ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ การฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE

การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจงใจเขียนให้แตกต่าง-การฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 

รายงานการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระบุว่าได้ตรวจพิจารณาลายมือชื่อลงความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น ศาลเห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่เขียนต่อหน้าศาลเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานนั้นเป็นการจงใจเขียนให้แตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยเดิมเพื่อที่จะให้กองพิสูจน์หลักฐานยืนยันว่าลายมือชื่อจำเลยที่ลงชื่อต่อหน้าศาลมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยในเอกสาร เมื่อประจักษ์ชัดแจ้งว่าจำเลยใช้ลีลาการเขียนลายมือชื่อเพื่อให้แตกต่างไปจากของเดิม รายงานการตรวจพิสูจน์จากกองพิสูจน์หลักฐานจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1424/2554

          จำเลยทราบว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่าปลอม ความจริงเป็นลายมือชื่อของจำเลยซึ่งลงชื่อไว้ มิใช่ลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และเมื่อจำเลยเอาความเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยแจ้งความเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จำเลยมิได้ยืนยันว่าผู้ที่ปลอมเอกสารคือโจทก์ โดยจำเลยแจ้งความเพียงว่าจำเลยสงสัยโจทก์ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 172, 173,174, 175 และ 181

          ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง, 175 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานแจ้งความเท็จแก่พนักงานสอบสวน จำคุก 2 ปี ฐานฟ้องเท็จ จำคุก 2 ปี  รวมจำคุก 4 ปี

จำเลยอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
  โจทก์ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ที่จำเลยเบิกความขณะลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดตามเอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 3 ในช่องลายมือชื่อนั้นมีรอยลบตรงช่องลายมือชื่อ แล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อด้านล่างใต้เส้นไข่ปลาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเบิกความเท็จโดยปราศจากสงสัย เนื่องจากจำเลยหลังจากตรวจสอบเอกสารที่สำนักงานทะเบียนแล้วจำเลยพยายามลงลายมือชื่อใหม่ในเอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 3 เพื่อให้แตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยเดิมซึ่งลงไว้ในเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 3 ว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยอย่างเดียวกันกับที่จำเลยลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลเพื่อจะต้องการส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองตรวจพิสูจน์หลักฐานว่าเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 3 มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย เนื่องจากเป็นการเขียนลายมือชื่อคนละลักษณะเพื่อให้แตกต่างจากลายมือชื่อของจำเลยเดิมนั่นเอง จากจุดนี้เองแสดงให้เห็นว่าจำเลยนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อให้ศาลหลงเชื่อเนื่องจากจำเลยไม่ทราบว่าต้นฉบับเอกสารมีการถ่ายลงไมโครฟิล์มและสแกนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นความเขลาของจำเลยเอง หากจำเลยทราบมาก่อนเช่นนั้นเชื่อว่าจำเลยคงไม่ทำเช่นนี้

          ในเรื่องลายมือชื่อของจำเลย จำเลยเบิกความ จำเลยเข้าทำงานในบริษัทจัดหางาน สยามโอเวอร์ซีส์ รีครูทเมนท์ จำกัด เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเพียงฉบับเดียวตามเอกสารหมาย ล.5 ศาลตรวจดูแล้วปรากฏว่าเอกสารหมาย ล.5 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2538 ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยจะเข้าทำงานเสียอีก และการที่จำเลยลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจตามเอกสารหมาย ล.5 ก็ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจแต่อย่างใด เพราะเอกสารหมาย ล.5 ระบุให้นายหลุย และหรือนายเกรียงไกร และหรือนางสาวนาตยา เป็นผู้รับมอบอำนาจเพียง 3 คน มิได้ระบุให้จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจแต่อย่างใด จึงเป็นการชัดแจ้งว่าจำเลยปลอมเอกสารหมาย ล.5 เพื่อนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานเท็จต่อศาล

          จำเลยเบิกความต่อไปหลังจากเข้าทำงานประมาณ 1 อาทิตย์ นางสาวพิมพวรรณได้นำหนังสือมอบอำนาจและเอกสารคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทมาให้จำเลยลงชื่อเพื่อเปลี่ยนกรรมการตามเอกสารหมาย ล.6 และ ล.7 แต่จากเอกสารหมาย ล.6 หนังสือมอบอำนาจระบุให้นายหลุย และหรือนายเกรียงไกร และหรือนางสาวนาตยา เป็นผู้รับมอบอำนาจ มิได้ระบุให้จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจแต่อย่างใด แต่เหตุไฉนจำเลยจึงลงชื่อในเอกสารหมาย ล.6 และเมื่อนำเอกสารหมาย ล.6 มาเปรียบเทียบกับเอกสารหมาย ล.7  แผ่นที่ 4 ซึ่งลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 เช่นกัน ก็พบว่าเอกสารทั้งสองฉบับคือเอกสารแผ่นเดียวกัน เพราะมีข้อความเหมือนกันทุกประการแต่เอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 4 กลับไม่มีลายมือชื่อจำเลยดังเช่นเอกสารหมาย ล.6 ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยลบลายมือชื่อนายเกรียงไกรตามเอกสารหมาย ล.7 แผ่นที่ 4 ออกแล้วลงลายมือชื่อจำเลยลงไปแทนนายเกรียงไกร ตามเอกสารหมาย ล.6 เพื่อนำสืบพยานหลักฐานเท็จต่อศาล

        ศาลได้ตรวจลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหมาย จ.1 อันประกอบด้วยบันทึกข้อตกลง คำขอจดทะเบียนบริษัท รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ กรรมการเข้าใหม่ หนังสือมอบอำนาจ หนังสือขอลาออก หนังสือโอนหุ้น หนังสือเรื่องขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท มีลักษณะการเขียนเช่นเดียวกับลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหมาย จ.2 แผ่นที่ 3 ซึ่งแตกต่างจากลายมือชื่อซึ่งจำเลยเขียนต่อหน้าศาลเพื่อส่งไปให้กองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบลายมือชื่อ เชื่อว่าจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 แผ่นที่ 3 โดยเป็นลายมือชื่อของจำเลยอย่างแน่นอนปราศจากสงสัย จำเลยจึงทราบดีอยู่แล้วว่าลายมือชื่อที่จำเลยอ้างว่ามีการปลอมแปลงนั้น ความจริงแล้วเป็นลายมือชื่อของจำเลยซึ่งลงชื่อไว้ก่อนล่วงหน้า มิใช่ลายมือชื่อปลอมแต่อย่างใด การที่จำเลยไปแจ้งว่ามีการปลอมลายมือชื่อนั้นจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนโดยรู้อยู่แล้วว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และเมื่อจำเลยเอาข้อความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา แต่แล้วจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ก็ไม่ไปเบิกความที่ศาลจนเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง เมื่อจำเลยทราบความจริงอยู่แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดอาญาใดๆ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฟ้องเท็จอันเป็นความผิดตามมาตรา 175 อีกกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง เห็นว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยแจ้งความเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษและตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานเอกสารหมาย จ.10 จำเลยก็มิได้กล่าวยืนยันว่าผู้ที่ปลอมเอกสารคือโจทก์ โดยจำเลยแจ้งความเพียงว่าในเบื้องต้นจำเลยสงสัยโจทก์ หากประสงค์จะดำเนินคดีจะมอบคดีต่อพนักงานสอบสวนอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้

          ส่วนรายงานการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระบุว่าได้ตรวจพิจารณาลายมือชื่อผู้ให้สัญญาและผู้เริ่มก่อการที่มีดอกจันสีแดงในบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 1 และคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดเอกสารหมาย จ.23 เปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อ สำเนาลายมือชื่อ และลายมือชื่อของนายวรวัตน์ ตามที่ระบุไว้เอกสารตัวอย่างข้างต้น ดูโดยละเอียดแล้วปรากฏว่ามีคุณสมบัติของการเขียนรูปร่างลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกันดังได้ชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างในภาพแสดงประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ที่ พ.415/2545 จำนวน 4 แผ่น รวม 9 ภาพ แต่เนื่องจากมีบางส่วนของตัวอักษรบางตัวเขียนเป็นคนละแบบกันและลายมือชื่อตัวอย่างหนึ่งเป็นสำเนาเอกสาร ในกรณีนี้ลงความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น เห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่เขียนต่อหน้าศาลเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานนั้นเป็นการจงใจเขียนให้แตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยเดิมเพื่อที่จะให้กองพิสูจน์หลักฐานยืนยันว่าลายมือชื่อจำเลยที่ลงชื่อต่อหน้าศาลมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 แผ่นที่ 3 เพราะจะเห็นได้ว่าลีลาการเขียนแตกต่างกันมากมาย โดยลายมือชื่อจำเลยที่ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาล ตัว ว จำเลยลากหางยาวเพื่อให้แตกต่างจากลายมือชื่อโดยปกติของจำเลย เมื่อประจักษ์ชัดแจ้งว่าจำเลยใช้ลีลาการเขียนลายมือชื่อเพื่อให้แตกต่างไปจากของเดิม รายงานการตรวจพิสูจน์จากกองพิสูจน์หลักฐานจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173, 175 เป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานแจ้งความเท็จ จำคุก 1 ปี ฐานฟ้องเท็จ จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อ ความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดี อาญาว่าได้มีการกระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตาม มาตรา 172 หรือ มาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อ ความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับ ไม่เกินหกพันบาท
ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรกเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใด ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำ ความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท         

 ความผิดฐานฟ้องเท็จ เป็นความผิดสำเร็จทันทีเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15243/2557

ความผิดฐานฟ้องเท็จเกิดขึ้นเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล การถอนฟ้องในระหว่างชั้นไต่สวนมูลฟ้องคงเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ตาม ป.อ. มาตรา 176

คำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อมีการยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องโดยลงลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองมาในส่วนของคำขอท้ายฟ้องก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ กรณีถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้สั่งโจทก์ให้แก้ฟ้องให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง จนเห็นได้ว่าเป็นฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84, 90, 175, 181

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ประกอบมาตรา 181 (1) ให้จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 1 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยทั้งสามมีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่งแน่นอน จึงเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนดคนละ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังว่า โจทก์ทั้งสองทำงานอยู่ที่บริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างเจ้าของลิขสิทธิ์ในการจัดเก็บลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้อำนวยการสายงานกฎหมายและปราบปราม ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย ขณะเกิดเหตุบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด รับจ้างจัดเก็บลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยื่นฟ้องสรุปว่า โจทก์ทั้งสองกับพวกรวม 11 คน ร่วมกันกระทำความผิด ฐานปล้นทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งตู้คาราโอเกะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขณะอยู่ในความครอบครองของนางสาววาสนา นายสุขสันต์ นายอัศวิน นางลำดวน นายประทีปและนางสาวสุพรรณา เจ้าของร้านค้าบริเวณตำบลแกลงและตำบลเพ โดยจำเลยที่ 3 เป็นทนายความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องของถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2636/2551 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามในประการแรกว่า จำเลยทั้งสามกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ทั้งสองเบิกความยืนยันว่า ก่อนเกิดเหตุได้มีหนังสือแจ้งเจ้าของร้านให้ดำเนินการขอใช้ลิขสิทธิ์เปิดเพลงของบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) ให้ถูกต้อง แต่เจ้าของร้านดังกล่าวเพิกเฉย ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจมาที่ร้านค้าพร้อมแสดงหมายค้นให้ตรวจดู เจ้าของร้านทุกร้านย่อมทราบดีว่าเจ้าพนักงานตำรวจมาขอตรวจค้นแผ่นเสียงซึ่งอยู่ภายในตู้คาราโอเกะตามที่เคยได้รับการแจ้งเตือนไว้ แม้จะได้ความว่าขณะตรวจค้นพันตำรวจโทคมสรรกับเจ้าพนักงานตำรวจแต่งกายนอกเครื่องแบบ แต่ทุกคนก็คล้องบัตรประจำตัวไว้ที่คอซึ่งบัตรได้ระบุชื่อและตำแหน่งไว้เป็นการแสดงออกว่าทุกคนทำงานตามหน้าที่ราชการ นอกจากนี้การที่พนักงานของโจทก์ที่ 2 ช่วยกันขนตู้คาราโอเกะขึ้นรถบรรทุกก็อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสิ้น อีกทั้งบริเวณร้านค้าแต่ละร้านอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวมีคนสัญจรอยู่ตลอดเวลา โจทก์ที่ 2 และเจ้าพนักงานตำรวจคงไม่กล้าใช้กำลังบังคับขู่เข็ญเอาตู้คาราโอเกะไปโดยมิชอบ ประกอบกับเจ้าของร้านหรือผู้ดูแลร้านได้ลงลายมือชื่อในบันทึกการตรวจยึด รับรองข้อความว่าเจ้าพนักงานตำรวจชุดตรวจยึดมิได้บังคับขู่เข็ญหรือทำร้ายร่างกายและมิได้ทำให้ทรัพย์สินของผู้ใดเสียหาย เสื่อมค่า ไร้ประโยชน์ จึงเป็นหลักฐานสนับสนุนว่าการยึดตู้คาราโอเกะออกจากร้านค้าไปเป็นการกระทำโดยชอบตามกฎหมาย เมื่อการตรวจยึดครั้งนี้ไม่ได้จับกุมเจ้าของร้านค้าหรือผู้ดูแลร้านค้าเป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานใดฐานหนึ่ง ทั้งยังได้ความในขณะตรวจยึดนั้น แผ่นเสียงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ถูกบรรจุอยู่ในตู้คาราโอเกะไม่สามารถนำออกมาได้เพราะตู้คาราโอเกะถูกล็อกไว้ หากจะนำแผ่นเสียงออกมาจะต้องทำลายกุญแจที่ล็อกไว้อาจเกิดความเสียหาย รวมถึงมีเงินเหรียญหยอดอยู่ในตู้คาราโอเกะด้วย ดังนั้น เจ้าของร้านหรือผู้ดูแลร้านค้าย่อมทราบความจริงดีว่าเป็นการยึดตู้คาราโอเกะของกลาง เพื่อไปตรวจสอบเกี่ยวกับแผ่นเสียงภายในตู้ซึ่งมีการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตามวิสัย ไม่อาจแปลการกระทำของโจทก์ที่ 2 และเจ้าพนักงานตำรวจว่า มีเจตนากลั่นแกล้งเอาตู้คาราโอเกะไปโดยทุจริตแต่อย่างใด พยานโจทก์ทั้งสองที่นำสืบมามีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ที่จำเลยทั้งสามเบิกความต่อสู้ว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้รับแจ้งจากเจ้าของร้านหรือผู้ดูแลร้านค้าว่า มีกลุ่มชายฉกรรจ์มายกตู้คาราโอเกะขึ้นรถบรรทุกไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 เดินทางมายังร้านค้าดังกล่าว พบกลุ่มชายหลายคนไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานและพูดจาข่มขู่ไม่ให้จำเลยที่ 2 กับที่ 3 เข้ามายุ่งเกี่ยว เมื่อสอบถามกลุ่มชายดังกล่าวว่ามาจากไหนและขอให้แสดงหมายหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้รับคำตอบ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงแจ้งเรื่องให้จำเลยที่ 1 ทราบ จากนั้นจึงฟ้องโจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นคดีอาญา เห็นว่า จำเลยทั้งสามไม่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นและยึดตู้คาราโอเกะ แม้จำเลยทั้งสามจะมีนายสุขสันต์ เจ้าของร้านอาหารมาเบิกความเป็นพยานว่า ขณะเกิดเหตุกลุ่มคนที่นำตู้คาราโอเกะขึ้นรถบรรทุกไม่มีเจ้าพนักงานตำรวจร่วมกระทำการ ไม่มีการแสดงเอกสารราชการ ไม่มีหมายศาลหรือบันทึกอื่นใด กลุ่มคนดังกล่าวบอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงก็ตาม แต่นายสุขสันต์ก็ไม่ได้เบิกความยืนยันว่า ถูกโจทก์ที่ 2 หรือเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานของโจทก์ที่ 2 คนใดคนหนึ่งใช้กำลังบังคับขู่ว่าจะเตะต่อยหรือตีด้วยของแข็ง หรือข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ก่อนที่ยกตู้คาราโอเกะขึ้นรถบรรทุก นอกจากนี้ยังได้ความว่า หลังจากพันตำรวจโทคมสรรกับพวกยึดตู้คาราโอเกะ 6 ตู้มาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรตำบลเพแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ตามมาพบพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจและถ่ายรูปตู้คาราโอเกะที่ถูกยึดไว้ ดังนั้น ตามวิสัยของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทนายความย่อมทราบได้โดยทันทีว่า การยึดตู้คาราโอเกะมาไว้ที่สถานีตำรวจก็เพื่อตรวจสอบแผ่นเสียงอันละเมิดลิขสิทธิ์ อันเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ตรวจยึดไม่ได้กระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบสำหรับตนเอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงทราบข้อเท็จจริงจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทนายความของตนว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดในทางอาญา การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการเอาความอันเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นทนายความผู้เรียงคำฟ้องทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง แต่จำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้สอบถามเจ้าของร้านหรือผู้ดูแลร้านค้าให้ถี่ถ้วน จำเลยที่ 3 กลับแนะนำให้จำเลยที่ 1 ฟ้องคดี พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 มีลักษณะรู้เห็นหรือร่วมเป็นใจกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ทั้งสองกับพวกมาตั้งแต่ต้น จึงถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาของจำเลยทั้งสามในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2636/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องในขณะอยู่ระหว่างไต่สวนมูลฟ้องและศาลยังไม่ได้ประทับฟ้องไว้พิจารณา การกระทำของจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้เป็นการฟ้องเท็จนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175 บัญญัติว่า "ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา..." ซึ่งมีความหมายว่าความผิดได้เกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นำคดีไปยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 แล้ว แม้คดีจะอยู่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา ก็ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอถอนฟ้องในระหว่างชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คงให้ศาลใช้ดุลพินิจที่จะลงโทษจำเลยทั้งสามน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 176 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้อง แต่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ลงชื่อเป็นโจทก์คงมีทนายความลงชื่อในช่องโจทก์ในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น คำฟ้องจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เห็นว่า เมื่อคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์ให้แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องไปโดยทันทีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องโดยลงลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองมาในส่วนของคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำขอแก้ไขฟ้องมาตั้งแต่ยังไม่ถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต กรณีถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้สั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องจนเห็นได้ว่าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์ทั้งสองนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและประทับฟ้องไว้พิจารณา จึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 




ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ