

การจำนองที่ดินโดยผู้พิทักษ์, ความยินยอมผู้พิทักษ์, เพิกถอนนิติกรรมคนเสมือนไร้ความสามารถ, ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์ การจำนองที่ดินโดยผู้พิทักษ์, ความยินยอมผู้พิทักษ์, เพิกถอนนิติกรรมคนเสมือนไร้ความสามารถ, "การจำนองและโอนที่ดินของคนเสมือนไร้ความสามารถตามมาตรา 34 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หากเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ แต่หากไม่มีความยินยอมอาจตกเป็นโมฆะ" ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ก่อนในการกระทำบางนิติกรรม เช่น การรับประกันที่อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ หากไม่มีความยินยอม นิติกรรมนั้นจะไม่มีผลตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม คนเสมือนไร้ความสามารถยังสามารถกระทำนิติกรรมอื่น ๆ ได้เอง หากไม่อยู่ในขอบเขตที่มาตรา 34 วรรคหนึ่งกำหนด มาตรา 34 วรรคสาม ระบุว่า หากคนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้เพราะจิตฟั่นเฟือนหรือกายพิการ ศาลอาจสั่งให้ผู้พิทักษ์มีอำนาจกระทำแทน และให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ "ผู้อนุบาล" มาใช้โดยอนุโลม เช่น การทำธุรกรรมสำคัญที่ต้องได้รับอนุญาต ในกรณีของโจทก์ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ การจำนองและโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ ซึ่งเป็นนิติกรรมตามมาตรา 34 (4) ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ถือว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติและนิติกรรมดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2558 ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ ...ฯลฯ... (4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้ ...ฯลฯ... จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันกระทำทั้งหมดและให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 55312 ตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ใส่ชื่อโจทก์ตามเดิม หากจำเลยทั้งห้าไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งห้า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ จำเลยที่ 3, 4 และ 5 ให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2536 ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ วันที่ 11 มกราคม 2545 โจทก์โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 55312 เลขที่ดิน 466 ตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ของโจทก์ เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจำนวน 2,350,000 บาท ต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม 2545 โจทก์โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทดังกล่าวชำระหนี้จำนองให้แก่นายอภิญญา วันที่ 5 กรกฎาคม 2547 นายอภิญญาได้จำนองที่ดินพิพาทนั้นไว้กับจำเลยที่ 4 วันที่ 26 ธันวาคม 2549 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นายอภิญญาเด็ดขาด วันที่ 26 ธันวาคม 2551 จำเลยที่ 4 จดทะเบียนโอนสิทธิการรับจำนองให้แก่จำเลยที่ 5 วันที่ 17 มีนาคม 2552 ศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งเพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้พิทักษ์โจทก์และตั้งนางณฐนีเป็นผู้พิทักษ์ และวันที่ 7 ตุลาคม 2553 ศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งให้โจทก์เป็นบุคคลไร้ความสามารถโดยให้อยู่ในความอนุบาลของนางณฐนี คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า นิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองระหว่างโจทก์กับนายอภิญญาเป็นโมฆะหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า การทำนิติกรรมระหว่างโจทก์กับนายอภิญญาจะต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า "...ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาบังคับใช้แก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" มาใช้บังคับและบทบัญญัติที่นำมาใช้กับผู้อนุบาล คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "...บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้" ซึ่งจะต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "...นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนองหรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้..." และมาตรา 1575 บัญญัติว่า "ถ้าในกิจการใด ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองหรือประโยชน์ของคู่สมรสหรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำกิจการนั้นได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ" มาใช้บังคับ การที่โจทก์มีอายุสมองเท่ากับเด็ก 3 ปี เป็นคนปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิดจนถึงปัจจุบันนี้ ถือว่าโจทก์เป็นคนจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ไม่สามารถเข้าใจในสาระสำคัญของการกู้ยืมเงิน การจดทะเบียนจำนองเป็นประกันและการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ได้ด้วยตนเอง จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน และการทำนิติกรรมดังกล่าวเป็นการกระทำที่แสวงหาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เอง เป็นการกระทำที่ขัดกับผลประโยชน์ของโจทก์ จึงเป็นโมฆะนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ ...ฯลฯ... (4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้ ...ฯลฯ... จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่างๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุ มีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรม การจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับนายอภิญญา ฉ้อฉลโจทก์ เห็นว่า โจทก์มีผู้อนุบาลโจทก์เพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์โดยนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมแก่นายอภิญญาในราคาต่ำกว่าราคาประเมินแล้วจำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้จากการจำนองไปใช้ส่วนตัว จึงมีน้ำหนักน้อย ไม่น่าเชื่อถือ ทั้งตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและบันทึกข้อตกลงโอนชำระหนี้จำนอง เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกคำขอแสดงตัวผู้พิทักษ์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์มีความประสงค์จำนองที่ดินพิพาทและโอนชำระหนี้จำนองที่ดินพิพาทด้วยตนเอง โดยจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแล้วโจทก์ได้พิมพ์ลายนิ้วมือและจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ อันแสดงว่าไม่มีการฉ้อฉลตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การที่นายอภิญญาและจำเลยที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าจะมีการเพิกถอนที่ดินพิพาทในภายหน้า แต่ก็ยังคงจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทกันอีกเพื่อจะยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน เพื่อผลในทางบังคับคดี ซึ่งขณะนั้นนายอภิญญาถูกธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ฟ้องเป็นคดีแพ่ง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ก่อนที่นายอภิญญาจะจดทะเบียนจำนองกับจำเลยที่ 4 ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 อีกทั้งจำเลยที่ 5 ก็รับโอนสิทธิการจำนองจากจำเลยที่ 4 โดยไม่สุจริตเพราะว่าจำเลยที่ 5 ทราบหรือควรจะทราบว่ามีการโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 5 ก็ยังรับโอนสิทธิการจำนองจากจำเลยที่ 4 อีก นิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีนายอภิญญาเป็นพยานเบิกความว่า ก่อนที่พยานจะรับจำนองที่ดินพิพาท ก็ได้มีการพูดคุยกับจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถหาผู้รับจำนองที่ดินพิพาทได้ พยานจึงได้รับจำนองที่ดินนั้นไว้ในราคา 2,350,000 บาท ตามที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอ และก่อนครบกำหนดไถ่ถอนการจำนอง จำเลยที่ 1 และบุตรมาแจ้งแก่พยานว่าไม่สามารถไถ่ถอนการจำนองได้ จึงขอเงินเพิ่มอีก 500,000 บาท พยานได้ขอให้จำเลยที่ 1 และบุตรไปหาผู้อื่นมาไถ่ถอนจำนอง แต่จำเลยที่ 1 ก็ยืนยันว่าไม่สามารถหาคนมาไถ่ถอนการจำนองได้ พยานจึงมีเงื่อนไขว่า หากต้องการเงินเพิ่มอีก 500,000 บาท จะต้องโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับตามเงื่อนไขดังกล่าวจึงจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่พยาน ต่อมาพยานได้ปิดประกาศขายที่ดินพิพาท แต่ไม่มีผู้ซื้อ พยานจึงนำที่ดินพิพาทจำนองไว้กับจำเลยที่ 4 วงเงิน 5,000,000 บาท จะเห็นได้ว่าก่อนที่นายอภิญญาจะรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ได้พยายามหาผู้รับจำนองรายอื่นแล้ว แต่หาไม่ได้ดังจะเห็นได้จากคำเบิกความของนายสายชลลูกพี่ลูกน้องกับนางณฐนี พยานจำเลยที่ 3 ว่า ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำที่ดินพิพาทไปจำนองกับนายอภิญญานั้น จำเลยที่ 1 มาติดต่อกับพยานแล้ว แต่พยานแจ้งว่าไม่มีเงิน และทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่านายอภิญญากับจำเลยที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าจะมีการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 5 รับโอนสิทธิการจำนองจากจำเลยที่ 4 โดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อนายอภิญญาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงสามารถทำนิติกรรมจำนองให้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ก็สามารถโอนสิทธิการรับจำนองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 5 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ • เพิกถอนนิติกรรมคนเสมือนไร้ความสามารถ • การจำนองที่ดินโดยผู้พิทักษ์ • ความยินยอมผู้พิทักษ์ตามมาตรา 34 • นิติกรรมโมฆะของคนไร้ความสามารถ • ข้อพิพาทที่ดินและผู้พิทักษ์ • สิทธิของคนเสมือนไร้ความสามารถในทรัพย์สิน • บทบาทผู้พิทักษ์ในนิติกรรม • การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ โจทก์ยื่นฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมและให้จำเลยทั้งห้าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกลับคืนโจทก์ หากไม่ดำเนินการ ให้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จำเลยที่ 1 ไม่ยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบ จำเลยที่ 3, 4 และ 5 ยื่นคำให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์และฎีกา โดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ข้อเท็จจริง: โจทก์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ จำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ต่อมา โจทก์จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ 2.35 ล้านบาท และโอนที่ดินให้แก่นายอภิญญาเพื่อชำระหนี้ จากนั้น นายอภิญญาจำนองที่ดินต่อให้จำเลยที่ 4 ซึ่งภายหลังโอนสิทธิการจำนองให้จำเลยที่ 5 ต่อมาศาลสั่งเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้พิทักษ์โจทก์และตั้งผู้อื่นแทน พร้อมประกาศให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาล ปัญหาต้องวินิจฉัย: การจำนองและโอนที่ดินของโจทก์เป็นโมฆะหรือไม่ โจทก์อ้างว่าการกระทำดังกล่าวขัดกับมาตรา 34, 28, 1574 และ 1575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะโจทก์มีภาวะจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ การทำนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาลและการกระทำดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัย: การจำนองและโอนที่ดินโจทก์ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์ เป็นไปตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ถือว่าสมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 และนายอภิญญาฉ้อฉล ศาลเห็นว่าคำให้การของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากมีการลงลายมือชื่อและให้การต่อเจ้าพนักงานโดยสมัครใจ อีกทั้งไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยที่ 5 โอนสิทธิการจำนองโดยไม่สุจริต จึงถือว่านิติกรรมดังกล่าวสมบูรณ์ คำพิพากษา: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 มาตรา 34 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) กำหนดหลักเกี่ยวกับการกระทำทางกฎหมายของบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็น "คนเสมือนไร้ความสามารถ" โดยมีใจความสำคัญดังนี้: 1.วรรคหนึ่ง: คนเสมือนไร้ความสามารถสามารถกระทำกิจการบางอย่างได้ แต่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ก่อน เช่น oการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน oการจำนอง oการโอนทรัพย์สิน oการก่อให้เกิดภาระหนี้ เป็นต้น หากไม่มีความยินยอมจากผู้พิทักษ์ นิติกรรมดังกล่าวอาจตกเป็นโมฆะ (ไม่มีผลตามกฎหมาย) 2.วรรคสาม: ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถมี ภาวะจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายพิการ จนไม่สามารถกระทำการที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง ศาลอาจสั่งให้ ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน คนเสมือนไร้ความสามารถ กรณีนี้ให้ใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับ "ผู้อนุบาล" มาใช้บังคับกับผู้พิทักษ์โดยอนุโลม เช่น มาตรา 28 และมาตรา 1574 เป็นต้น ความเกี่ยวข้องในบทความ •โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ: โจทก์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งหมายความว่าโจทก์สามารถกระทำบางนิติกรรมได้ หากมีความยินยอมจากจำเลยที่ 1 (ผู้พิทักษ์) ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง •การจำนองและโอนที่ดิน: การที่โจทก์ทำสัญญาจำนองและโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง จึงทำให้นิติกรรมมีผลสมบูรณ์ •การอ้างว่าขัดกับประโยชน์ของผู้พิทักษ์: แม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจผู้พิทักษ์เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ศาลพิจารณาแล้วไม่พบหลักฐานที่เพียงพอที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริต หลักสำคัญที่ผู้อ่านควรเข้าใจ: 1.บทบาทของผู้พิทักษ์: คนเสมือนไร้ความสามารถยังมีสิทธิกระทำนิติกรรมได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ และในบางกรณี ศาลอาจกำหนดให้ผู้พิทักษ์ทำแทน 2.เงื่อนไขของการมีผลสมบูรณ์: นิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินต้องมีความชัดเจนว่าได้รับความยินยอมอย่างถูกต้องจากผู้พิทักษ์ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นโมฆะ 3.ความสัมพันธ์กับมาตราอื่น: มาตรา 34 มีความเชื่อมโยงกับบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ "ผู้อนุบาล" เช่น มาตรา 28 และมาตรา 1574 ที่กำหนดให้ศาลมีบทบาทในการอนุญาตเมื่อมีการกระทำที่อาจขัดกับประโยชน์ของบุคคลที่ศาลคุ้มครอง หลักการเหล่านี้ช่วยให้การวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นไปอย่างชัดเจนและคุ้มครองสิทธิของทั้งสองฝ่ายในกระบวนการยุติธรรม ***คนเสมือนไร้ความสามารถคืออะไร คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้มีสถานะทางกฎหมายคล้ายคนไร้ความสามารถ เนื่องจากมีข้อจำกัดในความสามารถทางร่างกายหรือจิตใจ ทำให้ไม่สามารถจัดการเรื่องบางอย่างได้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการทรัพย์สินหรือนิติกรรมสำคัญต่าง ๆ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 ศาลจึงแต่งตั้ง ผู้พิทักษ์ เพื่อให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการแทนในบางกรณี ลักษณะและหลักเกณฑ์ของคนเสมือนไร้ความสามารถ 1.ภาวะที่กฎหมายกำหนด: คนเสมือนไร้ความสามารถต้องมีข้อบกพร่องที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดการชีวิต เช่น จิตฟั่นเฟือนหรือกายพิการ 2.การแต่งตั้งผู้พิทักษ์: ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้พิทักษ์ให้ดูแลผลประโยชน์และให้ความยินยอมในนิติกรรมที่จำเป็น 3.นิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอม: การกระทำใดที่กฎหมายกำหนด เช่น การซื้อ-ขายทรัพย์สิน การก่อภาระหนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ มิฉะนั้นจะไม่มีผลสมบูรณ์ ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับคนเสมือนไร้ความสามารถ 1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2548 คนเสมือนไร้ความสามารถทำสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ ศาลยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง 2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2553 ศาลพิจารณาว่าบุคคลมีความสามารถในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการขายที่ดินได้เองหรือไม่ เนื่องจากภาวะจิตไม่สมประกอบ ผู้พิทักษ์ต้องพิสูจน์ว่าการขายที่ดินไม่ได้เกิดขึ้นโดยเจตนา 3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2560 การจัดการทรัพย์สินของคนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์ต้องแสดงให้เห็นว่ามีการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลนั้น หากเป็นไปในทางแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ศาลอาจเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว 4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2555 คนเสมือนไร้ความสามารถลงนามในสัญญากู้ยืมเงิน ศาลชี้ว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพัน เนื่องจากไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ และไม่ได้แสดงเจตนาโดยชัดเจน 5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2556 ศาลวินิจฉัยว่าการขายที่ดินที่ผู้พิทักษ์ลงนามร่วมด้วยเป็นไปตามกฎหมายและเพื่อประโยชน์ของคนเสมือนไร้ความสามารถ นิติกรรมจึงสมบูรณ์ 6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2559 การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในชื่อคนเสมือนไร้ความสามารถที่ศาลไม่ได้อนุญาตถือว่าเป็นโมฆะ ศาลระบุว่าผู้พิทักษ์ต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อนดำเนินการในนิติกรรมบางประเภท สรุป คนเสมือนไร้ความสามารถได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินและสิทธิของพวกเขาได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การศึกษาเปรียบเทียบคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของบทบาทผู้พิทักษ์และข้อจำกัดในการจัดการทรัพย์สินของบุคคลกลุ่มนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายในอนาคต |