ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 •  คดีผู้บริโภค

•  ความสุจริตในการชำระหนี้

•  มาตรา 12 พ.ร.บ.ผู้บริโภค

•  การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

•  คำพิพากษาศาลฎีกา 610/2567

•  สิทธิเรียกร้องในคดีผู้บริโภค

•  มาตรฐานทางการค้า

สรุปย่อ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2567 ได้สรุปหลักการตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 ว่าผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้สิทธิและชำระหนี้ด้วยความสุจริต โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสม การใช้สิทธิที่ต่ำกว่ามาตรฐานนี้ถือว่าไม่สุจริต และศาลไม่อาจบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ในคดีนี้ โจทก์ ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคารเจ้าหนี้เดิม แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าโจทก์และเจ้าหนี้เดิมใช้สิทธิเรียกร้องภายในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากมีการล่าช้านานถึง 5 ปีจนทำให้ดอกเบี้ยสูงเกินกว่าต้นเงิน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่อนุญาตให้คิดดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง และศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย โดยฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

*หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 กำหนดหลักการว่าผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้สิทธิและชำระหนี้ด้วยความสุจริต โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องประพฤติต่อผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมและไม่ต่ำกว่ามาตรฐานการปฏิบัติของกิจการอื่นในลักษณะเดียวกัน อีกทั้งต้องมีจริยธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และตรวจสอบได้

มาตรานี้เน้นการยกระดับมาตรฐานความสุจริตของผู้ประกอบธุรกิจให้สูงกว่าบุคคลทั่วไปตามที่กำหนดใน ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งเพียงแต่กำหนดให้บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิหรือละเว้นการชำระหนี้โดยไม่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ จะถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และศาลสามารถปฏิเสธไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจบังคับลูกหนี้ชำระหนี้ได้ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภคและส่งเสริมความเป็นธรรมในระบบธุรกิจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2567

พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 บัญญัติหลักแห่งการใช้สิทธิและการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจไว้ว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม" บทบัญญัติดังกล่าวแตกต่างจากการใช้สิทธิและการชำระหนี้ของบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ที่บัญญัติให้บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต เพราะต้องการยกระดับมาตรฐานความสุจริตของผู้ประกอบธุรกิจในการใช้สิทธิและในการชำระหนี้ให้ยิ่งไปกว่าบุคคลทั่วไปจะพึงมีตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติต่อผู้บริโภคไม่ด้อยไปกว่ามาตรฐานทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจในกิจการทำนองเดียวกันประพฤติปฏิบัติต่อผู้บริโภค ทั้งต้องมีจริยธรรมในการประกอบกิจการภายใต้ระบบธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม มีความรับผิดชอบ ดำเนินการด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจควบคู่กันไป หากผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิหรือชำระหนี้ในเกณฑ์ที่ด้อยกว่ามาตรฐานความสุจริตดังกล่าวแล้ว ย่อมเท่ากับว่าผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิไม่สุจริต และศาลไม่อาจบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ใช้สิทธิไม่สุจริตเช่นนั้นได้ เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นที่มาแห่งการใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งประกอบธุรกิจบริษัทบริหารสินทรัพย์ และรับโอนสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ต่อจำเลยทั้งสอง ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ธนาคาร น. ในวันใด และธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมอาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฉบับลงวันที่ 23 เมษายน 2550 ได้ตั้งแต่เวลาใด รวมถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้วได้ใช้สิทธิบังคับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ในทันทีที่มีโอกาสกระทำได้หรือภายในระยะเวลาอันสมควรหรือไม่ พฤติการณ์ของธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมกับโจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องมาในปี 2557 ยังคงทอดเวลาให้เนิ่นช้ากว่าจะนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นเวลาถึงห้าปีเศษ จนเป็นเหตุให้ภาระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดสูงเกินไปกว่าต้นเงินที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้เดิมและโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้บริโภค กรณีนับเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตและไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่กำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยหลังจากวันฟ้องจึงสมควรแก่รูปคดีแล้ว

****โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงิน 1,557,603.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ของต้นเงิน 759,977.73 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 37397 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแก่โจทก์จนครบถ้วน

*จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ

*ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 887,198.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ของต้นเงิน 759,977.73 บาท นับถัดจากวันที่ 23 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 37397 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท

*โจทก์อุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 887,198.56 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเอ็มแอลอาร์ ตามประกาศธนาคาร น. และประกาศของโจทก์ที่มีผลใช้บังคับแต่ละช่วงเวลา บวกร้อยละ 2 ต่อปี ของต้นเงิน 759,977.73 บาท นับถัดจากวันที่ 23 ตุลาคม 2557 จนถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 30 เมษายน 2563) ทั้งนี้ ไม่บังคับจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยหลังจากวันฟ้อง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

*โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา

*ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 จำเลยทั้งสองกู้เงินและรับเงินจากธนาคาร น. 1,400,000 บาท ตกลงเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามจำนวนที่กำหนดในสัญญา ในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 37397 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยตกลงว่าหากบังคับทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ยอมให้ธนาคารบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ได้จนครบถ้วน ภายหลังจากทำสัญญากู้จำเลยทั้งสองทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 โดยจำเลยที่ 1 ยอมรับว่า ณ วันที่ 30 มีนาคม 2550 จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงิน 800,741.53 บาท และดอกเบี้ย 67,374.13 บาท จำเลยทั้งสองมิได้ชำระเงินกู้ตามข้อตกลงในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต่อมาธนาคาร น. ทำสัญญาโอนขายสิทธิเรียกร้องในสินเชื่อและหลักประกันในส่วนของจำเลยทั้งสองให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ท. และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2557 บริษัทดังกล่าวทำสัญญาโอนขายสิทธิเรียกร้องสินเชื่อและหลักประกันในส่วนของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์

*คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ได้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 บัญญัติหลักแห่งการใช้สิทธิและการชำระหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจไว้ว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม" บทบัญญัติดังกล่าวแตกต่างจากการใช้สิทธิและการชำระหนี้ของบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ที่บัญญัติให้บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต เพราะต้องการยกระดับมาตรฐานความสุจริตของผู้ประกอบธุรกิจในการใช้สิทธิและในการชำระหนี้ให้ยิ่งไปกว่าบุคคลทั่วไปจะพึงมีตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติต่อผู้บริโภคไม่ด้อยไปกว่ามาตรฐานทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจในกิจการทำนองเดียวกับประพฤติปฏิบัติต่อผู้บริโภค ทั้งต้องมีจริยธรรมในการประกอบกิจการภายใต้ระบบธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม มีความรับผิดชอบ ดำเนินการด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในกิจการของผู้ประกอบธุรกิจควบคู่กันไป หากผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิหรือชำระหนี้ในเกณฑ์ที่ด้อยกว่ามาตรฐานความสุจริตดังกล่าวแล้ว ย่อมเท่ากับว่าผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิไม่สุจริต และศาลไม่อาจบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ใช้สิทธิไม่สุจริตเช่นนั้นได้ เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นที่มาแห่งการใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งประกอบธุรกิจบริษัทบริหารสินทรัพย์ และรับโอนสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ต่อจำเลยทั้งสอง ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงรายละเอียดการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองชำระหนี้ครั้งสุดท้ายตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ธนาคาร น. ในวันใด และธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมอาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฉบับลงวันที่ 23 เมษายน 2550 ได้ตั้งแต่เวลาใด รวมถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้วได้ใช้สิทธิบังคับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ในทันทีที่มีโอกาสกระทำได้หรือภายในระยะเวลาอันสมควรหรือไม่ อย่างไร ลำพังข้ออ้างที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาถึงความล่าช้าในการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสองว่าเป็นผลจากระบบงานภายในของโจทก์และธนาคารเจ้าหนี้เดิมซึ่งมีการรวมกิจการกับธนาคารอื่น จนมีการโอนหนี้รวมถึงข้อมูลลูกหนี้จำนวนมากเป็นลำดับเรื่อยมายังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่า เจ้าหนี้เดิมและโจทก์ผู้รับโอนหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว พฤติการณ์ของธนาคาร น. เจ้าหนี้เดิมกับโจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องมาในปี 2557 ยังคงทอดเวลาให้เนิ่นช้ากว่าจะนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 เป็นเวลาถึงห้าปีเศษ จนเป็นเหตุให้ภาระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดสูงเกินไปกว่าต้นเงินที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้เดิมและโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้บริโภค กรณีนับเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตและไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 12 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อาศัยอำนาจบทบัญญัติดังกล่าวไม่กำหนด ให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยทั้งอัตราปกติและอัตราผิดนัดของหนี้ต้นเงินภายหลังจากวันฟ้องจึงเป็นการพิพากษาตามสมควรแก่รูปคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

*พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ


ร่างคำฟ้องคดีแพ่ง

ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลแพ่ง

โจทก์: บริษัทบริหารสินทรัพย์ ท. จำกัด

จำเลยที่ 1: นาย ก.

จำเลยที่ 2: นาง ข.

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร น. เป็นจำนวนเงิน 1,400,000 บาท โดยตกลงเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และได้ทำการผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญา โดยมีการจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 37397 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักประกันการชำระหนี้

ข้อ 2 จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาและทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลายครั้ง โดยครั้งสุดท้ายทำเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงินจำนวน 800,741.53 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 67,374.13 บาท

ข้อ 3 ธนาคาร น. ได้โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ของจำเลยทั้งสองให้แก่โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2557 และหลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ดังกล่าว

ข้อ 4 ณ วันยื่นฟ้อง จำเลยทั้งสองยังคงผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 1,557,603.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 759,977.73 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์

ข้อ 5 หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบถ้วน โจทก์ขอให้ศาลสั่งยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 37397 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้มาชำระหนี้แก่โจทก์ หากยอดขายไม่พอชำระหนี้ ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน

คำขอท้ายคำฟ้อง

1.ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 1,557,603.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 759,977.73 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

2.หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 37397 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้

3.หากยอดขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน

4.ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

(ลงชื่อ) _____________

ผู้รับมอบอำนาจ




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?