ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม article

จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 162,323.83 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 162,323.83 บาท ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมส่วนโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 141,000 บาท โจทก์จ่ายเงินให้แก่ธนาคารกสิกรไทยจำนวน 141,000 บาทเมื่อโจทก์เข้าใช้หนี้แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำนวน 141,000 บาทโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2562

โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ก. จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในหนี้รายเดียวกัน ต้องรับผิดต่อธนาคารดังกล่าวอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์เข้าใช้หนี้แก่ธนาคารฯ แทนจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และมาตรา 296 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระหนี้

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 162,323.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 140,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 162,323.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 140,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นให้ยก และยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินจำนวน 100,000 บาท และหนังสือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท กับธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อส่วนที่ขาดหลักประกันตามสัญญากู้เงินในวงเงินไม่เกิน 41,000 บาท และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จึงฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 โจทก์จ่ายเงินค่าประกันชดเชยให้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 141,000 บาท คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์

คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในหนี้รายเดียวกัน โจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์เข้าใช้หนี้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำนวน 141,000 บาท เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 (3) และมาตรา 296 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่งเป็นจำนวน 70,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ใช่จำนวน 81,161.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามที่โจทก์ฎีกา ซึ่งแม้จะต่างจากคำฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนการที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้เพียงใด เป็นเรื่องการปรับบทกฎหมาย แม้โจทก์จะฟ้องเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 เกินกว่าสิทธิซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลก็พิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ โดยพิพากษาให้ไม่เกินคำขอของโจทก์ มิใช่เรื่องที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 70,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 จนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 10,661.91 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทั้งสามศาลเป็นพับ




ค้ำประกัน

สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันร่วม article