ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




วันและเวลาเกิดการกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

วันและเวลาเกิดการกระทำความผิดความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

จำเลยฎีกาว่าคำฟ้องของโจทก์ระบุแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คลงวันที่ 2 กันยายน 2539 แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนอันเป็นเวลากระทำความผิด เห็นว่าวันและเวลาเกิดการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 คือวันและเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่ ตามฎีกาของจำเลยพอแปลความหมายได้ว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด ซึ่งเวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาเกิดการกระทำความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3184/2541

   ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 หรือไม่ และปัญหาว่าหนี้เงินมัดจำที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ วันและเวลาเกิดการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 คือวันและเวลา ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่ เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำ แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

         โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคารกสิกรไทย ลงวันที่ 2 กันยายน 2539 จำนวนเงิน 133,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดชำระ เรียกเก็บเงินไม่ได้ ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2539 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย การกระทำของจำเลยเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

          ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

          จำเลยให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำคุก 8 เดือน

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยออกเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนเพชรเกษม ลงวันที่ 2 กันยายน 2539จำนวนเงิน 133,000 บาท อันเป็นเช็คพิพาทให้โจทก์ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระ เรียกเก็บเงินไม่ได้ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2539 โดยให้เหตุผลว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย

  มีปัญหาวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยในข้อแรกว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 หรือไม่ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 โดยจำเลยฎีกาว่าคำฟ้องของโจทก์ระบุแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คลงวันที่ 2 กันยายน 2539 แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนอันเป็นเวลากระทำความผิด เห็นว่าวันและเวลาเกิดการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 คือวันและเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่ ตามฎีกาของจำเลยพอแปลความหมายได้ว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด ซึ่งเวลาดังกล่าวไม่ใช่เวลาเกิดการกระทำความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง

 ปัญหาข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระเงินมัดจำคืนโจทก์หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระเงินมัดจำคืนโจทก์

 มีปัญหาวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่าหนี้เงินมัดจำที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระนั้น เป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ โดยจำเลยฎีกาว่า ตามสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำเอกสารหมาย จ.1 เป็นใบรับและสำเนาบันทึกการชดใช้ค่าเสียหายเอกสารหมาย จ.2 เป็นใบรับรองหนี้ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ แต่ตราสารทั้งสองฉบับไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงนำมาฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมายไม่ได้ มูลหนี้ตามเอกสารดังกล่าวเป็นมูลหนี้ที่จะบังคับตามกฎหมายไม่ได้เห็นว่า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับคู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ฯลฯ" เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติว่ามูลหนี้ตามตราสารที่ไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะนำตราสารนั้นมาฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้อย่างไรก็ดี คดีนี้ได้ความว่า สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำ ดังนั้น แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยถึง8 เดือนนั้นเห็นว่าหนักเกินไป สมควรลงโทษเบาลง  พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

มาตรา 456  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

มาตรา 158  ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี
(1) ชื่อศาลและวันเดือนปี
(2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด
(3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ
(4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย
(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
(6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

มาตรา 195  ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม

มาตรา 225  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณา และว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชั้นอุทธรณ์มาบังคับในชั้นฎีกาโดยอนุโลม เว้นแต่ห้ามมิให้ทำความเห็นแย้ง

มาตรา 55  เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้




เกี่ยวกับตั๋วเงินและเช็ค บัญชีเดินสะพัด

คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา, ความผิดการใช้เช็ค,
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
จำเลยใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ครบถ้วนหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
เช็คไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์รับเช็คมาโดยไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉล
ออกเช็คไม่ลงวันที่ไม่มีความผิดทางอาญา?
มูลหนี้ที่ออกเช็คไม่มีอยู่จริง การกระทำขาดองค์ประกอบความผิด
เช็คที่มีการแก้ไขวันที่มีผลอย่างไรกับผู้ออกเช็ค
บัญชีเดินสะพัด กับบัญชีกระแสรายวัน -หักกลบลบหนี้
ผู้ให้กู้มอบเงินไม่เต็มจำนวนโดยหักเงินในส่วนดอกเบี้ยเกินอัตรา