ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

คำร้องสอดของโจทก์คดีอื่นอยู่ระหว่างพิจารณาฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้อน

คำร้องสอดของโจทก์ตั้งข้อพิพาทเป็นปฏิปักษ์กับทั้งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์และจำเลยในคดีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา มีผลให้คดีตามคำร้องสอดของโจทก์มีลักษณะเป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลแล้ว แม้อยู่ระหว่างจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลในคดีนี้ ก็ถือว่าคดีตามคำร้องสอดของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ โดยมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเดียวกันกับคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีเดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2564

คดีก่อน จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทและเรียกค่าเสียหายอ้างว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อคืนโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระราคาและรับโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 1 ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท จึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 เสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้กรรมสิทธิ์ติดตามและเอาคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของตนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตลอดจนสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่จะใช้สอยทรัพย์สินนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ส่วนคำร้องสอดของโจทก์ที่ยื่นเข้าไปขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม และจำเลยที่ 2 กับสามีซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้กระทำการโดยไม่สุจริต โดยมีคำขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่า คำร้องสอดของโจทก์ตั้งข้อพิพาทเป็นปฏิปักษ์กับทั้งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์และจำเลยในคดีก่อน มีผลให้คดีตามคำร้องสอดของโจทก์มีลักษณะเป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลแล้ว แม้คดีก่อนศาลจะจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลในคดีนี้ ก็ถือว่าคดีตามคำร้องสอดของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ โดยมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเดียวกันกับคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีก่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสัญญาขายที่ดินโฉนดเลขที่ 44986 ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 245

จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลและได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโฉนดเลขที่ 44986 ไว้แก่นางสาวศิริพร ในราคา 4,760,000 บาท มีกำหนดเวลาไถ่ถอน 1 ปี และโจทก์ทำหนังสือให้ความยินยอมขายฝากดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝากแล้วจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 รับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งการทำนิติกรรมซื้อขายของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาให้ความยินยอม ในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 ในราคา 6,880,000 บาท วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดพัทยาขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท ศาลจังหวัดพัทยาพิพากษายกฟ้อง ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1519/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 1533/2556 คดีถึงที่สุด วันที่ 1 มีนาคม 2560 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต่อศาลจังหวัดพัทยาขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.229/2560 วันที่ 4 เมษายน 2560 จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดพัทยาขอให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารให้ออกไปจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.338/2560 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 ศาลจังหวัดพัทยามีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.229/2560 และมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องสอดเข้าไปเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.338/2560 ของศาลจังหวัดพัทยา วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ นอกจากนั้น คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.338/2560 ของศาลจังหวัดพัทยา คู่ความท้ากันให้ถือเอาผลคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะ ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวไว้ชั่วคราว ตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลจังหวัดพัทยา ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2560

พิเคราะห์แล้วที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาอ้างว่า คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 เป็นสำเนาเอกสารทางโทรสาร มิใช่ต้นฉบับที่ยื่นมาพร้อมกับฎีกา เมื่อโจทก์ส่งต้นฉบับก็ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ เห็นว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ปฏิเสธความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารดังกล่าว ทั้งคำสั่งของศาลฎีกาที่อนุญาตให้โจทก์ฎีกาก็หาได้มีข้อผิดระเบียบอย่างใดไม่ คำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาที่ว่า ฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.338/2560 ของศาลจังหวัดพัทยาหรือไม่ เห็นว่า คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.338/2560 ของศาลจังหวัดพัทยา จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทและเรียกค่าเสียหายอ้างว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อคืนโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระราคาและรับโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 1 ยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท จึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 เสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้กรรมสิทธิ์ติดตามและเอาคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของตนจากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตลอดจนสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่จะใช้สอยทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ส่วนคำร้องสอดของโจทก์ที่ยื่นเข้าไปขณะคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาอ้างว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม และจำเลยที่ 2 กับสามีซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้กระทำการโดยไม่สุจริต โดยมีคำขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่าคำร้องสอดของโจทก์ตั้งข้อพิพาทเป็นปฏิปักษ์กับทั้งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์และจำเลยในคดีดังกล่าว มีผลให้คดีตามคำร้องสอดของโจทก์มีลักษณะเป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลแล้ว แม้ศาลจังหวัดพัทยาจะจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลในคดีนี้ ก็ถือว่าคดีตามคำร้องสอดของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดพัทยา การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ โดยมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องเดียวกันกับคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีหมายเลขดำที่ 338/2560 ของศาลจังหวัดพัทยา ซึ่งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่? เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อนได้

แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมบ้านเลขที่ 176 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร และขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการให้โจทก์เป็นผู้ทำการรื้อถอนโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 78,000 บาท แก่โจทก์ และค่าเสียหายเดือนละ 100,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยรับว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องและยินยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมบ้านเลขที่ 176 ดังกล่าวรวมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546 หากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์เข้าทำการรื้อถอนได้ทันทีโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนให้โจทก์ 100,000 บาท และจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหาย 60,000 บาท แก่โจทก์โดยแบ่งชำระเป็นงวด งวดละเดือน เดือนละ 20,000 บาท เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 12 มีนาคม 2546 หากผิดนัดยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีและค่าเสียหายวันละ 3,000 บาท จนกว่าโจทก์จะทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสร็จสิ้น ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว

ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดอ้างว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร ผู้ร้องกับพวกได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยขอให้บังคับโจทก์และจำเลยไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยผู้เช่าเป็นผู้ร้องกับพวกและให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องกับพวกมีกำหนด 5 ปี ตามคดีหมายเลขดำที่ 208/2546 ของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยสมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทก่อนที่คดีหมายเลขดำที่ 208/2546 จะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อยังให้ได้รับความรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ

ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำร้องสอดของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ผู้ร้องขอเข้ามาในคดีนี้โดยอ้างสิทธิว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ ขอให้โจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาเช่าที่ดินพิพาท ถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะโจทก์ ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) และผู้ร้องไม่เป็นคู่ความในคดีจึงไม่มีสิทธิร้องขอเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ ค่าคำร้องให้เป็นพับ

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า คำร้องสอดของผู้ร้องเป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 208/2546 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ โดยผู้ร้องฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องได้ยกประเด็นปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ นั้น เห็นว่า ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน และเห็นว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องกับพวกแต่งตั้งจำเลยให้เป็นตัวแทนทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร แต่จำเลยมีปัญหาขัดแย้งกับผู้ร้องและพวก ผู้ร้องกับพวกได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 208/2546 ของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยทั้งสอง (โจทก์และจำเลยคดีนี้) ไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 (จำเลยคดีนี้) ผู้เช่ากับจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ผู้ให้เช่าเป็นโจทก์ทั้งสี่ (ผู้ร้องกับพวก) ผู้เช่ากับจำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ผู้ให้เช่า และให้จำเลยที่ 2 (โจทก์คดีนี้) ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนด 5 ปี โจทก์และจำเลยจึงได้สมรู้ร่วมคิดกันฟ้องคดีนี้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดีหมายเลขดำที่ 208/2546 ของศาลชั้นต้น และนำหมายบังคับคดีไปบังคับให้ผู้ร้องกับพวกต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างร้านอาหารรวมทั้งขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้อง เพราะผู้ร้องมิได้เป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษา ดังนี้ เห็นได้ว่า แม้ผู้ร้องมีสิทธิที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยทั้งสองในคดีหมายเลขดำที่ 208/2546 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอดว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์เพื่อปลูกสร้างอาคารประกอบกิจการร้านอาหารมีกำหนด 5 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วให้สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นของโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนผู้ร้องกับพวกทำสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความ ได้ด้วยการร้องสอด
(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็น เพื่อยัง ให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา หรือเมื่อตน มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น
(2) ด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนมี คำพิพากษาขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้า แทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของ คู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย
(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคำขอของคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความ เช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคำสั่ง ของศาล เมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคำขอในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีศาล เห็นจำเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี เพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกบุคคลภาย นอกเข้ามาในคดีดั่งกล่าวแล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคำร้อง เพื่อให้หมาย เรียกพร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ หรือในเวลาใด ๆ ต่อมาก่อน มีคำพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคำร้อง นั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้

การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุ มาตรานี้ ต้องมีสำเนา คำขอ หรือคำสั่งของศาลแล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบ ไปด้วย

บทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้ในอัน ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดี ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 145 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมี คำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี

ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่ บุคคลภายนอก ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาล ด้วยก็ดี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 142(1) มาตรา 245 และ มาตรา 274 และในข้อต่อไปนี้
(1) คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือคำพิพากษาสั่งให้เลิกนิติบุคคล หรือคำสั่งเรื่องล้มละลายเหล่านี้ บุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิง หรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกก็ได้
(2) คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า

มาตรา 173 เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่ง สำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับ แต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ ส่งหมายนั้น

นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และ ผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น และ
(2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่นการเปลี่ยนแปลง ภูมิลำเนาของจำเลยการเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่ รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่

มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใด ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความ ที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

ผู้ร้องสอดยื่นฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  19938/2555
 
  ปรากฏตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสองว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างมีหน้าที่ร่วมกันและช่วยกันในการคุ้มครองดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าหัวนาหว้า ทรัพย์สินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว การดำเนินการตามหน้าที่ดังกล่าวของผู้ร้องสอดคนใดคนหนึ่งย่อมผูกพันผู้ร้องสอดอีกคนหนึ่งตามที่มีหน้าที่ร่วมกัน ผลแห่งคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 หมายเลขแดงที่ 1288/2549 ของศาลชั้นต้น ที่แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่ย่อมมีผลผูกพันถึงผู้ร้องสอดที่ 1 ด้วยเช่นกัน

  คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด

มาตรา 144  เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา 143
(2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา 53
(3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา 229 และ 247 และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา 254 วรรคสุดท้าย
(4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243
(5) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302
ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 16 และ 240 ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง

มาตรา 148  คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ




คำพิพากษาศาลฎีกา

ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนและสินสอดคือ
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ