ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์

 

 

  ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์

•  การขายที่ดินที่ผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์

•  มาตรา 1574 การอนุญาตจากศาล

•  ผู้แทนโดยชอบธรรมขายทรัพย์สินผู้เยาว์

•  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567

•  กฎหมายคุ้มครองผู้เยาว์

•  อำนาจศาลในการทำนิติกรรมผู้เยาว์

•  การจัดการทรัพย์สินผู้เยาว์โดยผู้ปกครอง

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567 ย่อดังนี้:

คดีนี้ผู้ร้องขอขายที่ดินที่ตนถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้เยาว์ เพื่อการศึกษาของบุตร โดยศาลต้องอนุญาตให้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 เพื่อประโยชน์ผู้เยาว์ โดยมีหลักฐานว่าการขายที่ดินดังกล่าวมีราคาเกินกว่าประเมิน และเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของผู้เยาว์ แม้ศาลชั้นต้นระบุว่าขาดการยินยอมจากมารดา แต่ข้อเท็จจริงคือมารดาไม่ได้ดูแลและติดต่อไม่ได้ ศาลอุทธรณ์อ้างว่าไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือเร่งด่วน แต่ไม่ตรงกับหลักในมาตรา 1574 ที่ให้ศาลกำกับดูแลการทำธุรกรรมเพื่อประโยชน์ผู้เยาว์ จึงพิจารณาให้อนุญาตตามคำร้องของผู้ร้อง

**ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ระบุถึงอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ โดยกำหนดให้การทำนิติกรรมที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากการทำนิติกรรมนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์หรือทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งเป็นหลักที่คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เยาว์โดยเฉพาะ

*ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องการขายทรัพย์สิน เช่น ที่ดินที่ผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้แทนต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์ ศาลจะตรวจสอบว่าเหตุผลในการขายมีความเหมาะสมหรือไม่ และต้องพิจารณาความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เยาว์ โดยศาลจะตัดสินให้การอนุญาตเมื่อพิจารณาเห็นว่าการขายนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ และไม่ทำให้เกิดความเสียหายเกินควร

หลักนี้จึงสะท้อนถึงการกำกับดูแลและปกป้องสิทธิของผู้เยาว์ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดในการทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน.

ผู้ร้องกับนางสาวจิฎาภรณ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายกรกฎ อายุ 21 ปี นายสิรวิชฐ์ อายุ 18 ปี และเด็กหญิงจิตต์สิน อายุ 13 ปี ผู้ร้องกับนางสาวจิฎาภรณ์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องกับนางสาวจิฎาภรณ์หย่ากัน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ร่วมกัน นางสาวจิฎาภรณ์ยกกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้แก่บุตรทั้งสาม ข้อเท็จจริงปรากฏว่าบุตรทั้งสามคนอยู่กับผู้ร้อง ผู้ร้องให้การอุปการะเลี้ยงดูคนเดียว นางสาวจิฎาภรณ์ไม่ได้ติดต่อหรือกลับมาพบบุตรทั้งสามอีก คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินในส่วนของผู้เยาว์ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมแทนผู้เยาว์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าที่ดินพิพาทมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน 4 คนคือผู้ร้องและบุตรอีก 3 คน ผู้ร้องเพียงผู้เดียวที่แบกรับภาระทั้งค่าใช้จ่ายและการดูแลบุตรทั้งสามคน โดยอาศัยรายได้จากค่าเช่าอาคารที่พักอาศัยเพียงเล็กน้อย เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจทำให้ผู้เช่าที่พักลดลง แต่มีภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของผู้เยาว์ทั้งสองยังมีอยู่มากพอสมควร การที่ผู้ร้องจะขอขายทรัพย์กรรมสิทธิ์ร่วม จึงมีเหตุผลเพื่อการศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ เมื่อผู้ร้องในฐานะของผู้แทนโดยชอบธรรมมาร้องขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินโดยประสงค์จะให้ศาลกำกับดูแลเพื่อให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อบุตรผู้เยาว์ เมื่อได้ความว่าการขายที่ดินได้รับราคาที่สูงกว่าราคาประเมินจึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะอนุญาตให้มีการขายได้โดยเร็วเพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์โดยแท้ ที่ศาลชั้นต้นอ้างว่าการทำนิติกรรมขายไม่ได้รับความยินยอมจากนางสาวจิฎาภรณ์มารดาผู้เยาว์ ข้อวินิจฉัยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์แท้จริงที่ผู้เยาว์พึงได้รับ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอ้างว่าไม่มีเรื่องเร่งด่วนหรือเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่ารอให้ผู้เยาว์เจริญวัยจนบรรลุนิติภาวะตัดสินใจเอง ก็เป็นข้อวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่มาตรา 1574 ให้ศาลกำกับดูแลการทำนิติกรรม ไม่ใช่ปล่อยให้ช่วงเวลาที่ยังเป็นผู้เยาว์เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วเมื่อบรรลุนิติภาวะจึงค่อยมาดำเนินการ เหตุผลและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสอง ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น ศาลฎีกาพิพากษากลับ อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567

ผู้ร้องขอขายที่ดินซึ่งผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้เยาว์ เพื่อการศึกษาแก่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตร ผู้ร้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมมาร้องขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ก็เพื่อให้ศาลกำกับดูแลให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์หรือก่อความเสียหายแก่ผู้เยาว์น้อยที่สุด เมื่อได้ความว่าการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งอนาคตของผู้เยาว์และได้รับราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะอนุญาตให้มีการขายได้โดยเร็วเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ ที่ศาลชั้นต้นอ้างว่าการทำนิติกรรมขายไม่ได้รับความยินยอมจาก จ. มารดาผู้เยาว์ เป็นการวินิจฉัยขัดกับข้อเท็จจริงเนื่องจากที่ จ. ไม่ได้ดูแลผู้เยาว์และไม่อาจติดต่อได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอ้างว่า ไม่มีเรื่องเร่งด่วนหรือเหตุฉุกเฉิน ก็ไม่ได้อยู่ในบริบทที่มาตรา 1574 กำหนดไว้ ส่วนที่อ้างว่ารอให้ผู้เยาว์ทั้งสองเจริญวัยจนบรรลุนิติภาวะตัดสินใจเอง ก็เป็นข้อวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่มาตรา 1574 ให้ศาลกำกับดูแลการทำนิติกรรม ไม่ใช่ปล่อยให้ช่วงเวลาที่ยังเป็นผู้เยาว์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์

 

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินโฉนดเลขที่ 91693 พร้อมสิ่งปลูกสร้างในส่วนของผู้เยาว์ทั้งสองที่ถือกรรมสิทธิ์รวมแทนผู้เยาว์ทั้งสอง

ศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวน ไม่มีผู้ใดคัดค้าน

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับนางสาวจิฎาภรณ์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2542 ระหว่างสมรสมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายกรกฎ ขณะยื่นคำร้องขออายุ 21 ปี นายสิรวิชฐ์ ขณะยื่นคำร้องขออายุ 18 ปี และเด็กหญิงจิตต์สิน ขณะยื่นคำร้องขออายุ 13 ปี ผู้ร้องกับนางสาวจิฎาภรณ์เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 91693 เนื้อที่ 85 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านพัก ในโครงการบ้านจัดสรร อ. ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้ร้องกับนางสาวจิฎาภรณ์หย่า โดยให้ผู้ร้องกับนางสาวจิฎาภรณ์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองร่วมกัน สำหรับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง นางสาวจิฎาภรณ์ยกกรรมสิทธิ์ส่วนที่ถือร่วมกับผู้ร้องให้แก่ผู้เยาว์ทั้งสองกับนายกรกฎ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาโฉนดที่ดิน ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางไต่สวนและรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ว่าผู้เยาว์ทั้งสองกับนายกรกฎอยู่กับผู้ร้อง ผู้ร้องให้การอุปการะเลี้ยงดูคนเดียว นางสาวจิฎาภรณ์ไม่ได้ติดต่อหรือกลับมาพบผู้เยาว์ทั้งสองกับนายกรกฎอีก โดยได้ความจากนายสิรวิชฐ์และเด็กหญิงจิตต์สินว่าไม่ทราบว่านางสาวจิฎาภรณ์ไปอยู่ที่ใดขาดการติดต่อกันตั้งแต่ปี 2558

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนของผู้เยาว์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันของบุคคล 4 คน ส่วนหนึ่งเป็นของผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีก 3 คน ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องแม้จะต้องปกครองดูแลผู้เยาว์ทั้งสองกับนายกรกฎร่วมกับนางสาวจิฎาภรณ์ผู้เป็นมารดา แต่ความเป็นจริงผู้ร้องเพียงผู้เดียวที่แบกรับภาระทั้งค่าใช้จ่ายและการดูแลผู้เยาว์ทั้งสองกับนายกรกฎ โดยอาศัยรายได้จากค่าเช่าอาคารที่พักอาศัยเพียงเล็กน้อย เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้เช่าที่พักลดลง แต่ภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของผู้เยาว์ทั้งสองยังมีอยู่มากพอสมควรไม่ว่ารายจ่ายของนายสิรวิชฐ์ที่วิทยาลัย ด. หรือรายจ่ายของเด็กหญิงจิตต์สิน ที่โรงเรียน ส. รวมทั้งค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอื่น ๆ การที่ผู้ร้องจะขอขายทรัพย์กรรมสิทธิ์ร่วม จึงมีเหตุผลเพื่อการลงทุนในการศึกษาแก่ผู้เยาว์ทั้งสองให้มีความรู้เพราะการมีวิชาความรู้ย่อมสร้างโอกาสที่จะหาที่ดินที่เสียไปให้กลับมีขึ้นอีกได้ง่าย และดีกว่าการมีที่ดินแต่ไร้วิชาความรู้ อันจะทำให้ต้องสูญเสียที่ดินไปโดยง่ายในอนาคตและไร้ประโยชน์แก่ผู้เยาว์ทั้งสอง ส่วนผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีก 3 คน บุตรคนโตนายกรกฎบรรลุนิติภาวะแล้ว ผู้เยาว์คนที่ 2 นายสิรวิชฐ์อายุ 18 ปี มีการศึกษาตามวัย มีวุฒิภาวะพอสมควรซึ่งทั้งสองคนมีวัยและวุฒิภาวะและการศึกษาที่เพียงพอจะตัดสินใจได้ถึงความจำเป็นในการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทุกคน รวมทั้งประโยชน์ของเด็กหญิงจิตต์สินผู้เยาว์ด้วย เมื่อผู้ร้องในฐานะของผู้แทนโดยชอบธรรมมาร้องขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ที่ประสงค์จะให้ศาลกำกับดูแลเพื่อให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสองหรือก่อความเสียหายแก่ผู้เยาว์ทั้งสองน้อยที่สุด เมื่อได้ความว่าการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งอนาคตของผู้เยาว์ทั้งสองและได้รับราคาที่สูงกว่าราคาประเมินจึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะอนุญาตให้มีการขายได้โดยเร็วเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ทั้งสองโดยแท้ ที่ศาลชั้นต้นอ้างว่าการทำนิติกรรมขายไม่ได้รับความยินยอมจากนางสาวจิฎาภรณ์มารดาผู้เยาว์ทั้งสอง เป็นการวินิจฉัยโดยขัดข้อเท็จจริงที่นางสาวจิฎาภรณ์ไม่ได้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองและไม่อาจติดต่อได้ ข้อวินิจฉัยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์แท้จริงที่ผู้เยาว์ทั้งสองพึงได้รับ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอ้างว่าไม่มีเรื่องเร่งด่วนหรือเหตุฉุกเฉิน ก็ไม่ได้อยู่ในบริบทที่มาตรา 1574 กำหนดไว้ ส่วนที่อ้างว่ารอให้ผู้เยาว์ทั้งสองเจริญวัยจนบรรลุนิติภาวะตัดสินใจเอง ก็เป็นข้อวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่มาตรา 1574 ให้ศาลกำกับดูแลการทำนิติกรรม ไม่ใช่ปล่อยให้ช่วงเวลาที่ยังเป็นผู้เยาว์เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วเมื่อบรรลุนิติภาวะจึงค่อยมาดำเนินการ เหตุผลและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสอง ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น

พิพากษากลับ อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินโฉนดเลขที่ 91693 พร้อมสิ่งปลูกสร้างในส่วนที่ผู้เยาว์ทั้งสองผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

***บทความเรื่อง: การใช้อำนาจปกครองในการจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์

**การใช้อำนาจปกครองในการจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์

*การใช้อำนาจปกครองในการจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์เป็นหน้าที่สำคัญของผู้ปกครองตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างสูงสุด ซึ่งในบางกรณีการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อนเพื่อป้องกันการกระทำที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เยาว์

*ประเภทของนิติกรรมที่ผู้ใช้อำนาจปกครองสามารถทำได้และไม่สามารถทำได้

1.นิติกรรมที่ผู้ปกครองสามารถทำได้: ผู้ปกครองมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในการทำธุรกรรมทั่วไป เช่น การใช้จ่ายเพื่อการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการดูแลทรัพย์สินเพื่อการยังชีพของผู้เยาว์

2.นิติกรรมที่ผู้ปกครองไม่สามารถทำได้โดยลำพัง:

oการขายทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง เช่น ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

oการก่อหนี้ที่อาจเป็นภาระผูกพันต่อผู้เยาว์

oการทำธุรกรรมที่เสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินของผู้เยาว์

**นิติกรรมที่ต้องขออนุญาตศาลก่อน

*ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 กำหนดไว้ว่านิติกรรมบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เช่น การขายที่ดิน การจำนองทรัพย์สิน และการทำธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ผู้เยาว์ เนื่องจากศาลต้องพิจารณาว่านิติกรรมนั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์หรือก่อความเสียหายน้อยที่สุด

**ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574: กำหนดให้ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องขออนุญาตจากศาลในการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในบางกรณีเพื่อป้องกันการกระทำที่อาจทำให้ผู้เยาว์เสียหาย

2.มาตรา 1598/23: ว่าด้วยอำนาจของผู้ปกครองในการจัดการทรัพย์สินและการใช้สิทธิต่าง ๆ ของผู้เยาว์

หลักกฎหมายที่อ้างอิง

*มาตรา 1574 เป็นมาตราที่เน้นการคุ้มครองผู้เยาว์เป็นหลัก โดยศาลทำหน้าที่พิจารณาว่าการทำธุรกรรมหรือการจัดการทรัพย์สินนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดหรือไม่ เพื่อให้การตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เยาว์ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการตรวจสอบและคุ้มครองในนิติกรรมที่มีมูลค่าสูงหรืออาจมีผลกระทบในระยะยาว

***คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567: ศาลอนุญาตให้ผู้ปกครองขายที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้เยาว์เพื่อนำรายได้มาใช้ในการศึกษาของผู้เยาว์ โดยเห็นว่าการขายเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์และได้รับราคาที่เหมาะสม แม้ว่าจะไม่มีการยินยอมจากมารดา เนื่องจากไม่สามารถติดต่อได้ ศาลจึงพิจารณาอนุญาตตามกฎหมาย

2.คำพิพากษาศาลฎีกาอื่น ๆ (ตัวอย่างทั่วไป): มีกรณีที่ศาลพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการทำนิติกรรมของผู้ปกครองตามดุลยพินิจ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์เป็นหลัก

บทความนี้ช่วยให้เห็นภาพรวมและการนำไปใช้ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและความเข้าใจที่ดีขึ้นในเรื่องนี้.

 

Child’s property, property of minor, นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์

 

 

 

ผู้ร้องขอขายที่ดินซึ่งผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้เยาว์ เพื่อการศึกษาแก่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตร ผู้ร้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมมาร้องขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ก็เพื่อให้ศาลกำกับดูแลให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์หรือก่อความเสียหายแก่ผู้เยาว์น้อยที่สุด




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?