ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาตัวแทนระงับเพราะตัวการตาย

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

สัญญาตัวแทนระงับเพราะตัวการตาย- แต่งตั้งทนายความเป็นตัวแทน

การแต่งตั้งทนายความเป็นการตั้งตัวแทน เมื่อโจทก์ผู้แต่งตั้งถึงแก่กรรม ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่ก็ไม่มีทายาทหรือผู้แทนของโจทก์ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาและศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้ทนายโจทก์ฟังเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมเกิน 1 ปีแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทน หรือทนายโจทก์จะจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์แล้ว ทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ต่อไป เมื่อทนายโจทก์ยื่นฎีกาคดีนี้ในขณะที่หมดอำนาจแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5919/2533

 

 

สัญญาตัวแทนระงับเพราะตัวการตาย * แต่งตั้งทนายความเป็นตัวแทน * ทนายความยื่นฎีกาหลังโจทก์ถึงแก่ความจึงไม่ชอบ

          การแต่งตั้งทนายความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ผู้แต่งตั้งถึงแก่กรรม กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 828 คือแม้สัญญาตัวแทนจะระงับไป แต่ทนายโจทก์ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไป จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ โดยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่ก็ไม่มีทายาทหรือผู้แทนของโจทก์ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาและศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้ทนายโจทก์ฟังเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมเกิน 1 ปีแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทน หรือทนายโจทก์จะจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์แล้ว ทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ต่อไป เมื่อทนายโจทก์ยื่นฎีกาคดีนี้ในขณะที่หมดอำนาจแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นสามีชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินที่จำเลยที่ 1 ขายฝากแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม

          จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
          จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่ได้รู้เห็นในการปลอมหนังสือให้ความยินยอม ที่พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ ได้เอง การขายฝากสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิเพิกถอน จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตโดยมีค่าตอบแทนและได้ทำหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

    โจทก์ฎีกา

 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องลงวันที่31 พฤษภาคม 2533 ต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อวันที่ 20 มกราคา 2532 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่ทนายโจทก์จะยื่นฎีกาในคดีนี้ ปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตรท้ายคำร้อง ฉะนั้นทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกา ขอให้จำหน่ายคดี ศาลชั้นต้นได้หมายนัดโจทก์และจำเลยทั้งสองมาสอบถาม ได้รับรายงานผลการส่งหมายว่า ส่งหมายให้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ส่วนจำเลยทั้งสองส่งหมายได้ พอถึงวันนัดทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 มาศาลส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับหมายนัดโดยชอบแล้วไม่มา ศาลสอบถามทนายโจทก์แล้ว ทนายโจทก์แถลงรับว่า โจทก์ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 มกราคม2532 จริง ซึ่งขณะนั้นคดีนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 นั้นเป็นการตั้งแต่งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำแถลงรับของทนายโจทก์ และสำเนาใบมรณบัตรท้ายคำร้องของจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2532 กรณีจึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตาย ตัวแทนต้องจัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์อันเขามอบหมายแก่ตนไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของตัวการจะอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ ได้ ดังนั้น แม้สัญญาตัวแทนจะระงับไปเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรม ทนายโจทก์ก็ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ โดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ข้อเท็จจริงฟังได้จากคำแถลงของทนายโจทก์ว่า โจทก์ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่20 มกราคม 2532 ขณะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของโจทก์ผู้มรณะจึงอาจขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของโจทก์ได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้ทำคำพิพากษา และศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์ฟังในวันที่ 1 พฤษภาคม 2533 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายโจทก์จะจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 แล้ว ทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ต่อไป เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์ยื่นฎีกาคดีนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ทนายโจทก์หมดอำนาจแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย"

    พิพากษายกฎีกาโจทก์.

หมายเหตุ 

          คดีที่บันทึกนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในขณะที่คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่20 มกราคม 2532 และข้อที่ว่าโจทก์ถึงแก่กรรมนี้มิได้ล่วงรู้ถึงศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม2533 อันเป็นเวลาที่พ้น 1 ปีแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ถึงแก่กรรมต่อมาศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์ฟังเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2533 และทนายโจทก์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 ศาลชั้นต้นรับฎีกาคดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ครั้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2533จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วดังกล่าว

           ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 บัญญัติว่า"ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลศาลอุทธรณ์คดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะ...จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะโดยมีคำขอเข้ามาเอง...คำขอเช่นนี้จะต้องยื่นภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

           ถ้าไม่มีคำขอ...ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ"

           คดว่า "ศาล" ในมาตรา 42 นี้ ย่อมหมายถึงศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี สุดแต่ว่าขณะที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะนั้น คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใด (คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 60/2503) และเมื่อข้อที่ว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างการพิจารณาของศาล ปรากฏต่อศาลก็จะมีการดำเนินการเพื่อให้มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้น

           แต่หากในระหว่างการพิจารณาของศาลคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะ โดยมิได้ล่วงรู้ถึงศาล เนื่องจากทายาทหรือบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 นั้น มิได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้น ๆ เข้ามาเป็นคู่ความแทนและศาลได้มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีการดำเนินการตามมาตรา 42ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นว่า คำพิพากษาของศาลในกรณีเช่นนี้จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742-743/2489 วินิจฉัยไว้ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นใช้ได้ไม่เสียไป ซึ่งศาลฎีกาในคดีนั้นได้วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า "คดีนี้ เหตุมรณะของคู่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังศาลอุทธรณ์พิพากษา จะเรียกว่ามรณะก่อนศาลพิพากษาคดีตามนัยมาตรา 52 นี้ไม่ได้ จะให้ศาลล่วงรู้เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นใหม่ และนอกเหนือจากถ้อยคำพยานหลักฐานในสำนวนนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ศาลย่อมถือเอาเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อศาลและในสำนวนเป็นประมาณ"

           แต่ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่บันทึกนี้ มีข้อเท็จจริงต่างไปจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742-743/2489 อยู่บ้าง คือ ขณะที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา (วันที่ 30 มกราคม 2533) นั้น เป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ถึงแก่กรรมแล้วปีเศษ เช่นนี้จะยังถือว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ในคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายใช้ได้อยู่อีกหรือไม่ผู้บันทึกเห็นว่า ยังสมบูรณ์ใช้ได้ไม่เสียไป เพราะการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ดำเนินการให้มีการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ หรือมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีคือฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์เสียจากสารบบความ ก็เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ถึงแก่กรรมมิได้ปรากฏต่อศาลอุทธรณ์นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งกำหนดเวลา 1 ปี ที่กำหนดไว้ในมาตรา42 นั้นก็เป็นดุลพินิจของศาล แม้หากจะปรากฏต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ถึงแก่กรรมเกิน 1 ปี แล้ว แต่ไม่มีผู้ใดเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ศาลก็ยังอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีต่อไป โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ทั้งนี้ ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 และคำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 32/2516

           เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่บันทึกนี้ไม่เสียไปคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คือ โจทก์แพ้คดีเพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง ตามศาลชั้นต้น

           เป็นที่แน่นอนว่าทนายโจทก์ในคดีที่บันทึกนี้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นฎีกาแทนโจทก์ได้ด้วย และเป็นที่แน่นอนเช่นกันว่าแม้สัญญาตัวแทนระหว่างโจทก์กับทนายโจทก์จะระงับไปเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรม แต่ทนายโจทก์ก็ยังมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไป จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์ (ในคดีนี้) ได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2505(ป),2115/2517
           แต่มีปัญหาว่าฎีกาที่ทนายโจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม2533 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ถึงแก่กรรมเกิน 1 ปีแล้ว ฎีกาที่ยื่นไว้นี้จะยังถือได้หรือไม่ว่าทนายโจทก์ยื่นโดยมีอำนาจและเป็นการชอบด้วยกฎหมายที่ศาลฎีกาจะรับไว้วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป ซึ่งศาลฎีกาในคดีที่บันทึกนี้ได้วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า "...ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำพิพากษาและศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายโจทก์ฟังในวันที่ 1 พฤษภาคม 2533 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายโจทก์จะจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 แล้ว ทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ต่อไป เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์ยื่นฎีกานี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ทนายโจทก์หมดอำนาจแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย" เช่นนี้ทำให้เห็นไปได้ว่า การที่ตัวแทนจะทำหน้าที่ปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการที่ถึงแก่ความตายไปแล้วต่อไปนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาอันจำกัดไว้ด้วย ซึ่งเฉพาะในคดีที่บันทึกนี้มีกำหนดไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ถึงแก่กรรม

           ด้วยความเคารพอย่างสูงผู้บันทึกเห็นว่า มาตรา 828 นี้ ไม่ได้บัญญัติกำหนดเวลาจำกัดไว้ให้ตัวแทนทำหน้าที่ปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการต่อไปได้นานเพียงใดนับแต่ตัวการถึงแก่ความตาย และเหตุที่กฎหมายบทนี้มิได้กำหนดเวลาจำกัดไว้ก็เนื่องจากเห็นได้ว่า กิจการที่ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนกระทำไปนั้นอยู่ในความรู้เห็นรับผิดชอบของตัวแทน ซึ่งนอกจากตัวการ ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องราวในกิจการที่ตนได้มอบหมายแก่ตัวแทนไปแล้วนั้น บรรดาทายาทหรือผู้แทนของตัวการคงจะมิได้รู้เท่าถึงที่ตัวการหรือตัวแทนรู้ หรือมิฉะนั้นก็อาจไม่เคยรู้เรื่องเลยก็ได้ การที่จะให้ตัวแทนสิ้นอำนาจหน้าที่ไปในทันทีที่ตัวการถึงแก่ความตาย หรือภายในเวลาอันจะมีกำหนดจำกัดไว้นั้น ย่อมไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์ สภาพกิจการหรือข้อสัญญาตัวแทนที่ได้ตกลงกันไว้แต่ต้น ดังจะเห็นถึงนัยนี้ได้ในมาตรา 286 วรรคสองตอนท้ายเฉพาะอย่างยิ่งในการเป็นทนายความที่ตัวความได้แต่งตั้งให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นฎีกาได้ด้วย ซึ่งในคดีนี้เป็นที่เห็นได้ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์นั้น ทำให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์แม้หากโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็ย่อมต้องรักษาประโยชน์ของตนต่อไปโดยการให้ทนายโจทก์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น

           นอกจากนี้ผู้บันทึกยังเห็นต่อไปว่า กำหนดเวลา 1 ปี ตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 นั้น เป็นกำหนดเวลาสำหรับให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ในเมื่อเห็นว่าคดีเหลือคู่ความอยู่ฝ่ายเดียวหรือไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไปน่าจะไม่ใช่เป็นกำหนดเวลาที่จะนำมาเป็นข้อสำหรับวินิจฉัยด้วยว่าทนายโจทก์หมดอำนาจหน้าที่ในการปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 เมื่อใด เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้บันทึกจึงเห็นว่า ทนายโจทก์มีอำนาจยื่นฎีกาแทนโจทก์ได้ เพราะเป็นการทำหน้าที่ปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามมาตรา 828 และย่อมเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายในอันที่ศาลฎีกาจะรับไว้วินิจฉัยชี้ขาดต่อไป

           แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่ว่าทายาทหรือบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เลย จนกระทั้งพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว เช่นนี้ศาลฎีกาก็อาจใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีคือฟ้องฎีกาของโจทก์ เสียจากสารบบความได้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2726/2517 ซึ่งผลแห่งการนี้ก็จะเป็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์นั้น ถึงที่สุดนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง แต่แม้ศาลฎีกาในคดีที่กำลังบันทึกนี้จะได้วินิจฉัยว่า ฎีกาของโจทก์ที่ทนายโจทก์ยื่นไว้นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและยกฎีกาของโจทก์ก็ตามผลก็นับว่าไม่แตกต่างกับการที่ถ้าศาลฎีกาจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนัก เพราะเมื่อศาลยกฎีกาโจทก์ก็จะเท่ากับว่าโจทก์มิได้ยื่นฎีกาภายในกำหนด ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด นับแต่เมื่อระยะเวลายื่นฎีกาได้สิ้นสุดลง ทั้งนี้ตามมาตรา 147 วรรคสอง ดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีผลของคดีในที่สุดแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย คือ โจทก์แพ้คดี เพราะศาลยกฟ้องยกเว้นก็แต่ผลในส่วนของค่าธรรมเนียมศาลเท่านั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 132 และมาตรา 151 วรรคหนึ่ง.


    




ตัวการมิได้เปิดเผยชื่อตัวแทนทำการออกหน้า

หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney)
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนมีฐานะเป็นตัวแทน