สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้ารูปตราประดิษฐ์ที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปตราประดิษฐ์ของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าตามเครื่องหมายการค้าของตนเป็นสินค้าของผู้อื่นนั้น ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เสียหายมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ การที่ทราบถึงเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นเนื่องจากเคยทำงานด้วยกัน จึงมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้านั้นเกิดจากการที่เคยทำงานร่วมกันและนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตน จึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้นมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2550 เครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และมีการต่ออายุตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จึงอาจมีการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ จำเลยร่วมรับโอนเครื่องหมายการค้าพิพาททางมรดกจากบิดาจำเลยร่วม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากรณีมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับของโจทก์เกิดจากการที่บิดาจำเลยร่วมทราบถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเคยทำงานกับโจทก์ และนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนจึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (2) ประกอบ มาตรา 8 แม้สินค้าบานเกล็ดจะไม่ใช่เป็นสินค้าที่ระบุไว้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอน แต่คณะกรรมการฯมีคำสั่งไม่ให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ 28/2545 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 ที่ยกคำร้องของโจทก์ และให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค. 43126 คำขอเลขที่ 304992 ตามคำร้องขอเพิกถอนของโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 ให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหมายเรียกนายอรุณเข้าเป็นจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (8) ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 27 ธันวาคม 2545 จำเลยร่วมให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 ที่ 28/2545 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2545 และให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมทะเบียนเลขที่ ค. 43126 คำขอเลขที่ 304992 กับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และจำเลยร่วมร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 3,000 บาท จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และจำเลยร่วมอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และจำเลยร่วมมีว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 117 บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 และยังคงจดทะเบียนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัตินี้" เครื่องหมายการค้ารูปตาประดิษฐ์ ของจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และมีการต่ออายุตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เมื่อเป็นเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงอาจมีการเพิกถอนการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้พิเคราะห์เครื่องหมายการค้ารูปตาประดิษฐ์ของจำเลยร่วม แล้วเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปตาประดิษฐ์ ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2474 จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าบานเกล็ดอลูมิเนียมของจำเลยร่วมเป็นสินค้าของโจทก์ นายชัยศิลป์บิดาจำเลยร่วมเป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว เมื่อพยานโจทก์คือนายอีลิมอดีตลูกจ้างโจทก์เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันว่า บิดาจำเลยร่วมเคยทำงานกับโจทก์ในระหว่างปี 2502 ถึง 2504 จึงมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้านั้นเกิดจากการที่บิดาจำเลยร่วมทราบถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตน จึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (2) ประกอบมาตรา 8 แม้สินค้าบานเกล็ดอลูมิเนียมจะเป็นสินค้าที่ทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้ระบุไว้ก็ตาม เมื่อโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอน แต่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 มีคำสั่งไม่ให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงชอบแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 และจำเลยร่วมฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า 2534 มาตรา 8 เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ห้ามมิให้รับจดทะเบียน มาตรา 61 ผู้มีส่วนได้เสียหรือนายทะเบียนอาจร้องขอต่อคณะกรรมการ ให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใดได้ หากแสดงได้ว่า เครื่องหมายการค้านั้น ในขณะที่จดทะเบียน
คำฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงไม่ครบองค์ประกอบความผิด
|