ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

   รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย  ละเมิดอำนาจศาล  เปลี่ยนตัวจำเลย

    คดีนี้ พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายอดิศักดิ์ เป็นจำเลย ข้อหาเสพยาบ้า ขณะที่ศาลสอบถามคำให้การจำเลย มีนายศุภชัย แสดงตนรับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย แต่ความปรากฏต่อมาว่านายศุภชัย ไม่ใช่จำเลยในคดีนี้ จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง และศาลได้ไต่สวนดำเนินคดีกับนายศุภชัยและพวกรวม 4 คน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากร่วมกันเปลี่ยนตัวผู้ต้องหา ตั้งแต่ชั้นสอบสวน จึงมีคำสั่งให้จำคุกบุคคลทั้งสี่ หลังจากนั้น ศาลได้ทำการไต่สวนเพิ่มเติมเพื่อหาผู้ร่วมกระทำผิดในเรื่องนี้ เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหา (ใหม่) ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน มีพฤติการณ์เข้าข่ายความผิดร่วมกันละเมิดอำจาจศาล จึงมีคำสั่งให้จำคุกพนักงานสอบสวนดังกล่าว 6 เดือน แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าพนักงานสอบสวนไม่มีความผิด ต่อมาพนักงานอัยการฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า คำเบิกความของพยาน 7 ปากไม่มีผู้ใดเบิกความพาดพิงถึงพนักงานสอบสวนหรือผู้ถูกกล่าว (ใหม่) ว่ามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนตัวจำเลยจึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2550

     ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาฐานร่วมกับพวกประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่าจำเลยไม่มีความผิด ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งคำพิพากษาให้พนักงานอัยการทราบ พนักงานอัยการยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ เพราะการยื่นฎีกาของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นผู้ทำการไต่สวนมาแต่แรก พนักงานอัยการก็มีอำนาจยื่นฎีกาได้ และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 248

คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2545 พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดปากพนังยื่นฟ้องนายอดิศักดิ์  เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดปากพนังคดีอาญาหมายเลขดำที่ 539/2545 ในความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดปากพนังออกนั่งพิจารณา อ่านอธิบายฟ้อง และสอบถามคำให้การของจำเลย มีนายศุภชัย แสดงตนรับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ศาลจังหวัดปากพนังเห็นว่าบุคคลที่มาศาลไม่ใช่จำเลย จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 529/2545 และศาลได้ไต่สวนดำเนินคดีละเมิดอำนาจศาลแก่นายศุภชัย นายนิคม  นายสุพจน์  และนายถนอมศักดิ์  แล้วเห็นว่า นายศุภชัย นายนิคม นายสุพจน์ และนายถนอมศักดิ์ ร่วมกันเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาอันเป็นความผิดฐานร่วมกันละเมิดอำนาจศาล และมีคำสั่งให้จำคุกนายศุภชัยกับนายนิคมคนละ 6 เดือน จำคุกนายสุพจน์กับนายถนอมศักดิ์คนละ 4 เดือน ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ ล.1/2545 หมายเลขแดงที่ ล.1/2545 ของศาลชั้นต้น หลังจากนั้นศาลชั้นต้นไต่สวนหาบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของบุคคลทั้งสี่ดังกล่าวและเห็นว่า พฤติการณ์การกระทำของผู้ถูกกล่าวหามีมูลเข้าข่ายในความผิดฐานร่วมกันละเมิดอำนาจศาล จึงแจ้งข้อหาฐานร่วมกันละเมิดอำนาจศาลแก่ผู้ถูกกล่าวหา

ผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ

              ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นความผิดฐานร่วมกันละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มีคำสั่งให้จำคุกผู้ถูกกล่าวหา 6 เดือน

             ผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์

             ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่า ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

             พนักงานอัยการจังหวัดปากพนังฎีกา

             ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของผู้ถูกกล่าวหาก่อนว่า การที่พนักงานอัยการยื่นฎีกาตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งประกาศใช้อยู่ในขณะนั้นหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 11 (7) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่าจำเลยไม่มีความผิด ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้พนักงานอัยการทราบ พนักงานอัยการจึงยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้น การยื่นฎีกาของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นผู้ทำการไต่สวนมาแต่แรก พนักงานอัยการก็มีอำนาจยื่นฎีกาคดีนี้ได้และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ประการใด ที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าพนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฎีกาแทนศาลและเป็นการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของพนักงานอัยการจังหวัดปากพนังว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนตัวจำเลยอันเป็นความผิดฐานร่วมกันละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่ามีการเปลี่ยนตัวจำเลยในคดียาเสพติดโดยนายศุภชัย  มาแสดงตัวต่อศาลชั้นต้นว่าเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นจึงทำการไต่สวนนายศุภชัย นายนิคม  บิดาจำเลยและเป็นผู้ประกันจำเลยด้วย นายสุพจน์  บุตรเขยนายนิคม และนายถนอมศักดิ์  หลานนายนิคม ได้ความว่ามีการเปลี่ยนตัวจำเลยจริง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษบุคคลทั้งสี่ดังกล่าวฐานละเมิดอำนาจศาลไปแล้ว หลังจากนั้นศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ จากการไต่สวนของศาลชั้นต้นแม้จะปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นพนักงานสอบสวนในคดียาเสพติดให้โทษดังกล่าวแต่คำเบิกความของบุคคลทั้งสี่ดังกล่าวในชั้นไต่สวนในคดีที่บุคคลทั้งสี่เป็นผู้ถูกกล่าวหากับคำเบิกความของพยานอื่นอีกรวม 7 ปาก ในชั้นไต่สวนคดีนี้ มิได้มีผู้ใดเบิกความพาดพิงถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนตัวจำเลยแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจึงชอบแล้ว ฎีกาของพนักงานอัยการจังหวัดปากพนังฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 31 ผู้ใดกระทำการอย่างใด ๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่า กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
(1) ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตาม มาตรา ก่อนอันว่า ด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยใน บริเวณศาล

(2) เมื่อได้มีคำร้องและได้รับอนุญาตจากศาลให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา 156/1 แล้ว ปรากฏว่าได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลในการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551)
(3) เมื่อรู้ว่าจะมีการส่งคำคู่ความหรือส่งเอกสารอื่น ๆ ถึงตน แล้วจงใจไปเสียให้พ้น หรือหาทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความ หรือเอกสารนั้นโดยสถานอื่น
(4) ตรวจเอกสารทั้งหมดหรือฉบับใดฉบับหนึ่งซึ่งอยู่ในสำนวน ความหรือคัดเอาสำเนาเอกสารเหล่านั้นไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 54
(5) ขัดขืนไม่มาศาลเมื่อศาลได้มีคำสั่งตาม มาตรา 19 หรือมีหมายเรียกตาม มาตรา 277

มาตรา 33 ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทำความผิดฐาน ละเมิดอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธี ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ
(ข) ให้ลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
การไล่ออกจากบริเวณศาลนั้น ให้กระทำได้ชั่วระยะที่ศาลนั่ง พิจารณาหรือภายในระยะเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อจำเป็นจะเรียกให้ตำรวจช่วยจัดการได้

ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้น ให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

 




คำพิพากษาศาลฎีกา

ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนและสินสอดคือ
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ