

รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์ รับซื้อโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ รับของโจร | รับซื้อของกลางไว้โดยสุจริต โจทก์ไม่ได้ประสงค์จะให้ลงโทษฐานรับของโจรเพื่อค้ากำไร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ จำเลยนำสืบว่ารับซื้อทรัพย์ของกลางโดยสุจริต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดจำคุก 3 ปี รับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ จำคุก 2 ปี คำพิพากษาฎีกาที่ 528/2550 จำเลยรับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อ แม้จะเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรเพื่อค้ากำไรก็ตาม แต่เมื่อคำบรรยายฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยรับของโจรเพื่อค้ากำไร จึงมิอาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ประสงค์จะให้ลงโทษตามบทดังกล่าว คงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคหนึ่ง เท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335, 336 ทวิ, 357, 83 กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนอีก 8 รายการ รวมราคา 87,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหาย ระหว่างพิจารณาพันตำรวจโท ณรงค์ชัย ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและเบิกความเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 2 ปี ข้อหาลักทรัพย์และคำขออื่นให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 3 เมษายน 2541 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด มีคนร้ายเข้าไปในเคหสถานของพันตำรวจโท ณรงค์ชัย โจทก์ร่วม ซึ่งไม่มีผู้ใดอยู่อาศัย แล้วลักบานประตูไม้สักแบบต่าง ๆ รวม 13 บาน เครื่องปรับอากาศ 1 ชุด โคมไฟเซรามิค 6 ช่อ เตาไฟฟ้า 1 เตา ถังแก๊ส 1 ถัง ลูกกรงทำด้วยไม้กลึง 29 ท่อน พระพุทธรูปบูชา 6 องค์ และกระจกเงากรอบไม้สัก 1 บาน รวมราคา 166,000 บาท ของโจทก์ร่วม โดยคนร้ายใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะขนทรัพย์สินดังกล่าวไป ต่อมาโจทก์ร่วมทราบเลขทะเบียนรถยนต์กระบะซึ่งเป็นยานพาหนะที่มาขนทรัพย์สินไป จึงได้ให้เจ้าพนักงานตำรวจติดตามเจ้าของรถยนต์กระบะมาสอบถาม แล้วให้นำไปชี้ร้านค้าที่รับซื้อทรัพย์สินไว้ ซึ่งเป็นร้านค้าไม้เก่าของจำเลย จากนั้นโจทก์ร่วมไปหาจำเลยสอบถามขอซื้อบานประตูไม้สักที่มีลักษณะแบบเดียวกับที่ถูกลักไป จำเลยพาไปดูข้างในสุดของร้าน พบบานประตูไม้สักลายลูกฟัก 4 บาน ลายบานเกร็ดยาว 3 บาน ลายบานเกล็ดครึ่งบาน 1 บาน ประตูไม้สักบานโค้งลายลูกฟัก 1 คู่ และลูกกรงทำด้วยไม้กลึง 29 ท่อน ซึ่งโจทก์ร่วมจำได้ว่าเป็นของตน จึงเจรจาขอซื้อโดยขอซื้อเฉพาะบานประตูไม้สักรวม 10 บานก่อน ส่วนลูกกรงทำด้วยไม้กลึงจะมาซื้อภายหลัง แล้วให้จำเลยขับรถยนต์บรรทุกบานประตูไม้สักดังกล่าวไปส่งที่บ้านโจทก์ร่วม แต่ระหว่างทางโจทก์ร่วมให้จำเลยหยุดที่สถานีตำรวจนครบาลลาดกระบัง และแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยดำเนินคดี จากนั้นเจ้าพนักงานตำรวจย้อนกลับไปยึดลูกกรงทำด้วยไม้กลึง 29 ท่อน ที่ร้านค้าของจำเลยมาเป็นของกลางเพิ่ม ต่อมาโจทก์ร่วมนำของกลางไปติดตั้งตามตำแหน่งเดิมที่บ้านเกิดเหตุ ปรากฏว่าสามารถติดตั้งได้ แสดงว่าเป็นของที่ถูกลักไปจริง จำเลยไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานตำรวจจึงคืนของกลางทั้งหมดแก่โจทก์ร่วม คดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่า จำเลยรับซื้อทรัพย์ของกลางโดยมีข้อพิรุธหลายประการ จำเลยนำสืบว่ารับซื้อทรัพย์ของกลางโดยสุจริต เห็นว่า ทรัพย์ของกลางที่ยึดได้จากจำเลยเป็นบานประตูไม้สักที่มีแบบรูปทรงสี่เหลี่ยมและเป็นบานโค้ง ซึ่งปกติต้องติดตั้งกับวงกบไม้ ได้ความจากโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมสั่งทำบานประตูดังกล่าวเป็นพิเศษมีขนาดใหญ่กว่าบานประตูทั่วไป วงกบที่ติดตั้งบานประตูของกลางจึงมีขนาดแตกต่างไปจากวงกบทั่วไปเช่นกัน หากผู้นำบานประตูของกลางมาขายให้จำเลยเนื่องจากได้รับเหมาทุบตึกมาจริงดังที่จำเลยให้การไว้ในชั้นสอบสวนก็ควรต้องมีวงกบคู่มากับบานประตูดังกล่าว โดยจำเลยผู้มีอาชีพค้าไม้เก่ามานานนับสิบปีย่อมต้องทราบข้อเท็จจริงนี้ การที่จำเลยรับซื้อบานประตูไม้สักของกลางโดยไม่มีวงกบประกอบมาด้วย จึงเป็นข้อส่อพิรุธ นอกจากนี้ แม้บานประตูและลูกกรงที่ยึดคืนมาจะผ่านการใช้งานแล้ว แต่ยังใหม่และมีสภาพดี ซึ่งจำเลยบอกขายโจทก์ร่วมในราคาหลายหมื่นบาท แต่จำเลยกลับซื้อทรัพย์ของกลางมาจากชายแปลกหน้าในยามวิกาลในราคาไม่ถึงหมื่นบาทซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงอยู่มาก ทั้งยังเป็นราคาที่จำเลยเป็นผู้กำหนดเองฝ่ายเดียวโดยกลุ่มชายผู้ขายให้จำเลยไม่ได้ร่วมกำหนดหรือต่อรองด้วย ส่อแสดงว่าจำเลยรู้อยู่ว่า อย่างไรเสีย ชายกลุ่มดังกล่าวต้องรีบร้อนและยอมขายทรัพย์ของกลางให้แก่จำเลย จึงเป็นข้อพิรุธอีกประการหนึ่งของจำเลย ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่า จำเลยรับซื้อทรัพย์จของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การที่จำเลยนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อ แม้จะเป็นการกระทำความผิดฐานรับของโจรเพื่อค้ากำไรก็ตาม แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยรับของโจรเพื่อค้ากำไร จึงมิอาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง ได้ เพราะโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ศาลลงโทษตามบทดังกล่าว คงลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง เท่านั้น พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน ข้อหาและคำขออื่นให้ย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ " ......... ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจรต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 ทวิ การชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตาม มาตรา 340 ทวิ ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงสามหมื่นบาท |