ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

 สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา

   เนื่องจากขอบเขตหรือแนวสังเขปของวิชาสิทธิมนุษยชน(น.396)นี้ได้กำหนดให้นักศึกษาต้องเรียนรู้เรื่องปรัชญาที่เกี่ยวกับบรรดาสิทธิขั้นพื้นฐานด้วย ฉะนั้นในบันทึกนี้ข้าพเจ้าจึงจะขอกล่าวถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา(ไล่ไปตามแต่ละยุคสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงสมัยใหม่) ซึ่งรายละเอียดต่างๆมีดังต่อไปนี้
 
ปรัชญาในสมัยกรีก

   ในสมัยนี้มองว่าสิทธิเป็นสิ่งที่ผูกโยงกับระบบคุณธรรมและเหตุผล นอกจากนี้ยังมีแนวคิดว่าความรู้และความเข้าใจจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าสิทธินั้นเป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้และเหตุผล และเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยแนวคิดต่างๆในสมัยนี้ถูกคิดขึ้นโดยนักคิดดังต่อไปนี้
 
1.  โสเครติส  (Socrates)
   นักคิดผู้นี้หากจะกล่าวไปทุก ๆ ท่านคงจะรู้จักดีอยู่แล้วเป็นแน่ บุคคลผู้นี้ได้กล่าวไว้ว่า ความรู้คือคุณธรรม กล่าวคือ ถ้าคนเราไม่รู้ก็มักจะประพฤติผิด-ชั่วได้ง่ายๆ แต่ถ้าหากเขารู้แล้วเขาก็จะประพฤติตนไปในทางที่ถูกที่ควร (แม้เขาจะอ้างว่ารู้ แต่ถ้าเขายังทำผิดอยู่ ก็แสดงว่าบุคคลผู้นั้นไม่รู่จริง)

   นอกจากนี้ เขายังกล่าวไว้ว่า  มนุษย์ทุกคนนั้นมีกิเลส แต่มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่ควบคุมตนเองได้  ฉะนั้น หากเรารู้จักควบคุมตนเอง ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามสัญชาติญาณ มนุษย์ก็จะมีความรู้คุณธรรมและทำในสิ่งที่ถูกต้อง
 
2.  อริสโตเติล  (Aristotle)
   เขากล่าวไว้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนมี 2 ภาค

1.  ภาคที่เป็นสัตว์โลกทั่วไป - ภาคนี้เป็นภาคที่สิ่งมีชีวิตทั่วไปมี เช่น กิน ขับถ่าย นอน เป็นต้น

2.ภาคที่เป็นสัตว์ประเสริฐ - ภาคนี้เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่น คือ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาระดับสูง และรู้จักแยกแยะสิ่งผิดชอบชั่วดี รวมทั้งมีความรับผิดชอบในการกระทำของตน
   มนุษย์ในภาคสัตว์ประเสริฐนั้นจึงสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งต่างๆได้ว่า อะไรถูกผิด ควรไม่ควร และสามารถเข้าใจธรรมชาติได้
 
   นอกจากนักปราชญ์นักคิดทั้ง 2 คนนี้แล้ว ยังมีแนวคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้อีกได้แก่

1.แนวคิดของพวกสโตอิก (Stoicism)

   พวกนี้มีแนวเกี่ยวกับเรื่องแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โดยพวกสโตอิก กล่าวว่า มนุษย์ต้องรู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และทำเพื่อสังคม นอกจากนี้พวกเขายังคิดว่าการที่มนุษย์มีความทุกข์นั้นเพราะมนุษย์มีความอยาก นั่นเอง

2.แนวคิดที่ตรงข้ามกับพวกสโตอิก

   2.1.  พวก Epicurian - เสนอว่ามนุษย์ควรดำเนินชีวิตโดยการแสวงหาความสุขใส่ตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
   2.2.  พวก Sophist - กล่าวว่า อำนาจคือธรรม หรือก็คือแนวคิดว่า  ผู้ที่แข็งกว่าคือผู้กำหนดความถูกต้อง  (Man is the measure of all things.)
 
ปรัชญาในสมัยโรมัน

   รับแนวคิดของพวก Stoic หรือ Stoicism มาเป็นฐานหรือเป็นหลักการ ซึ่งนำไปสู่การสร้างกฎหมายบ้านเมืองของพวกเขา จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดนามธรรมนั้นกรีกเป็นคนคิดค้น ส่วนแนวคิดเหล่านั้นโรมันเป็นคนเอามาทำให้เป็นรูปธรรมต่อไป โดยในยุคนี้ มีนักปราชญ์หรือนักคิดคนสำคัญก็คือ  ชิเซโร  (Cicero) เขาเป็นผู้กล่าวไว้ว่า กฎหมายที่แท้จริง คือ กฎหมายที่ถูกต้อง เป็นนิรันดร์ และถูกต้องเสมอในทุกที่ทุกเวลา  (Cosmopolitanism) นอกจากนี้ในสมัยนี้ยังเกิดประมวลกฎหมายที่สำคัญขึ้น ซึ่งก็คือ ประมวลกฎหมายของพระเจ้าจุสติเนียน (Corpus Juris Civilis)  จึงอาจกล่าวได้ว่า ในสมัยโรมันนี้ ต่างจากสมัยกรีก ตรงที่สิทธินั้นได้รับการเขียนไว้เป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ เขียนไว้ในกฎหมาย ในขณะที่กรีกนั้นได้ปล่อยให้สิทธิเป็นเรื่องของธรรมชาติและความถูกต้อง  (เป็นนามธรรม) ที่มนุษย์เข้าถึงได้
 
ปรัชญาในสมัยกลาง

   ยุคนี้เป็นยุคศักดินาหรือถูกเรียกว่า ยุคมืด (Dark Age) ของยุโรป ทั้งนี้ก็เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ถูกกำหนดโดยศาสนจักร แม้แต่ผู้ปกครองหรือกษัตริย์ในสมัยนี้ก็ยังเป็นรองหรือต้องเกรงใจต่อ สันตปาปา (Pope) ส่วนคำสอนในยุคนี้มีดังต่อไปนี้

1.ความยุติธรรมต้องขึ้นกับคำสอนของศาสนา
2.ศีลธรรมกับศาลนานั้นเป็นสิ่งเดียวกัน
3.ศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต

   จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าในยุคนี้ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนผูกติดกับศาสนา ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของสิทธิต่างๆก็เป็นพระผู้เป็นเจ้ากำหนดให้มนุษย์
 
ปรัชญาในสมัยใหม่
   ในสมัยใหม่นี้มีแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องของสิทธิอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบดังต่อไปนี้

1.แนวคิดที่มองมนุษย์ในแง่ลบ
   เป็นแนวคิดแบบ Thomas Hobbes มองว่ามนุษย์เห็นแก่ตัว มีสภาพตามธรรมชาติที่เลวร้าย และขาดศีลธรรม ดังนั้นเมื่อมนุษย์ตัดสินใจมาอยู่รวมกันในสังคม มนุษย์จึงควรจะอยู่ใต้อำนาจปกครองของผู้ปกครองอย่างเด็ดขาด เพราะแม้จะเจอผู้ปกครองที่ไม่ดี ก็ยังดีกว่าการอยู่ตามสภาพธรรมชาติ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้ผู้ปกครองจึงมีอำนาจปกครองหรือกำหนดสิ่งต่างๆ รวมทั้งสิทธิของประชาชนได้อย่างเต็มที่

2.แนวคิดที่มองมนุษย์ในแง่บวก
   เป็นแนวคิดแบบ John Locke มองว่ามนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และรู้จักผิดชอบชั่วดี ผ่านการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ดังนั้นการที่มนุษย์ตัดสินใจมารวมกันเพราะมนุษย์คิดแล้วว่าการอยู่ร่วมกันจะก่อให้เกิดความผาสุกมากกว่าการอยู่แบบแยกกัน ดังนั้นผู้ปกครองจึงเป็นผู้ที่คอยดูแลให้ประชาชนในสังคมมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก กล่าวคือประชาชนมิได้อยู่เพื่อผู้ปกครอง แต่เป็นผู้ปกครองต่างหากที่ต้องอยู่เพื่อประชาชน จึงอาจกล่าวได้ว่าในรูปแบบนี้สิทธินั้นเกิดจากความต้องการของประชาชนในสังคมที่รัฐหรือผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องรับรองสิทธิเหล่านั้นให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
 
อ้างอิง : คำบรรยายวิชาสิทธิขั้นพื้นฐาน (น.150)
 
   ทั้งหมดนี้ก็คือแนวคิดสิทธิขั้นพื้นฐานเชิงปรัชญา ซึ่งผู้อ่านคงจะได้เห็นว่ามนุษย์เรานั้นมีความคิดเกี่ยวกับคำว่า"สิทธิ"พัฒนามาเรื่อยๆและเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัย ตามสภาพสังคมที่เราอยู่ ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าคำว่า"สิทธิ"นี้ก็จะยังคงไม่หยุดนิ่งและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามบริบทและความเป็นไปของสังคม
 
บันทึกนี้เขียนโดย นาย พชร วิเชียรสรรค์  




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ท้ายฟ้องแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย
ความเสียหายไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
การคืนเงินค่าหุ้นในภาวะขาดทุนตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์
การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01
อำนาจฟ้องขณะยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
อำนาจพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559
การกระทำโดยสำคัญผิด
ผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารเพื่อสนองความใคร่ของตนเอง
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ความผิดฐานรับของโจรได้ต้องมีการลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว
ภาษีให้กู้ยืมเงินไม่มีค่าตอบแทน
กฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ลูกหนี้ค้างจ่ายสรรพากรโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์
บุตรผู้เยาว์ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้
สำนักงานทนายความ รับปรึกษากฎหมาย 0859604258
ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำนิยามศัพท์
อำนาจฟ้องคดี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คฝ่ายผู้ต้องเสียในมูลหนี้
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี
โอนที่ดินเพื่อให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
โอนที่ดินตามคำพิพากษาเป็นการขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สิทธิหักลดหย่อนสำหรับบุตรซึ่งเกิดจากภริยาเดิม
รับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์
คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ขาดคุณสมบัติรับราชการเรียกเงินเดือนคืนได้หรือไม่?
ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลอาคารชุดมีประโยชน์ได้เสียขัดกัน
ทำหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้า จำเลยนำไปทำจำนอง ฟ้องเพิกถอน
สนามกอล์ฟต้องเสียภาษีโรงเรือนหรือไม่?
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
ใบมอบฉันทะที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากร
ภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ - เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
การซื้อรถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงอากรมีความผิดถูกจำคุก 4 ปี
คำสั่งขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต้องมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ความสำคัญผิดในตัวบุคคล กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด article
ศาลต้องยกฟ้อง หรือจำหน่ายคดี
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม
สิทธิเรียกร้องคืออะไร การบังคับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ได้รับโอน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
ระบอบการเมืองการปกครอง
เริ่มต้นคดีด้วยการใช้กฎหมายอิสลามแต่มีผู้คัดค้านนับถือศาสนาพุทธ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน-พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
จัดทำและส่งเป็นงบการเงินโดยมีเจตนาเพื่อลวง
ใบจอง (น.ส. 2)