ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE

QR CODE

ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ  ศาลไม่มีอำนาจสั่งริบรถจักรยานยนต์              

ศาลมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคนร้ายได้ใช้ในการกระทำความผิดได้ การที่คนร้ายใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไปและให้พ้นจากการจับกุมนั้นไม่ถือว่าได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือในการวิ่งราวทรัพย์ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบรถจักรยานยนต์

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2550

โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์ จำเลยกับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ก็มิได้หมายความว่าจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2549 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยกับนายไพฑูรย์  จำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1404/2549 ของศาลชั้นต้น ร่วมกันลักทรัพย์กระเป๋าหนัง 1 ใบ ภายในมีเงินสด 4,000 บาท ของนางสาวนิตยา  ผู้เสียหาย ไปโดยทุจริต โดยในการลักทรัพย์ดังกล่าว จำเลยกับพวกได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้าของผู้เสียหาย และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุมเจ้าพนักงานจับจำเลยกับพวกได้พร้อมยึดกระเป๋าหนังและเงินสด 1,900 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายดังกล่าว และรถจักรยานยนต์ หมายเลขทะเบียน กวธ นครปฐม 420 ที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้ในการกระทำความผิดและเป็นของพวกของจำเลย เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 336, 336 ทวิ ให้จำเลยคืนเงิน 2,100 บาท แก่ผู้เสียหาย และริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 (ที่ถูก มาตรา 336 วรรคแรก) ประกอบมาตรา 336 ทวิ จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้จำเลยคืนเงิน 2,100 บาท แก่ผู้เสียหาย และริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลางและให้คืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำความผิด อันจะพึงต้องริบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้องจำเลยกับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่ การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุม ก็มิได้หมายความว่าจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้อง รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกได้ใชในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

หมายเหตุ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สินนอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินต่อไปนี้อีกด้วย คือ (1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่ริบทรัพย์สินนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2520 (ตอน 1 หน้า 88) พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี โจทก์ นายบุญส่ง  กับพวก จำเลย วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามนั่งรถจักรยานยนต์คันเดียวกันตามรถผู้เสียหายมายิงผู้เสียหายและเอารถไป ศาลลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แต่ไม่ริบรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่งใช้เป็นยานพาหนะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นเท่านั้น แต่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ริบทรัพย์สินมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2520 (ตอน 2 หน้า 158) พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์ นายสมชาย จำเลย วินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยกับพวกวิ่งราวเครื่องรับวิทยุของนายเฮ้าตงไปโดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะ เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับพวกใช้ในการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาปมระมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง" ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ บรรณาธิการ ได้บันทึกหมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกานี้ว่า "คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้คงถูกต้องกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2520"

ด้วยความเคารพ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องชัดแล้วว่า ในการวิ่งราวทรัพย์ จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด ฯลฯ และอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาด้วย จำเลยรับสารภาพย่อมเป็นที่เห็นอยู่ในตัวว่ามีการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางกระทำความผิดแล้ว การริบรถจักรยานยนต์ของกลางย่อมเป็นการคุ้มครองสังคมอย่างมีประสิทธิผลมากกว่า ในยุคที่โจรจักรยานยนต์ชุกชุมเช่นนี้

การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม มิได้หมายความว่าจำเลยกับพวกได้ใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ตามฟ้อง เป็นแง่มุมการวินิจฉัยตีความกฎหมายอาญา ซึ่งมีหลักการว่าต้องตีความโดยเคร่งครัดซึ่งเป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป บางคนกลับมีความเห็นว่าเป็นผลประหลาดพิลึกของกฎหมายอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Odd Law หรือ Sod Law และจะให้โจทก์บรรยายฟ้องอย่างไร
ประทีป อ่าววิจิตรกุล

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตาม กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้อีกด้วยคือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด

เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจ ด้วยในการกระทำความผิด

มาตรา 336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ สี่พันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาท ถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงสามหมื่นบาท

มาตรา 336ทวิ ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 334 มาตรา 335 มาตรา 335 ทวิ หรือ มาตรา 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือ ตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือ ใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การ กระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมต้อง ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ กึ่งหนึ่ง

ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258   สำนักงานพีศิริ ทนายความ  

 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่