ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง  สิทธิไล่เบี้ยเกิดขึ้นนับแต่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทน 

ลูกจ้างขับในทางการที่จ้างชนรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและนายจ้างได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแล้ว จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกจ้างได้นับแต่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายสิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7552/2550

ท. ขับรถไปในทางการที่จ้างของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างชนรถยนต์ของ ธ. ที่เอาประกันภัยไว้ต่อบริษัท ว. ได้รับความเสียหาย หลังจาก ท. ตายโจทก์ทราบจำนวนค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้โจทก์ชำระแก่ ธ. และบริษัท ว. และโจทก์ได้ชำระไปแล้ว สิทธิที่โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนจาก ท. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 จึงเพิ่งเกิดเมื่อวันที่โจทก์ชำระเงิน

สิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตามมาตรา 426 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสี่ ซึ่งเป็นเรื่องอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้บังคับในการฟ้องให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. รับผิดไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ ท. (วันที่โจทก์ชำระเงิน) ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

  กำหนดอายุความตามกฎหมายต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ท. ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท ว. และ ธ. ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2540 จึงเป็นกรณีที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ซึ่งเป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ที่บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษา โจทก์จึงทราบจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชำระแก่บริษัท ว. และ ธ. และได้ชำระค่าสินไหมทดแทนไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2540 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตาย เมื่อ ท. ตาย หนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ ท. ทำไว้ก่อนตายจึงเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสามผู้เป็นทายาทโดยธรรม สิทธิที่โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนจากจำเลยทั้งสามเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทน คือวันที่ 31 มีนาคม 2540 และสิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แม้ ท. ตายและหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดที่ ท. กระทำไว้ก่อนตายจะเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสามผู้เป็นทายาทโดยธรรมก็นำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ ซึ่งเป็นเรื่องอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามในวันที่ 29 กันยายน 2547 ยังไม่พ้นสิบปีนับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ ท. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

   โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 1,691,559.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

  จำเลยทั้งสามให้การ ขอให้ยกฟ้อง

  ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง

  โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันว่า นายทวีเคยเป็นลูกจ้างโจทก์ ระหว่างทำงานนายทวีได้ขับรถยนต์โดยสารไปในทางการที่จ้างของโจทก์ชนรถยนต์ของนายธีระที่เอาประกันภัยไว้แก่บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์ในฐานะนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด และนายธีระผู้เสียหาย เป็นเงิน 1,697,272.50 บาท ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709 - 4710/2539 โจทก์ได้ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2540 นายทวีถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2536 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการเดียวว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า กำหนดอายุความตามกฎหมายต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่านายทวีซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แก่บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด และนายธีระผู้เสียหายไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2540 ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ซึ่งเป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 ที่บัญญัติว่านายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ 4709 - 4710/2539 โจทก์จึงทราบจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชำระแก่บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด และนายธีระ และได้ชำระค่าสินไหมทดแทนไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2540 อันเป็นเวลาหลังจากที่นายทวีถึงแก่ความตาย เมื่อนายทวีตายหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่นายทวีกระทำไว้ก่อนตายจึงเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสามผู้เป็นทายาทโดยธรรม สิทธิที่โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนจากจำเลยทั้งสามเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนคือวันที่ 31 มีนาคม 2540 และสิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 แม้นายทวีตายและหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดที่นายทวีกระทำไว้ก่อนตายจะเป็นมรดกแก่จำเลยทั้งสามผู้เป็นทายาทโดยธรรมก็นำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสี่ ซึ่งเป็นเรื่องอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดกมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามในวันที่ 29 กันยายน 2547 ยังไม่พ้นสิบปีนับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่นายทวี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น

   คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้คดีประการเดียวว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงมาแล้วว่า โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แก่บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด และนายธีระเป็นเงิน 1,697,272.50 บาท ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยทั้งสามไปเสียทีเดียว ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วบางส่วนและหักเงินค่าจ้างของนายทวีไว้รวม 5,713.25 บาท คงเหลือค่าเสียหายของโจทก์เพียง 1,691,559.25 บาท จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของนายทวีจึงต้องชดใช้เงินให้โจทก์ 1,691,559.25 บาท แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่จำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601”

          พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 1,691,559.25 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่จำเลยทั้งสาม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี

มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย




คำพิพากษาศาลฎีกา

ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนและสินสอดคือ
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน