ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญากู้และสัญญาจำนองกับธนาคารคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา

สัญญากู้และสัญญาจำนองกับธนาคารคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา

สัญญากู้และสัญญาจำนองระหว่างจำเลยกับธนาคารทำขึ้นปี 2540 ซึ่งระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายซึ่งใช้ในขณะนั้นให้เรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปีเท่านั้น ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การคิดดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ การบอกกล่าวบังคับจำนองโจทก์ต้องมีหนังสือไปยังจำเลยไม่น้อยกว่าหกสิบวัน แต่หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ กำหนดเวลาให้ชำระหนี้จำนองภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือจึงเป็นการบอกกล่าวที่ไม่ชอบโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2564

ธนาคาร ก. เป็นธนาคารพาณิชย์อันเป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เมื่อตามคำสั่งที่ 34/2539 เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดของธนาคาร ก. อันเป็นคำสั่งหรือประกาศที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญากู้และสัญญาจำนองฉบับพิพาทกำหนดอัตราดอกเบี้ยปกติไว้ร้อยละ 16.5 ต่อปี และอัตราผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขร้อยละ 19 ต่อปี การที่สัญญากู้และสัญญาจำนองฉบับพิพาทระหว่างธนาคาร ก. กับจำเลยและ พ. ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไข ทั้งที่ในขณะนั้นจำเลยและ พ. ผู้เป็นลูกหนี้ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใดจึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคาร ก. อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ แม้ว่าความเป็นจริงแล้วโจทก์จะยังมิได้คิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวในขณะที่ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามที่โจทก์อ้างมาในฎีกา ก็หาเป็นผลให้ข้อกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะกลับกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย อันเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ป.พ.พ. มาตรา 728 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 มีผลใช้บังคับแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรเสียก่อนซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและจำเลยละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว โจทก์จึงจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดได้ โดยความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 บัญญัติให้ใช้มาตรา 728 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบังคับแก่การบังคับจำนองที่ทำขึ้นนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้น เมื่อหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ กำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้จำนองภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้สั้นกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้และเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ไม่ชอบ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,482,544.35 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ของต้นเงิน 539,384.52 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 60424 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นำเงินที่จำเลยและนาย พ. ได้ชำระแก่โจทก์นับแต่วันทำสัญญากู้ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540) จนถึงวันที่ 27 มกราคม 2541 ไปหักออกจากต้นเงิน 543,000 บาท เมื่อเหลือต้นเงินจำนวนเท่าใดให้จำเลยชำระต้นเงินคงเหลือจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 มกราคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้นำเงินที่จำเลยและนาย พ. ได้ชำระตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 มาชำระดอกเบี้ยก่อน หากมีเงินเหลือให้นำไปชำระต้นเงิน แต่จำเลยในฐานะทายาทของนาย พ. รับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกของนาย พ. ที่ตกทอดแก่จำเลย หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 60424 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 4,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้นำเงินที่จำเลยและนาย พ. ได้ชำระแก่ธนาคาร ก. และโจทก์นับแต่วันทำสัญญากู้ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540) จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 ไปหักออกจากต้นเงิน 543,000 บาท เมื่อเหลือต้นเงินจำนวนเท่าใด ให้จำเลยชำระต้นเงินคงเหลือจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกาโดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยและนาย พ. ผู้ตาย ร่วมกันกู้เงินจากธนาคาร ก. 543,000 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และตกลงผ่อนชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคาร ก. เป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 7,400 บาท เริ่มผ่อนชำระตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นไป กำหนดชำระหนี้เสร็จสิ้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 หากจำเลยและนาย พ. ผิดนัดยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคาร และเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้จำเลยและนาย พ. ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60424 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้ต่อธนาคาร ก. ในวงเงิน 543,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี โดยมีข้อตกลงว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ยินยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยและนาย พ. ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ธนาคารจนครบถ้วน ภายหลังจากทำสัญญาจำเลยและนาย พ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 เป็นเงิน 2,000 บาท ซึ่งก่อนหน้านั้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2542 ธนาคารได้โอนสิทธิเรียกร้องรวมถึงหลักประกันแห่งหนี้ของจำเลยและนาย พ. ให้แก่โจทก์ โจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้กับบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ชำระหนี้

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเพียงประการเดียวว่า ดอกเบี้ยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหรือไม่ ในปัญหานี้โจทก์ฎีกาอ้างว่า แม้การทำสัญญากู้และสัญญาจำนองระหว่างธนาคาร ก กับจำเลยและนาย พ. จะมีการกำหนดดอกเบี้ยตามสัญญาไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ในความเป็นจริงธนาคาร ก. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยของธนาคารดังกล่าวและโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยชอบด้วยกฎหมาย หาได้ตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ตามประกาศธนาคาร ก. และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย นั้น เห็นว่า ธนาคาร ก. เป็นธนาคารพาณิชย์อันเป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เมื่อตามคำสั่งที่ 34/2539 เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดของธนาคาร ก. อันเป็นคำสั่งหรือประกาศที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญากู้และสัญญาจำนองฉบับพิพาทกำหนดอัตราดอกเบี้ยปกติไว้ร้อยละ 16.5 ต่อปี และอัตราผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขร้อยละ 19 ต่อปี การที่สัญญากู้และสัญญาจำนองฉบับพิพาทระหว่างธนาคาร ก. กับจำเลยและนาย พ. ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไข ทั้งที่ในขณะนั้นจำเลยและนาย พ. ผู้เป็นลูกหนี้ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใดจึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคาร ก. อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ แม้ว่าความเป็นจริงแล้วโจทก์จะยังมิได้คิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวในขณะที่ลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามที่โจทก์อ้างมาในฎีกา ก็หาเป็นผลให้ข้อกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะกลับกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่กำหนดไว้ในสัญญากู้และสัญญาจำนองเป็นโมฆะ จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย ตามหนังสือบอกกล่าวฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 อันเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 มีผลใช้บังคับแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรเสียก่อนซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและจำเลยละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว โจทก์จึงจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดได้ โดยความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 บัญญัติให้ใช้มาตรา 728 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบังคับแก่การบังคับจำนองที่ทำขึ้นนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้น เมื่อหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ ฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 กำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้จำนองภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์จึงกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้สั้นกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้และเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ไม่ชอบ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้บังคับแก่ทรัพย์สินจำนองในกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

นอกจากนี้ เมื่อในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 และมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี...” มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 224 หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี...” และมาตรา 7 บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติตามมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้น คดีนี้แม้จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดของต้นเงินค้างชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 แต่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดในช่วงเวลาภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดนี้มีผลใช้บังคับ ย่อมต้องนำบทบัญญัติมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับด้วย โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้เงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2554 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทบัญญัติเดิมก่อนมีการแก้ไข และคิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามมาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เท่ากับอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ปัญหาทั้งสองกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นำเงินที่จำเลยและนาย พ. ได้ชำระแก่ ธนาคาร ก. และโจทก์ นับแต่วันทำสัญญากู้ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540) จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 ไปหักออกจากต้นเงิน 543,000 บาท เมื่อเหลือต้นเงินจำนวนเท่าใด ให้จำเลยชำระต้นเงินคงเหลือจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินคงเหลือนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนที่ขอให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 60424 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ




จำนอง

ขายที่ดิน น.ส. 3 โอนการครอบครองโดยส่งมอบแต่นำไปออกโฉนดที่ดินไม่ชอบ
เจ้าของที่ดินอุทิศที่ดินให้แก่ทางราชการภายหลังจดทะเบียนจำนอง
ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดติดจำนองโดยมิได้เป็นลูกหนี้
สัญญาจำนองให้รับผิดเกินราคาทรัพย์เป็นโมฆะ
ตัวการซึ่งยังไม่เปิดเผยชื่อรับเอาสัญญาจำนองซึ่งกรรมการทำไว้แทนตน