ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม

การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม

การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรมเพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิ ดังนั้น แม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้ แต่โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3976/2529

เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิ ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล กรรมการสมาคมและมุลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี

   การฟ้องคดีแพ่ง มิใช่เป็นการทำนิติกรรม เพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112 หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ดังนั้น แม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
 
    โจทก์ฟ้องว่า สมาคมศาสนาสัมพันธ์และมูลนิธิชินนะปูโตอนุสรณ์มีโจทก์ที่ 1 เป็นอุปนายกคนที่ 1 ของสมาคมและรองประธานมูลนิธิ โจทก์ที่ 2 เป็นอุปนายกคนที่ 2 ของสมาคม โจทก์ที่ 3 เป็นเลขาธิการสมาคมและเป็นเลขาธิการกิติศักดิ์ของมูลนิธิ โจทก์ที่ 4 เป็นบรรณารักษ์ของสมาคม โจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นปฏิคมของสมาคม โจทก์ที่ 7 เป็นเหรัญญิกกิติศักดิ์ของมูลนิธิโจทก์ที่ 8 เป็นรองเหรัญญิกกิติมศักดิ์ของมูลนิธิ โจทก์ที่ 9 เป็นปฏิคมของมูลนิธิโจทก์ที่ 1 กับพวกได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินถ้ำเขาพระ ตำบลดอนทราสย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ทำสำนักวิปัสสนาและทำเกษตรสาธิต ซึ่งต่อมาสมาคมและมูลนิธิดัวกล่าวได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถ้ำเขาพระด้วย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จำเลยที่ 1 ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมและมูลนิธิดังกล่าว เป็นเหตุให้สมาคมและมูลนิธิดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการตามความประสงค์ได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 กลับมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ได้ทำคำวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ กรมศิลปากร จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินบริเวณเขาถ้ำพระโดยจำเลยที่ 6 ได้มีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1 กับพวกเพิกถอนการใช้ที่ดินและจำเลยที่ 3 ยังแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ากรรมการบริหารของสมาคมและมูลนิธิบุกรุกเข้าถ้ำพระโบราณสถานซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้อนุญาตให้ใช้ได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยให้ดำเนินการให้สมาคมและมูลนิธิกลับคืนสู่สภาพเดิม และดำเนินการให้ใส่ชื่อสมาคมในทะเบียนสมาคมจังหวัดราชบุรี ถอนการยึดทรัพย์สินของสมาคมและมูลนิธิ อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 กับพวกใช้ที่ดินเขาถ้ำพระได้ต่อไป และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย

  จำเลยทั้งแปดให้การว่า โจทก์ทั้งเก้าไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนสมาคมและมูลนิธิ ฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุมโจทก์ทั้งเก้าไม่ได้รับความเสียหาย จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย สมาคมและมูลนิธิปล่อยให้นายสุชาติ โกศลกิติวงศ์ ผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิกระทำการอันเสื่อมเสียวัฒนธรรมแห่งชาติ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ จึงได้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมและมูลนิธิเสียและเพิกถอนการใช้ที่ดินบริเวณถ้ำเขาพระด้วย จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งเก้าอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
    โจทก์ทั้งเก้าฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ทั้งเก้ามีอำนาจฟ้องจำเลยเพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียนั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลต่างหากจากตัวโจทก์ผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องนี้ก็คือนิติบุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิเท่านั้นเมื่อนิติบุคคลดังกล่าวมีผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนอยู่คือนายสุชาติ โกศลกิติวงศ์ผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นเพียงกรรมการนิติบุคคลแต่ไม่มีอำนาจกระทำการแทน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ฟ้องคดีแทนมูลนิธิในฐานะรองประธานกรรมการและเลขาธิการ ตามอำนาจในตราสารมูลนิธิซึ่งให้อำนาจทำนิติกรรมของมูลนิธิและการฟ้องคดีก็เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งนั้น เห็นว่า การฟ้องคดีมิใช่เป็นการทำนิติกรรม เพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112 หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

          พิพากษายืน




นิติกรรม

อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว article
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้ article
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส article
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน article
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
สัญญเช่าตึกแถว ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกแถวที่ให้เช่า
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย