ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,  ความผิดหลายกรรมเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปี          

 ความผิดหลายกรรมเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี แต่ในคดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลนำโทษจำคุกจาก 16 คดีมารวมลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 20  ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 นั้นหาได้ไม่เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยรวม 16 คดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องครั้งใหม่อ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2141/2538, 2289/2538, 2290/2538, 3047/2538, 3083/2538, 3150/2538, 3166/2538, 3243/2538, 3342/2538, 3349/2538 (ที่ถูก 3439/2548) ,3487/2538, 50/2539, และ 1793/2539 ของศาลชั้นต้น และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3105/2542, 4010/2542 และ 943/2543 ของศาลจังหวัดนนทบุรี โดยให้นับโทษจำคุกต่อกัน คดีถึงที่สุดแล้ว

วันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้รวมโทษจำคุกของจำเลยตามคำพิพากษาทั้ง 16 สำนวน มิให้เกินกว่า 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 191, 192 วรรคท้าย

       ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาได้

       จำเลยอุทธรณ์

        ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน แต่ให้แก้ไขหมายเลขคดีแดงที่ 3349/2538 ของศาลชั้นต้น เป็นหมายเลขคดีแดงที่ 3439/2538 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด

วันที่ 21 กรกฎาคม 2547 จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์รวมคดี 16 คดี ขอให้รวมโทษจำคุกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2)

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีของจำเลยไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่อาจปรับโทษจำคุกของจำเลยรวมกันได้ ให้ยกคำร้อง

            จำเลยอุทธรณ์

             ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน

             จำเลยฎีกา

     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยทุกคดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยมายื่นคำร้องครั้งใหม่โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยชี้ขาดและถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล

             พิพากษายืน

( ชัช ชลวร - วีระศักดิ์ เสรีเศวตรัตน์ - บวร กุลทนันทน์ ) 


                 ประมวลกฎหมายอาญา 

            มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่
ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้
1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี
(2) ยี่สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี
(3) ห้าสิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต


               ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

            มาตรา 15 วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้
            มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้ แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่า กันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
            ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาล ชั้นต้นก็ตาม
            มาตรา 225 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณา และว่าด้วย คำพิพากษาและคำสั่งชั้นอุทธรณ์มาบังคับในชั้นฎีกาโดยอนุโลม เว้นแต่ห้ามมิให้ทำความเห็นแย้ง


                ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

            มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้ คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษา หรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิ โจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้ บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ


 

 สำนักงานพีศิริ ทนายความ 

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย article
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้ article
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม article
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม article
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ article
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย article
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด article
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ article
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด article
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง article
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด article
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง article
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง article
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่ article
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย article
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ article
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์ article
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง article
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด article
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว article
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน article
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน article
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย article
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน article
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ article
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน article
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย article
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ article
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง article
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ article
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก article
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์ article
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์ article
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี article
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร? article
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย article
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย article
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่