ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ article

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  ID line  : 

         (1) @leenont หรือ (2)  @peesirilaw  (3) 0859604258 เพิ่มเพื่อนด้วยหมายเลขโทรศัพท์

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ               

 การที่กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนมีหน้าที่แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบว่ามีสิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบสวนได้ แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียงทำให้ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่านั้น โดยไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใด

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2550

           แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่

                 โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 5 เม็ด น้ำหนัก 0.45 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อเป็นเงินจำนวน 500 บาท เหตุเกิดที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน จำนวน 5 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายและยึดเงินจำนวน 500 บาท ซึ่งได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยและธนบัตรชนิดต่างๆ จำนวน 1,300 บาท ที่จำเลยได้จากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นของกลางเมทแอมเฟตามีนของกลางหมดไปในการตรวจพิสูจน์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66 คืนเงินที่ใช้ล่อซื้อแก่เจ้าของและริบเงินจำนวน 1,300 บาท

         จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 5 ปี คืนเงินล่อซื้อแก่เจ้าของ คำขอนอกจากนี้ให้ยก

         จำเลยอุทธรณ์

        ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ลงโทษจำคุก 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

        จำเลยฎีกา

         ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะฎีกาข้อ 2.2 ของจำเลยซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย

         ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “สำหรับฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมมิได้เกิดจากความสมัครใจ เหตุที่จำเลยลงชื่อรับสารภาพในชั้นจับกุม เนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายจำเลยจนจำเลยเกิดความกลัว เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา คำรับสารภาพในชั้นจับกุมจึงไม่อาจนำมารับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่โต้เถียงว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะถูกทำร้ายร่างกายจนจำเลยเกิดความกลัวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ก็เป็นการสั่งโดยผิดหลง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่าการตรวจค้นของพยานโจทก์ในคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าการตรวจค้นของพยานโจทก์จะได้กระทำลงไปโดยไม่มีหมายค้นอันจะทำให้การค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากลำพังเพียงเหตุดังกล่าวเพียงเหตุเดียวไม่มีผลถึงกับทำให้พยานโจทก์มีพิรุธตามที่จำเลยฎีกา ส่วนฎีกาข้อกฎหมายข้อสุดท้ายของจำเลยที่ว่า การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะพนักงานสอบสวนมิได้แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหา (จำเลย) ทราบว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำของตนได้และพนักงานสอบสวนมิได้ให้ทนายความหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยนั้น เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 (2) จะบัญญัติให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนปากคำตนได้ในชั้นสอบสวนและมาตรา 134/3 บัญญัติว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้และมาตรา 134/4 (2) บัญญัติในเรื่องการถามคำให้การผู้ต้องหานั้นให้พนักงานสอบสงนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของมาตรา 134/4 วรรคท้าย ก็บัญญัติไว้แต่เพียงว่าถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่งหรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้เท่านั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าพนักงานสอบสวนจะไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตามก็หาทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ริบเงินของกลาง 1,300 บาท ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนรายอื่น แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ริบนั้นพอแปลได้ว่าศาลล่างทั้งสองเห็นควรคืนให้แก่เจ้าของ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคืนแก่เจ้าของ”

     พิพากษายืน แต่ให้คืนเงินของกลาง 1,300 บาท แก่เจ้าของ       

( ประเสริฐ วิริยสิทธาวัฒน์ - สิทธิชัย รุ่งตระกูล - ธนัท วิรบุตร์ ) 

หมายเหตุ

เมื่อบทบัญญัติมาตรา 134/4 วรรคท้าย บัญญัติบทลงโทษการสอบปากคำที่ฝ่าฝืนมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 และการไม่แจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องหาตามมาตรา 134 วรรคหนึ่ง ว่าถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้แสดงว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้ประสงค์ให้มีการลงโทษการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรานี้เฉพาะในเรื่องผลของการรับฟังเป็นพยานหลักฐานเท่านั้น เพราะหากจะประสงค์ให้การสอบสวนเสียไปก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นบทตัดพยานเนื่องจากหากการสอบสวนไม่ชอบก็ตัดอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการโดยผลของ ป.วิ.อ. มาตรา 120
                                พรเพชร วิชิตชลชัย 

     ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

       มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง


         มาตรา 134/3 ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
      มาตรา 134/4 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตาม มาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และ มาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้
 

  สำนักงานพีศิริ ทนายความ  ปรึกษาทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258

 

 

 

การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว-ไม่จำต้องแจ้งทุกข้อหา ทุกตัวบทกฎหมาย และทุกกระทงความผิดเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2563

ป.วิ.อ. มาตรา 134 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้น มีเจตนารมณ์เพียงเพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าจะถูกสอบสวนในเรื่องใดและทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด โดยไม่จำต้องแจ้งทุกข้อหา ทุกตัวบทกฎหมาย และทุกกระทงความผิดเสมอไป เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยว่ากระทำความผิดในช่วงเวลาใดไว้ แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงเวลาอื่นด้วย ก็สามารถสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำในช่วงเวลาอื่นเพิ่มเติมได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงวันเวลาอื่นโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงเวลาที่การสอบสวนได้ความเพิ่มเติมได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 279, 283 ทวิ, 317

จำเลยให้การปฏิเสธ

ระหว่างพิจารณา เด็กหญิง ธ. ผู้เสียหายที่ 3 (ผู้ร้องที่ 1) และเด็กหญิง ก. ผู้เสียหายที่ 4 (ผู้ร้องที่ 2) โดยนางสาว ฝ. ผู้เสียหายที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 700,000 บาท และ 300,000 บาท ตามลำดับพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องทั้งสอง

จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม, 279 วรรคสอง (เดิม), 283 ทวิ วรรคสอง (เดิม), 317 วรรคสาม (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยใช้กำลังประทุษร้าย ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี และฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 รวมเจ็ดกระทง จำคุกกระทงละ 8 ปี รวมจำคุก 56 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร รวมเจ็ดกระทง จำคุกกระทงละ 6 ปี รวมจำคุก 42 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วให้จำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 1 เป็นเงิน 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้เป็นที่ยุติว่า ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ เด็กหญิง ธ. ผู้เสียหายที่ 3 ขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เด็กหญิง ก. ผู้เสียหายที่ 4 ขณะเกิดเหตุอายุ 5 ปีเศษ และเด็กชาย ร. จำเลยและนางสาว ญ. เป็นสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 3 คน ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายทั้งสี่พักอาศัยอยู่ด้วยกันที่บ้านเลขที่ 126 ซึ่งเป็นบ้านของนาย ผ. และนาง อ. บิดามารดาของผู้เสียหายที่ 2 และนางสาว ญ. นอกจากนี้ยังมีนางสาว ส. ผู้พิการ กับนางสาว ม. อาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวด้วย เดิมจำเลยและนางสาว ญ. ก็พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 126 แต่ต่อมานาย ผ. ยกบ้านเลขที่ 126/1 และบ่อกุ้งให้จำเลยและนางสาว ญ. จำเลยและนางสาว ญ. จึงย้ายออกไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 126/1 จนปัจจุบัน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกุยบุรีให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ป. ชั้นสอบสวนผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ให้การตามบันทึกคำให้การ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ ร้อยตำรวจเอก บ. พนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุ จัดทำบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีอาญา แผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ ถ่ายภาพที่เกิดเหตุคดีอาญา และให้ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ชี้ภาพถ่ายจำเลย

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยเพียงว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 ต่อเนื่องกัน จำเลยกระทำความผิดข้อหากระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี และพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2559 และระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2559 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 จำเลยกระทำความผิดในวันเวลาตามฟ้อง ข้อ 1.1, 1.2, 1.9 และ 1.10 ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและพฤติการณ์ในการกระทำความผิดที่ถูกกล่าวหาในช่วงเวลาดังกล่าว การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามฟ้อง ข้อ 1.1, 1.2, 1.9 และ 1.10 หรือไม่ เห็นว่า ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 บัญญัติบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้น มีเจตนารมณ์เพียงเพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าจะถูกสอบสวนในเรื่องใดและทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด โดยไม่จำต้องแจ้งทุกข้อหา ทุกตัวบทกฎหมาย ทุกมาตรา และทุกกระทงความผิดเสมอไป ดังนั้น แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยว่ากระทำความผิดในช่วงเวลาใดไว้ แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงเวลาอื่นด้วย ก็สามารถทำการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำในช่วงเวลาอื่นได้ คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงจากการสอบสวนได้ความเพิ่มเติมว่า จำเลยกระทำความผิดในช่วงวันเวลาอื่นที่ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดที่ได้แจ้งข้อหาไว้เดิม ย่อมถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงวันเวลาอื่นโดยชอบแล้ว ประกอบกับชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธโดยไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธ และเพิ่งมาอ้างว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อหาและพฤติการณ์ในการกระทำความผิด ทำให้ไม่สามารถให้การและนำพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีได้ถูกต้องหลังจากที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาแล้ว กรณีไม่น่าเชื่อว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อหาและพฤติการณ์ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดที่จำเลยกระทำในช่วงเวลาที่การสอบสวนได้ความเพิ่มเติมได้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า การกระทำผิดฐานกระทำชำเราโดยปกติเป็นเรื่องที่รู้เห็นกันเฉพาะผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเท่านั้น เป็นการยากที่หาผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง จึงต้องอาศัยคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ โดยใช้ผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์มาพิจารณาประกอบ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 3 อายุ 9 ปีเศษ ผู้เสียหายที่ 4 อายุ 5 ปีเศษ ขณะที่มาเบิกความผู้เสียหายที่ 3 อายุ 11 ปีเศษ ผู้เสียหายที่ 4 อายุ 7 ปีเศษ แม้ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ให้การและเบิกความระบุถึงวันเวลาที่เกิดเหตุอย่างชัดเจน แต่ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เบิกความถึงช่วงเวลาที่เกิดเหตุว่า ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ถูกจำเลยพาไปกระทำชำเราในช่วงวันเวลาใดบ้าง โดยผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เบิกความถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ถูกจำเลยพาไปกระทำชำเราตั้งแต่ครั้งแรกและครั้งต่อมาเป็นลำดับขั้นตอนสมกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นเด็กวัยเยาว์ การถูกกระทำชำเราเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 มีมลทินติดตัวตลอดชีวิตและทำให้บุคคลในครอบครัวได้รับความอับอาย ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ให้การเช่นนี้มาตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ต่อหน้าพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์ และผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา โดยมีการใช้ตุ๊กตาเป็นอุปกรณ์ประกอบการซักถามด้วย ที่ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ระบุรายละเอียดของวันและเวลาที่เกิดเหตุอย่างชัดเจนอาจเป็นเพราะผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 เป็นเด็ก การที่ไปให้การชั้นสอบสวนและมาเบิกความในชั้นพิจารณาหลังจากเกิดเหตุแล้วหลายเดือนอาจทำให้หลงลืมรายละเอียดไปบ้าง และที่ผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ใดฟังหลังเกิดเหตุแต่ละครั้งนั้น ผู้เสียหายที่ 3 ให้การในชั้นสอบสวนว่า เพราะกลัวจำเลยจะไม่พาไปเที่ยว ส่วนผู้เสียหายที่ 4 เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า เพราะกลัวจำเลย นอกจากนี้โจทก์ยังมีพันตำรวจโทหญิง บ. พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า พยานเป็นผู้สอบปากคำผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับพนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์ และผู้ปกครองของผู้ร้องทั้งสอง ชั้นสอบสวนผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ให้การตามบันทึกคำให้การ โดยมีการบันทึกภาพและเสียงไว้ในแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียง พยานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติการตามหน้าที่ และขณะที่พยานเข้าเบิกความ ทนายจำเลยไม่ได้ถามค้านให้เห็นว่าการสอบคำให้การผู้เสียหายที่ 3 และที่ 4 ทำโดยไม่ชอบอย่างไร ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2558 และให้ใช้ความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงให้ใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

พิพากษายืน

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย article
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้ article
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม article
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม article
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ article
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย article
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด article
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ article
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด article
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง article
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด article
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง article
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง article
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่ article
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย article
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์ article
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง article
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด article
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว article
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน article
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน article
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย article
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน article
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ article
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน article
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย article
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ article
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง article
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ article
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก article
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์ article
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์ article
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี article
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร? article
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย article
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย article
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่