ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี

 ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี

 ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี

เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ห้ามผู้มีหน้าที่เสียภาษีอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  703/2552

      เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 มีหนังสือเชิญหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบ แต่โจทก์อ้างว่ายังรวบรวมเอกสารไม่เสร็จ จึงไม่ได้ไปพบโดยมิได้แจ้งพนักงานของจำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบเพื่อให้ถ้อยคำประกอบการตรวจสอบไต่สวนและให้นำเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไปส่งมอบ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้โทรศัพท์ไปขอเลื่อนนัดถึง 3 ครั้ง โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงานบัญชีเกี่ยวกับเอกสารที่จะต้องนำไปส่งมอบ เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียก แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบหรือส่งมอบเอกสารแต่อย่างใด หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหนังสือเชิญพบอีก 2 ครั้ง เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบภาษี แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบ พฤติการณ์ของโจทก์ที่เพิกเฉย เป็นการไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามมาตรา 88 (3) แม้โจทก์นำส่งเอกสารในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ก็เป็นคนละขั้นตอนกับในชั้นตรวจสอบ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังโจทก์การประเมินจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 88/5

 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 2010060/5/103891 ถึง 103914 จำนวน 24 ฉบับ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ ส.ภ.2/อธ.1/30.2/21/2547 และให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์

 จำเลยทั้งสี่ให้การขอให้ยกฟ้อง

 ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่า ให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 2010060/5/103891 ถึง 103914 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.2/อธ.1/30.2/21/2547 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

  จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2544 โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ค.10) เป็นเงินสดต่อเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2544 และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 ได้เข้าตรวจปฏิบัติการ ณ สถานประกอบการของโจทก์ และวันที่ 19 มีนาคม 2545 เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ส่งหนังสือเชิญหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 10 เมษายน 2545 ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2545 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียก ให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เวลา 10 นาฬิกา เพื่อให้ถ้อยคำประกอบการตรวจสอบไต่สวน และให้นำเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานประเมินด้วย แต่ก่อนถึงวันนัดนางสาวนิศากร ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้โทรศัพท์ขอเลื่อนนัดและหลังจากนั้นได้โทรศัพท์ขอเลื่อนนัดอีก 2 ครั้ง ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2545 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหนังสือเตือน ให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 เวลา 10 นาฬิกา พร้อมนำเอกสารหลักฐานไปส่งมอบด้วย หลังจากนั้น วันที่ 24 มีนาคม 2546 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหนังสือเชิญให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบเจ้าพนักงานประเมินในวันที่ 4 เมษายน 2546 เวลา 10 นาฬิกา เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบภาษีอากร และวันที่ 21 เมษายน 2546 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหนังสือเชิญครั้งที่ 2 เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบภาษีอากร ต่อมาวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 นางสาวนิศากรได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อและสำเนาใบกำกับภาษีขายกับเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เห็นว่า ในการตรวจปฏิบัติการ ณ สถานประกอบการของโจทก์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2544 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้แจ้งให้โจทก์นำส่งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มและเอกสารทางทะเบียนของโจทก์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่มาพบหรือส่งมอบเอกสารแต่อย่างใด ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ไปที่สถานประกอบการของโจทก์เพื่อตรวจปฏิบัติการครั้งที่ 2 แต่สถานประกอบการของโจทก์ปิด และไม่มีเจ้าหน้าที่ของโจทก์อยู่ จากนั้นวันที่ 19 มีนาคม 2545 เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ส่งหนังสือเชิญหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 10 เมษายน 2545 แต่โจทก์อ้างว่ายังรวบรวมเอกสารไม่เสร็จ จึงไม่ได้ไปพบโดยมิได้แจ้งให้เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2545 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เพื่อให้ถ้อยคำประกอบการตรวจสอบไต่สวน และให้นำเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไปส่งมอบ ก็ปรากฏว่านางสาวนิศากรผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้โทรศัพท์ไปขอเลื่อนนัดถึง 3 ครั้ง โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงานบัญชีเกี่ยวกับเอกสารที่จะต้องนำไปส่งมอบ แต่นางสาวนิศากรก็มิได้ไปพบหรือส่งมอบเอกสารต่อเจ้าพนักงานประเมิน วันที่ 29 ตุลาคม 2545 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียก โดยให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบหรือส่งมอบเอกสารต่อเจ้าพนักงานประเมินแต่อย่างใด และนางสาวนิศากรผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ก็เบิกความรับว่า ได้ไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 ภายหลังจากกำหนดวันนัด แต่ไม่พบนางสาวพิศมัย เจ้าพนักงานสรรพากรผู้รับผิดชอบ โดยในวันดังกล่าวนางสาวนิศากรได้นำเพียงหนังสือรับรองของโจทก์ไปแสดง ส่วนเอกสารอื่นอ้างว่าอยู่ระหว่างการรวบรวมยังไม่แล้วเสร็จ หลังจากนั้นวันที่ 24 มีนาคม 2546 เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหนังสือเชิญพบเพื่อรับทราบผลการตรวจสอบภาษีอากรให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 4 เมษายน 2546 แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบ ต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2546 เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือเชิญพบครั้งที่ 2 ให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบในวันที่ 28 เมษายน 2546 แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่ไปพบ พฤติการณ์ของโจทก์ที่เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามกำหนดเวลาและไม่ส่งมอบบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอันควรแก่เรื่องให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อทำการตรวจสอบ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 (3) แม้โจทก์นำส่งเอกสารหลักฐานในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ก็เป็นคนละขั้นตอนกับในชั้นตรวจสอบ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ การประเมินดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/5 การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ.
 

ป.รัษฎากร มาตรา 88(3), 88/5

มาตรา 88 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหมวดนี้ในเมื่อ
    (1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
    (2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้า โดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง
    (3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
    (4) ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อ หรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย พร้อมทั้งหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
    (5) ผู้ประกอบการไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
    (6) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/1 มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

มาตรา 88/5 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 88 หรือมาตรา 88/1 แล้ว ให้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 88/1 ในกรณีนี้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือบุคคลตามมาตรา 88/1 จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมิน เพราะเหตุตามมาตรา 88 (3) ห้ามมิให้อุทธรณ์ 




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร?, ข้อห้ามโอนสิทธิ ส.ป.ก., สิทธิการทำกินในที่ดิน ส.ป.ก., การใช้ที่ดินต่างดอกเบี้ยในเขต ส.ป.ก.
อำนาจนายกรัฐมนตรี คำสั่งน้ำมันเชื้อเพลิง, การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ความผิดฐานทำคำรับรองอันเป็นเท็จในงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้า
ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ. 2550 ต่อคดีอาญา
เสือสวนสัตว์หลุดกัดศีรษะโจทก์, ละเมิด, เรียกค่าสินไหมทดแทน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน-พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
จัดทำและส่งเป็นงบการเงินโดยมีเจตนาเพื่อลวง
ใบจอง (น.ส. 2)
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ท้ายฟ้องแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย
ความเสียหายไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
การคืนเงินค่าหุ้นในภาวะขาดทุนตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์
อำนาจฟ้องขณะยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
อำนาจพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559
การกระทำโดยสำคัญผิด
ผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารเพื่อสนองความใคร่ของตนเอง
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ความผิดฐานรับของโจรได้ต้องมีการลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว
ภาษีให้กู้ยืมเงินไม่มีค่าตอบแทน
กฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา
ลูกหนี้ค้างจ่ายสรรพากรโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์
บุตรผู้เยาว์ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้
สำนักงานทนายความ รับปรึกษากฎหมาย
ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำนิยามศัพท์
อำนาจฟ้องคดี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คฝ่ายผู้ต้องเสียในมูลหนี้
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
โอนที่ดินเพื่อให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
โอนที่ดินตามคำพิพากษาเป็นการขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สิทธิหักลดหย่อนสำหรับบุตรซึ่งเกิดจากภริยาเดิม
รับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์
คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ขาดคุณสมบัติรับราชการเรียกเงินเดือนคืนได้หรือไม่?
ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลอาคารชุดมีประโยชน์ได้เสียขัดกัน
ทำหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้า จำเลยนำไปทำจำนอง ฟ้องเพิกถอน
สนามกอล์ฟต้องเสียภาษีโรงเรือนหรือไม่?
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
ใบมอบฉันทะที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากร
ภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ - เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
การซื้อรถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงอากรมีความผิดถูกจำคุก 4 ปี
คำสั่งขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต้องมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ความสำคัญผิดในตัวบุคคล กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด article
ศาลต้องยกฟ้อง หรือจำหน่ายคดี
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม
สิทธิเรียกร้องคืออะไร การบังคับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ได้รับโอน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
ระบอบการเมืองการปกครอง
เริ่มต้นคดีด้วยการใช้กฎหมายอิสลามแต่มีผู้คัดค้านนับถือศาสนาพุทธ