ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

  ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บ.ส.ท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ 

  ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ บสท รับโอนมา บสท มีหนังสือบอกกล่าวลูกหนี้ไม่ใช่การเสนอการปรับโครงสร้างหนี้  ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้โดยไม่จำต้องดำเนินการไต่สวนก่อนหากได้ความแน่ชัดตามคำร้องและเอกสารท้ายคำร้องแล้วว่าลูกหนี้ดังกล่าวไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน

     คำพิพากษาฎีกาที่ 383/2550

           พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษให้ บ.ส.ท.คือ ผู้ร้องมีสิทธิดำเนินกระบวนการพิจารณาแก่ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ผู้ร้องรับโอนมาโดยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ทั่วไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และศาลมีอำนาจที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้โดยไม่จำต้องดำเนินการไต่สวนก่อนหากได้ความแน่ชัดตามคำร้องและเอกสารท้ายคำร้องแล้วว่าลูกหนี้ดังกล่าวไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน

            คดีนี้ก่อนยื่นคำร้องผู้ร้องเพียงมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ทั้งสี่ชำระหนี้ มิใช่กำหนดนัดให้ลูกหนี้ทั้งสี่มาเจรจากับผู้ร้องเพื่อเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 57 วรรคสี่ (1) ถึง (5) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ทั้งสี่แล้ว ซึ่งหากลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามดังกล่าวก็เป็นเพียงได้ชื่อว่าผิดนัดเท่านั้น แต่จะถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาด และเนื่องจากคดีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยหนี้ของลูกหนี้ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมในการปรับโครงสร้างหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงลูกหนี้ที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28

          โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสี่เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

          ศาลล้มละลายกลางให้งดการไต่สวนและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสี่เด็ดขาดตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ และให้ลูกหนี้ทั้งสี่ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้อง โดยหักจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสี่ เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร

                       ลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
                       ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรา 58 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ บสท. สั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน ให้ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวนและให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว" กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษให้ บสท. คือผู้ร้องมีสิทธิดำเนินกระบวนการพิจารณาแก่ลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ผู้ร้องรับโอนมาโดยยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสี่เด็ดขาดได้นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ทั่วไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และศาลมีอำนาจที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสี่เด็ดขาดได้โดยไม่จำต้องดำเนินการไต่สวนก่อนหากได้ความแน่ชัดตามคำร้องและเอกสารท้ายคำร้องว่าลูกหนี้ดังกล่าวไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ผู้ร้องสั่งโดยตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน

                          คดีนี้ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องผู้ร้องมีเพียงหนังสือบอกกล่าวฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน 2546 ส่งไปยังภูมิลำเนาของลูกหนี้ทั้งสี่ทวงถามให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามสำเนาหนังสือและสำเนาใบตอบรับเอกสารท้ายคำร้อง โดยข้อความตามหนังสือบอกกล่าวของผู้ร้องปรากฎวัตถุประสงค์เพียงทวงถามให้ลูกหนี้ทั้งสี่ชำระหนี้ มิใช่กำหนดนัดให้ลูกหนี้ทั้งสี่มาเจรจากับผู้ร้องเพื่อเสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ตามวิธีการที่พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 57 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) บัญญัติไว้แต่ประการใด กรณีดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าได้มีการเริ่มกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ทั้งสี่แล้ว ซึ่งหากลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือทวงถามดังกล่าวก็เป็นเพียงได้ชื่อว่าผิดนัดเท่านั้น แต่จะถือว่าลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้มิได้ กรณีตามคำร้องและเอกสารท้ายคำร้องของผู้ร้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้ทั้งสี่ไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ร้องในการปรับโครงสร้างหนี้ที่ผู้ร้องสั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาดมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังขึ้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นอีกต่อไป และเนื่องจากปัญหาเกี่ยวด้วยหนี้ของลูกหนี้ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมในการปรับโครงสร้างหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาถึงลูกหนี้ที่ 4 ซึ่งมิไดอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1), 247 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28

                 พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ



พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542

           มาตรา 28        ให้นำบทบัญญัติของส่วนที่ 1 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ในหมวด 3 วิธีพิจารณาคดีล้มละลาย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา และการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษา และการชี้ขาดตัดสินคดีที่มีการอุทธรณ์ตาม มาตรา 24 ในศาลฎีกาโดยอนุโลม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


           มาตรา 986         ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายหลังได้เห็น นั้นต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ภายในจำกัดเวลาดั่งกำหนดไว้ใน มาตรา 928 กำหนดเวลานี้ให้นับแต่วันจดรับรู้ซึ่งลงลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ถ้าผู้ออกตั๋วบอกปัดไม่ยอมจดรับรู้และลงวันไซร้ การที่เขาบอกปัดเช่น นี้ท่านว่าต้องทำให้เป็นหลักฐานขึ้นด้วยคำคัดค้าน และวันคัดค้านนั้น ให้ถือเป็นวันเริ่มต้นในการนับกำหนดเวลาแต่ได้เห็น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง


          มาตรา 245       ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 246 มาตรา 247 และ มาตรา 248 เมื่อ คดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า
                         ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหาร ชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ไปยังศาลอุทธรณ์ในเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ คำพิพากษานั้น และคำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืน


          มาตรา 247        คดีที่จำเลยต้องประหารชีวิต ห้ามมิให้บังคับตาม คำพิพากษาจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอภัยโทษแล้ว
หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ ให้รอไว้จนพ้นกำหนดสามปีนับแต่คลอดบุตรแล้ว
ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต เว้นแต่เมื่อบุตรถึงแก่ความตายก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ในระหว่างสามปีนับแต่คลอดบุตร ให้หญิงนั้นเลี้ยงดูบุตรตามความเหมาะสมในสถานที่ที่สมควรแก่การเลี้ยงดูบุตรภายในเรือนจำ
 

                 พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544

          มาตรา 57      การปรับโครงสร้างหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณ ภาพให้เป็น ไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ลูกหนี้ที่สุจริตอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ภายในเวลาที่กำหนด และสามารถดำเนินกิจการเดิมหรือเริ่มกิจการใหม่ได้ต่อไป
ในการปรับโครงสร้างหนี้ให้ บสท. มีอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ลดเงินต้น ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาที่คำนวณดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ หรือผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้อย่างอื่นให้แก่ลูกหนี้ และในกรณีที่เห็นสมควร เพื่อความเป็นธรรมอย่างทัดเทียมกันและความรวดเร็ว จะผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการทั่วไปให้แก่ลูกหนี้ทั้งหมดหรือ บางประเภทก็ได้
(2) แปลงหนี้ของลูกหนี้เป็นทุนในกิจการของลูกหนี้
(3) รับโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ หรือจำหน่ายทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องบางส่วนของ ลูกหนี้ดังกล่าว ให้แก่บุคคลภายนอก แต่ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จะโอนหรือจำหน่ายไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแห่งหนี้ ต้องได้รับความยินยอมของลูกหนี้ก่อน
(4) รับโอนหุ้นหรือซื้อหุ้นเพิ่มทุนของลูกหนี้เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงกิจการของลูกหนี้
(5) ใช้มาตรการอื่นใดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
การดำเนินการตามวรรคสอง คณะกรรมการจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ บสท. ปฏิบัติก็ได้
                ในการรับโอนหุ้นหรือเพิ่มทุนตาม (4) หรือใช้มาตรการที่ บสท. กำหนดตาม (5) ถ้าเป็นกรณีที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดกำหนด ให้ต้องได้รับการอนุมัติหรือความเห็นชอบ หรือมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ทราบ ให้ถือว่าความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร เป็นการอนุมัติ เห็นชอบ รับทราบ หรือเป็นมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ตามกฎหมายหรือข้อบังคับดังกล่าวแล้ว

           มาตรา 58      ถ้าลูกหนี้ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน ถ้าหากมี ได้ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครง สร้างหนี้ และได้มี การชำระหนี้ตามที่ได้ปรับโครงสร้างแล้วทั้งหมด ให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้นั้น
                      ในการปรับโครงสร้างหนี้ และผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ได้รับการผ่อนระยะเวลาการชำระหนี้ ให้ลูกหนี้ ดำเนินการชำระหนี้ ต่อไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ บสท. กำหนดและในขณะใดขณะหนึ่ง ถ้าลูกหนี้ได้ให้หลักประกันอื่นตามสมควรแล้ว ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่นั้น การผ่อนชำระหนี้ดังกล่าว บสท. อาจโอนหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นรับชำระหนี้ต่อไปก็ได้
                      ถ้าได้มีการชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะนำมาชำระหนี้ได้อีก หากผู้ค้ำประกันได้ยอมตนชำระหนี้ ส่วนที่เหลือไม่น้อยกว่าสองในสามหรือในจำนวนที่น้อยกว่านั้น ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด ให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้นั้น
ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ บสท. สั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนิน การได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน ให้ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวน และให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว
 


ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258   สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย article
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้ article
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม article
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม article
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ article
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย article
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด article
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ article
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด article
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง article
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด article
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง article
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง article
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่ article
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย article
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ article
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์ article
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง article
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด article
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว article
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน article
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน article
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย article
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน article
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ article
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน article
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย article
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ article
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง article
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ article
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก article
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์ article
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์ article
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี article
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร? article
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย article
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย article
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่