ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี

การกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ก็เป็นความผิดแล้ว แม้เด็กจะยินยอมก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กนั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วยโดยมีผลถึงการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยก็หาไม่ ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทนเด็กได้

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2550

 ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่าเด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงทั้งสามถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงทั้งสามตามป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2)

แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้าง ส.เป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้าง ส. เป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้

ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงทั้งสามจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 312 ตรี วรรคสอง. 

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 277, 312 ตรี, 317, 319 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9

จำเลยให้การปฏิเสธ

ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นางปราณีมารดาเด็กหญิงดวงดาวหรือดาว นางราตรีมารดาเด็กหญิงสายรุ้งหรือรุ้ง นายคมสันต์ผู้ปกครองเด็กหญิงอริษาหรือนุ้ยและนางศรีสุดมารดาเด็กหญิงอริษาหรือนุ้ย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นางปราณี นางราตรีและนายคมสันต์เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำชำเราและความผิดต่อเสรีภาพ ส่วนนางศรีสุดเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอริษาหรือนุ้ย โดยเรียกผู้ร้องดังกล่าวเป็นโจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 ตามลำดับ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก จำคุกกระทงละ 4 ปี รวม 4 กระทง จำคุก 16 ปี ข้อหาอื่นให้ยก

โจทก์ โจทก์ร่วมที่ 2 ถึงที่ 5 และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรคสอง, 317 วรรคสาม ด้วย ฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม จำคุกระทงละ 5 ปี รวม 4 กระทง จำคุก 20 ปี สำหรับความผิดฐานกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และฐานโดยทุจริต ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กตามมาตรา 312 ตรี วรรคสอง เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 4 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 16 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 16 ปี รวมจำคุก 36 ปี ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 4 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหากระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกมีว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก หรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้ผู้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนนั้น มีความผิดโดยไม่คำนึงถึงว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แต่หากเด็กหญิงนั้นยินยอม ก็มิได้หมายความว่า เด็กหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย เมื่อเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงสายรุ้ง และเด็กหญิงอริษาถูกกระทำชำเรา แม้เด็กหญิงทั้งสามจะยินยอมก็เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจาก การกระทำความผิดข้อหานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีอำนาจจัดการแทนเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงสายรุ้ง และเด็กหญิงอริษาตามลำดับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอร่วมเป็นโจทก์ในความผิดข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 (2) คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างในฎีกานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ ซึ่งนางสาวสุริยาพรก็เบิกความยืนยันว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้นางสาวสุริยาพรยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราต่างวันเวลากัน 2 ครั้ง จากนั้นก็ได้รับการติดต่อจากจำเลยให้พาเพื่อนรุ่นเดียวกันไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย นางสาวสุริยาพรจึงชักชวนเด็กหญิงดวงดาวกับเด็กหญิงอริษาซึ่งเป็นเพื่อนนางสาวสุริยาพรและเด็กหญิงสายรุ้งไปขายบริการทางเพศแก่จำเลยที่โรงแรมผกาอินท์ หลังจากจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งแล้ว นางสาวสุริยาพรก็จะไปรับเงินค่าตอบแทนจากจำเลยไปแบ่งให้แก่เด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้ง คำเบิกความของนางสาวสุริยาพรดังกล่าวมิใช่คำซัดทอดเพราะเป็นการเบิกความในชั้นพิจารณาของศาล เนื่องจากนางสาวสุริยาพรมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย ทั้งนางสาวสุริยาพรไม่มีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิด ไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งว่านางสาวสุริยาพรรู้จักนายพายัพคนขับรถจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุผลที่นางสาวสุริยาพรต้องร่วมกับนายพายัพกลั่นแกล้งจำเลยตามที่จำเลยอ้าง แต่กลับได้ความจากนางสาวสุริยาพรว่า หลังเกิดเหตุคนขับรถจำเลยมาพูดคุยกับนางสาวสุริยาพรว่าหากบิดามารดาพาเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งถอนคำร้องทุกข์ ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยจะให้เงิน จากนั้นจำเลยให้ชายคนหนึ่งนำเงิน 15,000 บาท มามอบให้นางสาวสุริยาพรเป็นค่าประกันตัวในข้อหาพรากผู้เยาว์ จึงรับฟังคำเบิกความของนางสาวสุริยาพรประกอบคำเบิกความของเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งได้ ซึ่งต่างเบิกความว่าเหตุที่ยินยอมไปให้จำเลยกระทำชำเราเพราะต้องการเงินเป็นค่าตอบแทน โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุเมื่อพันตำรวจตรีอดิศรสืบสวนทราบว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดคดีนี้ ได้จัดให้มีการชี้ภาพถ่ายต่อหน้าพนักงานอัยการและนักสังคมสงเคราะห์แล้วจัดให้มีการชี้ตัวจำเลยต่อหน้าพนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์ ทนายจำเลย และสื่อมวลชน เด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งต่างชี้ยืนยันตรงกันว่าจำเลยเป็นผู้กระทำชำเราเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้ง โดยในขณะชี้ตัวจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่าเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งเบิกความไปตามความสัตย์จริง ทั้งรู้ว่าอวัยวะเพศชายกับปลัดขิกแตกต่างกันอย่างไร แม้โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จะมิได้ระบุพยานอ้างนางสาวสุริยาพรเป็นพยานในคดีนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในสำนวนคดีแรกได้ระบุพยานอ้างนางสาวสุริยาพรเป็นพยาน ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน จึงรับฟังคำเบิกความของนางสาวสุริยาพรเป็นพยานในสำนวนคดีนี้ได้ การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง เพราะจำเลยไม่รู้ว่าเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษาและเด็กหญิงสายรุ้งมีอายุยังไม่เกิน 15 ปี นั้น เห็นว่า ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษา และเด็กหญิงสายรุ้งจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา

วุฒิภาวะเช่นจำเลยไม่ใช่ข้อบ่งชี้เสมอไปที่จะไม่กระทำความผิดเสียเลย ดังนี้ พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยโทรศัพท์นัดหมายให้นางสาวสุริยาพรพาเพื่อนไปขายบริการทางเพศแก่จำเลย นางสาวสุริยาพรจึงชักชวนเด็กหญิงดวงดาว เด็กหญิงอริษา และเด็กหญิงสายรุ้งไปกระทำการดังกล่าว แล้วจำเลยรับตัวเด็กหญิงทั้งสามไว้กระทำชำเราโดยเด็กหญิงทั้งสามยินยอมที่โรงแรมผกาอินท์เป็นการล่วงอำนาจปกครองของโจทก์ร่วมที่ 2 ที่ 5 และที่ 3 ตามลำดับ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงดวงดาว อายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิงดวงดาวโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 กระทำชำเราเด็กหญิงอริษาอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิงอริษาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 และกระทำชำเราเด็กหญิงสายรุ้งอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน และพรากเด็กหญิงสายรุ้งโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารในวันที่ 22 ธันวาคม 2543 และวันที่ 3 มกราคม 2544 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการรับไว้หรือล่อไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยทุจริต เพราะจำเลยหาได้รับเด็กหญิงทั้งสามไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ เนื่องจากจำเลยมีเจตนาประสงค์จะกระทำชำเราเด็กหญิงทั้งสามเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวมาด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ตรี วรรคสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.

( เรวัตร อิศรากรณ์ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - วีระชาติ เอี่ยมประไพ )

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

  สำนักงานพีศิริ ทนายความ  โทร.  0859604258

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่