สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
จำเลยมีเจตนาแยกการกระทำของตนเป็นหลายกรรมต่างกัน การกระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 680/2550 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 211-212/2546 ของศาลอาญาเป็นเรื่องจำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองในคดีดังกล่าวในวันที่ 10 ธันวาคม 2543 ให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินคนละ 1,400 บาท แก่จำเลย โดยจำเลยยึดกระเป๋าผ้าไนลอนและผ่าส่าหรีที่ผู้เสียหายทั้งสองนำเข้ามาจากต่างประเทศทางท่าอากาศยานกรุงเทพไว้ และขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสองหากไม่ยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลย ส่วนคดีนี้แม้จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายในวันเดียวกันกับคดีดังกล่าว ใช้วิธีการอย่างเดียวกันและสถานที่เกิดเหตุเดียวกันก็ตาม แต่เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกันและเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินจากผู้เสียหายแต่ละรายมากน้อยแตกต่างกันโดยคดีนี้เรียกค่าไถ่ทรัพย์สินเพียง 800 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนทรัพย์สินของผู้เสียหายแต่ละรายที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาแยกการกระทำของตนเป็นหลายกรรมต่างกัน ถือว่าจำเลยกระทำการหลายกรรมต่างกัน การกระทำของจำเลยคดีนี้จึงเป็นคนละกรรมกับการกระทำของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 211-212/2546 ของศาลอาญา แม้คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 จำเลยให้การปฏิเสธ
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 211-212/2546 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำคราวเดียว เจตนาเดียว และมูลคดีเดียวกับผู้เสียหายสามคน คือผู้เสียหายคดีนี้ นายธรรม ดีโอกุปต้า และนายอาจิต กุมารราย ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 211-212/2546 ของศาลชั้นต้น ในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำการอันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้ยอมมอบเงินให้แก่จำเลย โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 211-212/2546 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2543 เวลากลางวัน จำเลยข่มขืนใจนายธรรม ผู้เสียหายที่ 1 และนายอาจิต ผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินคนละ 1,400 บาท แก่จำเลย โดยจำเลยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสอง โดยจำเลยได้ยึดกระเป๋าผ้าไนลอนของผู้เสียหายทั้งสองคนละ 2 ใบ และผ้าส่าหรีที่บรรจุอยู่ในกระเป๋าดังกล่าวคนละ 60 ผืน รวมราคาทรัพย์คนละ 9,000 บาท ที่ผู้เสียหายทั้งสองนำเข้ามาจากต่างประเทศทางท่าอากาศยานกรุงเทพไว้ แล้วขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสองว่าจะแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม หรือจะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสองที่ยึดไว้ หากผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยเป็นค่าไถ่ทรัพย์สินดังกล่าว ผู้เสียหายทั้งสองกลัวว่าจะถูกจับหรือทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้จะถูกทำลาย จึงตกลงยินยอมจะจ่ายเงินให้คนละจำนวน 1,400 บาท แก่จำเลยตามที่ถูกจำเลยข่มขืนใจ เห็นว่า แม้จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายคดีนี้กับผู้เสียหายทั้งสองในคดีดังกล่าวในวันเดียวกันใช้วิธีการอย่างเดียวกัน และสถานที่เกิดเหตุเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยได้กระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกันและเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินจากผู้เสียหายแต่ละรายมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินของผู้เสียหายแต่ละคนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาแยกการกระทำของตนเป็นหลายกรรมต่างกัน ถือว่าจำเลยกระทำการหลายกรรมต่างกัน การกระทำของจำเลยคดีนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 211-212/2546 ของศาลชั้นต้น แม้คดีดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน. แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20100/2555 พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี.......โจทก์
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้ มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้ แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่า กันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลด มาตรา ส่วนโทษด้วยหรือไม่ ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้ มาตรา 337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือ ทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท คำพิพากษาฎีกาที่ 680/2550 ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองศาลก็สามารถฎีกาได้ ในเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับหรือไม่ต้องพิจารณาว่าเจตนาของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายเมื่อเป็นหลายกรรมต่างกันในแต่ละคนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะจำเลยมีเจตนาแยกการกระทำของตนเป็นหลายกรรมต่างกัน
|