สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE ผู้จัดการมรดก-บุตรไม่มีชื่อในพินัยกรรมถือว่าถูกตัดมิให้รับมรดก ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้อื่นแล้วบุตรไม่มีชื่อในพินัยกรรมจึงถูกตัดมิให้รับมรดก แม้ได้เป็นผู้จัดการมรดกก็เพียงมีหน้าที่แบ่งมรดกตามพินัยกรรม จะนำไปโอนให้ผู้จัดการมรดกฐานะส่วนตัวแล้วนำไปจำนอง ผู้รับจำนองไม่ได้สิทธิตามนิติกรรมจำนอง ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินและทรัพย์สินอื่นทั้งหมดให้แก่บุคคลใดแล้ว บุตรชอบด้วยกฎหมายอื่นๆที่ไม่มีชื่อในพินัยกรรมย่อมถูกตัดไม่ให้รับมรดก แต่เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายคนใดเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ย่อมมีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกและต่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมและซึ่งตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2550 ถ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.4 ว. ซึ่งเป็นบุตรของ ถ. จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง ว. ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียของ ถ. ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ มาตรา 1713 แต่เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. แล้ว ว. ย่อมมีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกและต่อผู้ร้องซึ่งตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่หาได้ไม่ การที่ ว. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ถ. และเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องไปรับโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของ ถ. ซึ่งตกทอดแก่ผู้ร้องมาเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัว ย่อมไม่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เป็นการทำนิติกรรม ให้ ว. มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ถ. อันเป็นการต้องห้ามโดยแจ้งชัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเป็นกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1575 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างจึงยังคงเป็นมรดกของ ถ. ซึ่งตกทอดได้แก่ผู้ร้องตามเดิมหาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. ไม่ เมื่อ ว. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วก็ไม่มีสิทธินำไปจำนองแก่ผู้ใด การที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จาก ว. ย่อมไม่เกิดผลให้โจทก์มีสิทธิตามนิติกรรมจำนอง แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็หามีผลให้โจทก์กลับมีสิทธิตามนิติกรรมจำนองไม่ การจำนองจึงไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวรพรรณ์ชำระเงินแก่โจทก์ 4,300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2538 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 1,173,550 บาท หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 12106 ตำบลตลาดขวัญ (บางซื่อ) อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้จนครบ จำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองดังกล่าวเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอโดยขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้อง โจทก์ให้การขอให้ยกคำร้องขอ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนให้แก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดหรือไม่ เห็นว่า เมื่อจ่าสิบตำรวจถาวรทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องตามพนัยกรรมเอกสารหมาย ร.4 นายวรพรรณ์จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคสอง นายวรพรรณ์ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียของจ่าสิบตำรวจถาวร ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 แต่นายวรพรรณ์ไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรต่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้นายวรพรรณ์เป็นผู้จัดการมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 797/2537 ของศาลชั้นต้น แสดงว่าการร้องขอและการนำสืบกฎหมายพยานหลักฐานของนายวรพรรณ์เป็นไปโดยไม่สุจริตปกปิดข้อเท็จจริงทำให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายวรพรรณ์เป็นผู้จัดการมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรโดยหลงผิด แต่เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งนายวรพรรณ์เป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยสิบตรวจถาวร นายวรพรรณ์ย่อมมีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์กองมรดกและต่อผู้ร้องซึ่งตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่หาใดไม่ การที่นายวรพรรณ์ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องไปรับโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรซึ่งตกทอดได้แก่ผู้ร้องมาเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัวโดยนายวรพรรณ์เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก แต่อาศัยคำสั่งศาลที่สั่งโดยหลงผิดเช่นนี้ย่อมไม่เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่เป็นการทำนิติกรรมให้นายวรพรรณ์มีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรอันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และเป็นกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล กิจการนั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1575 ถึงเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นส่วนควบจึงยังคงเป็นมรดกของจ่าสิบตำรวจถาวรซึ่งตกทอดได้แก่ผู้ร้องอยู่ตามเดิม หาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายวพรรณ์ไม่ เมื่อนายวรพรรณ์ไม่มีการรสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นส่วนควบเสียแล้ว นายวรพรรณ์ ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปจำนองแก่ผู้ใด การที่โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากนายวรพรรณ์ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะจำนองได้ย่อมไม่เกิดผลให้โจทก์มีสิทธิตามนิติกรรมจำนอง แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองไว้โดยสุจริตก็หามีผลให้โจทก์กลับมีสิทธิตามนิติกรรมจำนองไม่ การจำนองจึงไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่โจทก์อ้างมาในฎีกานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
ผู้ตายทำพินัยกรรมผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก ผู้ตายประสงค์ที่จะยกที่ดินให้แก่ผู้คัดค้าน(มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย) เพื่อใช้ในกิจกรรมของผู้คัดค้าน เมื่อมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งถูกต้องตามตราสารการตั้งมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซึ่งข้อ 5 ของเอกสารดังกล่าวระบุเรื่องข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินไว้ว่า ได้แก่ สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์สุดแต่จะมีผู้ศรัทธาหรืออุทิศบริจาคให้ ดังนี้ ผู้คัดค้านโดยมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยย่อมรับเอาที่ดินที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ไว้ได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมจึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อพินัยกรรม ข้อ 1 ระบุว่า ผู้ตายยกที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 98796 และ 104347 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก เช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกตาม มาตรา 1713 ได้
|