ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น

  ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE       

 ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด

การกระทำความผิดฐานขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์นั้น แม้จำเลยทั้งสามไม่มีหรือไม่ใช้แผงเหล็กตั้งสินค้าสมุดบันทึกรายรับรายจ่าย ตะกร้า กล่องพลาสติก ถุงพลาสติก ซองพลาสติก และผ้าปูโต๊ะของกลางในการกระทำความผิด จำเลยทั้งสามก็สามารถกระทำความผิดนี้สำเร็จได้ของกลางเหล่านี้จึงไม่เป็นปัจจัยหลักหรือส่วนสำคัญในการกระทำความผิดดังกล่าวทั้งสิ่งของเหล่านี้ก็มักจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามปกติในร้านค้าที่ขายสินค้าทั่วไปไม่ว่าเป็นสินค้าประเภทใด ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ชัดแจ้งพอฟังได้ว่า ของกลางดังกล่าวเป็นวัตถุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการกระทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2550

ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับจำเลยทั้งสามคน ๆ  ละไม่เกิน 5,000 บาท การที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้ลดโทษปรับ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษ เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 39 (4)

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ กับขอให้ริบทรัพย์ของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาฯมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เอง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

โดยสภาพของการกระทำความผิดฐานร่วมกันขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นวีซีดีคาราโอเกะ แผ่นซีดีเพลงเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ อันเป็นงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อการค้า แม้จำเลยทั้งสามไม่มีหรือไม่ใช้แผงเหล็กตั้งสินค้า สมุดบันทึกรายรับรายจ่ายตะกร้า กล่องพลาสติก ถุงพลาสติก ซองพลาสติก และผ้าปูโต๊ะของกลางในการกระทำความผิด จำเลยทั้งสามก็สามารถกระทำความผิดนี้สำเร็จได้ ของกลางเหล่านี้จึงไม่เป็นปัจจัยหลักหรือส่วนสำคัญในการกระทำความผิดดังกล่าว ทั้งสิ่งของเหล่านี้ก็มักจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามปกติในร้านค้าที่ขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าไม่ว่าเป็นสินค้าประเภทใด ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ชัดแจ้งพอฟังได้ว่า ของกลางดังกล่าวเป็นวัตถุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นหลักหรือมีส่วนสำคัญในการกระทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 ส่วนแผ่นซีดีก๊อปปี้ 350 แผ่น ของกลางนั้น ไม่ปรากฏว่ามีงานสร้างสรรค์อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 เช่นกัน

ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้นแผงเหล็กตั้งสินค้า สมุดบันทึกรายรับรายจ่าย ตะกร้า กล่องพลาสติก ซองพลาสติก ผ้าปูโต๊ะ และแผ่นซีดีก๊อปปี้ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานนี้ที่ศาลจะมีอำนาจริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

สิ่งบันทึกเสียงและสิ่งบันทึกภาพและเสียงที่เจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีนี้มีทั้งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายกับที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้เงินสด 1,750 บาท ของกลางมาโดยการขายงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในคดีนี้โดยมีการวางแผนล่อซื้อ จึงไม่ชัดเจนว่าจำเลยทั้งสามได้เงินจำนวนดังกล่าวมาจากการขายงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่เจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีนี้ หรือเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้มาจากการขายงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือของผู้อื่นก่อนหน้านี้ ทั้งความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ที่จำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่จำเลยทั้งสามร่วมกันมีไว้เพื่อประกอบกิจการดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานนี้ ดังนั้นแม้เงินที่จำเลยทั้งสามได้รับมาเป็นค่าตอบแทนการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามฟ้อง ก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามได้มาโดยการกระทำความผิดฐานนี้ จึงไม่อาจริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) เช่นกัน

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 5, 28, 31, 69, 70, 75, 76 พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 4, 6, 34 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91 และสั่งให้แผ่นซีดีและวีซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางรวมทั้งสิ้น 96 แผ่น ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ สั่งจ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ กับริบของกลางอื่น

จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง พระราชบัญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 (ที่ถูก ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ด้วย) การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ปรับคนละ 60,000 บาท ฐานร่วมกันประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับคนละ 2,000 บาท รวมปรับคนละ 62,000 บาท จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับคนละ 31,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ซีดีและวีซีดีของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ จำนวน 96 แผ่น ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ และให้จ่ายเงินค่าปรับที่ชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้ลงโทษปรับสถานเบาในความผิดทั้งสองฐานนั้น เห็นว่า สำหรับความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง, 34 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาปรับจำเลยทั้งสามคนละไม่เกิน 5,000 บาท การที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ขอให้ลดโทษปรับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 39 (4) จึงไม่รับวินิจฉัย ส่วนในความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยการนำแผ่นวีซีดีเพลงคาราโอเกะ แผ่นซีดีเพลงเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้านั้น เห็นว่า แผ่นซีดีและวีซีดีของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมีจำนวนไม่มาก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางลงโทษปรับจำเลยทั้งสามในความผิดฐานนี้คนละ 60,000 บาท ก่อนลดโทษนั้นหนักเกินไปไม่เหมาะสมแก่สภาพความผิด จึงสมควรลดโทษปรับเป็นอัตราขั้นต่ำสุดที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติ คือปรับคนละ 50,000 บาท อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามในข้อนี้ฟังขึ้น

อนึ่ง คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ตามฟ้องของผู้เสียหาย โดยการนำแผ่นวีซีดีเพลงคาราโอเกะ แผ่นซีดีเพลงเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย และจำเลยทั้งสามร่วมกันประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยร่วมกันทำเป็นธุรกิจและได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและไม่ใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามกฎหมาย กับขอให้ริบของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามร่วมกันมีไว้เพื่อใช้และได้ใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง คือ แผงเหล็กตั้งสินค้า 1 แผง สมุดบันทึกรายรับรายจ่าย 1 เล่ม ตะกร้าวางแผ่นซีดี 4 อัน กล่องพลาสติก 1 กล่อง ถุงพลาสติก 1 แพ็ก ซองพลาสติกสำหรับใส่แผ่นซีดี 22 ซอง ผ้าปูโต๊ะ 2 ผืน และแผ่นซีดีก๊อปปี้ 350 แผ่น และทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามได้มาโดยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง คือเงินสด 1,750 บาท แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางเหล่านี้ คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ปัญหาว่าจะริบของกลางตามฟ้องที่โจทก์ขอมาได้หรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่การริบของกลางตามฟ้องได้นั้น จะต้องได้ความชัดแจ้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามได้ใช้หรือมีของกลางนั้นไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามคือการร่วมกันนำแผ่นวีซีดีคาราโอเกะ แผ่นซีดีเพลงเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อการค้าซึ่งโดยสภาพของการกระทำความผิดฐานนี้ แม้จำเลยทั้งสามไม่มีหรือไม่ใช้แผงเหล็กตั้งสินค้าสมุดบันทึกรายรับรายจ่าย ตะกร้า กล่องพลาสติก ถุงพลาสติก ซองพลาสติก และผ้าปูโต๊ะของกลางในการกระทำความผิด จำเลยทั้งสามก็สามารถกระทำความผิดนี้สำเร็จได้ของกลางเหล่านี้จึงไม่เป็นปัจจัยหลักหรือส่วนสำคัญในการกระทำความผิดดังกล่าวทั้งสิ่งของเหล่านี้ก็มักจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามปกติในร้านค้าที่ขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าไม่ว่าเป็นสินค้าประเภทใด ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ชัดแจ้งพอฟังได้ว่า ของกลางดังกล่าวเป็นวัตถุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นหลักหรือมีส่วนสำคัญในการกระทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ส่วนแผ่นซีดีก๊อปปี้ 350 แผ่น ไม่ปรากฏว่าแผ่นซีดีก๊อปปี้ดังกล่าวมีงานสร้างสรรค์อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วยจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นแผ่นซีดีก๊อปปี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่สิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 และแผ่นซีดีก๊อปปี้ดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า และเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตที่ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)

สิ่งบันทึกเสียงและสิ่งบันทึกภาพและเสียงที่เจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีนี้มีทั้งสิ่งบันทึกเสียงและสิ่งบันทึกภาพและเสียงที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายกับที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้เงินสดจำนวน 1,750 บาท ของกลางมาโดยการขายเพลง งานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในคดีนี้โดยมีการวางแผนล่อซื้อแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงไม่ชัดเจนว่าจำเลยทั้งสามได้เงินจำนวนดังกล่าวมาจากการร่วมกันขาย งานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เป็นของกลางในคดีนี้ หรือเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้มาจากการขายงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือของผู้อื่นก่อนหน้านี้ ทั้งความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ความผิดอยู่ที่จำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่จำเลยทั้งสามร่วมกันมีไว้เพื่อประกอบกิจการดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานนี้ ดังนั้นแม้เงินที่จำเลยทั้งสามได้รับมาเป็นค่าตอบแทนการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตามฟ้องก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามได้มาโดยการกระทำความผิดฐานนี้ จึงไม่อาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (2) เช่นกัน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยการนำงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และไว้เพื่อหากำไรในทางการค้าเป็นเงินคนละ 50,000 บาท ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับคนละ 25,000 บาท เมื่อรวมกับโทษปรับในความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว คงปรับคนละ 26,000 บาท ให้ยกคำขอริบของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.

( ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - เกรียงชัย จึงจตุรพิธ )
 ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจในการสั่งริบ ละเมิดลิขสิทธิ์

     ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตาม กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้อีกด้วยคือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจ ด้วยในการกระทำความผิด

    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 186 คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมีข้อสำคัญเหล่านี้เป็น อย่างน้อย
(1) ชื่อศาลและวันเดือนปี
(2) คดีระหว่างใครโจทก์ใครจำเลย
(3) เรื่อง
(4) ข้อหาและคำให้การ
(5) ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความ
(6) เหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
(7) บท มาตราที่ ยกขึ้นปรับ
(8) คำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ
(9) คำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง
           คำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวกับความผิดลหุโทษ ไม่จำต้องมีอนุ มาตรา (4) (5) และ (6)

   มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้ แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่า กันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
            ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาล ชั้นต้นก็ตาม  

      พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

       มาตรา 75 บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำ ความผิดตาม มาตรา 69 หรือ มาตรา 70 ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น 


           พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45

           มาตรา 26 กระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้และข้อกำหนดตามมาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับโดยอนุโลม

          มาตรา 39 ในคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่ศาลรอการกำหนดโทษไว้
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินห้าพันบาท

         มาตรา 45 ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาและการชี้ขาดตัดสินคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกาโดยอนุโลม

 

----ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258    สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่