ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย

 ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรอง ให้ปรับคนละ 50,000 บาท และฐานร่วมกันจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอม ให้ปรับคนละ 50,000 บาท ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวคงปรับจำเลยทั้งสองคนละ 50,000 บาท 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2562

โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเครื่องดื่มชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" แล้วบรรจุในขวดพลาสติกและมีฉลากปรากฏเครื่องหมายรับรองฮาลาลที่โจทก์เคยอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้ อันเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองฮาลาลของโจทก์ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล จากโจทก์ และบรรยายฟ้องในข้อ 2.2 แต่เพียงว่า ภายหลังจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดดังกล่าว จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" ที่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลปลอมตามฟ้องข้อ 2.1 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุให้ชัดเจนว่า เครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม และสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายมีจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรอง และจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าว เป็นการกระทำโดยมีจำนวนเครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมขึ้น กับจำนวนเครื่องหมายรับรองปลอมที่ปรากฏอยู่บนสินค้าที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกัน ประกอบกับตามฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและร่วมกันนำสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าวออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108, 110 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรอง ให้ปรับคนละ 50,000 บาท และฐานร่วมกันจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอม ให้ปรับคนละ 50,000 บาท รวมทุกกระทงความผิดเป็นปรับจำเลยทั้งสองคนละ 100,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์เป็นองค์กรศาสนาอิสลาม มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 มีอำนาจหน้าที่ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายรับรองฮาลาล ที่จดทะเบียนสำหรับอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์แช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปที่ทำจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลปรุงสำเร็จรูป อาหารแปรรูปจากถั่วเหลือง ผลไม้ที่ถนอมสภาพแล้ว อาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ในน้ำแกง อาหารทำจากผักและผลไม้ นมแปรรูป ครีมใช้ทำอาหาร ถั่วที่ถนอมสภาพแล้ว แยม เยลลี่ ไข่ถนอมสภาพแล้ว ปลากระป๋อง กะปิ น้ำมันพืชใช้ปรุงอาหาร น้ำมันจากสัตว์ใช้ปรุงอาหาร กะทิ เนยใช้ทำอาหาร เครื่องดื่ม และนมปรุงรส ในจำพวกที่ 29 ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา โจทก์ออกระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารกิจการฮาลาล พ.ศ.2558 เพื่อให้การบริหารกิจการฮาลาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ พร้อมกำหนดมาตรการและวิธีการตรวจสอบการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล การรับรองฮาลาล เป็นการให้การรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ฮาลาล หรือถูกผลิตขึ้นจากสิ่งที่ฮาลาลตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มพืช ผัก ผลไม้ ทุกชนิดในภาชนะสำเร็จรูป มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน จำเลยที่ 1 เคยได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลจากโจทก์สำหรับผลิตภัณฑ์ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา "มาโนบุ" หรือ "Manobu" เลขที่รับรองฮาลาล "กอท.ฮล. 93 A323 008 10 47" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และใบอนุญาตสิ้นสุดวันที่ 8 ตุลาคม 2550 วันที่ 15 กันยายน 2557 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในบันทึกการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอม การระงับข้อพิพาท กับอนุกรรมการเจรจาไกล่เกลี่ยของโจทก์

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาหรือไม่ เห็นว่า พยานโจทก์ที่นำสืบมาทั้งหมดต่างเบิกความเกี่ยวกับเหตุการณ์ในคดีนี้อย่างเป็นลำดับขั้นตอนสอดคล้องกับพยานเอกสารและพยานวัตถุในคดี ตั้งแต่เริ่มตรวจพบว่ามีผลิตภัณฑ์ของจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายรับรองของโจทก์ซึ่งหมดอายุแล้ววางจำหน่าย ต่อมามีการส่งตัวอย่างขวดบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ไปให้ฝ่ายตรวจสอบของโจทก์ตรวจสอบจนพบว่าเครื่องหมายรับรองที่จำเลยที่ 1 ใช้ขาดต่ออายุไปเป็นระยะเวลา 7 ปี แล้ว จากนั้นจึงมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาชี้แจงเกี่ยวกับการละเมิดเครื่องหมายรับรองดังกล่าว จนกระทั่งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไปเจรจากับโจทก์และทำบันทึกการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอม การระงับข้อพิพาทกับอนุกรรมการเจรจาไกล่เกลี่ยของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.5 ทั้งเมื่อพิจารณาตัวอย่างผลิตภัณฑ์แล้ว พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา "Manobu" ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลของโจทก์ปรากฏอยู่บนขวด เลขที่รับรอง "กอท.ฮล. 93 A323 008 10 47" ตรงกับรายการผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล รายการสุดท้าย ที่ระบุช่วงเวลาอนุญาตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2550 และวัตถุพยานระบุว่าผลิตภัณฑ์ของจำเลยที่ 1 ผลิตเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากใบอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองดังกล่าวของโจทก์หมดอายุไปแล้วกว่า 7 ปี พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงเพียงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง

ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างทำนองว่า โจทก์ไม่นำพันตำรวจเอกอนุสนธิ์ เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้นำส่งวัตถุพยานดังกล่าวไปให้ฝ่ายตรวจการผลิตภัณฑ์ฮาลาลของโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความเป็นพยานต่อศาล จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตามวัตถุพยานนั้น เป็นของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ ส่วนพยานโจทก์ปากนางเพชรลดาและนางสาวมิรันตรีนั้นเป็นเพียงพยานบอกเล่าและเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เช่นเดียวกับพันตำรวจเอกอนุสนธิ์ แม้จะรับฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.5 แต่ก็เป็นเอกสารที่โจทก์จัดทำขึ้น ไม่อาจนำมารับฟังเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสองได้นั้น เห็นว่า การที่นางสาวมิรันตรีและนางเพชรลดา เจ้าหน้าที่ของโจทก์ มาเบิกความเป็นพยานนั้น พยานทั้งสองปากดังกล่าวเบิกความในฐานะผู้ส่งตรวจและผู้ตรวจสอบข้อมูลตัวอย่างขวดบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์วัตถุพยาน ซึ่งเป็นการเบิกความไปตามความรู้เห็นจากการปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของตน ย่อมสามารถนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ และแม้โจทก์จะไม่มีพันตำรวจเอกอนุสนธิ์มาเป็นพยานเบิกความ แต่โจทก์ก็มีนายกิจจาและนายณรงค์เดชมานำสืบว่า หลังจากตรวจสอบได้ความว่าวัตถุพยานที่พันตำรวจเอกอนุสนธิ์นำไปให้ตรวจสอบนั้นขาดต่ออายุไป 7 ปี แล้ว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 พันตำรวจเอกอนุสนธิ์ได้มีหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เรื่องการละเมิดเครื่องหมายรับรองฮาลาล โดยตามหนังสือดังกล่าวแจ้งว่า มีการนำรูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายรับรองฮาลาลไปใช้หรือทำให้ปรากฏโดยไม่ได้รับอนุญาต กับมีการปลอมเครื่องหมายรับรองฮาลาลซึ่งมิได้มีการอนุญาตให้ใช้จากโจทก์ และเชิญให้ไปชี้แจงข้อเท็จจริงหรือติดต่อคณะกรรมการตรวจการผลิตภัณฑ์ฮาลาลของโจทก์ ภายในวันที่ 11 กันยายน 2557 มิฉะนั้นคณะกรรมการตรวจการผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งต่อมาวันที่ 15 กันยายน 2557 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปเจรจา และทำบันทึกการเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอม การระงับข้อพิพาทกับอนุกรรมการเจรจาไกล่เกลี่ยของโจทก์ เอกสารดังกล่าวมีข้อความยอมรับว่า จำเลยที่ 1 นำรูปรอยประดิษฐ์และสัญลักษณ์เครื่องหมายรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไปใช้ให้ปรากฏและแสดงลงบนผลิตภัณฑ์สินค้าบริโภคจำพวกเครื่องดื่มสำเร็จรูป และวางจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย แม้เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เป็นหัวกระดาษของโจทก์และทำขึ้นที่ที่ทำการของฝ่ายโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าได้เข้าไปเจรจาและลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวจริง ทั้งเมื่อพิจารณาถึงระยะเวลานับตั้งแต่ฝ่ายโจทก์มีหนังสือแจ้ง ในวันที่ 4 กันยายน 2557 จนถึงวันที่จำเลยที่ 2 เข้าไปเจรจากับฝ่ายโจทก์ในวันที่ 15 กันยายน 2557 แล้ว นับว่าฝ่ายจำเลยมีเวลาในการเตรียมตัวและพิจารณาถึงการกระทำของฝ่ายตนพอสมควร หากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำการตามที่ฝ่ายโจทก์กล่าวหาก็สามารถทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกลับไปยังฝ่ายโจทก์ได้ หรือหากมีข้อโต้แย้งใดจำเลยที่ 2 ก็คงจะไม่ลงลายมือชื่อยอมรับถึงการกระทำดังกล่าวตามที่ปรากฏข้อความในเอกสาร

ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างต่อไปด้วยทำนองว่า การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเอกสารไปนั้นเป็นเพราะถูกข่มขู่ โดยอ้างถึงคำพยานที่จำเลยที่ 2 เคยให้การไว้ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ต่อศาลแขวงพระนครใต้ว่า "พันตำรวจเอกอนุสนธิ์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มบุคคลดังกล่าวแจ้งข้าฯ ว่า หากไม่ยินยอมจะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปตรวจยึดสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายฮาลาลของจำเลยที่ 1 และจะแจ้งบริษัทผู้ค้าให้หยุดจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อพันตำรวจเอกอนุสนธิ์แจ้งข้าฯ ดังนั้นแล้ว ข้าฯ รู้สึกกลัว จึงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 1,000,000 บาท" ตามสำเนาคำเบิกความดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองเพิ่งขออนุญาตอ้างส่งในชั้นฎีกานั้น เห็นว่า คดีนี้จำเลยที่ 2 มีตนเองเบิกความเป็นพยานนำสืบถึงเรื่องดังกล่าวเพียงว่า คณะกรรมการของโจทก์ที่เข้าเจรจาใช้คำพูดในลักษณะบังคับและแจ้งยอดค่าเสียหายแก่พยานโดยไม่สามารถชี้แจงหลักเกณฑ์หรือหลักในการคิดค่าเสียหายแก่พยานได้ จนในที่สุดก็ให้พยานในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คเป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยไม่ปรากฏถึงรายละเอียดว่าฝ่ายโจทก์ข่มขู่จำเลยที่ 2 อย่างไร และแม้จะฟังว่าพันตำรวจเอกอนุสนธิ์กล่าวไว้ตามคำพยานที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ก็ตาม การที่ฝ่ายโจทก์ "จะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปตรวจยึดสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายฮาลาลของจำเลยที่ 1 และจะแจ้งบริษัทผู้ค้าให้หยุดจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1" นั้น ก็เป็นเพียงการจะใช้สิทธิตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ถือเป็นการข่มขู่ดังที่จำเลยทั้งสองอ้าง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดนอกจากนี้มานำสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองของโจทก์ และจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

อย่างไรก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 นั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเครื่องดื่มชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" แล้วบรรจุในขวดพลาสติกและมีฉลากปรากฏเครื่องหมายรับรองฮาลาลที่โจทก์เคยอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้ อันเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองฮาลาลของโจทก์ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลจากโจทก์ และบรรยายฟ้องในข้อ 2.2 แต่เพียงว่า ภายหลังจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดดังกล่าว จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าชื่อผลิตภัณฑ์ "ชารสเก๊กฮวยพร้อมดื่มตรา Manobu" ที่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลปลอมตามฟ้อง ข้อ 2.1 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุให้ชัดเจนว่า เครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม และสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายมีจำนวนเท่าใด กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรอง และจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าว เป็นการกระทำโดยมีจำนวนเครื่องหมายรับรองที่จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมขึ้น กับจำนวนเครื่องหมายรับรองปลอมที่ปรากฏอยู่บนสินค้าที่จำเลยทั้งสองร่วมกันนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกัน ประกอบกับตามฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและร่วมกันนำสินค้าที่มีเครื่องหมายรับรองปลอมดังกล่าวออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 คงปรับจำเลยทั้งสองคนละ 50,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 (ที่แก้ไขใหม่) หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 (ที่แก้ไขใหม่) นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ

เรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว
 
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาของสิบตำรวจเอกประชุม โดยจดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2538 จำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสิบตำรวจเอกประชุม โจทก์ต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ให้แก่จำเลยเพื่อไม่ให้จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของสิบตำรวจเอกประชุม และไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสิบตำรวจเอกประชุมต่อไป
 กฎหมายให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวโดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ 



ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า

ทรัพย์สินทางปัญญาคือ ทรัพย์สินที่ไม่ใช่วัตถุทางกายภาพ
เจตนาพิเศษการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ลักษณะบ่งเฉพาะ | เครื่องหมายการค้า
จำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ลูกล้อทางเลื่อนไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตร
สัญญาโอนขายสิทธิบัตร-ต่างตอบแทน
เครื่องหมายการค้า สินค้าต่างจำพวก
เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้
อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์