ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์ 

การรับสารภาพตามคำฟ้องโจทก์นั้น จำเลยจะฎีกาโดยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงได้ยุติแล้วตามคำรับสารภาพจึงเป็นปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2550

ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ได้รับจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กาย และจำเลยทั้งสี่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกเพราะประสงค์จะเจรจากับผู้เสียหายที่ 2 ที่ทำร้ายร่างกายบุตรหลานของจำเลยทั้งสี่ถือว่ามีเหตุอันควรอันเป็นการฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟ้องได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2547 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยทั้งห้าร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรม กล่าวคือ จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของนางบุญสี ไชยมาตร์ ผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปได้ อันเป็นการรบกวนการครอบครองเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 โดยปกติสุข จากนั้นจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายนายประวิน ไชยบูรณ์ ผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้กำปั้นชกผู้เสียหายที่ 2 ถูกบริเวณศีรษะจำนวน 1 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย ส่วนจำเลยที่ 2 ทำร้ายร่างกาย นางสุมาลี ไชยมาตร์ ผู้เสียหายที่ 3 โดยใช้เท้าเตะผู้เสียหายที่ 3 ถูกบริเวณลำตัวจำนวน 1 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 3 ได้รับอัตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 295, 362, 364, 365

ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 5 โดยให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ เนื่องจากจำเลยที่ 5 ขณะกระทำความผิดอายุ 15 ปี

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้การรับสารภาพ

     ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (ที่ถูกมาตรา 365 (2) (3)) ประกอบด้วยมาตรา 362 (ที่ถูก มาตรา 364), 83 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้เรียงกระทงลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานร่วมกันบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) จำคุกคนละ 8 เดือน ฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายจำคุกคนละ 3 เดือน ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำคุกคนละ 8 เดือน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทงแรกคนละ 4 เดือน กระทงที่สองคนละ 1 เดือน 15 วัน ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 คงจำคุกคนละ 4 เดือน

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อุทธรณ์

     ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานร่วมกันบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) ประกอบมาตรา 362 (ที่ถูกประกอบมาตรา 364) จำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 คนละ 1 เดือน ฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 2 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 3 เดือน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับสารภาพลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 1 เดือน 15 วัน จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 15 วัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ได้รับจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กาย และจำเลยทั้งสี่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกเพราะประสงค์จะเจรจากับผู้เสียหายที่ 2 ที่ทำร้ายร่างกายบุตรหลานของจำเลยทั้งสี่ ถือว่ามีเหตุอันควรอันเป็นการฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้องนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในข้อนี้จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เพียงว่า สมควรลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในสถานเบาและรอการลงโทษให้หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบ้านเป็นเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 ในเวลากลางคืน แล้วร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายนั้น เป็นการกระทำไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย เป็นการคุกคามต่อสวัสดิภาพในเคหสถานของผู้อื่น พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นเรื่องร้ายแรง การที่จะรอการลงโทษจำคุกให้ยังไม่เหมาะสมกับสภาพความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ได้ปรานีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ด้วยการลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในสถานเบา และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทนอันเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฟังไม่ขึ้น”

     พิพากษายืน.
 

    ป.วิ.แพ่ง

มาตรา 249  ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งจะเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย การวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธานศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 140 วรรคสอง
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้น


ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายควาาม ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258     สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่