ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เครื่องหมายการค้าปลอม, การพิสูจน์ความผิดในคดีเครื่องหมายการค้า, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

ท นาย อาสา ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

เครื่องหมายการค้าปลอม, การพิสูจน์ความผิดในคดีเครื่องหมายการค้า, ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

 การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ต้องพิสูจน์ว่าผู้กระทำรู้ว่าสินค้าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบ โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นเช่นนั้น

ในคดีนี้ จำเลยถูกกล่าวหาว่าจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนแบบของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตาม โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าเป็นของปลอม ทั้งนี้ เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย และจำเลยอ้างว่าเครื่องหมายที่พบเป็นรูปไม้กางเขนทั่วไปซึ่งเชื่อว่าสามารถใช้งานได้โดยสุจริต

เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีข้อสงสัย ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 40 วรรคสอง และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2567

การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบคงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรี ช. ได้รับแจ้งจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรี ช. และ บ. กับพวก จึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่า จำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย คงมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวง ท. เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 108, 109, 110, 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 ริบของกลาง

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน แต่ให้ริบของกลาง

โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า บริษัท ค. ผู้เสียหาย จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น ประกอบกิจการขายสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งกระเป๋าใส่เงิน กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ ผู้เสียหายได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค319393 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า เช่น กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ เป็นต้น เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค314961 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 18 รายการสินค้า เช่น กระเป๋าใส่เงิน เป็นต้น เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค314964 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 18 รายการสินค้า เช่น กระเป๋าใส่เงิน เป็นต้น และเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค319395 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า เช่น กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ เป็นต้น ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 70 ใบ ที่มีเครื่องหมายและกำไลข้อมือ 3 วง พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า 3 อัน แหวน 168 วง กระดุมข้อมือเสื้อ 19 อัน ที่มีเครื่องหมายอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร และจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 23 ใบ ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยพร้อมยึดกระเป๋าใส่เงิน กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน และกระดุมข้อมือเสื้อ รวม 5 รายการ จำนวน 286 ชิ้น อันเป็นสินค้าที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 70 ใบ ที่มีเครื่องหมาย และ กำไลข้อมือ 3 วง พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า 3 อัน แหวน 168 วง กระดุมข้อมือเสื้อ 19 อัน ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยชอบแล้ว และจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 23 ใบ ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหาย เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 108, 109, 110, 115 ซึ่งการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักรจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ได้แก่ บันทึกคำให้การของนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหาย บันทึกคำให้การของพันตำรวจตรีชัยวัฒน์ เจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นจับกุม และบันทึกการตรวจค้น/จับกุม คงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรีชัยวัฒน์ได้รับแจ้งจากนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรีชัยวัฒน์และนายบรรเทิงกับพวกจึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจากนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวงทวีศักดิ์ เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เป็นภาพถ่ายรูปกางเขนที่มีการสลักเป็นสัญลักษณ์ที่พระแท่นภายในโบสถ์วัด ก. ตั้งแต่เริ่มสร้างโบสถ์ในปี ค.ศ. 1883 และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ ที่โจทก์ฎีกาว่า สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าสินค้าของผู้เสียหายหลายเท่า จำเลยจึงต้องรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าสินค้าของผู้เสียหายจำหน่ายที่ต่างประเทศในราคาเท่าไร พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

•  เครื่องหมายการค้าปลอม ความผิด

•  พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 110

•  ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

•  กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

•  การพิสูจน์ความผิดในคดีเครื่องหมายการค้า

•  สินค้ามีเครื่องหมายการค้าปลอม

•  ข้อสงสัยในคดีอาญา

•  มาตรฐานการพิสูจน์ความผิดในศาลไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2567

การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องทราบว่าสินค้าที่นำเข้ามา จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าสินค้าของกลางที่เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบ

ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งจากตัวแทนผู้เสียหายว่ามีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมถูกเสนอจำหน่ายที่ร้าน ว. เจ้าหน้าที่จึงนำหมายค้นเข้าตรวจพบสินค้าของกลาง เช่น กระเป๋าและเครื่องประดับ รวม 286 ชิ้น ซึ่งมีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบของผู้เสียหาย

อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณาพยานหลักฐาน พบว่า

1.เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย

2.สินค้าของผู้เสียหายจำหน่ายเฉพาะในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

3.จำเลยเบิกความว่าเครื่องหมายดังกล่าวเป็นรูปไม้กางเขนทั่วไป และซื้อสินค้ามาโดยสุจริตเพื่อนำไปขายต่อ

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย และมีลักษณะคล้ายคลึงกับไม้กางเขนที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ แม้โจทก์จะอ้างว่าสินค้าของกลางราคาถูกกว่าสินค้าของผู้เสียหาย แต่ไม่มีการนำสืบว่าเป็นเพราะเครื่องหมายการค้าปลอม

เนื่องจากพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีข้อสงสัยว่า จำเลยทราบว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบหรือไม่ ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ โดยยกฟ้องจำเลย แต่ให้ริบของกลาง

1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

หลัก "ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย" (Presumption of Innocence) เป็นหลักการสำคัญในคดีอาญา หากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ศาลต้องยกประโยชน์จากข้อสงสัยนั้นให้แก่จำเลย หลักนี้เป็นการคุ้มครองสิทธิของจำเลยในกระบวนการยุติธรรม โดยกำหนดว่าโทษทางอาญาต้องพิสูจน์ได้โดยปราศจากข้อสงสัยอย่างสมเหตุสมผล

2. พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1)

กำหนดความผิดสำหรับบุคคลที่นำเข้า จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าโดยเจตนารู้ว่าสินค้าดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในประเทศไทย การพิสูจน์ความผิดต้องแสดงว่าผู้กระทำรู้ว่าสินค้ามีการปลอมเครื่องหมายการค้า ซึ่งความรู้นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการกระทำผิด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมพ้นผิด

3. พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง

ระบุหลักการเกี่ยวกับข้อสงสัยในคดีทรัพย์สินทางปัญญาว่า หากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย หลักการนี้สะท้อนถึงมาตรฐานการพิสูจน์ความผิดในคดีอาญา ที่ต้องชี้ชัดว่า "จำเลยกระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัย"

ความเชื่อมโยงกับบทความ

ในกรณีนี้ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม แต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าเป็นของปลอม อีกทั้งเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย และมีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์ทั่วไปที่บุคคลสามารถใช้ได้ ศาลจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามหลักกฎหมายข้างต้น

บทสรุป

กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสามฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินคดีอาญาต้องให้ความสำคัญกับการพิสูจน์เจตนาและความชัดเจนในข้อเท็จจริง หากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ จำเลยต้องได้รับประโยชน์จากข้อสงสัย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ใช้ปกป้องสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม

บทความเรื่อง

ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยคืออะไร?

หลักการ "ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย" (Presumption of Innocence) เป็นหลักสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ว่าศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยในกรณีที่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิด

หลักการนี้มีเป้าหมายเพื่อปกป้องสิทธิของจำเลย เนื่องจากโทษทางอาญามีผลกระทบต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของบุคคล หากมีข้อสงสัยในพยานหลักฐาน ศาลต้องพิจารณาให้จำเลยได้รับการยกเว้นจากความผิด

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2567

กรณีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า โดยศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าเป็นของปลอม

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2535

คดีความผิดฐานฉ้อโกง ศาลพิจารณาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอในการชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาโกง ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5065/2545

คดีการนำเข้ายาเสพติด ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานไม่สามารถชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนานำเข้าโดยรู้ว่าเป็นยาเสพติด ศาลจึงยกฟ้อง

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2550

คดีการปลอมเอกสาร ศาลพิจารณาว่าข้อเท็จจริงที่นำสืบยังมีข้อสงสัยว่าเอกสารที่จำเลยใช้เป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลจึงยกฟ้อง

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2560

กรณีการขับรถชนโดยประมาท พยานหลักฐานไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยกระทำการโดยประมาทจริง ศาลจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2543

คดีการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของผู้อื่น ศาลพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้ายังไม่มีความแพร่หลายในตลาดไทย จึงไม่สามารถพิสูจน์ว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบ

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2548

คดีการลักทรัพย์ในที่สาธารณะ พยานหลักฐานของโจทก์ไม่สามารถชี้ชัดว่าจำเลยเป็นผู้ลงมือกระทำผิด ศาลจึงตัดสินยกฟ้อง

สรุป

หลักการ "ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย" ช่วยรับรองว่าการลงโทษทางอาญาจะต้องตั้งอยู่บนฐานของความแน่ชัดและปราศจากข้อสงสัย หลักนี้ไม่เพียงแต่ปกป้องจำเลยจากความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาความเป็นธรรมในสังคม

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวมาสะท้อนถึงการประยุกต์ใช้หลักการนี้ในสถานการณ์หลากหลาย โดยมีจุดร่วมคือความจำเป็นในการพิสูจน์เจตนาของจำเลยและความชัดเจนของพยานหลักฐาน




ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า

ทรัพย์สินทางปัญญาคือ ทรัพย์สินที่ไม่ใช่วัตถุทางกายภาพ
เจตนาพิเศษการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ลักษณะบ่งเฉพาะ | เครื่องหมายการค้า
จำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ลูกล้อทางเลื่อนไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตร
สัญญาโอนขายสิทธิบัตร-ต่างตอบแทน
เครื่องหมายการค้า สินค้าต่างจำพวก
เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้
อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย