ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




บุตรผู้เยาว์ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้

 บิดาจะจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

 บิดาจะจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13745/2553 
 
ตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วยนั้น มีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาอันเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะตัว อย่างไรก็ตามการที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอม ก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้เท่านั้น เมื่อโจทก์เคยไปติดต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเพียง 7 ปี เป็นบุตรของตน แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามระเบียบ แต่เจ้าพนักงานแจ้งโจทก์ว่าต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองก่อน และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 มารดาของจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 มีหนังสือตอบปฏิเสธและจำเลยที่ 2 อยู่ในวัยไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้จึงเป็นที่เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การที่จะให้โจทก์ไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสือเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่า โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
 
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ด.ญ. ม.หรือ ณ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
 
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ จำเลยที่ 2 ต่อมาปี 2545 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้แยกทางกัน แต่โจทก์ยังคงจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ต้นเดือนพฤษภาคม 2551 โจทก์ไปติดต่อที่สำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนรับรองบุตร โดยไม่ได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือ แต่เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตดุสิตปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าต้องนำตัวจำเลยทั้งสองมาให้ความยินยอม โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 เพื่อนำจำเลยที่ 2 ไปให้ความยินยอม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วได้ให้ทนายความมีหนังสือตอบปฏิเสธไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนเป็นบุตร โจทก์จึงฟ้องคดีนี้โดยไม่ได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเขตเป็นหนังสือแต่ประการใด
 
มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก" วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่า เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย ให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน" และวรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" เห็นว่า ตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมายบิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วย ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจะให้ความยินยอมแทนไม่ได้ การที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอมก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เคยไปติดต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อจดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งอายุเพียง 7 ปีเศษ เป็นบุตรของตนแม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามระเบียบ แต่เจ้าพนักงานแจ้งว่าต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยทั้งสองก่อน และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 มารดาของจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 กลับให้ทนายความมีหนังสือตอบปฏิเสธดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งจำเลยที่ 2 อายุเพียง 7 ปีเศษ ยังไร้เดียงสา ดังนั้น การที่โจทก์จะไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสืออีกเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ทั้งสิทธิของจำเลยที่ 2 อันจะพึงได้รับต้องเนิ่นนานออกไป พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น
 
ปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อมาว่า โจทก์มีสิทธิขอให้จดทะเบียนว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 จะคัดค้านและจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะให้ความยินยอมได้ แต่การคัดค้านจะต้องคัดค้านว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่บุตรของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้จดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นว่า ให้โจทก์จดทะเบียนว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

 ตามเจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก โดยทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วยนั้น มีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาอันเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นเรื่องเฉพาะตัว




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ท้ายฟ้องแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย
ความเสียหายไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
การคืนเงินค่าหุ้นในภาวะขาดทุนตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์
การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01
อำนาจฟ้องขณะยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
อำนาจพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559
การกระทำโดยสำคัญผิด
ผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารเพื่อสนองความใคร่ของตนเอง
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ความผิดฐานรับของโจรได้ต้องมีการลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว
ภาษีให้กู้ยืมเงินไม่มีค่าตอบแทน
กฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา
ลูกหนี้ค้างจ่ายสรรพากรโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์
สำนักงานทนายความ รับปรึกษากฎหมาย 0859604258
ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำนิยามศัพท์
อำนาจฟ้องคดี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คฝ่ายผู้ต้องเสียในมูลหนี้
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี
โอนที่ดินเพื่อให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
โอนที่ดินตามคำพิพากษาเป็นการขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สิทธิหักลดหย่อนสำหรับบุตรซึ่งเกิดจากภริยาเดิม
รับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์
คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ขาดคุณสมบัติรับราชการเรียกเงินเดือนคืนได้หรือไม่?
ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลอาคารชุดมีประโยชน์ได้เสียขัดกัน
ทำหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้า จำเลยนำไปทำจำนอง ฟ้องเพิกถอน
สนามกอล์ฟต้องเสียภาษีโรงเรือนหรือไม่?
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
ใบมอบฉันทะที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากร
ภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ - เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
การซื้อรถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงอากรมีความผิดถูกจำคุก 4 ปี
คำสั่งขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต้องมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ความสำคัญผิดในตัวบุคคล กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด article
ศาลต้องยกฟ้อง หรือจำหน่ายคดี
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม
สิทธิเรียกร้องคืออะไร การบังคับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ได้รับโอน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
ระบอบการเมืองการปกครอง
เริ่มต้นคดีด้วยการใช้กฎหมายอิสลามแต่มีผู้คัดค้านนับถือศาสนาพุทธ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน-พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
จัดทำและส่งเป็นงบการเงินโดยมีเจตนาเพื่อลวง
ใบจอง (น.ส. 2)