ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

  (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE

QR CODE

พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง

คำขอท้ายฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทจำนวนกึ่งหนึ่ง เมื่อที่ดินรังวัดได้เนื้อที่เพียง 3 งาน 5 ตารางวากึ่งหนึ่งจึงมีเพียง 1 งาน 52.5 ตารางวา แม้จะได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดเนื้อที่ 1 งาน 60 ตารางวาก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจแบ่งที่ดินได้มากกว่าคำขอท้ายฟ้องเพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง

ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ตามโฉนด 1 ไร่ แต่ตอนทำแผนที่วิวาท เอกสารหมาย จ.ล.1 เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดได้เนื้อที่เพียง 3 งาน 5 ตารางวา กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท จึงมีเนื้อที่ 1 งาน 52.5 ตารางวา เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือบรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด อันทำให้จำเลยได้ที่ดินมากกว่าโจทก์ 15 ตารางวา แต่กลับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 จำนวนกึ่งหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแบ่งที่ดินให้แก่จำเลยได้เนื้อที่ 1 งาน 60 ตารางวา ตามที่จำเลยครอบครองได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370 - 6371/2550

 สำนวนแรก โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 12517 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอบ้านหม้อ จังหวัดสระบุรี ด้านทิศตะวันตกเป็นของโจทก์ ด้านทิศตะวันออกเป็นของจำเลย โดยถือแนวรั้วตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้เป็นแนวเขตที่ดินตามที่แบ่งแยกการครอบครองไว้แล้ว โดยยื่นคำขอแบ่งแยกเสียค่าใช้จ่ายฝ่ายละเท่ากัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ให้แต่ละฝ่ายไม่เข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินของอีกฝ่ายตามแนวรั้วที่แบ่งแยกอีกต่อไป

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

สำนวนที่สอง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปดำเนินการยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี (สาขาพระพุทธบาท) เพื่อขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 12517 ร่วมกับโจทก์และนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตลอดจนจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินและโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งของเนื้อที่ตามโฉนดที่ดินตามแผนผังที่ระบายด้วยสีแดงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาตามคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้คงเรียกโจทก์สำนวนแรกซึ่งเป็นจำเลยสำนวนที่สองว่า โจทก์ เรียกจำนวนสำนวนแรกซึ่งเป็นโจทก์สำนวนที่สองว่า จำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 12517 โดยให้จำเลยได้ที่ดินด้านทิศตะวันออกภายในกรอบเส้นสีเขียว ให้โจทก์ได้ที่ดินด้านทิศตะวันตกในส่วนที่เหลือตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรังวัดแบ่งแยก ให้โจทก์และจำเลยออกคนละกึ่งหนึ่ง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ไปดำเนินการให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยได้ที่ดินด้านทิศตะวันออก และให้โจทก์ได้ที่ดินด้านทิศตะวันตก เนื้อที่คนละกึ่งหนึ่ง ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนภายในกรอบเส้นสีแดงของแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 หรือไม่ เห็นว่า ตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 โจทก์นำชี้แนวเขตของตนภายในกรอบเส้นสีแดงล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 12521 ของผู้อื่นเนื้อที่ 1 งาน 8 ตารางวา และอยู่ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 เนื้อที่ 2 งาน 53 ตารางวา รวมเนื้อที่ 3 งาน 61 ตารางวา เกินกว่าเนื้อที่ส่วนของโจทก์ซึ่งอ้างว่ามี 2 งาน ทั้งรูปที่ดินที่โจทก์นำชี้และส่วนที่นายอุดมขายให้แก่นางจิ๋งที่อ้างว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ไม่สอดคล้องกับรูปแผนที่ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 12517 และแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 ที่เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ที่จำเลยนำสืบว่านายอุดมชี้แนวเขตที่ดินพิพาทให้แก่นางจิ๋งดูเป็นรูปสามเหลี่ยมเนื้อที่ 2 งาน นอกจากจะสอดคล้องกับรูปแผนที่ที่ดินในโฉนดที่ดินเลขที่ 12517 แล้ว จำเลยยังนำชี้แนวเขตของตนภายในกรอบเส้นสีเขียวของแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เนื้อที่เพียง 1 งาน 60 ตารางวา ซึ่งใกล้เคียงกับเนื้อที่ที่จำเลยซื้อมาอีกด้วย ทั้งเมื่อคิดหักเนื้อที่ดังกล่าวออกจากเนื้อที่ของที่ดินพิพาทตามที่รังวัดได้ 3 งาน 5 ตารางวา แล้ว ทำให้ที่ดินส่วนของโจทก์คงเหลือเนื้อที่ 1 งาน 45 ตารางวา น้อยกว่าที่ดินส่วนของจำเลย 15 ตารางวา เท่านั้น ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดภายในกรอบเส้นสีแดงของแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 แต่ฟังได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทภายในกรอบเส้นสีเขียวตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 มีเนื้อที่ 1 ไร่ แต่ตอนทำแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดได้เนื้อที่เพียง 3 งาน 5 ตารางวา กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 จึงมีเนื้อที่ 1 งาน 52.5 ตารางวา เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือบรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดอันทำให้จำเลยได้ที่ดินมากกว่าโจกท์ 15 ตารางวา แต่กลับมีคำขอท้ายฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 จำนวนกึ่งหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแบ่งที่ดินให้แก่จำเลยได้เนื้อที่ 1 งาน 60 ตารางวา ตามที่จำเลยครอบครองได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยได้ที่ดินด้านทิศตะวันออกและโจทก์ได้ที่ดินด้านทิศตะวันตกตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เนื้อที่คนละกึ่งหนึ่งนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 142 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสิน ตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภท เดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเมื่อ ศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้ บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บน อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่ พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึง วันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ย จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่อง คำนวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่า เช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้ จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษา ก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้นเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้น ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(6) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย ซึ่งมิได้มี ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึง ถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาล จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิ ได้รับตามกฎหมาย แต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้อง หรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้

 

พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6679/2562

จำเลยทั้งสองผู้รับซื้อสินค้าทำสัญญากับโจทก์ผู้ให้เช่าเพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. ผู้เช่า และตกลงว่า ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่า ผู้รับซื้อสินค้าตกลงผูกพันตนร่วมกันกับผู้เช่า เพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้เช่าโดยซื้อทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าในราคาตามที่ระบุไว้ รวมด้วยจำนวนหนี้ที่ค้างชำระและบรรดาหนี้เงินที่ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระให้แก่ผู้ให้เช่า โดยให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้รับซื้อสินค้า เมื่อผู้รับซื้อสินค้าได้ชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าเสร็จสิ้นแล้ว ผู้รับซื้อสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่างแต่เพียงฝ่ายเดียวในการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการรับโอน การเก็บรักษาทรัพย์สิน การยึดทรัพย์สินจากความครอบครองของผู้เช่า และการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินมาอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า ผู้รับซื้อสินค้า หรือของบุคคลอื่นตามที่ผู้ให้เช่ากำหนด แล้วแต่กรณีตลอดจนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียวในบรรดาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับซื้อสินค้ามีหน้าที่ต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อสินค้าเมื่อผู้รับซื้อสินค้าได้ชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระราคารถขุดตีนตะขาบที่เช่าตามสัญญารับซื้อสินค้าพร้อมค่าปรับ หากจำเลยทั้งสองชำระราคารถให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์และเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองในการยึดรถจากความครอบครองของบริษัท ส. หรือการเคลื่อนย้ายรถมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง และการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญารับซื้อสินค้า สัญญารับซื้อสินค้าไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสอง แต่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองผู้รับซื้อสินค้าเอง ซึ่งมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์เลือกใช้สิทธิดังกล่าวแล้วโดยมิได้เลือกใช้สิทธิที่จะนำรถไปขายให้แก่บุคคลอื่น จำเลยทั้งสองก็ต้องผูกพันและมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา โดยชำระราคาและติดตามรถเอง โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่ถูกต้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 8,368,507.91 บาท พร้อมค่าปรับอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี ของต้นเงิน 8,013,183.59 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 4,184,313.52 บาท พร้อมค่าปรับอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี ของต้นเงิน 4,006,648.83 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 4,006,648.83 บาท พร้อมค่าปรับอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 8,013,183.59 บาท พร้อมค่าปรับอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้โจทก์ส่งมอบรถขุดตีนตะขาบที่จำเลยทั้งสองรับซื้อคืนแก่จำเลยทั้งสอง กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 บริษัทสยาม แอนทราไซด์ ไมนิ่ง จำกัด ทำสัญญาเช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งกับโจทก์ โดยเช่ารถขุดตีนตะขาบยี่ห้อฮิตาชิพร้อมอุปกรณ์จำนวน 3 คัน ในราคา 21,448,598.13 บาท กำหนดเวลาเช่า 48 เดือน เดือนละ 436,745 บาท และจำเลยทั้งสองตกลงว่า กรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะรับซื้อรถขุดตีนตะขาบดังกล่าวจำนวน 1 คัน และ 2 คัน ตามลำดับ จากโจทก์ ต่อมาบริษัทสยาม แอนทราไซด์ ไมนิ่ง จำกัด ผิดนัดชำระค่าเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว และให้ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืน โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าซื้อทรัพย์คืนและค่าปรับแก่โจทก์แล้ว คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่ให้จำเลยทั้งสองชำระราคาพร้อมค่าปรับแก่โจทก์

คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบรถขุดตีนตะขาบแก่จำเลยทั้งสองเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ เห็นว่า ตามสำเนาสัญญารับซื้อสินค้าระบุว่า จำเลยทั้งสองผู้รับซื้อสินค้าทำสัญญากับโจทก์ผู้ให้เช่าเพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของบริษัทสยาม แอนทราไซด์ ไมนิ่ง จำกัด ผู้เช่า และตกลงว่า 1. ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเช่า ... ผู้รับซื้อสินค้าตกลงผูกพันตนร่วมกันกับผู้เช่า เพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้เช่าโดยซื้อทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าในราคาตามที่ระบุไว้ในตารางแนบท้าย รวมด้วยจำนวนหนี้ที่ค้างชำระและบรรดาหนี้เงินที่ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องชำระให้แก่ผู้ให้เช่า ... 2. ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้รับซื้อสินค้า เมื่อผู้รับซื้อสินค้าได้ชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าตามที่ระบุในข้อ 1. เสร็จสิ้นแล้ว และ 5. ผู้รับซื้อสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่างแต่เพียงฝ่ายเดียวในการดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการรับโอน การเก็บรักษาทรัพย์สิน การยึดทรัพย์สินจากความครอบครองของผู้เช่า และการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินมาอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า ผู้รับซื้อสินค้า หรือของบุคคลอื่นตามที่ผู้ให้เช่ากำหนด แล้วแต่กรณีตลอดจนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อสินค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว ในบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ ... ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับซื้อสินค้ามีหน้าที่ต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่า และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อสินค้าเมื่อผู้รับซื้อสินค้าได้ชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าตามที่ระบุในข้อ 1. เสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระราคารถขุดตีนตะขาบที่เช่าตามสัญญารับซื้อสินค้า ข้อ 1. พร้อมค่าปรับ หากจำเลยทั้งสองชำระราคารถให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์และเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองในการยึดรถจากความครอบครองของบริษัทสยาม แอนทราไซด์ ไมนิ่ง จำกัด หรือการเคลื่อนย้ายรถมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสอง และการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญารับซื้อสินค้า ข้อ 2. และ ข้อ 5. สัญญารับซื้อสินค้าไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสอง แต่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองผู้รับซื้อสินค้าเอง ซึ่งมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์เลือกใช้สิทธิดังกล่าวแล้วโดยมิได้เลือกใช้สิทธิที่จะนำรถไปขายให้แก่บุคคลอื่น จำเลยทั้งสองก็ต้องผูกพันและมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา โดยชำระราคาและติดตามเอารถเอง โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบรถแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่ถูกต้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ให้โจทก์ส่งมอบรถขุดตีนตะขาบที่จำเลยทั้งสองรับซื้อคืนแก่จำเลยทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา

 ป.วิ.พ. ม. 142

แหล่งที่มา

 

 กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

 

ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258    สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่