ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา

ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม

ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา 253 "ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้

ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง"

 

มาตรา 253 "ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

มาตรา 254 "ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาซึ่งคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1)      ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย
(2)      ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญาหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อน เสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยหรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือ จำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งรัพย์สินดังกล่าวทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(3)      ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหามายที่เกี่ยวข้อง
(4)       ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือ ยกคำขอเช่นว่านี้"

มาตรา 264 "นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และ มาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยขน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก
คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 256 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262"

Provisional Measures Before Judgment

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา เป็นวิธีการเพื่อคุ้มครองคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ คู่ความทั้งสองฝ่ายในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา โดยจะขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ทั้งนี้เพื่อว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจะได้สามารถบังคับคดีได้

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา มีอยู่ 3 กรณี คือ
(1)   จำเลยขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 253
(2)   โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม มาตรา 254
(3)   คู่ความขอให้คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตรา มาตรา 264

สำหรับกรณีที่ 1 กรณีจำเลยขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมนัยมและค่าใช้จ้าย นั้น มาตรา 253 บัญญัติว่า " "ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ ถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้

ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง"

บทบัญญัติ มาตรา 253 เป็นการคุ้มครองจำเลย จำเลยเท่านั้นที่จะขอคุ้มครองตามมาตรานี้ได้ เหตุที่ต้องคุ้มครองจำเลยเพราะในการฟ้องคดีนั้น โจทก์อาจเป็นฝ่ายแพ้คดี เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลจะพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่จำเลยซึ่งโจทก์อาจไม่มีทรัพย์สินที่จำเลยจะบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในระหว่างพิจารณา โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้"

มาตรา 253 มีสาระสำคัญ แยกเป็น

(1)   เหตุที่จำเลยจะขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกัน
(2)   หลักเกณฑ์การร้องขอ
(3)   ผลของคำสั่งศาล

สำหรับข้อ 1 เหตุที่จำเลยจะขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกัน

ข้อนี้กฎหมายบัญญัติไว้ 2 เหตุ คือ
(1) โจทก์มิได้มีภูมิลำเนา หรือ สำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร และ ไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร ขอให้สังเกตคำว่า "หรือ" กับคำว่า "และ" ให้ดี และต้องจำให้ดีเพราะเป็นข้อสำคัญโดยคำว่า "หรือ" หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนคำว่า "และ" หมายถึง ต้องประกอบกันด้วย
(2) เป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำรค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

เหตุในข้อ 1 กับเหตุในข้อ 2 แยกเป็นคนละเหตุกัน กล่าวคือ ถ้าเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงเหตุเดียว ไม่ว่าจะเข้าเหตุในข้อ 1 หรือเข้าเหตุในข้อ 2 จำเลยก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้

สำหรับเหตุในข้อ 1 ต้องประกอบด้วย

(ก) โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือ มิได้มีสำนักทำการ       ง านอยู่ในราชอาณาจักร หมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่กล่าวมา
(ข) โจทก์ไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร

 กล่าวคือ ต้องประกอบกันทั้งข้อ (ก) และ ข้อ (ข) จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ตามเหตุใน ข้อ 1 ที่จำเลยจะขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้ ถ้าขาดข้อ (ก) หรือ ข้อ (ข) ข้อใดข้อหนึ่ง ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอได้

ถ้าโจทก์ มี ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือมี สำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักรซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ตามข้อ (ก) แล้ว ก็ ไม่ต้องไปพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในข้อ (ข) ว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ใน ราชอาณาจักรหรือไม่อีก เพราะเมื่อขาดข้อใดข้อหนึ่ง ก็ไม่ เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอตามเหตุในข้อ 1

ส่วนเหตุในข้อ 2 ที่ว่า เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ข้อนี้จำเลยเพียงแต่นำสืบให้เห็นว่าโจทก์อาจแพ้คดี และเมื่อแพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ก็เป็นการเพียงพอที่จะขอคุ้มครองได้ ไม่จำเป็นต้องนำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าโจทก์ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีแน่ ๆ เพราะการแพ้หรือชนะคดีนั้นจะรู้ผลต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษา พฤติการณ์ที่แสดงว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นต้นว่า ในระหว่างพิจารณาโจทก์พยายามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินไปเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดี เมื่อได้ความดังกล่าว จำเลยก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้

คำว่า "ภูมิลำเนา" และคำว่า "สำนักทำการงาน" หมายถึง ภูมิลำเนา และหลักแหล่งที่ทำการงานตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ และมีอีกหลายกรณี ส่วนภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 "ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ"

มาตรา 38 "ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป หรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น"

สำหรับคำว่า "โจทก์" โดยปกติหมายถึง ผู้ที่ฟ้องคดี ส่วนคำว่า จำเลย" หมายถึง ผู้ที่ถูกฟ้องคดี แต่ในบางคดีตอนแรกเป็นโจทก์ แต่ต่อมาในระหว่างพิจารณา โจทก์อาจกลายเป็นจำเลย ส่วนจำเลยอาจกลายเป็นโจทก์ เช่นคดีต่อไปนี้

(1)คดีไม่มีข้อพิพาท คดีไม่มีข้อพิพาทเป็นคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลฝ่ายเดียว แต่ถ้าต่อมาในระหว่างพิจารณามีผู้ยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี กรณีก็จะกลายเป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) บัญญัติให้ศาลดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีมีข้อพิพาท

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 "ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(1)ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล

(2)ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็น และวินิจฉัยชี้ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(3)ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดยวิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะในสองกรณีต่อไปนี้

(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง

(4)ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท แต่ในคดีที่ยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คำอนุญาตที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสีย หรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ผู้ไร้ความสามารถนั้น ให้ถือว้าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความสามารถนั้นจะได้มาศาลและแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาต หรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น"

ตัวอย่างเช่น ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยอ้างว่าได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ กรณีนี้ถ้าในระหว่างการไต่สวน มีผู้คัดค้านเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินและคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินโดยปรปักษ์ตามที่กล่าวอ้าง กรณีดังกล่าวจะเห็นว่าเดิมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แต่เมื่อมีผู้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดี ก็จะกลายเป็นคดีมีข้อพิพาท โดยผู้ร้องจะอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ส่วนผู้คัดค้านจะอยู่ในฐานะเป็นจำเลย เมื่อผู้คัดค้านอยู่ในฐานะเป็นจำเลย ก็มีสิทธิขอให้ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นโจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ตาม มาตารา 253 ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่จากตัวอย่างเรื่องนี้จะเห็นว่าการที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินโดยปรปักษ์ แสดงว่าผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรดังนั้น ย่อมไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือเข้าเหตุในข้อ 1 เพราะโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรแล้วและเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ต้องไปพิจารณาในข้อที่ว่าโจทก์มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่อีก กรณีดังกล่าวถ้าจะขอก็ต้องอาศัยเหตุในข้อ 2 โดยจะต้องปรากฏว่าเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นโจทก์เมื่อแพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

คดีไม่มีข้อพิพาทในบางกรณี แม้จะมีผู้คัดค้านเข้ามาในคดี ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีข้อพิพาท โดย มาตรา 188 (4) ได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้ คือ กรณีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คำอนุญาต ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธ หรือกรณีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งทั้งสองกรณีดังกล่าว แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความสามารถแล้วแต่กรณีจะร้องคัดค้านเข้ามาในคดี ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีข้อพิพาท โดยยังถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทอยู่ ดังนั้น ผู้คัดค้านในกรณีดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ไม่มีสิทธิที่จะขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 เพราะการขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 นั้น จำเลยเท่านั้นที่จะขอได้

(2)คดีเกี่ยวกับฟ้องแย้ง เรื่องนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ ซึ่งเมื่อมีการฟ้องแย้งแล้ว ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง จำเลยมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เดิมมีฐานะเป็นจำเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์เดิมมีฐานะเป็นจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง ก็ย่อมมีสิทธิที่จะขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 ได้ แต่ในทางปฏิบัติโจทก์เดิมมีสิทธิที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม มาตรา 254 และขอคุ้มครองประโยชน์ ตาม มาตรา 264 ซึ่งให้สิทธิดีกว่าการขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 จึงไม่มีความจำเป็นที่จะใช่สิทธิขอคุ้มครอง ตาม มาตรา 253 สำหรับจำเลยซึ่งฟ้องแย้งนั้น จำเลยมีฐานะเป็นโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง ก็ย่อมมีสิทธิที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม มาตรา 254 และขอคุ้มครองประโยชน์ตาม มาตรา 264 เหมือนกัน ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 เช่นเดียวกัน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 "เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้วให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน

ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก

ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตตรา 57 (3) โดยอนุโลม"

(3)คดีร้องขัดทรัพย์ เรื่องนี้เป็นกรณีที่เมื่อโจทก์ชนะคดีแล้ว โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อบังคับตามคำพิพากษา แล้วมีผู้ร้องเข้ามาว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด กรณีนี้ผู้ร้องขัดทรัพย์มีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเหมือนเป็นจำเลย ดังนั้น เมือผู้ร้องขัดทรั้พย์มีฐานะเสมือนเป็นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีฐานะเสมือนเป็นจำเลยให้วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 253 เพราะ ผู้ที่มีสิทธิขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 ได้ ต้องเป็นจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิขอ

เรื่องนี้มี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2504 วินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาใช้สิทธิบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดตามคำพิพากษาเป็นของตน ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเสมือนเป็นจำเลย ฉะนั้น โจทก์คือผู้ร้องขัดทรัพย์จะใช้สิทธิตาม มาตรา 253 เพื่อให้ศาลบังคับให้จำเลยวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไม่ได้

                    ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นโรงเรือนมี 2 ชั้น แม้ชั้นบนกับชั้นล่างมีทางเข้าต่างหากจากกัน และชั้นบนมี 11 ห้อง ใช้เป็นโรงแรม ชั้นล่างมี 4 ห้อง ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและบริวาร แต่มีสภาพเป็นโรงเรือนเพียงหลังเดียวไม่สามารถที่จะแยกจากกันได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์จะขอให้แยกยึดไม่ได้

การยื่นคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 (1) เป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วมีผู้มาร้องขัดทรัพย์ เจ้าหนี้ขอให้ศาลสั่งผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินประกันต่อศาลได้ หาใช่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ที่จะขอเช่นนั้นไม่

เดิมศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยให้เงินแก่โจทก์ รวม ๘,๒๕๙ บาท จำเลยไม่ใช้โจทก์จึงนำยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้เป็นโรงเรือน ๑ หลัง ชั้นบนมี ๑๑ ห้อง ใช้เป็นโรงแรม ชั้นล่างมี ๔ ห้อง ใช้เป็นที่อาศัยของจำเลยกับบริวาร ราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ร้องได้เช่าไป ค่าเช่าเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท

ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า โรงรือนนั้นเป็นของผู้ร้องร่วมกับบุตร ขอให้ถอนการยึด

ระหว่างพิจารณา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ดอกเบี้ยในค่าเช่าเป็นเงินรวม ๑๐,๐๐๐ บาท หรือหาบุคคลประกันก็ได้ ขอให้ยึดเฉพาะเงินค่าเช่า ถ้าให้ยึดเฉพาะค่าเช่าไม่ได้ ก็ขอให้ยึดเอาแต่เฉพาะพอกับการชำระหนี้ แล้วถอนส่วนที่เกิน

โจทก์ค้านว่าโรงแรมเป็นของจำเลย เป็นอันเดียวแบ่งแยกไม่ได้และยึดเฉพาะโรงเรือน มิได้ยึดที่ดินด้วย โจทก์เป็นพระไม่มีเงินวางประกัน ไม่อาจหาใครมาประกัน ถ้าจะเอารายได้ของโรงแรมผ่อนใช้หนี้ตามคำพิพากษาทุกเดือนๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท จนกว่าจะหมดหนี้ โจทก์อาจถอนการยึดได้

ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้ว สั่งไม่บังคับให้ตามคำร้องของผู้ร้อง

ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน

ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกามีว่า ทรัพย์ที่โจทก์ยึดในคดีนี้เป็นโรงแรมมี ๒ ชั้นมีทางเข้าชั้นบนทางหนึ่ง ชั้นล่างทางหนึ่ง แต่ก็มีสภาพเป็นโรงเรือนเพียงหลังเดียวไม่สามารถที่จะแยกจากกันได้ จึงแยกยึดไม่ได้

ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ หรือถ้าไม่มีเงินก็ให้หาผู้ค้ำประกัน โดยอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๓ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า มาตรานี้จะใช้บังคับก็แต่ในกรณีโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล หรือมีเหตุแน่นแฟ้นอันเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ซึ่งก็หามีเหตุดังกล่าวในเรื่องนี้ไม่ทั้งจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๘๘ (๑) ก็ไม่ได้ เพราะมาตรา ๒๘๘ (๑) เป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วมีผู้มาร้องขัดทรัพย์ที่จะอ้างใช้สิทธิตามมาตรานี้ได้ หาใช่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขัดทรัพย์เช่นนี้ไม่ ผู้ร้องขัดทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอเช่นนั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

"ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 ถ้าบุคคลใดกล่าวอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นบุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ให้งดการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ดังที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้

                เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่

(1)เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าในเวลาใดๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงินต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ

(2)ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟังหรือถ้าปรากฎว่าทรัพย์สินทึ่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า

คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด

นอกจากนี้คำพิพากษาฎีกาดังกล่าวยังวินิจฉัยว่า แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ ก็ไม่มีสิทธิขอคุ้มครองตาม มาตรา 288(1) เพราะมาตรา 288(1) บัญญัติให้สิทธิเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น

มาตรา 288 (1) บัญญัติว่า "เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าในเวลาใดๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงินต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ"

บทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นการคุ้มครองโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการร้องขัดทรัพย์ที่ไม่มีมูลอันเป็นการประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าไปทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำกพิพกาษาได้รับความเสียหาย จึงต้องบัญญัติให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนได้ ส่วนผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นผู้ที่ต้องถูกบังคับตามบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น โจทก์เดิมซึ่งแม้จะกลายมามีฐานะเสมือนเป็นจำเลย แต่เมื่อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิขอตาม มาตรา 288(1) และเมื่อโจทก์เดิมมีฐานะเสมือนเป็นจำเลย ก็มีสิทธิขอตาม มาตรา 253 ได้ด้วย

มาตรา 253 กับ มาตรา 288 (1) นอกจากจะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับผู้มีสิทธิร้องขอตามที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีข้อแตกต่าง คือ

ประการแรก ระยะเวลาในการร้องขอ มาตรา 253 กำหนดให้ยื่นคำร้องในเวลาใดๆก็ได้ แต่ต้องยื่นก่อนศาลนั้น ๆ พิพากษา กล่าวคือ ถ้าเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ถ้าเป็นกรณีที่ยื่นคำร้องในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ต้องยื่นก่อนศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษา ส่วนกรณีตาม มาตรา 288 (1) ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน แล้วแต่กรณี กล่าวคือ ถ้าคดีนั้นมีการชี้สองสถาน ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถาน แต่ถ้าไม่มีการชี้สองสถานต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน

ประการที่สอง เหตุที่จะร้องขอ มาตรา 253 บัญญัติเหตุที่จะร้องขอไว้ 2 เหตุ คือ
(1)โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจ
ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร
(2)เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย


โดยเข้าเหตุในข้อ 1 หรือ ข้อ 2 เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิขอได้

ส่วนกรณีตาม มาตรา 288 (1) เหตุที่จะร้องขอ คือ โจทก์เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องมี

หลักฐานในเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า คำร้องขัดทรัพย์ที่ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นเข้ามานั้นไม่มีมูลและยื่นเข้า

มาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า

ประการที่สาม เงินหรือประกันที่ให้วาง มาตรา 253 เป็นการให้วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ส่วนมาตรา 288 (1) เป็นการให้วางเงินหรือหาประกันเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดจากการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ ซึ่งจะเห็นว่าการวางเงินหรือหาประกันตาม มาตรา 253 กับการวางเงินหรือหาประกัน ตามมาตรา 288 (1) เป็นคนละส่วนกัน เมื่อเป็นคนละส่วนกัน ก็ย่อมขอได้ทั้ง 2 ส่วน กล่าวคือ โจทก์เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอตาม มาตรา 288 (1) และในฐานะที่เสมือนเป็นจำเลยในคดีร้องขัดทรัพย์ มีสิทธิขอตาม มาตรา 253 ด้วย ไม่เป็นการขอซ้ำ

ประการที่สี่ เกี่ยวกับการจำหน่ายคดี มาตรา 253 ก็ดี มาตรา 288 (1) ก็ดี บัญญัติทำนองเดียวกันว่า เมื่อศาลให้วางเงินหรือหาประกันแล้ว โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ศาลจำหน่ายคดี แต่มีข้อที่แตกต่างกัน คือ มาตรา 253 วรรคสาม และมาตรา 253 ทวิ วรรคสาม ได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่า ถ้าจำเลยขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ศาลจะจำหน่ายคดีไม่ได้ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่อไป

ส่วนคดีร้องขัดทรัพย์ตาม มาตรา 288 (1) เมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ไม่วางเงินหรือหาประกันตามที่ศาลสั่งแล้ว ศาลต้องจำหน่ายคดี ไม่มีข้อยกเว้น

ประการที่ห้า เกี่ยวกับคำสั่งศาล กรณีตาม มาตรา 253 และ มาตรา 253 ทวิ คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ หรือฎีกาได้ตาม มาตรา 228 (2) และมาตรา 247 แต่สำหรับคำสั่ง ตาม มาตรา 288 (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งไม่ได้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 "ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
(1)ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจำขัง ผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้
(2)มีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือมีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป หรือ
(3)ไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไป

แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลดำเนินคดีต่อไป และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น แต่ถ้าในระหว่างพิจารณา คู่ความอุทธรณ์คำสั่งชนิดที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (3) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกลับหรือแก้ไขคำสั่งที่คู่ความอุทธรณ์นั้น จะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อใดที่ศาลล่างมิได้วินิจฉัยไว้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลล่างงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ หรืองดการวินิจฉัยคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรรณ์จะได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น

ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ก็ให้อุทธรนณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความในมาตรา 223"

มาตรา 247 "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฏีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้นและภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม"

สำหรับกรณีร้องสอด กรณีนี้ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาแทนที่โจทก์ ซึ่งโจทก์ยินยอมและศาลอนุญาต กรณีนี้มาตรา 57 (2) บัญญัติให้คู่ความเดิมต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลเสมือนหนึ่งมิได้เข้าแทนที่กันเลย ดังนั้น จำเลยสามารถที่จะบังคับเอาค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากโจทก์เดิมได้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิขอให้ผู้ร้องสอดดังกล่าววางเงินหรือหาประกันได้ กรณีนี้ถ้าจะขอต้องขอให้โจทก์เดิมเป็นผู้วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โดยต้องปรากฏว่ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

กรณีมีโจทก์หลายคน ถ้าปรากฏว่าโจทก์บางคนมีเหตุที่จำเลยจะขอให้คุ้มครองตาม มาตรา 253 แต่โจทก์บางคนไม่มีเหตุที่จะขอคุ้มครอง ปัญหาว่าจำเลยจะขอให้โจทก์ที่มีเหตุวางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

มาตรา 162 "บุคคลที่เป็นโจทก์ร่วมกันหรือจำเลยร่วมกันนั้น หาต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียมไม่ หากต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมหรือลูกหนี้ร่วม หรือศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น"

จากบทบัญญัติดังกล่าว ถ้าโจทก์หลายคนเหล่านั้นไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ร่วม ก็ไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกัน แต่ต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน โดยแยกจากกันเป็นคนละส่วน ดังนั้น กรณีที่มีโจทก์หลายคน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ร่วม ถ้าโจทก์คนใดมีเหตุตาม มาตรา 253 จำเลยก็ขอให้โจทก์คนนั้นวางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้ แต่ถ้าโจทก์เหล่านั้นเป็นเจ้าหนี้ร่วม กรณีนี้ แม้โจทก์คนใดคนหนึ่งมีเหตุที่จำเลยจะขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เหล่านั้นเป็นเจ้าหนี้ร่วมซึ่งจะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียร่วมกันแล้ว จำเลยสามารถที่จะบังคับเอาค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจากโจทก์คนอื่นที่เป็นเจ้าหนี้ร่วม ได้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะขอคุ้มครองตาม มาตรนา 253

สำหรับข้อความตอนท้ายของ มาตรา 162 ที่ว่า หรือศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นข้อนี้เป็นเรื่องที่ศาลจะมีคำสั่งในภายหลัง ซึ่งในระหว่างพิจารณาย่อมไม่ทราบว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไร จึงไม่ต้องไปคำนึงถึงในข้อนี้ โดยให้พิจารณาเฉพาะในข้อที่ว่าโจทก์เหล่านั้นเป็นเจ้าหนี้ร่วมหรือไม่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น

เหตุที่จำเลยจะขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 ให้พิจารณาเฉพาะตัวโจทก์เท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจก็ดี ผู้แทนของโจทก์ก็ดี บุคคลเหล่านี้เป็นเพียงผู้ทำการแทนซึ่งไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเป็นการส่วนตัว จึงจะยกเอาเหตุของผู้รับมอบอำนาจหรือของผู้แทนโจทก์มาเป็นข้อพิจารณาไม่ได้

เรื่องสัญชาติก็เช่นเดียวกัน โจทก์จะมีสัญชาติใด ไม่ใช่ข้อสำคัญ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าโจทก์มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักรและมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือโจทก์มีพฤติการณ์ที่ส่อแสดงให้เห็นว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้ว จำเลยก็มีสิทธิขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 โดยไม่ต้องไปคำนึงถึงเรื่องสัญชาติของโจทก์

การขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจะขอในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม มาตรา 253 หรือจะขอในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาตาม มาตรา 253 ทวิ ก็ได้

มาตรา 253 ทวิ* "ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 253 วรรคหนึ่ง จำเลยอาจยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้

ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คำร้องตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง

ให้นำความในมาตรา 253 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับแก่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม"

จากบทบัญญัติ มาตรา 253 ทวิ เหตุที่จำเลยจะขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ จะต้องประกอบด้วยกัน 2 เหตุ คือ
(1)โจทก์ต้องเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษา และ
(2)มีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 วรรคหนึ่ง

สำหรับข้อ 1 ที่ว่าโจทก์ต้องเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ข้อนี้หมายถึงว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี จึงเป็นฝ่ายที่ต้องยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ซึ่งหมายถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณีก็ย่อมไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาฎีกา

สำหรับข้อ 2 หมายถึงว่า นอกจากเหตุที่โจทก์จะต้องเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาแล้ว ยังจะต้องปรากฏว่ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 ทวิ กล่าวคือ จะต้องประกอบด้วยกันทั้งสองเหตุ คือทั้งเหตุในข้อ 1 เหตุในข้อ 2 ถ้าขาดเหตุใดเหตุหนึ่งก็ไม่มีสิทธิที่จะขอได้ เช่น จำเลยเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษา ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ในข้อ 1 จึงไม่มีสิทธิขอคุ้มครองให้เศาลสั่งสให้ดจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ และเมื่อไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือเหตุในข้อ 1 แล้ว ก็ไม่ต้องไปพิจารณาถึงเหตุในข้อ 2 อีก

กรณีตาม มาตรา 253 ทวิ ซึ่งเป็นการขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกานั้น แม้จำเลยจะเคยขอมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันตามคำขอของจำเลยหรือยกคำร้อง ถ้าต่อมาปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาและมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 วรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา จำเลยก็มีสิทธิขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้เพราะการขอคุ้มครองนั้นเป็นการขอแต่ละชั้นศาล และหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีก็ต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในแต่ละชั้นศาล ดังนั้นถ้าเข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 ทวิ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็มีสิทธิขอในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้
หลักเกณฑ์การร้องขอ

มาตรา 253 และมาตรา 253 ทวิ บัญญัติให้ยื่นเป็นคำร้อง ซึ่งในคำร้องจะต้องมีคำขอระบุจำนวนเงินที่ขอให้ศาลสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายด้วย

สำหรับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องนั้น ต้องยื่นก่อนศาลพิพากษา โดยถ้าเป็นกรณีขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่ถ้าเป็นการขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ต้องยื่นก่อนศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษา คำร้องดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ทำได้ฝ่ายเดียว จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 21 (2) และ (4) โดยศาลจะต้องส่งสำเนาคำร้องให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน และเมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านแล้ว ถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นต้องทำการไต่สวน ก็จะทำการไต่สวน หลังจากนั้นจึงจะพิจารณามีคำสั่ง โดยถ้าเป็นกรณีที่ขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาสั่ง

แต่ถ้าเป็นกรณีที่ขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แยกเป็น 2 กรณีคือ

(ก)ถ้าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา กรณีนี้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นเป็นผู้ทำการไต่สวน แต่ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจในการพิจารณาสั่ง เมื่อไต่สวนแล้วต้องส่งสำนวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาสั่ง

(ข)ถ้าศาลชั้นต้นส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว ให้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี แต่ในทางปฏิบัตินั้น อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องแล้ว ก็จะส่งสำเนาคำร้องให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน และเมื่อได้รับคำคัดค้านแล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนความไปให้ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่ง ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่า คดีจำเป็นต้องทำการไต่สวน ก็จะส่งสำนวนความมาให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้ดำเนินการไต่สวน จากนั้นศาลชั้นต้นจึงจะส่งสำนวนความไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาสั่ง

กรณีมีปัญหาว่าในวันนัดไต่สวน ถ้าโจทก์จำเลยไม่มาศาล หรือโจทก์มาศาลแต่จำเลยไม่มาหรือในทางกลับกันจำเลยมาศาลแต่โจทก์ไม่มา ผลจะเป็นอย่างไร ข้อนี้เห็นว่าถ้าจำเลยไม่มาศาลในวันนัดไต่สวน ถือได้ว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบตามข้อกล่าวอ้าง ศาลต้องยกคำร้องไม่ว่าโจทก์จะมาหรือไม่มาก็ตาม ซึ่งเมื่อศาลยกคำร้องแล้ว ศาลก็จะดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่อไป คือ ยกเฉพาะคำร้องที่จำเลยขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและเค่าใช้จ่ายเท่านั้น ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่ถ้าเป็นกรณีที่จำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ไม่มา ข้อนี้เห็นว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนพยานจำเลยไป โดยถือว่าโจทก์สละสิทธิในการถามค้านพยาน และเมื่อไต่สวนพยานของจำเลยเสร็จแล้วต้องเลื่อนไปให้โอกาสโจทก์นำพยานมาสืบ ถ้าถึงวันนัดโจทก์ไม่มาก็ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ศาลจะพิจารณามีคำสั่งตามพยานหลักฐานของจำเลยที่ปรากฏในสำนวน
สำหรับจำนวนเงินที่ศาลจะสั่งให้โจทก์นำมาวางหรือหาประกันนั้น มาตรา 253 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ และสำหรับกรณีในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา มาตรา 253 ทวิ วรรคสาม บัญญัติให้นำความใน มาตรา 253 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับในชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาโดยอนุโลมซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ โดยศาลจะคำนึงถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตาม มาตรา 161 และค่าทนายความตามที่บัญญัติไว้ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิพารณาความแพ่งมาเป็นข้อพิจารณาว่าจะกำหนดให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเป็นจำนวนเท่าไร สมควรจะกำหนดเงื่อนไขหรือไม่ และเมื่อคดีไปสู่ศาลสูง ศาลสูงมีอำนาจที่จะกำหนดให้โจทก์วางเงินเพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2530 วินิจฉัยว่า ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินที่โจทก์ต้องวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 253 ได้ ตามที่เห็นสมควร โดยกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ด้วยก็ได้ เมื่อศาลล่างทั้งสองสั่งให้โจทก์วางประกันดังกล่าวจำนวนหนึ่งแล้ว ถ้าปรากฏว่าคดีโจทก์มีทุนทรัพย์สูง ศาลฎีกาให้โจทก์วางเงินเพิ่มขึ้นได้

 คำสั่งศาลให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 253 เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 228(2) ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน

คดีมีทุนทรัพย์ 18,739,895.67 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 30,000 บาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 253 ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีนี้แล้วเป็นจำนวนต่ำไป จึงให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 50,000บาท.(ที่มา-ส่งเสริม)

โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ได้มอบให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า ชำระหนี้ตามสัญญาและตั๋วแลกเงินรวมเป็นเงิน 18,739,895.67 บาท พร้อมดอกเบี้ย

   ก่อนวันสืบพยาน จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเป็นเงิน18,000,000 บาท เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจของศาลไทยนำคดีไม่มีมูลมาฟ้อง และหากจำเลยชนะคดีแล้วไม่อาจบังคับคดีเอาค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เสียไปจากโจทก์ได้

   โจทก์คัดค้านว่า โจทก์เป็นบริษัทที่มีฐานะมั่นคง หากโจทก์แพ้คดีก็ยินดีชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ แทนจำเลย ฟ้องโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือและจำนวนหนี้กำหนดแน่นอนจำเลยทั้งห้าไม่มีทางชนะคดีโจทก์ คำร้องของจำเลยเป็นการประวิงคดีทั้งจำนวนเงินที่จำเลยขอให้วางเป็นจำนวนที่สูง โดยไม่มีเหตุผลสนับสนุน ขอให้ยกคำร้อง

   ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่อศาล 30,000 บาท
   จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
   จำเลยทั้งห้าฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 'ที่โจทก์แก้ฎีกาว่า คำร้องของจำเลยไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ และเมื่อศาลเห็นสมควรให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 30,000 บาท จำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า คำสั่งศาลที่ให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 253 เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (2) จำเลยย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้โดยหาจำต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ก่อนไม่ และคำร้องตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่จำต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายมาแต่อย่างใด...

   ส่วนข้อที่จำเลยทั้งห้าฎีกาว่า ศาลกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเป็นเงินเพียง 30,000 บาทน้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดีและความเป็นจริงนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า จำนวนเงินที่โจทก์ต้องวางประกันสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาตรา 253 นั้น ศาลมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควรและอาจกำหนดเงื่อนไขอย่างใดๆ ไว้ด้วยก็ได้และอย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงหรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตน หรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้เสียไปก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก นอกจากนั้นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในกรณีนี้หาได้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร ค่าเดินทางและค่าที่พักในการไปดำเนินคดีดังที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาไม่ แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 30,000 บาทนั้น เมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีนี้แล้วศาลฎีกาเห็นว่าเป็นจำนวนต่ำไป และเห็นสมควรให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 50,000 บาท ฎีกาของจำเลยทั้งห้าฟังขึ้นบางส่วน

   พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 50,000 บาท ค่าฤชาธรรม    เนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ'.

หมายเหตุ

การสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 นั้น มีข้อสังเกตบางประการดังต่อไปนี้

1. จำเลยจะต้องเป็นฝ่ายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลจะสั่งเองไม่ได้ซึ่งต่างกับกรณีที่ศาลสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288(1) แม้โจทก์เพียงแต่ยื่นคำร้องว่า คำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูล ขอให้งดสืบพยานโดยไม่ได้ขอให้ผู้รัองขัดทรัพย์วางเงินประกัน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินประกันได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่1293/2514 ประชุมใหญ่)
2. คำร้องเช่นนี้ไม่ใช่คำร้องที่อาจทำได้ฝ่ายเดียว ฉะนั้นก่อนศาลจะสั่งคำร้องจะต้องส่งสำเนาให้โจทก์ และให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(2)เสียก่อนเสมอ
3. จำเลยจะยื่นได้เฉพาะต่อศาลชั้นต้นเท่านั้น และต้องยื่นเสียก่อนวันสืบพยาน คือ ก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(10) จะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาไม่ได้ (คำสั่งคำร้องที่ 642/2503)
4. คำร้องของจำเลยจะต้องอาศัยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

 ก. โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล หรือ
 ข. มีเหตุแน่นแฟ้นอันเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหลาย

 คำว่า "ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล" หมายความถึง ผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยโดยไม่จำกัดว่าเป็นคนสัญชาติใด ฉะนั้นแม้โจทก์จะเป็นคนสัญชาติไทยแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศจำเลยก็ย่อมยื่นคำร้องโดยอ้างเหตุตามข้อ ก. นี้ได้และเมื่อมีเหตุตามข้อ ก. แล้วก็ไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเหตุตามข้อ ข. หรือไม่อีกเช่น โจทก์อยู่ที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย จึงไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล แม้จำเลยมิได้นำสืบว่าโจทก์แพ้แล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ศาลก็มีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันตามคำร้องของจำเลยได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่3155/2526)

5. เมื่อศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของจำเลยประการใด แม้คำสั่งนี้จะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเพราะเป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อค้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) ทั้งนี้โดยไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว
 ก็ย่อมฎีกาต่อไปได้อีกตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้
6. ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้วคำสั่งนั้นย่อมมีผลอยู่จนถึงคดีถึงที่สุด แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ก็ต้องวางเงินตามที่ศาลกำหนด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2529) ทั้งนี้เพราะศาลสูงอาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีก็ได้ หรือแม้โจทก์จะชนะคดีในที่สุดศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้ฝ่ายชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2525).

  ประดิษฐ์เอกมณี.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21

"เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล
(1)ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติว่า คำขอหรือคำแถลงจะต้องทำเป็นคำร้องหรือเป็นหนังสือ ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะยอมรับคำขอหรือคำแถลงที่คู่ความได้ทำในศาลด้วยวาจาได้ แต่ศาลต้องจดข้อความนั้นลงไว้ในรายงาน หรือจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง หรือยื่นคำแถลงเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
(2)ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดจะทำได้แต่ฝ่ายเดียว ห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ มีโอกาสคัดค้านก่อนแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการขาดนัด
(3)ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คำขออันใดอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้เว้นแต่ในกรณีที่คำขอนั้นเป็นเรื่องขอหมายรียกให้ให้การหรือเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินก่อนคำพิพากษา หรือเพื่อให้ออกหมายบังคับ หรือเพื่อจับหรือกักขังจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(4)ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า ศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามคำขอนั้น

ในกรณีเรื่องใดที่ศาลอาจออกคำสั่งได้เองหรือต่อเมื่อคู่ความมีคำขอให้ใช้บทบัญญัติ อนุมาตรา (2) (3) และ (4) แห่งมาตรานี้บังคับ

ในกรณีเรืองใดที่คู่ความไม่มีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่ง แต่หากศาลอาจมีคำสั่งในกรณีเรื่องนั้นได้เอง ให้ศาลมีอำนาจภายในบังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 103 และ 181 (2) ที่จะงดฟังคู่ความหรืองดทำการไต่สวนก่อนออกคำสั่งได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 3155/2526 

ป.วิ.พ. มาตรา 253 ใช้คำว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ใน อำนาจศาล 'หรือ' ถ้ามีเหตุแน่นแฟ้นอันเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหลาย  หาได้ใช้คำว่า 'และ' ไม่  จึงอาจเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดก็ได้ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องและคำร้องของโจทก์ว่าตัวโจทก์อยู่ที่ประเทศซาอุดิอาราเบียจึงฟังได้ว่า  โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล ดังนั้นแม้จำเลยมิได้นำสืบว่า  โจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย  ศาลก็มีคำสั่งให้โจทก์วางประกันตามคำร้องของจำเลยได้

โจทก์โดยทนายความฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาที่จะให้โจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการบาร์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินที่โจทก์ได้ชำระไปแล้วคืนแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาเป็นโมฆะเพราะขัดต่อกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การว่า ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ทำธุรกิจสถานบริการ

พร้อมกับคำให้การ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่า โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย เป็นบุคคลที่อยู่นอกอำนาจศาลไทย ขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253

ทนายโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเพื่อประวิงคดี

จำเลยทั้งสองแถลงไม่ติดใจสืบพยาน

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสอง
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามจำนวน ภายในเวลา และเงื่อนไขที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นว่าตามบทบัญญัติมาตรา 253 ใช้คำว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล "หรือ" ถ้ามีเหตุแน่นแฟ้นอันเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหลาย หาได้ใช้คำว่า"และ" ไม่ จึงอาจเป็นกรณีหนึ่งกรณีใดก็ได้ ข้อเท็จจริงปรากฏชัดจากคำฟ้องของโจทก์เองว่า โจทก์มีเชื้อชาติอิตาลี สัญชาติอิตาลี อาชีพรับจ้าง อยู่บ้านเลขที่ 1664เมืองคำมาน ประเทศซาอุดิอาราเบีย จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาลในคำร้องของทนายโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินก็ยอมรับว่ายังติดต่อกับตัวโจทก์ไม่ได้ เพราะตัวโจทก์อยู่ที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย กรณีจึงฟังได้ชัดว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าในกรณีนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบว่าโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ศาลย่อมมีคำสั่งให้โจทก์วางประกันตามคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 นั้นจึงชอบแล้ว

พิพากษายืน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1487/2529

ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253ย่อมมีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์ก็ต้องวางเงินตามที่ศาลกำหนด

เนื่องจากศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 253 และศาลฎีกาพิพากษายืน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินเพื่อเป็นหลักค้ำประกันค่าธรรมเนียมโจทก์อุทธรณ์ขอให้งดการวางเงิน เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ก็เพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้หากโจทก์แพ้คดีในที่สุด เนื่องจากโจทก์เป็นบุคคลอยู่นอกเขตอำนาจศาลซึ่งจำเลยไม่อาจบังคับเอาได้ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์วางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอ โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนเงินและเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร คดีนี้ยังไม่ถึงที่สุดโจทก์ต้องวางเงินตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลชั้นต้นกำหนดนี้เป็นการกระทำตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งสั่งตามคำร้องขอของจำเลยที่ร้องขอก่อนศาลชั้นต้นพิพากษานั้นเอง ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน จำเลยทั้งสองไม่แก้ฎีกา จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1715/2525 

 โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยฟ้องว่าจำเลยทำละเมิด จำเลยจึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดีเพราะศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100,269,743 บาท  ซึ่งหากโจทก์แพ้คดี และศาลชั้นต้นให้โจทก์ชดใช้ค่าทนายความเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กฎหมายกำหนดคือร้อยละ 2 ครึ่ง  โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ  ก็จะเป็นเงินค่าทนายความถึง  2,500,000 บาทเศษที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 750,000 บาท จึงมิใช่จำนวนที่สูงเกินสมควร

โจทก์ฟ้องจำเลยฐานละเมิดโดยกลั่นแกล้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับโจทก์ฐานฉ้อโกงยักยอกทรัพย์สินของบริษัทจำเลย ก่อนสืบพยาน จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 750,000 บาท ภายใน 25 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเห็นได้ชัด จำเลยไม่มีทางชนะคดีจึงไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องวางเงินประกันนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 253 ในกรณีที่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอำนาจศาล จำเลยก็อาจจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดี เพราะเรื่องความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตามมาตรา 161

ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพียงไม่เกิน 50,000 บาทนั้น พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนสูงถึง 100,269,743 บาท ซึ่งหากโจทก์แพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นให้โจทก์ชดใช้ค่าทนายความเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กฎหมายกำหนด คือ ร้อยละ 2 ครึ่ง โดยมิได้คิดถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็จะเป็นเงินค่าทนายความที่โจทก์จะต้องชดใช้แก่จำเลยถึง 2,500,000 บาทเศษ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 750,000บาท จึงมิใช่จำนวนที่สูงเกินสมควร"

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

"ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงหรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายเสียค่าฤชชาธรรมเนียมส่วนของตน หรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้เสียไปก็ได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง

ผลของคำสั่งศาล

ผลของคำสั่งศาล แยกได้เป็น 2 กรณี คือ

(ก)ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง กล่าวคือ ถ้าศาลพิจารณาคำร้องหรือหากมีการไต่สวนและได้ทำการไต่สวนแล้วเห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 หรือ มาตรา 253 ทวิ แล้วแต่กรณี ศาลก็จะยกคำร้องซึ่งเมื่อศาลยกคำร้องแล้วจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งได้ตาม มาตรา 228 (2) และมาตรา 247

(ข)ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกัน กล่าวคือ ถ้าศาลพิจารณาคำร้องหรือหากมีการไต่สวน และทำการไต่สวนแล้ว เห็นว่าคำร้องของจำเลยมีเหตุอันสมควรโดยเข้าหลักเกณฑ์ตามที่บบัญญัติไว้ใน มาตรา 253 หรือ มาตรา 253 ทวิ แล้วแต่กรณีศาลก็จะมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยขอ ซึ่งหากโจทก์ไม่พอใจในคำสั่งศาล โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม มาตรา 228 (2) และมาตรา 247 ส่วนจำเลย ถ้าเห็นว่าจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้วางนั้นน้อยไป ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1106/2530 วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลที่ให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 นั้น เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (2) จำเลยย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ก่อน

คำว่า "ค่าฤชาธรรมเนียม" นั้น มาตรา 161 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใด ๆ ไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย"

จะเห็นว่ากฎหมายบัญญัติไว้กว้าง ๆ ซึ่งในเรื่องนี้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 1378/2518

คำร้องให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินระบุเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางวา แต่ได้ความตามแผนที่วิวาทเกินออกไปอีก 40 ตารางวา  ศาลพิพากษาให้ตามที่ได้ความ  ไม่เป็นการเกินคำขอ

ค่าใช้จ่ายในการทำแผนที่วิวาท  ซึ่งศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินทำตามที่คู่ความตกลงกัน เป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งศาลสั่งให้เป็นพับแก่โจทก์ผู้แพ้คดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2520

พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ระหว่างที่จำเลยฎีกาโจทก์ขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดแล้วมอบเงินที่ขายได้ให้โจทก์ไปต่อมาศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลย ดังนี้โจทก์จะนำแต่เงินค่าซื้อทรัพย์สินของจำเลยจากการขายทอดตลาดมาชำระให้จำเลยเท่านั้นไม่ได้แต่จะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดด้วย เพราะค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเป็นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 5 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และมาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดี ให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองบัญญัติว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย

กรณีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินกู้พร้อมทั้งดอกเบี้ย จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกาโจทก์ขอให้ศาลบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลย แล้วขายทอดตลาดได้เงิน 99,150 บาท โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อได้หลังจากขายทอดตลาดแล้ว ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลย

โจทก์นำเงินค่าซื้อทรัพย์สินของจำเลยจากการขายทอดตลาดมาวางศาล99,150 บาท ศาลชั้นต้นให้จำเลยเสียค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดโดยหักเงินที่ขายทอดตลาดไว้ร้อยละ 5 เป็นเงิน 4,957.50 บาท

 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาด

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการขายทอดตลาด4,957.50 บาท
โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ค่าธรรมเนียมในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเป็นค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดี ให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี และวรรคสองบัญญัติว่าค่าฤชาธรรมเนียมให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี กับให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และฎีกาแทนจำเลย ฉะนั้นโจทก์จึงต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาดแทนจำเลยนั้นชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

สรุปว่า "ค่าพาหนะและค่าป่วยการ" ที่คู่ความต้องเสียให้แก่เจ้าพนักงานในการนำเอกสารไปส่งกองวิทยาการกรมตำรวจเพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าฤชาธรรมเนียมในการตรวจพิสูจน์เอกสาร ค่าใช้จ่ายในการทำแผนที่พิพาท ค่าธรรมเนียมในการขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดี ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานั้น ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม ส่วนค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร ค่าเดินทาง และค่าที่พักในการไปดำเนินคดี ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียม

โดย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2530 วินิจฉัยว่า ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 ไม่ได้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายในการแปลเอกสาร ค่าเดินทางและค่าทีพักในการไปดำเนินคดีซึ่งหมายถึงว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ไม่ใช่ค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา 253 นอกจากจะมีคำว่า ค่าฤชาธรรมเนียม แล้ว ยังมีคำว่า ค่าใช้จ่ายซึ่งน่าจะหมายถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกจากในส่วนที่เป็นค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งคำว่า ค่าใช้จ่ายมี บัญญัติอยู่ใน มาตรา 154 โดยบัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างวการพิจารณาหรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีเงินพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินไม่เกินร้อยบาทได้โดยพลัน"

บทบัญญัติดังกล่าวใช้คำว่า "เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา" ซึ่งจำเลยก็อาจจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะว่าถ้าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็จะพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแก่จำเลยกรณีนี้จำเลยก็เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในส่วนค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้แก่จำเลย มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของโจทก์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาในส่วนนี้ได้ จำเลยจึงอาจถูกเจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงมีสิทธิขอให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้

ปัญหาต่อไปมีว่า จำนวนเงินหรือหลักประกันที่จะสั่งให้โจทก์วางนั้น จะคำนวณเฉพาะในศาลชั้นต้นหรือจะต้องคำนวณไปถึงชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาด้วย เรื่องนี้เมื่อพิจารณา ตาม มาตรา 229 มาตรา 233 และเมาตรา 247 จะเห็นว่า มาตรา 229 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางพร้อมกับอุทธรรณ์ และมาตรา 233 บัญญัติให้อำนาจศาลอุทธรณ์ โดยหากศาลอุทธรณ์เห็นว่าการอุทธรณ์จะทำให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้นศาลอุทธรรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำเงินมาวางศาลอีกให้พอกับค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องเพิ่มขึ้นนั้นได้ สำหรับในชั้นศาลฎีกา มาตรา 247 บัญญัติให้นำ มาตารา 229 และมาตรา 233 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น จากบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้ว และโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษา โจทก์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณี มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์หรือฎีกา ประกอบกับ มาตรา 253 ทวิ ยังบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิที่จะขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ จึงเห็นได้ว่าการขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 และมาตรา 253 ทวิ นั้น เป็นการขอคุ้มครองในแต่ละชั้นศาล ดังนั้น ถ้าเป็นการขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เงินหรือหลักประกันที่จะสั่งให้โจทก์นำมาวางจะกำหนดเฉพาะที่จะเกิดขึ้นในศาลชั้นต้นเท่านั้น และถ้าเป็นการขอคุ้มครองในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ตาม มาตรา 253 ทวิ ก็จะกำหนดให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันเฉพาะที่จะเกิดขึ้นในชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี

เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันแล้ว โจทก์มีทางเลือก 2 ทางคือ

(1)โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งศาล กรณีนี้เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลแล้ว ศาลก็จะดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่อไป แต่ถ้าโจทก์เห็นว่าระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้วางเงินหรือหาประกันนั้นไม่เพียงพอ โจทก์มีสิทธิขอขายายระยะเวลาได้ตาม มาตรา 23 กรณีนี้ ถ้าศาลไม่อนุญาต หรือศาลอนุญาต แต่โจทก์ไม่นำเงินหรือหาประกันมาวางตามที่ศาลอนุญาตให้ขยาย ก็ถือว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลต้องจำหน่ายคดีตาม มาตรา 253 วรรคสาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

"เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น แต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย"

มาตรา 253 วรรคสาม " ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง"

คำพิพากษาฎีกาที่ 271/2543      

 ศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงิน และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21(4) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 253 วรรคสามได้ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลอีกหรือไม่

 ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ  ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน เนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

 ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายและศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกัน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนหุ้นของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) จำนวน 700,000 หุ้น หรือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงิน 19,487,708 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน16,100,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การปฏิเสธความรับผิด จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ

ก่อนวันนัดชี้สองสถาน จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นเป็นเงิน 2,000,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 อ้างว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 เป็นเงิน 50,000 บาท
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 300,000 บาท

โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน

ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานจำเลยตามที่ศาลกำหนดให้นำพยานเข้าสืบก่อน จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้โจทก์นำเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษาศาลฎีกามาวางศาลก่อนดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทนายโจทก์แถลงว่าเพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศและขณะนี้ไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายออกไปจนถึงวันที่ 18 กันยายน 2540 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานจำเลยนัดต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต

วันที่ 17 กันยายน 2540 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายออกไป 1 เดือน อ้างเหตุว่าโจทก์เดินทางไปทำธุระที่ประเทศแคนาดายังไม่กลับ ทนายโจทก์ไม่สามารถติดต่อโจทก์เพื่อนำเงินมาวางศาลได้ และทนายโจทก์แถลงเพิ่มเติมต่อ ศาลชั้นต้นในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าทนายโจทก์ติดต่อกับมารดาโจทก์ที่เมืองไต้หวันแล้ว ได้ความว่าโจทก์ไปทำธุรกิจที่ประเทศแคนาดา มารดาโจทก์รับปากจะติดต่อให้โจทก์ส่งเงินให้แก่ทนายโจทก์เพื่อวางศาลโดยเร็ว จึงขอขยายเวลาวางเงินออกไปถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้วางเงินภายในกำหนดดังกล่าว มิฉะนั้นศาลจะพิจารณาสั่งคดีโดยเคร่งครัดต่อไป แล้วนัดสืบพยานจำเลยในวันดังกล่าวด้วย

ครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ขอขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายออกไปอีก 2 เดือน โดยอ้างเหตุว่าทราบจากมารดาโจทก์ว่า โจทก์ยังพำนักอยู่ที่ประเทศแคนาดาโจทก์แจ้งว่ายังไม่สามารถหาเงินจำนวน 300,000 บาท ได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินจำนวนดังกล่าวประมาณ2 เดือน จำเลยที่ 1 และที่ 3 คัดค้าน และขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนการวางเงินหลายครั้งแล้ว ครั้งสุดท้ายให้โอกาสโจทก์โดยกำชับให้นำเงินมาวางศาลภายในกำหนด มิฉะนั้นจะสั่งคดีโดยเคร่งครัด ประกอบกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คัดค้านกรณีไม่มีเหตุสมควรจะอนุญาตตามคำร้อง ให้ยกคำร้องของโจทก์ และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 วรรคสาม

โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้องขอขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ของโจทก์ ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคำร้องฉบับดังกล่าวของโจทก์มีพฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายเวลาวางเงินหรือไม่และไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล อันเป็นเงื่อนไขที่ศาลจะต้องพิจารณาก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดี เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งโจทก์ได้ยกขึ้นอุทธรณ์ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน และเห็นว่าการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายเวลาวางเงินของโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาวันเดียวกันความว่า โจทก์ขอเลื่อนการวางเงินหลายครั้งแล้ว ครั้งสุดท้ายให้โอกาสโจทก์โดยกำชับให้นำเงินมาวางศาลภายในกำหนด มิฉะนั้นจะสั่งคดีโดยเคร่งครัด ประกอบกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คัดค้าน กรณีไม่มีเหตุสมควรจะอนุญาตตามคำร้อง ให้ยกคำร้อง ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันเป็นเงื่อนไขที่ศาลจะสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินให้แก่โจทก์นั่นเอง และเมื่อศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 โดยศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์ที่ขอขยายเวลาวางเงินมาจนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 เมื่อโจทก์ขอขยายเวลาวางเงินในวันดังกล่าวออกไปอีก แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ก็ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 วรรคสาม โดยไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยอีกว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 และคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการต่อไปมีว่ากรณีมีเหตุที่จะอนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายตามคำร้องฉบับลงวันที่ 20ตุลาคม 2540 ออกไปอีกครั้งหรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 บัญญัติว่า การขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินฉบับดังกล่าวว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายที่ติดต่อกันตัวโจทก์แจ้งว่ายังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือน โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป หากแต่เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามบทกฎหมายดังกล่าว

อนึ่ง ข้อเท็จจริงยังได้ความอีกว่า เมื่อมีคำสั่งอันถึงที่สุดในวันที่ 5 สิงหาคม 2540ให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจำนวน 300,000 บาท แล้วโจทก์ได้แถลงขอขยายเวลาวางเงินออกไปถึงวันที่ 18 กันยายน 2540 เมื่อถึงกำหนดดังกล่าวก็ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินออกไปถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2540 ศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีกจึงชอบแล้ว

พิพากษายืน

มาตรา 21 (4) "ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้ว่า ศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามคำขอนั้น"

(2)โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
กรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ซึ่งโดยหลักแล้ว ศาลต้องจำหน่ายคดีตาม มาตรา 253 วรรคสาม และ มาตรา 253 วรรคสาม แต่มีข้อยกเว้นอยู่ 2 ประการที่ศาลจะจำหน่ายคดีไม่ได้ คือ
(ก) จำเลยขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป
(ข) มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่ง(3)
ถ้าเข้าข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่ง ศาลจะจำหน่ายคดีไม่ได้ โดยกรณีนี้ถือว่าจำเลยสละสิทธิในการขอคุ้มครองตามที่จำเลยขอ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ต่อไป เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไป ซึ่งทำให้ศาลจำหน่ายคดีไม่ได้ ก็เพราะว่าในทางคดีนั้น อาจจะมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันกฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาว่า จะขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปหรือไม่

ตัวอย่างเช่น คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ขณะที่ฟ้อง คดีกำลังจะขาดอายุความ และในระหว่างพิจารณา จำเลยได้ขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันตาม มาตรา 253 แต่โจทก์ไม่วาง จำเลยก็น่าจะไม่ขอให้ดำเนินการพิจารณาต่อไป ซึ่งศาลต้องจำหน่ายคดี เมื่อจำหน่ายคดีแล้ว แม้โจทก์จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่ แต่เมื่อฟ้องใหม่ คดีขาดอายุความแล้ว จำเลยจะได้ยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ซึ่งจะทำให้จำเลยได้เปรียบในการต่อสู้คดี เพราะการจำหน่ายคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (1)(2) 174 (2) โดยถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17
"ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา 193/14(2) หากคดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำฟ้องหรือคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง
ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่และปรากฎว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพกาษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด"

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132

"ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นและให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
(1)เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้องหรือไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 174 มาตรา 175 และมาตรา 193 ทวิ
(2)เมื่อโจทก์ไม่หาประกันมาให้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และ 288 หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายขาดนัดดังที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 198, 200 และ 201
(3)ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มีประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42
(4)เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกันซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 และ 29"

ข้อยกเว้นข้อที่ 2

ข้อยกเว้นอีกข้อหนึ่งที่ศาลจะจำหน่ายคดีไม่ได้ คือ มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งของศาล ข้อนี้ไม่ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งซึ่งเมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่ง ก็ต้องรอฟังคำสั่งของศาลสูงก่อน จะจำหน่ายคดีไม่ได้

คำสั่งของศาลตาม มาตรา 253 และมาตรา 253 ทวิ ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่แม้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เพราะเป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 228 (2) และมาตรา 247 และมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1106/2530 ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ปัญหาว่า กรณีที่จำเลยขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกัน ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่ง ต่อมาโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ แต่คดียังไม่ถึงที่สุด โดยจำเลยได้อุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา หลังจากนั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกัน โจทก์จะไม่วางเงินหรือหาประกันได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2529 วินิจฉัยว่า มาตรา 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์วางเงินแล้ว คำสั่งนี้ย่อมมีผลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ต้องวางเงินตามคำสั่งศาล

ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว มีว่า จำเลยขอคุ้มครองโดยขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันในระหว่างพิจารณาเพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง จำเลย ฏีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรือหาประกันตามที่จำเลยขอแต่ปรากฏว่าในขณะที่ศาลฎีกามีคำสั่งนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้ว แต่จำเลยยังอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ต้องวางเงินตามคำสั่งของศาลฎีกา จะอ้างว่าโจทก์ชนะคดีในศาลชั้นต้น ไม่ต้องวางเงินหรือหาประกันตามที่ศาลฎีกาสั่งไม่ได้

กรณีดังกล่าวจะเห็นว่าแม้โจทก์จะชนะคดีในศาลชั้นต้น แต่เมื่อมีการอุทธรณ์คำพิพากษา คดียังไม่ถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์อาจจะพิพากษากลับให้โจทก์แพ้คดีก็ได้ ซึ่งการขอคุ้มครองตาม มาตรา 253 และมาตรา 253 ทวิ กฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ก็ต้องวางเงินตามคำสั่งศาลฎีกา

นอกจากนี้กรณีที่โจทก์วางเงินหรือหาประกันตามคำสั่งศาลแล้ว แม้โจทก์จะชนะคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ก็จะขอเงินหรือหลักประกันที่วางไว้นั้นคืนไม่ได้ ต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน โดยเหตุผลอย่างเดียวกันว่ากฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร?, ข้อห้ามโอนสิทธิ ส.ป.ก., สิทธิการทำกินในที่ดิน ส.ป.ก., การใช้ที่ดินต่างดอกเบี้ยในเขต ส.ป.ก.
อำนาจนายกรัฐมนตรี คำสั่งน้ำมันเชื้อเพลิง, การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ความผิดฐานทำคำรับรองอันเป็นเท็จในงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้า
ผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ. 2550 ต่อคดีอาญา
เสือสวนสัตว์หลุดกัดศีรษะโจทก์, ละเมิด, เรียกค่าสินไหมทดแทน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน-พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
จัดทำและส่งเป็นงบการเงินโดยมีเจตนาเพื่อลวง
ใบจอง (น.ส. 2)
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ท้ายฟ้องแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย
ความเสียหายไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
การคืนเงินค่าหุ้นในภาวะขาดทุนตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์
อำนาจฟ้องขณะยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ
อำนาจพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559
การกระทำโดยสำคัญผิด
ผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารเพื่อสนองความใคร่ของตนเอง
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ความผิดฐานรับของโจรได้ต้องมีการลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว
ภาษีให้กู้ยืมเงินไม่มีค่าตอบแทน
กฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา
ลูกหนี้ค้างจ่ายสรรพากรโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์
บุตรผู้เยาว์ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้
สำนักงานทนายความ รับปรึกษากฎหมาย
ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำนิยามศัพท์
อำนาจฟ้องคดี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คฝ่ายผู้ต้องเสียในมูลหนี้
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี
โอนที่ดินเพื่อให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
โอนที่ดินตามคำพิพากษาเป็นการขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สิทธิหักลดหย่อนสำหรับบุตรซึ่งเกิดจากภริยาเดิม
รับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์
คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ขาดคุณสมบัติรับราชการเรียกเงินเดือนคืนได้หรือไม่?
ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลอาคารชุดมีประโยชน์ได้เสียขัดกัน
ทำหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้า จำเลยนำไปทำจำนอง ฟ้องเพิกถอน
สนามกอล์ฟต้องเสียภาษีโรงเรือนหรือไม่?
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
ใบมอบฉันทะที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากร
ภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ - เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
การซื้อรถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงอากรมีความผิดถูกจำคุก 4 ปี
คำสั่งขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต้องมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ความสำคัญผิดในตัวบุคคล กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด article
ศาลต้องยกฟ้อง หรือจำหน่ายคดี
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม
สิทธิเรียกร้องคืออะไร การบังคับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ได้รับโอน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
ระบอบการเมืองการปกครอง
เริ่มต้นคดีด้วยการใช้กฎหมายอิสลามแต่มีผู้คัดค้านนับถือศาสนาพุทธ