ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

     

 ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ  เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและตามกฎหมายที่ดิน 

ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ บุกรุกที่ดินของรัฐ ความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง  บุกรุกที่ราชพัสดุเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามกฎหมายที่ดิน ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้อันมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550

การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว ยังเป็นความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐ อันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ อันมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลและใช้ประโยชน์ของกรมสวัสดิการทหารเรือกองทัพเรือ อันเป็นที่ดินของรัฐที่ใช้เพื่อประโยชน์ต่อแผ่นดินโดยเฉพาะ และจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครอง โดยจำเลยกับพวกเข้าไปขุด ถาง ปรับสภาพพื้นดินเป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 52 ตารางวา และปลูกสร้างบ้านพักอาศัย 1 หลัง พร้อมล้อมรั้วลวดหนามอันเป็นการเข้าไปรบกวนการครอบครองและถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร และโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 90, 362, 363, 365 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้จำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐด้วย

        จำเลยให้การรับสารภาพ

        ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365 (2) (3) ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง และวรรคสี่ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) (3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี และปรับ 6,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้จำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐด้วย

           จำเลยอุทธรณ์

           ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ประกอบด้วยมาตรา 362, 83 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี และปรับ 6,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 3,000 บาท ข้อหาอื่นและคำขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้จำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐนั้นให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

             โจทก์ฎีกา
             ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้จำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือ นอกจากจำเลยจะมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง และบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น”

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและให้จำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

( ธนัท วิรบุตร์ - สิทธิชัย รุ่งตระกูล - ประเสริฐ วิริยสิทธาวัฒน์ )

        หมายเหตุคำพิพากษาฎีกา

การเข้าไปขุด ถาง ปรับสภาพพื้นดิน และปลูกบ้านพักอาศัยพร้อมล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ของตนเอง ตามแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาได้แยกวินิจฉัยไว้ชัดเจนว่าหากเป็นที่ดินของเอกชนหรือที่รัฐครอบครองทำประโยชน์อยู่เป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. แต่ถ้าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็จะมีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง กล่าวคือ จะผิดกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งเท่านั้น เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539 ความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 กฎหมายมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง

ในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 กับความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาโดยที่ไม่มีคู่ความยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัย แต่ศาลฎีกาเห็นว่ามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

แต่คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้วินิจฉัยคดีแตกต่างจากแนวคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) กับความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องพิจารณาว่าคำพิพากษาศาลฎีกาแนวใดชอบด้วยหลักกฎหมาย

       ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครองหรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(1) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
(2) ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือ
(3) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
        จากบทบัญญัติดังกล่าวห้ามประชาชนทั่วไปเข้าไปยุ่งในที่ดินของรัฐ คงมีปัญหาว่าที่ดินของรัฐ หมายความว่าอย่างไร คงไม่ได้หมายความว่าหากมิใช่เป็นของเอกชนแล้วจะต้องเป็นที่ดินของรัฐไปหมด ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้เป็นแนวแล้วว่าหากเป็นสถานที่ราชการซึ่งมีลักษณะการครอบครองเช่นเดียวกับที่ดินของเอกชน ผู้กระทำความผิดก็มีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2517 ส่วนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินผู้กระทำความผิดก็มีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ เช่น คำพิพากษาที่กล่าวมาข้างต้น คงมีข้อพิจารณาว่าที่ราชพัสดุเป็นที่ดินประเภทใด

พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า ที่ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติตบุคคลและขององค์การการปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ
    จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่าที่ราชพัสดุนั้นเป็นที่ดินของรัฐทั้งหมดที่ประชาชนมิได้ใช้ร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ ที่ราชพัสดุน่าจะหมายถึงที่ดินที่หน่วยงานของรัฐครอบครองเช่นเดียวกันกับที่ดินของเอกชน ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 ดังนั้น ผู้กระทำจึงไม่มีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ เมื่อเทียบกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุแล้ว จำเลยน่าจะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แต่เพียงบทเดียว หาเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ แต่อย่างใด
              ศิริชัย วัฒนโยธิน

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 18 โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
(1) ประหารชีวิต
(2) จำคุก
(3) กักขัง
(4) ปรับ
(5) ริบทรัพย์สิน
โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
            ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี
มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อ กฏหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้ กระทำความผิด

      มาตรา 362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไป กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา 363 ผู้ใดเพื่อถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตน หรือของบุคคลที่สาม ยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครอง ของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะ ห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 362 มาตรา 363 หรือ มาตรา 364 ได้กระทำ
(1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(2) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป หรือ
(3) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 9 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(1) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
(2) ทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือ
(3) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน

มาตรา 108 ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        ถ้าความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำแก่ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคสองได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินกว่าห้าสิบไร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     ในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำความผิดออกไปจากที่ดินนั้นด้วย
       บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใดๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดดังกล่าว ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์  พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258  สำนักงานพีศิริ ทนายความ
 




คำพิพากษาศาลฎีกา ปรึกษาโทร0859604258

ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ฟ้องซ้อนปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ดอกผลนิตินัย
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่