

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น แต่คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” น่าจะไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2553 คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งที่ พณ 0704/22349 พณ 0704/22350 และ พณ 0704/22351 ลงวันที่ 1 กันยายน 2548 ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ 1705/2549, 1706/2549 และ 1707/2549 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำขอเลขที่ 496547 496548 และ 496549 ต่อไป หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามหนังสือที่ พณ 0704/22349, พณ 0704/22350 และ พณ 0704/22351 ลงวันที่ 1 กันยายน 2548 และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 1705/2549 1706/2549 และ 1707/2549 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “ตรากุ้งมังกร” และรูปกุ้งมังกรของโจทก์ ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ ตามคำขอเลขที่ 496547, 496548 และ 496549 ต่อไป คำขออื่นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมีว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตามกฎหมายนั้น หมายถึงกรณีมีความเป็นไปได้ที่คำหรือข้อความจะเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า จึงมีประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดให้ “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้เป็นสามัญในการค้าขายสินค้าน้ำปลาและซอสถั่วเหลือง ทั้งการตีความพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ควรจะตีความให้กว้างขวางและสามารถใช้บังคับได้ เห็นว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นั้นถือว่า คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เมื่อพิจารณาจากสินค้าน้ำปลาก็จะพบว่ามีความหมายว่า น้ำสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาหรือสิ่งอื่นหมักกับเกลือ จำเลยทั้งสามไม่ได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่า น้ำปลาโดยทั่วไปไม่ได้ใช้กุ้งเป็นส่วนผสม ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามในทำนองว่า อาจมีการใช้กุ้งมังกรไปผลิตเป็นสินค้าน้ำปลานั้นก็เป็นเพียงความเห็น จึงไม่อาจถือได้ว่า “กุ้ง” เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” แล้วจะทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลาดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง
นอกจากนี้ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายนั้น คงกำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” น่าจะไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ (1) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง (2) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (3) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ หรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น (4) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว (5) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว (6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15698/2557
คำว่า หรือ ของเครื่องหมายบริการ และ ตามคำขอทั้งสี่คำขอของโจทก์มาจากตัวอักษรโรมันคำว่า ซึ่งเป็นชื่อของโจทก์ ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยว่ามีแหล่งข้อมูลอื่นที่ให้ความหมายคำว่า เป็นคำย่อในภาษาเยอรมันซึ่งหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคเช่นเดียวกับเอกสารที่จำเลยอ้าง ทั้งปรากฏในเอกสารดังกล่าวด้วยว่าคำดังกล่าวซึ่งเป็นคำย่อยังมีอีกหลายความหมาย จำเลยก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าบุคคลที่มีความรู้ภาษาเยอรมันหรือบุคคลที่มีความรู้ทางด้านการให้คำแนะนำทางเทคนิคต่าง ๆ ทราบดีว่า คำว่า เป็นคำย่อในภาษาเยอรมันซึ่งหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค แม้คำว่า เป็นคำย่อซึ่งหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคก็ตาม แต่คำดังกล่าวก็ไม่เป็นคำที่ผู้ใช้บริการสามารถทราบได้ว่าเกี่ยวข้องกับบริการจำพวกที่ 35 และ 42 ตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน คำว่า และ ที่โจทก์ขอจดทะเบียนจึงไม่ใช่คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรง เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 และ มาตรา 7 ประกอบมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันพึงรับจดทะเบียนได้
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า เครื่องหมายบริการ และ ตามคำขอเลขที่ 703847, 703848, 703850, และ 703851 มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ ให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ พณ 0704/15558 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2552, พณ 0704/14553 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2552, พณ 0704/14554 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 และ พณ 0704/15559 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2552 และเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 233/2554, 234/2554, 235/2554 และ 236/2554 และให้จำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำขอเลขที่ 703847, 703848, 703850 และ 703851 ของโจทก์ต่อไป
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า เครื่องหมายบริการ และของโจทก์ ตามคำขอเลขที่ 703847, 703848, 703850 และ 703851 มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ ให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามหนังสือที่ พณ 0704/15558 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2552, พณ 0704/14553 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2552, พณ 0704/14554 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 และ พณ 0704/15559 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2552 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 233/2554, 234/2554, 235/2554 และ 236/2554 ให้จำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำขอเลขที่ 703847, 703848, 703850 และ 703851 ของโจทก์ต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ และ รวม 4 คำขอตามคำขอเลขที่ 703847, 703848, 703850 และ 703851 เพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 35 รายการบริการ บริการให้คำแนะนำเชิงเศรษฐกิจ องค์กร และวิทยาศาสตร์ในด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อม การป้องกันไฟไหม้ การป้องกันเสียง ฯลฯ และบริการจำพวกที่ 42 รายการบริการ บริการให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค ประเมิน ทดสอบ และออกใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันไฟ การป้องกันเสียง ฯลฯ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียน แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายของโจทก์ทั้งสี่คำขอดังกล่าว เนื่องจากไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะคำว่า TUV เป็นภาษาเยอรมันย่อมาจากคำว่า TECHNISCHER UBERWACHUNGS VEREIN คือสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค คำว่า NORD แปลว่าทิศเหนือ รวมกันคือความหมายได้ว่าสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคทางทิศเหนือ นับว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรงตามสำเนาคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า เครื่องหมายบริการ และ เป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีนางดารานีย์ ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายบริการ มาจากส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งมีคำว่า แปลไม่ได้ ส่วนคำว่า NORD แปลว่าทิศเหนือ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันแล้ว แปลไม่ได้ คำว่า จึงถือเป็นคำประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เป็นที่หมายและเกี่ยวข้องกับบริการของโจทก์ โดยไม่เป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง ส่วนจำเลยมีนายวัชระ เปียแก้วนักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ และนางสาวอรรถพร นิติกรชำนาญการของจำเลยให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นทำนองเดียวกันว่าคำว่า ตามที่หาความหมายในเว็บไซต์ www.Onelook.com เป็นคำย่อในภาษาเยอรมันจากคำว่า TECHNICHER UBERWACHUNGS VEREIN ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า สมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค ส่วนคำว่า Nord ในพจนานุกรม Oxford Colour German Dictionary Plus แปลว่า ทิศเหนือ เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันแปลได้ความว่าสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคทางทิศเหนือ เมื่อนำมาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 35 และ 42 นับเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของบริการโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ทั้ง 4 คำขอ ซึ่งเมื่อทางนำสืบของโจทก์และจำเลยรับกันว่า คำอักษรโรมันที่มีปัญหาในการรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ที่สี่คำขอนั้นมีเพียงคำว่า หรือ คำว่า โดยโจทก์นำสืบว่าคำดังกล่าวมาจากอักษรโรมันคำว่า ซึ่งเป็นชื่อของโจทก์โดยมีเอกสารแสดงความเป็นมาของบริษัทโจทก์ มาแสดงสนับสนุน ส่วนจำเลยนำสืบว่า คำว่า ในภาษาเยอรมันเป็นคำย่อมาจากคำว่า TECHNICHER UBERWACHUNGS VEREIN แปลได้ว่าสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค โดยมีเพียงเอกสาร ที่พิมพ์จากเว็บไซต์ชื่อ www.Onelook.com ฉบับเดียวมาแสดงต่อศาลเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยว่ามีแหล่งข้อมูลอื่นที่ให้ความหมายคำว่า ว่าเป็นคำย่อในภาษาเยอรมันซึ่งหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคเช่นเดียวกับที่ปรากฏในเอกสารด้วยหรือไม่ ทั้งยังปรากฏในเอกสารดังกล่าวด้วยว่าคำว่า ซึ่งเป็นคำย่อยังมีความหมายอีกหลายความหมาย เช่นหมายถึง Traditional Unionist Voice Northern irish political party in favour Of Union with Great Britain หรือ Technishche Universittat Wien (Vienna University of Technology) เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าบุคคลที่มีความรู้ภาษาเยอรมันหรือบุคคลที่มีความรู้ทางด้านการให้คำแนะนำทางเทคนิคด้านต่าง ๆ ทราบดีว่าคำว่า เป็นคำย่อในภาษาเยอรมันซึ่งหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคตามความหมายในเอกสาร พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาจึงยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า คำว่า เป็นคำย่อในภาษาเยอรมันที่มีความหมายทั่วไปซึ่งเข้าใจกันได้ว่าหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค นอกจากนี้หากจะรับฟังว่าคำดังกล่าวหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจริง คำดังกล่าวก็เป็นเพียงคำย่อในภาษาเยอรมัน ซึ่งเมื่อพิจารณาคำแต่ละคำตามที่โจทก์นำสืบมาว่า อักษร T ย่อมาจากคำว่า TECHNISCHER ในภาษาเยอรมันที่แปลเป็นภาษาไทยว่า เทคนิค ซึ่งหมายถึง ศิลปะฝีมือ หลักวิชาหรือความสามารถ ดังนั้นแม้สาธารณชนอาจเข้าใจว่าอักษร T ย่อมาจาก TECHNISHER ในภาษาเยอรมัน แต่หากไม่มีคำอื่นมาช่วยขยายความด้วยแล้วก็ยากที่สาธารณชนทั่วไปจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ให้บริการให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเชิงเทคนิคด้านใด ดังนั้นแม้คำว่า เป็นคำย่อซึ่งหมายถึงสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคก็ตาม แต่คำดังกล่าวก็ไม่เป็นคำที่ผู้ใช้บริการสามารถทราบได้ว่าเกี่ยวข้องกับบริการตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการจำพวกที่ 35 ซึ่งเป็นบริการให้คำแนะนำเชิงเศรษฐกิจ องค์กร และวิทยาศาสตร์ในด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อม การป้องกันไฟไหม้ การป้องกันเสียง ฯลฯ และบริการจำพวกที่ 42 ซึ่งเป็นบริการให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค ประเมิน ทดสอบ และออกใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันไฟการป้องกันเสียง ฯลฯ ตามคำขอจดทะเบียน คำว่า และที่โจทก์ขอจดทะเบียนจึงไม่ใช่เป็นคำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการโดยตรงดังที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่รับจดทะเบียน เครื่องหมายบริการของโจทก์ตามคำขอเลขที่ 703847, 703848, 703850 และ 703851 จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 และมาตรา 7 ประกอบมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันพึงรับจดทะเบียนได้ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น กรณีไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของจำเลยอีก เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และให้จำเลยดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์ทั้งสี่คำขอต่อไปนั้นต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
|
ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า