ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




มูลหนี้ที่ออกเช็คไม่มีอยู่จริง การกระทำขาดองค์ประกอบความผิด

มูลหนี้ที่ออกเช็คไม่มีอยู่จริง การกระทำขาดองค์ประกอบความผิด

การออกเช็คจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 หรือไม่ โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระ และหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย คดีนี้ พยานโจทก์ อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่ายางรถยนต์และล้อแม็ก เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคากว่า 500 บาทขึ้นไป (ปัจจุบันแก้ไขเป็นสองหมื่นบาท)  แต่ไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าจำเลยได้ซื้อและรับสินค้าไปแล้วตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จึงไม่พอฟังได้ว่า มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คมาจากการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าดังกล่าวมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงไม่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1795/2544

พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดธัญบุรี               โจทก์

  การออกเช็คของจำเลยจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 หรือไม่ โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความสองประการคือมีหนี้ที่จะต้องชำระ และหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมายคดีนี้ ธ. อ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าขายสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็กแก่โจทก์ร่วม เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคากว่า 500 บาทขึ้นไป (ปัจจุบันแก้ไขเป็นสองหมื่นบาท)  แต่หลักฐานที่แสดงว่าจำเลยได้ซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์ร่วมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม โจทก์ร่วมหาได้มีมาแสดงหรือนำสืบถึงเหตุที่ไม่อาจนำมาแสดงได้ไม่ จึงไม่พอฟังได้ว่า มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทมาจากการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าดังกล่าวมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงไม่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิด
 
    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คธนาคารกรุงไทย จำกัด จำนวนเงิน 200,000 บาท เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็ก ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดธงชัยการยาง ผู้เสียหายครั้นเช็คฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน ผู้เสียหายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินตามวิธีการของธนาคาร ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า"เงินในบัญชีไม่พอจ่ายและโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

   จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
          ระหว่างพิจารณา ห้างหุ้นส่วนจำกัดธงชัยการยาง ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

     ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนจำเลยที่ 2 จำคุก6 เดือน

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

          โจทก์ร่วมฎีกา

  ศาลฎีกาตรวจวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 หรือไม่เห็นว่า มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ" ฉะนั้นการออกเช็คของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ร่วมที่จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงให้ได้ความสองประการ ประการแรก มีหนี้ที่จะต้องชำระ ประการที่สองหนี้นั้นจะต้องบังคับได้ตามกฎหมาย ข้อเท็จจริงประการแรกได้ความจากนายธงชัย อิงคารานุวัฒน์ หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วมว่าหนี้ที่จะต้องชำระคือหนี้ค่าสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็กที่จำเลยทั้งสองซื้อไปจากโจทก์ร่วม แต่จำเลยทั้งสองอ้างว่าเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่กู้ไปจากนายธงชัย ส่วนหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวจำเลยทั้งสองชำระด้วยเช็คเอกสารหมาย ล.3 ซึ่งต่อมาได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้เจ้าหนี้ของนายธงชัยแทนตามเอกสารหมาย ล.4 แล้ว จึงเท่ากับจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่า มูลหนี้ที่ออกเช็คในฟ้องไม่มีอยู่จริง เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ร่วมจึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทมาจากการขายสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็กให้แก่จำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า สินค้ายางรถยนต์และล้อแม็กที่นายธงชัยเบิกความยืนยันว่า จำเลยทั้งสองซื้อไปและออกเช็คพิพาทชำระราคานั้นมีราคาสูงถึง 200,000 บาทกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456วรรคสองและวรรคสามว่า เป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตามพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบมามีเพียงคำเบิกความลอย ๆ ของนายธงชัยว่า จำเลยทั้งสองมาซื้อสินค้ายางรถยนต์และล้อแม็ก แต่หลักฐานที่แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ซื้อและรับสินค้าไปจากโจทก์ร่วมแล้วตามนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวนั้นโจทก์ร่วมหาได้มีมาแสดงเพื่อสนับสนุนคำพยานของตนหรือนำสืบถึงเหตุที่ไม่อาจนำมาแสดงได้ไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบมาจึงไม่พอฟังว่ามูลหนี้ที่จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเอกสารหมายจ.3 มาจากการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม มูลหนี้ที่ออกเช็คในฟ้องจึงไม่มีอยู่จริง การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้นชอบแล้วฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น"

    พิพากษายืน
 
มาตรา 456  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

ป.วิ.อ. 

มาตรา 227  ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497

 มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม กฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
 (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
 (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
 (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
 (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงิน ตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
 (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้ มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงิน ตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
 




เกี่ยวกับตั๋วเงินและเช็ค บัญชีเดินสะพัด

จำเลยใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ครบถ้วนหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
เช็คไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์รับเช็คมาโดยไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉล
วันและเวลาเกิดการกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ออกเช็คไม่ลงวันที่ไม่มีความผิดทางอาญา?
เช็คที่มีการแก้ไขวันที่มีผลอย่างไรกับผู้ออกเช็ค
บัญชีเดินสะพัด กับบัญชีกระแสรายวัน -หักกลบลบหนี้
ผู้ให้กู้มอบเงินไม่เต็มจำนวนโดยหักเงินในส่วนดอกเบี้ยเกินอัตรา