ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้ให้กู้มอบเงินไม่เต็มจำนวนโดยหักเงินในส่วนดอกเบี้ยเกินอัตรา

ผู้ให้กู้มอบเงินไม่เต็มจำนวนโดยหักเงินในส่วนดอกเบี้ยเกินอัตรา

จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องอีกได้หรือไม่? โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า สัญญากู้ยืมเงินระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จะมอบเงินให้แก่จำเลยโดยหักเงินในส่วนดอกเบี้ยไว้ จำเลยจึงไม่ได้รับเงินเต็มตามสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อปรากฏว่าจำนวนเงินในเช็คมีการเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมเข้ากับเงินต้นในเช็คไว้ด้วยซึ่งกฎหมายให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับไม่ได้ เช็คของจำเลยจึงไม่ใช่การชำระหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ตรงตามความจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์จึงไม่อาจรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยลงโทษจำเลยได้ ศาลมีอำนาจในการพิพากษาคดีถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลยไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2565

เช็คพิพาททั้งสามฉบับมีดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมกับต้นเงินไว้ด้วย ซึ่งกฎหมายให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับไม่ได้ เช็คพิพาททั้งสามฉบับจึงไม่ใช่การชำระหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ปรากฎจากทางนำสืบของโจทก์ในการไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่อาจรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ลงโทษจำเลย อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีว่า ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลยไป ซึ่งการพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (2) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 10 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 30 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 15 เดือน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องอีกไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการวินิจฉัยข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นนั้น เห็นว่า โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า สัญญากู้ยืมเงินระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จะมอบเงินให้แก่จำเลยแต่ละงวดโดยหักเงินในส่วนดอกเบี้ยไว้ จำเลยจึงไม่ได้รับเงินเต็มตามสัญญากู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยของงวดก่อน เนื่องจากโจทก์คิดดอกเบี้ยค้างชำระในงวดก่อนร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อปรากฏว่าจำนวนเงินในเช็คพิพาททั้งสามฉบับมีการเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมเข้ากับเงินต้นในเช็คพิพาทแต่ละฉบับไว้ด้วยซึ่งกฎหมายให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4 (1) จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับไม่ได้ เช็คพิพาททั้งสามฉบับจึงไม่ใช่การชำระหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ตรงตามความจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ในการไต่สวนมูลฟ้องจึงไม่อาจรับฟังคำรับสารภาพของจำเลยประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ลงโทษจำเลย อีกทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ได้ให้อำนาจศาลในการพิพากษาคดีว่า ถ้าศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ให้ศาลยกฟ้องปล่อยจำเลยไป ซึ่งการพิพากษาคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้วพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงชอบแล้ว ส่วนฎีกาข้ออื่น ๆ ของโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 



เกี่ยวกับตั๋วเงินและเช็ค บัญชีเดินสะพัด

คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา, ความผิดการใช้เช็ค,
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
จำเลยใช้เงินตามเช็คให้โจทก์ครบถ้วนหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
เช็คไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์รับเช็คมาโดยไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉล
วันและเวลาเกิดการกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ออกเช็คไม่ลงวันที่ไม่มีความผิดทางอาญา?
มูลหนี้ที่ออกเช็คไม่มีอยู่จริง การกระทำขาดองค์ประกอบความผิด
เช็คที่มีการแก้ไขวันที่มีผลอย่างไรกับผู้ออกเช็ค
บัญชีเดินสะพัด กับบัญชีกระแสรายวัน -หักกลบลบหนี้