

สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ศาลกับการพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐาน เมื่อเราดูรัฐธรรมนูญเราจะเห็นว่า สิทธิของบุคคลหลายประเภทได้ถูกบัญญัติให้ความคุ้มครองไว้ สิทธิเหล่านี้เขาเรียกกันว่าเป็น "สิทธิขั้นพื้นฐาน" (Fundamental right) การคุ้มครองสิทธิเหล่านี้ผลจะเป็นการจำกัดตัดรอนอำนาจของ องค์กรของรัฐไปในตัว การจำกัดตัดรอนอำนาจขององค์กรของรัฐโดยทั่วไปก็ได้แก่ การให้สถาบันตุลาการ เข้ามาตรวจสอบหรือกำกับอำนาจขององค์กรของรัฐที่เคยใช้ได้อย่างไร้ข้อจำกัด อย่างการออกหมายค้น แต่เดิมเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มีอำนาจออกหมายค้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปจัดการตามหมายได้ แต่เดี๋ยวนี้ทำไม่ได้แล้ว ทำได้เพียงไปยื่น คำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายค้นเท่านั้นเมื่อศาลออกหมายค้นแล้วจึงดำเนินการตรวจค้นได้ เป็นการตรวจค้นตามหมายค้นของศาล จะสังเกตเห็นว่า การจำกัดตัดรอนอำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐนี้ มีผลทำให้ศาลมีอำนาจมากขึ้นและบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ส่วนมากอยู่ในหมวดของรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยศาล หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมีศาลเข้ามาเกี่ยวข้องที่เป็นอย่างนี้อาจสงสัย--แต่ถ้าได้รู้ที่มาของบทบัญญัติรัฐัธรรมนูญเหล่านี้ รวมทั้งได้เข้าใจถึงความผูกพันระหว่าง สิทธิขั้นพื้นฐาน กับศาลแล้ว จะหมดข้อสงสัย สิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มีหลายเรื่อง เช่น เรื่อการจับ การคุมขัง การตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างการของบุคคล ทุกเรื่องล้วนเกี่ยวกับ สิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งสิ้น และทุกเรื่องต้องทำความเข้าใจจาก รากฐานทางทฤษฎี ในทางทฤษฎีการเมืองเขาอธิบายกันคือ ในสังคมย่อมมีความไม่เท่าเทียมกัน การปกครองในสังคมของระบบการเมืองการปกครองนั้น เพียงแต่ว่ามี "อำนาจ" (power) อย่างเดียวไม่สามารถรักษาระบบการเมืองการปกครองนั้นไว้ได้ ในการที่จะพยุงรักษารูปแบบของความไม่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าในเรื่องของอำนาจ โอกาสของชีวิตและสถานะต่าง ๆ ของผู้นำไว้อย่างมั่นคง จะต้องมีระบบของความคิดและคุณค่าที่แพร่กระจายปกแผ่ไปทั่วตลอดสังคมเพื่อที่จะสนับสนุนหรือสร้างความชอบธรรมให้แก่ความไม่เท่าเทียมกันดังกล่าวในการนี้รัฐบาลของทุกสังคมจึงพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากสถาบันการศึกษา การคมนาคม สื่อสาร และศาสนา ระบบความคิด ระบบคุณค่าอย่างนี้ที่เขาเรียกว่า "วัฒนธรรม" วัฒนธรรมที่เราคุ้นเคยกันคือ "ลัทธิประชาธิปไตย" ที่แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแต่ก่อนผู้ปกครองอาจอ้างอิงศาสนาหรือลัทธิประเพณี ข้ออ้างเหล่านี้เดี๋ยวนี้อ่อนกำลังลงไปแล้ว ตามหลักของ ลัทธิประชาธิปไตย สิ่งที่จะสร้างความชอบธรรมแก่ความไม่เท่าเทียมกันคือ "เจตจำนงของมหาชน" (Popular Will) สโลแกนของนักการเมืองที่ว่า เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ สโลแกนทำนองนี้เป็นสโลแกนที่อิง ลัทธิประชาธิปไตย ที่ถือผลประโยชน์ของเสียงข้างมากของสังคมเป็นสำคัญ ด้วยการแพร่หลายของลัทธิประชาธิปไตยนี้เอง เจตจำนงของมหาชน จึงถูกอ้างอิงอยู่เสมอ แม้เมื่อมีการยึดอำนาจหรือรัฐประหารก็อ้างเจตจำนงของมหาชน มีคำถามว่าเจตจำนงของมหาชนนี้มันอิงอยู่กับสิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ด้วยหรือไม่ สิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญซึ่งกำลังศึกษานี้มันเป็นคนละซีกกับ เจตจำนงของมหาชน ลัทธิประชาธิปไตยที่มีข้ออ้างว่าเสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์นั้น เป็นลัทธิที่ถูกอ้างโดยฝ่ายการเมือง ฝ่ายการเมืองไม่ว่าฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารล้วนมีที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนมีกระบวนการเข้ามาสู่ตำแหน่งและอยู่ในตำแหน่งโดยอ้างอิงเกาะเกี่ยวกับประชาชน ความคาดหมายที่มีต่อฝ่ายการเมือง คือ พันธกรณี ที่มีต่อประชาชน แต่นอกจากลัทธิประชาธิปไตยซึ่งเกาะเกี่ยวกับเสียงข้างมากแล้วยังมีลัทธิการเมืองอีกลัทธิหนึ่ง คือ "ลัทธิเสรีนิยม" ซึ่งแย้งและชิงดีชิงเด่นกันตลอดมาชั่วประวัติศาสตร์ทางการเมืองของโลกเป็นการชิงดีชิงเด่นและต่อสู้กันของสองลัทธินี้ วัฒนธรรมทางการเมืองในระบบการเมืองการปกครองของประเทศที่พัฒนาแล้ว วัฒนธรรมทางการเมืองของประชากรในประเทศนั้น จะได้รับอิทธิพลจากทั้งลัทธิประชาธิปไตยและลัทธิเสรีนิยม ประเทศของเราก็ถือว่าเป็นแบบนั้น ดังที่เราเรียกว่าการปกครองของเรา เป็นการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนั่นเอง วัฒนธรรมเสรีนิยมมีองค์ประกอบที่ถือเป็นหัวใจอยู่สี่อย่าง ประการแรกคือ ความเชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเห็นแก่ตัว ยึดประโยชน์ของตัวเองมากกว่าส่วนรวมและยื้อแย่งแข่งขันกัน ลักษณะอย่างนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Competitive Individualism" องค์ประกอบที่เป็นหัวใจของลัทธิเสรีนิยมประการที่สองคือ เรื่อง "สิทธิในทรัพย์สินของเอกชน" ข้อที่สำคัญในเรืองนี้คือการโยงสิทธิในทรัพย์สินเข้ากับกฎหมายธรรมชาติ ทำให้สิทธิในทรัพย์สินของเอกชนกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นรากฐานของสิทธิอื่น ๆ และต้องให้ความสำคัญก่อนสิทธิอื่น ๆ นักปราชญ์คนสำคัญของลัทธินี้คือ จอห็น ล็อก กล่าวว่าปัจเจกชนย่อมมีสิทธิอันล่วงละเมิดมิได้ที่จะเข้าถือเอาทรัพย์สมบัติอะไรก็ตามที่สามารถถือเอาได้โดยแรงงานของตน และสิทธินี้ย่อมอยู่เหนือหรือนำหน้าข้ออ้างของสังคมและรัฐบาล ด้วยความสำคัญของหลักทรัพย์สินของเอกชนนี้ จอหน ล็อก ยังยืนยันอีกว่า สิทธิในทรัพย์สินเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และแยกไม่ได้จากมนุษย์ มนุษย์รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลก็เพื่อพิทักษ์ปกป้องสิทธิในทรัพย์สิน แนวคิดที่เป็นหัวใจของลัทธิเสรีนิยม ประการที่สาม คือ แนวคิดเรื่อง "รัฐบาลที่มีอำนาจอันจำกัด" ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความเชื่อที่ว่า ความมุ่งหมายประการเดียวของการจัดตั้งรัฐบาลคือเพื่อพิทักษ์ปกป้องทรัพย์สิน แนวคิดประการที่สี่ ของลัทธิเสรีนิยม คือ เรื่องตลาดเสรี นักปราชญ์คนสำคัญของแนวคิดนี้คือ อาดัม สมิธ ทฤษฎีของสมิธ มีข้อใหญ่ใจความว่าตลาดจะเคลื่อนไหวในฐานะเป็นกลไกในการประสานของชีวิตทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองถ้าปล่อยให้มันดำเนินการไปตามธรรมชาติ อาดัม สมิธ เห็นว่า มันมีอยู่ซึ่งกฎธรรมชาติของชีวิตเศรษฐกิจ ตามกฎนี้สินค้าสาธารณะจะถูกจัดให้มีก็ต่อเมื่อปัจเจกชนมีอิสระ ที่จะแสวงหาผลประโยชน์ของตนในตลาด พูดง่าย ๆ ก็คือทฤษฎีของ สมิธ แตกออกเป็นสองข้อ ข้อหนึ่ง ความสัมพันธ์ของตลาดเป็นส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติ การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลในชีวิตทางเศรษฐกิจจึงเป็นการแทรกแซงของกฎธรรมชาติเองในข้อนี้จึงถือว่า สมิธ มีอิทธิพลในหลักเรื่องรัฐบาลที่มีอำนาจอันจำกัดด้วย ข้อสอง สมิธ เชื่อมโยงความเห็นแก่ตัวของปัจเจกชนเข้ากับผลประโยชน์ทั่วไปของสังคม ความเห็นของ สมิธ ข้อนี้เป็นการพลิกกลับประวัติศาสตร์ของคุณค่าของสังคมเลย คือทำให้ความเห็นแก่ตัวของปัจเจกชนมิใช่เป็นสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอีกด้วย คือ สมิธ เชื่อมโยงระหว่างความโลภของปัจเจกชนเข้ากับความดีของสังคม โดยอธิบายว่า บุคคลแต่ละคนถูกชักนำโดยมือที่มองไม่เห็นให้สนับสนุนเป้าหมายคือความดีสาธารณะ ซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของเจตนาของตน มือที่มองไม่เห็นนี้ก็คือตลาดนั่นเอง องค์ประกอบทั้งสี่อย่างที่กล่าวมานี้เป็นหัวใจของลัทธิเสรีนิยม มีศัพท์อยู่คำหนึ่งที่คงจะเคยได้ยินคือคำว่า laisgez-faire ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "การค้าเสรี" เป็นคำที่กินความหมายขององค์ประกอบข้อสามและข้อสี่ ศัพท์คำนี้ถือเป็นแง่มุมทางเศรษฐกิจและการเมืองของลัทธิเสรีนิยม นอกเหนือจากแง่มุมทางเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว ที่สำคัญต่อนักกฎหมายคือแง่มุมทางกฎหมายของลัทธิเสรีนิยม ระบบความคิดทางนิติศาสตร์ที่ค้ำจุนลัทธิทางเศรษฐกิจและการเมืองแบบเสรีนิยมอยู่นี้เรารู้จักกันในชื่อ "The Rule of Law" หรือที่นักกฎหมายชั้นครูของไทย แปลกันไว้อย่างเหมาะเจาะว่า "หลักนิติธรรม" คำว่า The Rule of Law นี้ แม้จะคลุมเครือ แต่ชาวตะวันตกเขาเข้าใจตกันอย่างแพร่หลายจนเกือบจะไม่ต้องมาค้นหาความหมายกัน ความหมายหนึ่งคือแนวคิดที่ว่า การที่รัฐบาลจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบปัจเจกชนอย่างรุนแรงแล้ว รัฐบาลจะต้องจัดให้มีองค์ประกอบบางอย่างของกระบวนการที่เรียกว่า Due Process of Law คำว่า Due Process of Law นี้คนไทยจะคุ้นเคยกันน้อยกว่า The Rule of Law ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ท่านแปลว่า "กระบวนการอันควรแห่งกฎหมาย" ทั้งคำว่า The Rule of Law แลกะ Due Process of Law เป็นคำที้มีความหมายต่อระบบกฎหมายของประเทศตะวันตกมากและมีอิทธิพลต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยเราด้วย เนื้อหาของสองคำนี้คือ แมคนาคาร์ตา โดยเอกสารนี้ได้กล่าวถึงสิทธิของปัจเจกชนไว้มีข้อความว่า พระเจ้าจอห์นทรงสัญญาว่า "จะไม่มีเสรีชนคนใดถูกนำไปหรือจำขังหรือเนรเทศ หรือด้วยประการใดที่เป็นการบั่นทอนทำลาย...เว้นแต่ด้วยคำตัดสินที่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลจากชนชั้นของบุคคลดังกล่าวตามกฎหมายของแผ่นดิน..." ด้วยคำว่า "กฎหมายของแผ่นดิน" นี้เอง ได้กลายเป็นคำที่ใช้แปลความหมายเพื่อคุ้มครองปัจเจกชนและจำกัดอำนาจของรัฐบาลตามประเพณีอังกฤษและเชื่อมโยงถึงคำว่า Due Process of Law ตามความเข้าใจของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอเมริกัน เมื่อ ค.ศ. 1889 ศาลสูงสุดสหรัฐกล่าวถึงความเกี่ยวโยงระหว่างคำว่า Due Process of Law กับคำว่ากฎหมายของแผ่นดินว่า หลัก Due Process of Law นี้ สืบทอดมาจากหลักของอังกฤษที่กำหนดขึ้นเพื่อพิทักษ์ปกป้องราษฎรจากการกระทำตามอำเภอใจของราชบัลลังก์ และนำราษฎรเข้าสู่การคุ้มครองตามกฎหมาย หลักนี้เทียบได้กับกฎหมายของแผ่นดินในประเทศนี้ นี่คือเรื่องการพิทักษ์ปกป้องปัจเจกชน เป็นหลักการของลัทธิเสรีนิยม ที่แย้งกับลัทธิประชาธิปไตย ในประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไตยจะยึดถือเจตจำนงของมหาชน โดยไม่คำนึงถึงการคุ้มครองปัจเจกชนไม่ได้ คำกล่าวที่เป็นอมตะในหลักนี้คือคำกล่าวของ เจมส์ แมดิสัน เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยแมดิสัน กล่าวว่า ในมหาชนรัฐ สิ่งที่มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงมิใช่เฉพาะข้อที่ว่าต้องพิทักษ์สังคมจากการกดขี่ของผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังจะต้องพิทักษ์ส่วนหนึ่งของสังคมจากความยุติธรรมของส่วนอื่น ๆ ของสังคมด้วย แมดิสัน กล่าวอีกว่าหากประชาชนฝ่ายข้างมากรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นด้วยผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว สิทธิของประชาชนฝ่ายข้างน้อยย่อมขาดหลักประกัน วิธีการอย่างหนึ่งต่อความชั่วร้ายนี้คือ การก่อตั้งขึ้นมาในชุมชนซึ่งเป็นเจตนาจำนงที่เป็นอิสระจากเสียงข้างมาก อาจมีคำถามว่า ทำไมสิทธิของปัจเจกชนจึงมีความสำคัญและต้องมาพิทักษ์ปกป้อง ถ้าพิจารณาแนวคิดทางทฤษฎีที่กล่าวมาแล้ว ทุกคนคงเข้าใจ ขอให้สังเกตไว้ให้ดีอย่างหนึ่ง สิทธิที่ต้องปกป้องนี้หมายเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานเท่านั้น ที่ต้องปกป้องสิทธิเหล่านี้ก็เพราะสิทธิเหล่านี้เกี่ยวโยงกันกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิที่ทุกคนเกิดมาแล้วต้องมีและแยกออกจากมนุษย์ไม่ได้ มันมีค่าเกินกว่าที่จะให้รัฐซึ่งอ้างเสียงข้างมากของประชาชนจำกัดตัดรอนได้ คำกล่าวของ แมดิสันที่ยกมาเมื่อสักครู่เป็นการกล่าวในเอกสารที่ชื่อ Federalist Paper เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ในตอนนั้นมีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างลัทธิปรกะชาธิปไตยและลัทธิเสรีนิยม ชาวอเมริกันที่มีฐานะดีเข็ดขยาดกับการใช้อำนาจที่มาจากมหาชน คือก่อนมีการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญ อำนาจรัฐจะอยู่ที่ระบบการเมืองของมลรัฐ นักการเมืองที่มีอำนาจเหล่านี้จะใช้อำนาจในทางช่วยเหลือเสียงข้างมาก โดยไม่คำนึงถึงเสียงข้างน้อย เช่น อยู่ ๆก็ออกกฎหมาย มายกเลิกหนี้สินให้ลูกหนี้บางกลุ่มเสียเฉย ๆ ซึ่งถือเป็นการรังแกเจ้าหนี้ อย่างนี้เป็นต้น ด้วยความหวาดกลัวเสียงมากจะรังแกเสียงข้างน้อยนี้ แมดิสัน จึงกล่าวถึงความจำเป็นในการคุ้มครองเสียงข้างน้อยจากการรังแกของเสียงข้างมากในลักษณะนี้ มีข้อที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานคือ มันเป็นสิทธิของ "เสียงข้างน้อย" ที่มีต่อ "เสียงข้างมาก" โดยสภาพของสิทธิจึงเป็นสิทธิที่อ้างได้โดยปราศจากเหตุผลใด ๆ ดังที่มีคำกล่าวในเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาว่า "คนเลวก็ถูกรังแกได้" ในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของศาล ศาลต้องพิทักษ์เชิดชูสิทธิจำพวกนี้แม้ผู้ทรงสิทธิจะเป็นคนเลวก็ตาม อนึ่ง เนื่องจาก สิทธินุษยชนเป็นเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐานที่เสียงข้างน้อยมีต่อเสียงข้างมากโดยเสียงข้างมากในที่นี้หมายถึงรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น เงื่อนไขสำคัญที่จะเข้าข่ายของเรื่องสิทธิมนุษยชนคือ ต้องมี "การกระทำของรัฐ" (State Action) เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นเรื่องระหว่างปัจเจกชนด้วยกันโดยไม่มีการกระทำของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ก็ถือว่าอยู่นอกขอบเขตของเรื่องนี้ และอยู่นอกการคุ้มครองตามหลักการของเรื่องนี้ ข้อนี้เห็นได้จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเองคือ มาตรา 26 บัญญัติว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา 27 บัญญัติว่า "สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนั้นรับรองไว้โดยชัดแจ้งโดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรามนูญและหน่วยงานของรัฐโดยตรง ในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง" บทบัญญัติเหล่านี้เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า สิทธิขั้นพื้นฐานไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่างปัจเจกชนด้วยกัน การขยายการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานให้มีผลผูกพันปัจเจกชนด้วยกัน จะกระทำได้ก็แต่โดยการตรากฎหมายเฉพาะเรื่อง เช่น ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีบทบัญญัติบังคับมิให้นายจ้างเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างโดยอาศัยความแตกต่างกันในเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น การขยายการคุ้มครองอย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากการคุ้มครองปัจเจกชนโดยการบัญญัติคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างที่กล่าวมาแล้ว วิธีคุ้มครองปัจเจกชนอีกอย่างหนึ่งคือ การก่อตั้งองค์กรที่เป็นอิสระจากมหาชนให้มาถ่วงดุลกับอำนาจทางการเมืองที่มีที่มาจากมหาชน สถาบันตุลาการก็คือ องค์กรประเภทนี้นั่นเอง ดังนั้น เมื่อพูดถึงความเป็นอิสระของศาลแล้ว ความหมายของคำว่า "ความเป็นอิสระ" จึงหมายถึงความเป็นอิสระจากมหาชนนั่นเอง ปัญหาว่าจะทำให้ศาลเป็นอิสระจากมหาชนได้อย่างไร และจะควบคุมศาล ซึ่งเป็นองค์กรอิสระนี้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก พูดเรื่องการทำให้ศาลเป็นอิสระ ก่อน การทำให้ศาลเป็นอิสระจากมหาชนนั้น ก็ทำได้โดยการแยกองค์กรฝ่ายตุลาการออกจากองค์กรทางการเมืองซึ่งเป็นองค์กรที่มาจากและยึดโยงกับมหาชน วิธีแยกก็ทำกันได้หลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ การเข้าสู่ตำแหน่งตลอดจนการอยู่ในตำแหน่งของผู้พิพากษา ไม่เกาะเกี่ยวกับกระบวนการทางการเมือง อย่างกรณีการเป็นผู้พิพากษาที่ไม่นำระบบการเลือกตั้งมาใช้เป็นต้น องค์กรทุกอย่างต้องมีการควบคุม องค์กรทางการเมืองถูกประชาชนควบคุมในรูปของการเลือกตั้ง แล้วศาลใครควบคุม ศาลทำหน้าที่ถ่วงดุลองค์กรทางการเมืองซึ่งมีระบบราชการเป็นกลไก เพื่อมิให้การใช้อำนาจในการบริหารผลประโยชน์มหาชนขององค์กรดังกล่าวออกมานอกขอบเขตจนคุกคามสิทธิของปัจเจกชน แล้วการทำหน้าที่ของศาลนั้น อะไรเป็นหลักประกันว่าศาลจะทำหน้าที่นี้อย่างเหมาะสม ก็คือสิ่งที่มาควบคุมศาล มันสร้างความชอบธรรมให้ศาล หลักการที่สำคัญคือ "การสำรวมตัวเองของฝ่ายตุลาการ" (Judicial Self-Restraint) หลักการสำรวมตัวเองของฝ่ายตุลาการนี้ ที่ทำให้ศาลมีสถานะแตกต่างจากองค์กรทางการเมือง สำระสำคัญของหลักนี้คือ การใช้อำนาจของศาลต้องมีระเบียบแบบแผน และไม่ก้าวล่วงเข้าไปในขอบเขตที่มีเนื้อหาเข้านโยบายซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ด้านการใช้อำนาจในลักษณะสำรวมนี้ นักปราชญ์บางคนจึงเรียกอำนาจตุลาการ ว่า Passive Virtue คือ การใช้อำนาจของศาล มีลักษณะวางเฉย หลักการอย่างหนึ่งที่นักกฎหมายคุ้นเคยกัน คือ "หลักกระบวนการทางตุลาการ" ซึ่งเป็นที่มาแห่งความชอบธรรมของการใช้อำนาจตุลาการที่สำคัญที่สุดนั่นเอง อย่างที่กล่าวมาแต่ต้น หลักนี้มันเป็นหัวใจของงานตุลาการ หลักผลประโยชน์ของมหาชนซึ่งเป็นหลักของ ลัทธิประชาธิปไตย สำคัญต่อฝ่ายการเมืองอย่างไร หลักกระบวนการทางตุลาการ ซึ่งเป็นหลักของ ลัทธิเสรีนิยม ก็สำคัญต่อฝ่ายตุลาการ ที่มาของ หลักกระบวนการทางตุลาการ รากฐานสำคัญของหลักกระบวนการทางตุลาการ คือ แนวคิดที่เรียกว่า "การปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ภายใต้บุคคล" ซึ่งแนวคิดนี้คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ไม่ต้องสงสัย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดของ ลัทธิเสรีนิยม ไม่ใช่เป็นแนวคิดของลัทธิประชาธิปไตย ข้อสำคัญของแนวคิดนี้คือว่า กฎหมายจะต้องแยกเป็นอิสระและอยู่เหนือคุณค่าอื่น ๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางการเมือง คุณค่าในทางวัฒนธรรม คุณค่าในทางเศรษฐกิจ หรือคุณค่าในทางจิตวิทยา รวมทั้งความรู้สึกส่วนตัวของผู้พิพากษาเองด้วย ปัญหาว่าการแยกเป็นอิสระดังกล่าวแยกได้อย่างไร ตามแนวคิดนี้ การแยกระหว่างกฎหมายและคุณค่าอื่น ๆ นี้ ย่อมบรรลุและสร้างหลักประกันได้โดย "คุณลักษณะที่มองเห็นได้" (Perceived Attribute) ของกระบวนการสร้างคำตัดสิน รวมทั้งการยึดอย่างเหนียวแน่นในกฎหมายและบรรทัดฐานขององค์กรฝ่ายตุลาการหรือศาล การวิเคราะห์กฎหมายที่เป็นแบบกึ่งวิทยาศาสตร์และเป็นภาวะวิสัย และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางเทคนิคของผู้พิพากษาและนักกฎหมาย การแยกกฎหมายและคุณค่าอื่น ๆ ของสังคมออกจากกันตาม หลักการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ภายใต้บุคคล ที่เป็นปรัชญา หรือเป็นหัวใจของงานตุลาการ โดยหลักกระบวนการทางตุลาการแล้ว กระบวนการสร้างคำตัดสินจึงมีระเบียบพิธีโดยเฉพาะ มิใช่ว่าศาลจะตัดสินได้ตามความพอใจ ในทางทฤษฎีแล้ว ระเบียบพิธีในการสร้างคำตัดสินในอุดมคติจะมีลักษณะสำคัญสี่ประการ *** ประการแรก กฎหมายสำหรับเรื่องใด เรื่องหนึ่งที่จะตัดสินนั้นจะต้องมีอยู่แล้วก่อนที่จะมีกรณีจะตัดสิน (Pre-Exist) มิใช่จะมาวางกฎวางเกณฑ์กัน เมื่อจะตัดสินอีกอย่างหนึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้จะต้องชัดเจนและรู้ได้โดยบุคคลทุกคนในสังคมที่มีความสันทัดจัดเจนในวิชากฎหมาย มิใช่จะรู้กันได้เฉพาะบุคคลบางหมู่บางเหล่าหรือเป็นสิ่งลึกลับยากแก่การเข้าถึง หรือเอาสามัญสำนึกส่วนตัวของผู้พิพากษามาตัดสินคดี หลักสำคัญประการที่สอง***ระเบียบพิธีในการที่จะสร้างคำตัดสินในอุดมคติ คือ การแสวงหาข้อเท็จจริงที่จะนำมาซึ่งคำตัดสินนั้น จะต้องแสวงหาโดยการไต่สวนที่มีลักษณะเป็น "ภาวะวิสัย" (objective) คือมีลักษณะเป็นกึ่งวิทยาศาสตร์และโดยกฎเกณฑ์ทางพยานหลักฐานที่ให้ประกันได้อย่างสมเหตุสมผลว่าความจริงจะโผล่ผุดหรือปรากฏออกมาจากการไต่สวนนั้น หลักสำคัญประการที่สาม***ผลของคดีจะเป็นการชี้ขาดโดยการปรับใช้ข้อกฎหมายแก่ข้อเท็จจริง ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรับใช้แบบงานประจำหรือมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน (regularity) หลักสำคัญประการที่สี่***ถ้าหากผู้ตัดสินมิใช่เป็นผู้พิพากษาที่ด้วยคุณภาพถึงขนาดที่เรียกว่า "ผู้พิพากษาเลว" (Bad Judge) แล้ว ผู้พิพากษาทุกคนย่อมสามารถบรรลุซึ่งคำตัดสินที่ถูกต้องได้ หลักสำคัญสี่ประการของระเบียบพิธีในการสร้างคำตัดสินของหลักกระบวนการทางตุลาการ คำพิพากษาจะได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ อยู่ที่หลักสี่ประการนี้ ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสนองเจตจำนงของมหาชนได้หรือไม่ได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการวิพากษ์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกันในเรื่องตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทยและพรรคอื่นอีกหลายพรรค รวมทั้งการวินิจฉัยตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คนเรื่องผลลัพธ์จะไม่กล่าวถึง แต่ในวิชาการทางนิติบัญญัติแล้ว เกณฑ์ที่จะใช้เป็นกรอบในการวิพากษ์ในฐานะที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตุลกาการนักวิชาการจะใช้เกณฑ์สี่อย่างนี้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะน่าเชื่อถือหรือไม่ก็อยู่ที่ความเข้าใจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต่อหลักกระบวนการตุลาการ ในการสื่อสารระหว่างชุมชนนักกฎหมายกับสังคมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เรียกกันในภาษาวิชาการว่า "วาทกรรมทางนิติศาสตร์" (Legal Discourse) หากสะท้อนให้เห็ความเข้าใจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในหลักกระบวนการตุลาการแล้ว คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะได้รับการยอมรับ เมื่อมาถึงจุดนี้คงจะเข้าใจกันได้อย่างง่าย ๆ ว่า ความชอบธรรมของอำนาจตุลาการ คือ หลักกระบวนการทางตุลาการ หลักนี้มันมาจากแนวคิดที่เรียกว่า การปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ภายใต้บุคคล ซึ่งเป็นแนวคิดของ ลัทธิเสรีนิยม หลักนี้ และหลักอื่นๆ ทำนองนี้ที่เรามักได้ยินกัน จนชิน เช่น หลักนิติธรรม เป็นต้น ถือเป็น "มิติทางกฎหมาย" ของ ลัทธิเสรีนิยม ซึ่งควบคู่กับ "มิติทางเศรษฐกิจ" ซึ่งได้แก่หลักทุนนิยม หรือ หลักการค้าเสรี อะไรทำนองนั้น แต่หลักทุกอย่างมีหัวใจอยู่ที่การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานหรือผลประโยขน์ของปัจเจกชน จากความแตกต่างแบบแย้งกันแบบสุดขั้ว ระหว่าง "ความชอบธรรมในทางการเมือง" (Political Legilimacy) และ "ความชอบธรรมในทางตุลาการ" (Judicial Legilimacy) อย่างที่กล่าวมาแต่ต้น อุดมการณ์ในทางตุลาการจึงต่างจากอุดมการณ์ในทางการเมือง ในขณะที่ฝ่ายการเมืองมุ่งสนองเจตนารมณ์ของมหาชน ฝ่ายตุลาการ มาเน้นการที่ถ่วงดุลฝ่ายการเมือง เพื่อคุ้มครองผู้ไม่มีสิทธิมีเสียง นักนิติศาสตร์ชาววอเมริกัน กล่าวถึงภารกิจในทางตุลาการที่ต้องทำงานสวนกระแสสังคมว่าศาลต้องพิทักษ์ปกป้องความคิดที่พวกเราชิงชัง เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ปัจเจกชน" แล้ว อยากจะกล่าวถึง ความดิ้นได้ของภาษาไทย คำว่า "ปันเจกชน" สื่อความหมายดี คือหมายถึงราษฎร หรือประชาชนแต่ละคน มันมีความหมายตรงกันข้าม กับคำว่า "ประชาชน" ซึ่งหมายถึงมหาชนที่นักวิชาการไม่ใช้คำว่า ปัจเจกชน แต่ใช้คำว่า ประชาชนแทน ก็เพื่อไม่ให้เป็นวิชาการ แต่ก็ยอมรับว่าการใช้อย่างนี้บางทีก็สับสน ซึ่งในแวดวงอื่นที่ไม่ใช่นักกฎหมายอาจไม่เข้าใจกัน ขอยกตัวอย่างเช่นคำว่า "เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์" คำว่า ประชาชนในที่นี้หมายถึงมหาชน แต่สำหรับคำว่า "ศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน" แล้ว คำว่าประชาชนในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงมหาชน แต่หมายถึงราษฎรแต่ละคนเสียแล้ว โดยเฉพาะในความหมายนี้มันหนักลงไปอีก คือหมายถึงราษฎรที่ถูกองค์กรของรัฐซึ่งมีที่มาจากมหาชนปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐาน จนต้องมาพึ่งบารมีศาลซึ่งเป็นเรื่องของภาษาไทยที่ดิ้นได้ ดังนั้น เวลาพูดถึงคำว่า "ประชาชน" แล้ว สังเกตให้ดีว่าเป็นประชาชนในความหมายของ "ปัจเจกชน" หรือในความหมายของ "มหาชน" คือถ้าตามทางของฝ่ายการเมือง ประชาชนมันหมายถึงมหาชน แต่ถ้าตามทางของฝ่ายตุลาการแล้วประชาชนจะหมายถึงปัจเจกชน จากที่กล่าวไว้แล้ว ขอให้ข้อสังเกตเชิงสรุปความให้เจ้าใจพื้นฐานทางทฤษฎีสองประการคือ (1)ด้วยที่มาที่ไปของศาลอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ และที่ทำให้ศาลแยกไม่ออกจากสิทธิขั้นพื้นฐาน ยิ่งมีการขยายขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ก็ยิ่งต้องมีการย้ายโอนอำนาจจาก ระบบราชการมายังศาล อันเป็นผลให้จำกัดตัดรอนอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐเดิมที่มีอยู่และเพิ่มอำนาจแก่ศาล ข้อนี้ทำให้หมดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใดฝ่ายตุลาการจึงต้องเชิดชูสิทธิเสรีภาพของบุคคล อีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากโดยรากฐานทางทฤษฎี ภารกิจสำคัญของฝ่ายตุลาการคือการพิทักษ์รักษาสิทธิเสรีภาพหรือสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นหลักการของลัทธิเสรีนิยม สถานะทางสังคมของผู้พิพากษาจึงอยู่ที่ความรุนแรงของลัทธิเสรีนิยมในประเทศนั้น ในประเทศที่ลัทธิเสรีนิยมแพร่หลายและรุนแรง และศาลทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการพิทักษ์รักษาลัทธิเสรีภาพของประชาชน ในประเทศนั้นผู้พิพากษาจะมีสถานะทางสังคมสูงดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ผิดกับประเทศที่ลัทธิเสรีนิยมมีลัทธิอื่นเป็นคู่แข่ง เช่น ประเทศในยุโรปตะวันตกที่ลัทธิสังคมนิยมมีอิทธิพลสูง ผู้พิพากษาจะไม่ได้รับเกียรติสูงอย่างผู้พิพากษาในสหรัฐอเมริกา (2) ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการทางอาญาของประเทศต่างๆ จากที่เราได้กล่าวถึงการแยกเป็นสองซีก ระหว่างผลประโยชน์ของมหาชนกับการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพปัจเจกชนมาแล้ว ในการศึกษาวิเคราะห์ทางวิชาการ นักวิชาการแบ่งระบบกฎหมายออกเป็นสองขั้ว ขั้วที่สุดโต่งไปทางผลประโยชน์ของมหาชนเรียก "ต้นแบบการควบคุม อาชญากรรม" Crime Control Model ส่วนสุดโต่งอีกทางหนึ่งเรียก "ต้นแบบกระบวนการอันควร" Due Process Model คงเดาออกว่าต้นแบบหลังหมายถึงระบบอเมริกัน ศาสตราจารย์กฎหมายอเมริกัน ท่านหนึ่งกล่าวถึงระบบกฎหมายของประเทศนี้ว่า กฎหมายอเมริกัน กล่าวได้โดยทั่วไปว่า เป็นกฎหมายของจำเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบกฎหมายอื่นที่ให้ความสำคัญแก่ความจำเป็นของการฟ้องคดีและให้ความสำคัญแก่ผลประโยชน์ของสังคมในการจับกุมและพิพากษาลงโทษอาชญากรรมเป็นลำดับแรก เราห่วงใยการยับยั้งปราบปรามอาชญากรรมอยู่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราต้องห่วงใยไม่น้อยไปกว่าคือความจำเป็นของความยุติธรรมและการเคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์ (3) สำหรับระบบยุติธรรมทางอาญาของไทยนั้น แต่เดิมเป็นแบบ Crime Control Model อย่างไม่ต้องสงสัย แต่โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และฉบับปัจจุบัน ระบบยุติธรรมทางอาญาของไทยถูกเปลี่ยนให้เป็นแบบ Due Process Model (4) ข้อสังเกตประการสุดท้ายคือ แม้พวกเราอยากเห็นภาพของระบบยุติธรรมที่ศั้กดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้รับการเคารพ แต่ก็ไม่มีนักกฎหมายคนไหนต้องการให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "แตกตื่นเสรีภาพ" คือ คลั่งสิทธิเสรีจนลืมข้อพิจารณาอื่น ๆ ดังนั้น การตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายจำต้องตีความโดยพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ ๗๐ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ข้อ ๙. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องบริษัทมีลาภ จำกัด และนายชมผู้จัดการบริษัทมีลาภ จำกัด ต่อศาลชั้นต้นกล่าวหาว่า บริษัทมีลาภ จำกัด จัดสร้างพรพระเครื่อง แล้วโฆษณาประชาสัมพันธ์เกินความจริง โดยนายชมทราบแผนการประชาสัมพันธ์ที่เกินความจริงดังกล่าวดี แต่ไม่ห้ามจนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำความผิด ทั้งยังช่วยประชาสัมพันธ์ด้วย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๒(๑), ๕๙ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑, ๓๔๓ ๘๓, ๙๑ จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายชมยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า ระพราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๙ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย" เป็นการสันนิษฐานความผิดโดยอาศัยสถานะของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอิาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๙ วรรคสอง ที่ว่า ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย วันเดียวกันนายชมยังไปยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญมีสาระสำคัญว่าการที่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีแก่นายเดช พนักงานของบริษัทมีลาภ จำกัด ผู้วางแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์พระเครื่องเกินความจริง โดยกันนายเดช ไว้เป็นพยาน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อนายชม ขอให้วินิจฉัยว่า การสอบสวนของพนักงานสอบสวนในคดีนี้ขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธูรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗ ให้วินิจฉัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องของนายชมทั้งสองฉบับอย่างไร ธงคำตอบ คำร้องของนายชมที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกรณีคู่ความในคดีโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและไม่ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องรับคำร้องของนายชมไว้พิจารณา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พถุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๒ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๙ เป็นกฎหมายที่ถือเอาการกระทำของผู้ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบซึ่งก่อให้เกิดการกระทำความผิดของนิติบุคคลว่าต้องรับผิดในผลของการกระทำของตนเอง จึงมิใช่เป็นบทสันนิษฐานความผิดของกรรมการ ผู้จัดการ ฯลฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดไว้ก่อนตั้งแต่แรกเริ่้มคดี โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ถึงการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของบุคคลดังกล่าวก่อนว่าเป็นผู้สั่งการ หรือไม่สั่งการ หรือกระทำการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทั่้วไปของความรับผิดทางอาญาที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับผลแห่งการกระทำของตน ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๙ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๙ วรรคสอง (เทียบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๒/๒๕๕๖) ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑๓ จะต้องเป็นบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและ เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองด้วย กรณีตามคำร้องของนายชม นายชมต้องการให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติต่อตนเหมือนดังที่ปฏิบัติต่อนายเดช ตามหลักความเสมอภาค แต่นายชมจะอ้างเช่นนั้นได้ต่อเมื่้อนายชมมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้รับสิทธินั้น การที่นายชม สมควรถูกดำเนินคดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานเป็นสำคัญ นายชมจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่มีผลให้นายชมไม่ต้องถูกดำเนินคดี โดยยกข้ออ้างเพียงว่าไม่มีการดำเนินคดีกับผู้อื่นนั้นไม่ได้ คำร้องของนายชมไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์มาตรา ๒๑๓ ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องสั่งไม่รับคำร้องของนายชมไว้พิจารณาวินิจฉัย (เทียบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๒๒/๒๕๖๐) มิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนต่อเจ้าหนี้
ลูกหนี้ทำสัญญากู้สินเชื่อแล้วผิดนัดชำระหนี้ ต่อมาภริยาลูกหนี้ผูกพันตนขอเข้าชำระหนี้แทนสามีต่อเจ้าหนี้โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นลูกหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันต่อสู้ว่า หนี้ของลูกหนี้ระงับแล้วเพราะเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้เป็นภริยาของลูกหนี้แล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ชำระหนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยไม่มีหนังสือที่แสดงว่ามีการแปลงหนี้ใหม่มาแสดงสนับสนุน ส่วนการที่ภริยาลูกหนี้ขอเข้าชำระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้หนี้ของลูกหนี้ระงับจึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิปลูกสร้าง ปลูกสร้างบ้านโดยทราบอยู่ว่าเป็นที่ดินของผู้อื่นที่เขาอนุญาตให้ปลูกสร้าง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต คำว่า "สุจริต" มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ |