด ให้แก่โจทก์ทั้งหก โดยโจทก์ทั้งหกเป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เงื่อนไขที่กำหนดให้โจทก์ทั้งหกในฐานะผู้ซื้อชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 หรือไม่ เห็นว่า เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่กำหนดให้ผู้เสนอซื้อหรือผู้ชนะการแข่งขันราคาเป็นผู้ชำระนั้น ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งในเอกสารการประมูลทรัพย์สินพร้อมขาย ครั้งที่ 1/2558 ซึ่งเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นและเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดวันทำการแข่งขันราคาในใบลงทะเบียนการแข่งขันราคาทรัพย์สินพร้อมขายทรัพย์สินพร้อมขายฉบับลงวันที่ 11 มีนาคม 2558 ที่โจทก์ที่ 5 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้เข้าแข่งขันราคาก็ได้ระบุไว้ว่า ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ผู้ชนะการแข่งขันราคาเป็นผู้ชำระ อีกทั้งตามบันทึกข้อตกลงการวางเงินประกันการซื้อทรัพย์ที่ทำขึ้นหลังจากโจทก์ที่ 5 ชนะการแข่งขันราคาก็มีเนื้อหาในทำนองเดียวกัน เมื่อมีการกำหนดเงื่อนไขในการแข่งขันราคาไว้ดังกล่าวแล้ว ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 5 จะต้องพิจารณาตัดสินใจเองว่าสมควรที่จะเข้าแข่งขันราคาเพื่อซื้อทรัพย์สินคือที่ดินรวม 21 โฉนด ที่จำเลยนำออกขายหรือไม่ ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 5 เข้าแข่งขันราคาเพื่อซื้อทรัพย์สินดังกล่าวรวมทั้งทำบันทึก จึงต้องถือว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ที่ 5 เอง โจทก์ที่ 5 จึงต้องผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้ชนะการแข่งขันราคาเป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและค่าภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเป็นข้อพิพาทในคดีนี้จะเห็นได้ว่า ค่าภาษีนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าจะต้องชำระเพียงใด มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกำหนดขึ้นเอง ซึ่งโจทก์ที่ 5 ก็ย่อมต้องทราบดีว่าหากตนชนะการแข่งขันและได้ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจะต้องมีภาระภาษีจำนวนเท่าใด การที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ที่ 5 เป็นผู้รับภาระในการชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและค่าภาษีธุรกิจเฉพาะจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นข้อตกลงในสัญญาที่ทำให้จำเลยได้เปรียบโจทก์ที่ 5 เกินสมควร อันจะเข้าลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เมื่อไม่ใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแล้ว โจทก์ที่ 5 รวมทั้งโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ที่ได้รับอนุมัติจากจำเลยให้ร่วมรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวม 21 โฉนด จากจำเลยโดยต้องผูกพันตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่โจทก์ที่ 5 ทำไว้ ก็ไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะได้ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ประเด็นอื่นตามฎีกาของจำเลยจึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งหก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?