สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง-อายุความฟ้องร้องนายจ้างต้องฟ้องภายใน 1 ปี ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นในกรณีที่ผู้เสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำความผิดนั้นมีอายุความ 10 ปี แต่ในกรณีที่ฟ้องเรียกให้นายจ้างซึ่งต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างนั้น ในเมื่อนายจ้างไม่ได้ร่วมกระทำความผิดร่วมกับลูกจ้าง ดังนั้นอายุความฟ้องร้องนายจ้างต้องฟ้องภายใน 1 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550 การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิดด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกสิบล้อหมายเลขทะเบียน 80-6999 สงขลา และเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ปฎิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวบรรทุกดินจากนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เพื่อจะนำดินไปถมบริเวณตลาดสด โดยขับมาตามถนนรัถการแล้วเลี้ยวขวาเข้าตลาดสด โดยไม่ชะลอความเร็วของรถกับไม่ให้สัญญาณไฟและสัญญาณเสียง ขณะนั้นมี นายสุชาติ ชอบงาม ขับรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน สงขลา ย-3905 มีโจทก์นั่งซ้อนท้ายมาด้วยในทิศทางเดียวกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์คันที่นายสุชาติขับอย่างกระทันหันเป็นเหตุให้ยางอะไหล่รถบรรทุกคันที่จำเลยที่ 1 ขับชนกระแทกรถจักรยานยนต์คันที่นายสุชาติขับล้มลง และครูดไปกับถนน เป็นเหตุให้นายสุชาติได้รับอันตรายและถึงแก่ความตาย ส่วนโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส หลังเกิดเกตุศาลจังหวัดสงขลามีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3793/2542 โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส การการะทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส นิ้วก้อย นิ้วนาง และนิ้วกลางของเท้าข้างขวาขาดต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไปทั้งสิ้น 74,818 บาท ซึ่งโจทก์ได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยเพียง 15,000 บาท การที่โจทก์สูญเสียนิ้วเท้าข้างขวา 3 นิ้ว โจทก์ขอคิดค่าเสื่อมสภาพของร่างกายและค่าใช้จ่ายในการที่ต้องจัดหาอุปกรณ์ทดแทนเป็นเงิน 150,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 209,818 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากเหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 209,818 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 เมษายน 2545) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ให้ยกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนของจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550 ในเรื่องอายุความเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดอาญาต้องใช้อายุความตามคดีอาญา ถ้าฟ้องนายจ้างเรียกค่าเสียหายต้องฟ้องนายจ้างเรียกค่าสินไหมทดแทนภายใน 1 ปี เพระนายจ้างไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับลูกจ้าง
|