ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

 ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม,ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม

 หลังจากจำเลยฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยได้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม โดยได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงผู้บังคับบัญชาของผู้ตาย การกระทำความผิดฐานดังกล่าวได้กระทำขึ้นหลังจากการตาย ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ทำให้บิดาผู้ตายซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายไม่อาจจัดการแทนผู้ตายและเป็นโจทก์ร่วมได้

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236 - 2237/2550

 ความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม เป็นความผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ปลอมและใช้เอกสารปลอมตามฟ้อง แม้จำเลยจะปลอมหนังสือของผู้ตายส่งไปถึงนายแพทย์อำนวยการโรงพยาบาล บ. ว่า ผู้ตายขอลาการปฏิบัติงานแล้วลงชื่อปลอมของผู้ตายในหนังสือดังกล่าว และจำเลยได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงนาย ช. กับนางสาว ก. บุตรชายและบุตรสาวของผู้ตายว่า ผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารปลอมนั้นผู้ตายได้ทำขึ้นจริง ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ตาม ในกรณีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ทั้งความผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจะจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2)

การเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้หรือไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

ความผิดฐานซ่อนเร้น ทำลายศพผู้ตาย เพื่อปิดบังการตายและความผิดฐานปลอมเอกสารกับฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยจำคุกกระทงละ 1 ปี ดังนั้น ความผิดทั้งสองกระทงดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 2 นำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดทั้งสองกระทงดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

จำเลยนัดหมายให้ผู้ตายไปพบและรับประทานอาหารร่วมกันที่ร้านอาหารโดยจำเลยแอบอ้างหลอกลวงผู้ตายเรื่องนัดพบช่างที่จะไปซ่อมแซมบ้านพักผู้ตายระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกัน จำเลยลอบนำยานอนหลับที่สั่งซื้อไว้ก่อนหน้านี้ใส่ลงในอาหารหรือเครื่องดื่มให้ผู้ตายรับประทานหรือดื่มจนผู้ตายมีอาการสะลึมสะลือครองสติไม่ได้ หลังจากนั้นจำเลยได้พาผู้ตายไปยังอาคารที่จำเลยจัดเตรียมเปิดห้องพักรอไว้ เพื่อทำการหน่วงเหนี่ยวให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แล้วจำเลยลงมือฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จำเลยวางแผนไว้ จากนั้นจำเลยได้ชำแหละแยกศพผู้ตายออกเป็นชิ้นเล็กๆ บางส่วนทิ้งลงในชักโครกของห้องพักในอาคาร บางส่วนนำไปทิ้งในโถชักโครกของโรงแรมในวันรุ่งขึ้น เพื่อปิดบังการตายของผู้ตาย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกายและฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน 

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์สำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกโจทก์สำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 2 และเรียกจำเลยทั้งสองสำนวนว่า จำเลย

โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199, 264, 268, 309, 310, 288, 289, 90, 91, 32, 33 ริบจดหมายและซองจดหมายของกลาง

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องสำนวนแรกแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
 จำเลยให้การปฏิเสธทั้งสองสำนวน

ระหว่างพิจารณาโจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ที่ 2 ในความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมในสำนวนหลัง ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199, 264 วรรคแรก, 268 วรรคสอง (ที่ถูกมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก), 310 วรรคแรก, 289 (4) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้ลงโทษตามมาตรา 199 จำคุก 1 ปี ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคสอง ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก (ที่ถูกให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 264 วรรคแรก แต่กระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง) จำคุก 1 ปี ความผิดตามมาตรา 310 วรรคแรก และมาตรา 289 (4) เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 289 (4) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษประหารชีวิต เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียว ริบจดหมายและซองจดหมายของกลาง

 จำเลยอุทธรณ์ทั้งสองสำนวน

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกาทั้งสองสำนวน

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยนำสืบรับกันและที่จำเลยรับในฎีกาฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบิดาของผู้ตาย จำเลยและผู้ตายเป็นสามีภริยากันโดยจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2524 ผู้ตายทำงานเป็นแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ส่วนจำเลยรับราชการเป็นแพทย์อยู่ที่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสมรสกันแล้วจำเลยและผู้ตายอยู่กินด้วยกันที่บ้านพักแพทย์ภายในโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นาย ช. และนางสาว ก. ครั้นปลายปี 2541 ผู้ตายและจำเลยเริ่มขัดแย้งกันโดยผู้ตายเข้าใจว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงอื่นซึ่งเป็นคนไข้ของจำเลย เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2542 ผู้ตายทำบันทึกตามเอกสารหมาย จ.136 ให้จำเลยลงชื่อรับรองว่าจำเลยจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับหญิงคนดังกล่าวอีก วันที่ 27 พฤษภาคม 2542 ผู้ตายจดทะเบียนยกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2321 ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ 41 ไร่เศษ ซึ่งเดิมมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของให้เป็นสิทธิของจำเลย วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 จำเลยย้ายออกจากบ้านพักไปอาศัยอยู่ที่อื่น และให้ผู้ตายอยู่อาศัยกับบุตรที่บ้านพักแพทย์ตามเดิม แต่จำเลยจะไปรับบุตรทั้งสองในเวลาเช้าเพื่อไปส่งที่โรงเรียนทุกวัน สำหรับผู้ตายจะไปรับบุตรทั้งสองจากโรงเรียนกลับบ้านในเวลาเย็น ช่วงระหว่างที่แยกกันอยู่ผู้ตายกับจำเลยยังคงมีเรื่องขัดแย้งกัน โดยจำเลยเขียนจดหมายลงวันที่ 18 มกราคม 2543 ด่าว่าผู้ตายที่ไม่ยอมหย่าขาดจากจำเลยและเรื่องสินสมรส จำเลยเคยใช้เหล็กดัมเบลล์ทุบรถยนต์ผู้ตายเสียหาย ผู้ตายไปแจ้งความเป็นหลักฐานไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2543 ครั้นวันที่ 29 สิงหาคม 2543 จำเลยฟ้องผู้ตายที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเพื่อขอหย่าและแบ่งสินสมรส ผู้ตายให้การต่อสู้คดี และผู้ตายได้ฟ้องจำเลยขอเพิกถอนการยกให้ที่ดินที่จังหวัดเชียงรายเป็นอีกคดีหนึ่ง ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางทำการไกล่เกลี่ยในที่สุดจำเลยได้ถอนฟ้องคดีที่ฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ผู้ตายไปแจ้งความเป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อว่าจำเลยไปถ่ายรูปบ้านพักของผู้ตายโดยไม่ทราบวัตถุประสงค์ หลังจากนั้นผู้ตายกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ในคดีที่ผู้ตายฟ้องขอเพิกถอนการยกให้ที่ดินที่จังหวัดเชียงราย โดยตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนให้ผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 2321 ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ภายใน 15 วัน และผู้ตายกับจำเลยจะร่วมกันไปตรวจทรัพย์สินที่ผู้ตายเก็บไว้ในตู้นิรภัยของธนาคาร ครั้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 จำเลยกับผู้ตายไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันที่ร้านอาหารโออิชิซึ่งอยู่ที่ชั้นที่ 2 ของศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วจำเลยกับผู้ตายเดินออกจากร้านอาหารไปด้วยกัน หลังจากนั้นผู้ตายหายไป โดยไม่มีผู้ใดพบเห็นผู้ตายอีก ในวันเดียวกันนั้นจำเลยเปิดห้องพักเลขที่ 318 อาคารวิทยนิเวศน์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันรุ่งขึ้นเวลา 11 นาฬิกา จำเลยคืนห้องพักเลขที่ 318 ดังกล่าว และในวันเดียวกันนั้นเองจำเลยไปเปิดห้องพักเลขที่ 1631 โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ตามที่ได้จองไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 ครั้นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2544 เวลา 6 นาฬิกาเศษ จำเลยคืนห้องพักเลขที่ 1631 และในวันเดียวกันจำเลยได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรว่าผู้ตายไม่ไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์เวรในวันที่ 21 ที่ผ่านมา จำเลยจึงไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจนครบาลพญาไท เรื่องผู้ตายหายไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรได้รับจดหมาย 2 ฉบับ ประทับตราไปรษณีย์ส่งมาจากจังหวัดจันทบุรี ข้อความในจดหมายพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ฉบับแรกลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 มีลายมือชื่อผู้ตายถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอลาหยุดงาน 15 วัน ฉบับที่สองลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2544 ลงท้ายจดหมายว่า “ม๊า” แต่ไม่ลงลายมือชื่อโดยมีข้อความจากผู้ตายถึงบุตรทั้งสองว่าผู้ตายจะไปฝึกจิตใจนั่งสมาธิประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับลายมือชื่อผู้ตายในจดหมายฉบับแรกเจ้าพนักงานตำรวจส่งไปตรวจที่กองพิสูจน์หลักฐานเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้ตาย ปรากฏว่าลายมือชื่อดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย วันที่ 11 มีนาคม 2544 โจทก์ที่ 1 ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตาย วันที่ 23 มีนาคม 2544 เจ้าพนักงานตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจค้นอาคารวิทยนิเวศน์ พบคราบโลหิตบริเวณห้องน้ำในห้องพักเลขที่ 318 และพบชิ้นเนื้อลักษณะคล้ายเนื้อมนุษย์จำนวนหนึ่งในบ่อพักสิ่งปฏิกูล (บ่อเกรอะ) จึงยึดไปตรวจพิสูจน์ ซึ่งเจ้าพนักงานกองพิสูจน์หลักฐานรายงานผลการตรวจในวันที่ 24 มีนาคม 2544 ว่าคราบโลหิตและชิ้นเนื้อที่ตรวจพบมีดี เอ็น เอ แบบเดียวกับผู้ตาย เจ้าพนักงานตำรวจจึงดำเนินคดีแก่จำเลยเพิ่มเติมฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จำเลยเข้ามอบตัวและให้การปฏิเสธทุกข้อหา ครั้นวันที่ 26 มีนาคม 2544 เจ้าพนักงานตำรวจกองพิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจบ่อบำบัดน้ำเสียจากโรงแรมโซฟิเทล บ่อที่ 25 และ 26 ซึ่งเป็นบ่อพักสิ่งปฏิกูลที่ไหลมาจากห้องที่จำเลยเข้าพัก และสามารถตรวจพบชิ้นเนื้อลักษณะคล้ายเนื้อมนุษย์อีกจำนวนหนึ่ง จึงยึดไว้เพื่อให้กองพิสูจน์หลักฐานและสถาบันนิติเวชวิทยาตรวจพิสูจน์ สำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม ในสำนวนหลังเป็นความผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ปลอมและใช้เอกสารปลอมตามฟ้อง แม้จำเลยจะปลอมหนังสือของผู้ตายส่งไปถึงนายแพทย์อำนวยการโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรว่า ผู้ตายขอลาการปฏิบัติงานแล้วลงลายมือชื่อปลอมของผู้ตายในหนังสือดังกล่าว และจำเลยได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงนาย ช. กับนางสาว ก. บุตรชายและบุตรสาวของผู้ตายว่าผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารปลอมนั้นผู้ตายได้ทำขึ้นจริง ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ตาม ในกรณีนี้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ทั้งความผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจะจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) ด้วย ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ที่ 2 ในความผิดดังกล่าวในสำนวนหลังตามคำร้องของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และความผิดฐานซ่อนเร้น ทำลายศพผู้ตายเพื่อปิดบังการตายในสำนวนแรก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 ไม่อาจมีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 1 ไม่อุทธรณ์ในข้อนี้ ความผิดที่โจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ในความผิดดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ยังมิได้แก้ไขในข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ส่วนกระทงความผิดฐานซ่อนเร้น ทำลายศพผู้ตายเพื่อปิดบังการตายในสำนวนหลังและกระทงความผิดฐานปลอมเอกสารกับฐานใช้เอกสารปลอม ซึ่งต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวในสำนวนหลังนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยจำคุกกระทงละ 1 ปี ดังนั้น ความผิดทั้งสองกระทงดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 2 นำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดทั้งสองกระทงดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกายและฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองด้วยหรือไม่ ...สรุปแล้วพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำสืบมาแม้ส่วนใหญ่จะเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี แต่ก็มีความสอดคล้องต้องกัน และมีเหตุผลต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นลำดับ เมื่อพิจารณาประกอบกับพฤติการณ์อันเป็นข้อพิรุธหลายประการของจำเลยดังได้วินิจฉัยมาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 ก่อนเที่ยงวัน จำเลยนัดหมายให้ผู้ตายไปพบและรับประทานอาหารร่วมกันที่ร้านอาหารโออิชิในศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ โดยจำเลยแอบอ้างหลอกลวงผู้ตายเรื่องนัดพบช่างชื่อสุธีที่จะไปซ่อมแซมบ้านพักผู้ตาย ระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกัน จำเลยลอบนำยานอนหลับดอร์มิคุ่มที่สั่งซื้อไว้ก่อนหน้านี้ใส่ลงในอาหารหรือเครื่องดื่มให้ผู้ตายรับประทานหรือดื่มจนผู้ตายมีอาการสะลึมสะลือครองสติไม่ได้ หลังจากนั้นจำเลยได้พาผู้ตายไปยังอาคารวิทยนิเวศน์ที่จำเลยจัดเตรียมเปิดห้องพักรอไว้เพื่อทำการหน่วงเหนี่ยวให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แล้วจำเลยลงมือฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่จำเลยวางแผนไว้ จากนั้นจำเลยได้ชำแหละแยกศพผู้ตายออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ บางส่วนทิ้งลงในโถชักโครกของห้องพักในอาคารวิทยนิเวศน์ บางส่วนนำไปทิ้งในโถชักโครกของโรมแรมโซฟิเทลในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อปิดบังการตายของผู้ตาย พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้ตายปราศจากเสรีภาพในร่างกายและฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น”

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอมในสำนวนหลัง และยกฟ้องโจทก์ที่ 1 สำหรับความผิดฐานซ่อนเร้น ทำลายศพผู้ตาย หรือปิดบังเหตุแห่งการตายในสำนวนแรก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

หมายเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม มีข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องผู้เสียหายอยู่สองประการ คือ ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสาร ตามมาตรา 5 (2)

ประเด็นเรื่องผู้เสียหายที่แท้จริงนั้น การพิจารณาว่าบุคคลใดจะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหรือโดยตรงในความผิดฐานใดนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ
1. มีการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งเกิดขึ้น
2. บุคคลนั้นต้องได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาฐานนั้น
3. จะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

ความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 มีองค์ประกอบความผิดซึ่งเป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำว่า "ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน" ดังนั้น คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดที่เกี่ยวกับการปลอมเอกสาร นอกจากจะมุ่งคุ้มครองประชาชนหรือรัฐมิให้ได้รับความเสียหายจากการปลอมหรือใช้เอกสารปลอมแล้ว ยังมุ่งคุ้มครองเอกชนที่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับการปลอมเอกสารได้เช่นเดียวกัน

คดีนี้จำเลยปลอมหนังสือของผู้ตายส่งถึงแพทย์อำนวยการโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรว่า ผู้ตายขอลาการปฏิบัติงานเป็นเวลา 15 วัน แล้วลงชื่อปลอมของผู้ตายในหนังสือดังกล่าว และจำเลยได้ปลอมจดหมายของผู้ตายส่งไปถึงบุตรชายและบุตรสาวของผู้ตายว่า ผู้ตายต้องไปฝึกสมาธิ มีข้อความลงท้ายจดหมายว่า "ม๊า" เพื่อให้นายแพทย์อำนวยการโรงพยาบาลรวมทั้งบุตรของผู้ตายหลงเชื่อว่า เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวผู้ตายเป็นผู้จัดทำขึ้น การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร รวมทั้งบุตรของผู้ตายที่ได้รับจดหมายอันเกิดจากการทำปลอมขึ้นของจำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แล้ว ส่วนโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้เป็นบิดาของผู้ตายก็ตาม แต่จดหมายที่จำเลยทำปลอมขึ้นมิได้ส่งถึงโจทก์ที่ 1 รวมทั้งไม่มีข้อความตอนใดในเอกสารเกี่ยวข้องหรือพาดพิงไปถึงตัวโจทก์ที่ 1 เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม ศาลฎีกาย่อมยกคำร้องของโจทก์ที่ 1

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีคำพิพากษาฎีกาที่นำมาเทียบเคียงได้ คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 3732/2525 วินิจฉัยว่า จำเลยร่วมกันปลอมใบมอบอำนาจของเจ้าของที่ดินขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อในใบมอบอำนาจได้รังวัดไต่สวนแล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของโจทก์ ดังนี้ ผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับการปลอมใบมอบอำนาจคือเจ้าของที่ดิน เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารนั้น แต่ข้อความในเอกสารไม่เกี่ยวถึงตัวโจทก์เลย การเสียที่ดินไปเป็นเรื่องการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีการนำชี้ทับที่ดินของโจทก์เป็นคนละกรณีกับการปลอมใบมอบอำนาจ

สำหรับประเด็นเรื่องผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) บัญญัติว่า "บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้..." บทบัญญัติมาตราดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การที่จะมีผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดฐานใดจะต้องมีผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานนั้นๆ เสียก่อน คดีนี้ปรากฏว่าจำเลยได้ปลอมเอกสารของผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว ผู้ตายย่อมไม่อาจเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) เนื่องจากไม่มีสภาพบุคคล โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาได้ให้เหตุผลในคำพิพากษาว่า "ทั้งความผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายไม่อาจเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวได้ จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2)" จึงทำให้มีข้อน่าคิดว่า หากจำเลยทำการปลอมหนังสือของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ส่งถึงโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร และบุตรทั้งสองของจำเลยและผู้ตาย จะถือว่าผู้ตายเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมดังกล่าวหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้เอกสารทั้งสองฉบับไม่ได้ส่งถึงผู้ตายก็ตาม แต่ข้อความแห่งเอกสารซึ่งจำเลยทำปลอมขึ้นนั้นมีข้อความเกี่ยวข้องถึงผู้ตายโดยตรง มีผลทำให้บุคคลที่ได้รับเอกสารหลงเชื่อว่าผู้ตายเป็นผู้ทำเอกสารดังกล่าวขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ตาย ผู้ตายย่อมเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) หากต่อมาภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 จะมีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) โดยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) กำหนดให้บุพการีมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายก็เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้เท่านั้น โจทก์ที่ 1 แม้จะเป็นบุพการีของผู้ตายก็ตาม แต่เงื่อนไขประการสำคัญของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวกำหนดให้มีอำนาจจัดการแทนเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ซึ่งความผิดฐานนั้นๆ ผู้เสียหายจะต้องถูกจำเลยทำร้ายหรือถูกฆ่าจนถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถดำเนินคดีด้วยตนเองได้ กฎหมายจึงบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายให้มีบุคคลเข้ามาดำเนินคดีแทนในความผิดที่ถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บดังกล่าว ในทางกลับกัน ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ไม่ใช่ความผิดที่จำเลยเป็นผู้ทำร้ายผู้เสียหายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้อันอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดให้มีบุคคลเข้ามาจัดการแทนแต่เป็นความผิดที่เกิดขึ้นแล้วต่อมาภายหลังผู้เสียหายได้ถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกจำเลยฆ่าตายอันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขที่บุพการีจะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ตามบทบัญญัติในมาตรา 5 (2) แห่ง ป.วิ.อ. (มีคำพิพากษาฎีกาเทียบเคียง คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 3879/2546 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายเตะและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำโดยทารุณโหดร้ายและให้ลงโทษจำเลยสถานหนัก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยเนื่องจากเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15)

 กสิชล ว่องไวชล

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

 มาตรา 268 ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือ มาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ

ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

มาตรา 289 ผู้ใด
(1) ฆ่าบุพการี
(2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุ ที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำ ตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงาน ดังกล่าวแล้ว
(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการ ที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อ หลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทำไว้
ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต

มาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการ ใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกัก ขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตายหรือรับอันตราย สาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 290 มาตรา 297 หรือ มาตรา 298 นั้น 




คำพิพากษาศาลฎีกา

ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนและสินสอดคือ
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน